tsiri

ข้อมูลสมาชิก – tsiri

เริ่มเป็นสมาชิก: July 31, 2013 08:08:12 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 1148 รายการ , คำติ: 3 รายการ

ประวัติ Feedback

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระปิดตาทุกสำนัก/5950948


พระปิดตาเนื้อผงคลุกลักษ์ สวย


เขียนโดย :wus_bangkok เจ้าของรายการ December 23, 2015 14:40:04

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/5938823


พระลีลาพิมพ์กลางข้างเม็ด เนื้อดิน ไม่ทราบกรุ สวย


เขียนโดย :wus_bangkok เจ้าของรายการ December 19, 2015 15:05:04

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/5930193


พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่นิยม หรือบางท่านจะเรียกว่าขุนแผน กรุวังมะสะ พิษณุโลก ถือว่าเป็นพระในตำนาน พบเจอได้น้อยมากๆครับผมเนื่องจากขึ้นกรุมาไม่มากนัก  บ้านวังมะสะ (ตามพงศาวดารฉบับจักรพรรดิพงศ์)ที่กล่าวว่าเป็นสถานที่ตั้งทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหมือนกับชื่อหมู่บ้านท้องพะโรง ที่เป็นตั้งกองทัพ หรือพักทัพของพระมหากษัตริย์ อยู่ในเขตตำบลดงประคำ อำเภอพรหมิราม พิษณูโลก ต่อมาการเรียกชื่อ เพี้ยนเป็นหมู่บ้านท้องโพรงในปัจุบัน วัดวังมะสะเชื่อว่าสร้างในสมัยอยธยา เพราะมีหลายวัดที่บริเวณใกล้เคียง เช่นวัดเสนาสน์ (วัดเสนาบดี จัดสร้าง)อ.วัดโบสถ์ พิษณุโลกเป้นต้น ก่อนออกศึกสมัยอยุธยาที่กำลังน้อยกว่าข้าศึก สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้รับคำแนะนำ จากสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วให้สร้างขวัญกำลังใจแก่เหล่าทหารหาญ พระองค์จึงทรงสร้างที่เรียนแบบพระชินราชที่พระองค์เคารพนับถือ มอบให้ทหารเพื่อออกรบกับข้าศึกหลังชนะศึกแล้ว รวบรวมพระที่แจกกับส่วนที่เหลือ เก็บไว้ตามเป็นอนุสรณสถานที่ เช่นเก็บไว้ที่กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี กรุวัดวังมะสะ พิษณุโลก เป็นต้น พระกรุวัดวังมะสะ มีทั้งขนาดเล็กที่เรียกว่า นางวังมะสะ ขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่เรียกว่ายอดขนพลวังมะสะ(หรือขุนแผนวังมะสะ) พระกรุวังมะสะมองพุทธลักษณะแล้วคล้ายๆกับขุนแผนกรุวัดพระรูป สุพรรณ และยิ่งอีกพิมพ์นึงของกรุนี้ จะเหมือนกับพิมพ์มอญแปลงของวัดพระรูป เพียงแต่ของกรุวังมะสะจะมีขนาดใหญกว่า พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี เป็นหนึ่งในยอดแห่งพระเนื้อดิน แท้ดูง่ายมีบัตรรับรองสบายใจทั้งผู้ซื้อผู้ขาย มีมาไม่บ่อยครับ พระในตำนานระดับประกวดมาเพียงครั้งเดียวเท่านั้นครับพลาดแล้วน่าเสียดาย  


เขียนโดย :วิไลพรพระเครื่อง เจ้าของรายการ December 16, 2015 03:58:57

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระปิดตาทุกสำนัก/5925834


พระปิดตาเนื้อดิน พอสวย


เขียนโดย :wus_bangkok เจ้าของรายการ December 15, 2015 03:40:04

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระปิดตาทุกสำนัก/5925837


พระปิดตาเนื้อผงเก่า หลวงพ่อลี วัดอโศการาม


เขียนโดย :wus_bangkok เจ้าของรายการ December 15, 2015 03:40:04

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระปิดตาทุกสำนัก/5925841


พระปิดตาเนื้อผงคลุกลักษ์


เขียนโดย :wus_bangkok เจ้าของรายการ December 15, 2015 03:40:04

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระปิดตาทุกสำนัก/5914969


พระปิดตาซุ้มกอ พิมพ์หูกระต่าย หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี ปี 2516 เนื้อว่าน


เขียนโดย :เกื้อหนุน เจ้าของรายการ December 11, 2015 14:40:05


 วัดใจ !  สืบสานตำนานพระหลักล้าน ศิษย์เอก " หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน"  พระดีราคาเบาที่เรายังพอเก็บได้ เหรียญพระนาคปรกใบมะขาม  " หลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง " อุตรดิตถ์ " หลวงปู่ทองดำ " พระเถรจารย์ผู้ปฏิบัติชอบรูปนี้อุทิศหยาดเหงื่อและแรงกายส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นมายาวนานจวบจนสิ้นอายุขัย ในวัยเยาว์หลวงปู่ทองดำติดตามบิดามารดาล่องเรือค้าขายยาสูบระหว่างอุตรดิตถ์ พิจิตรและนครสวรรค์ ระหว่างล่องเรือนั้นเองบิดาพาไปฝากเป็นเด็กวัดเรียนหนังสือกับ " หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน " อริยสงฆ์แห่งเมืองพิจิตรจนเก็บเกี่ยวความรู้เพิ่มเติมได้พอสมควรก็กลับมา ช่วยบิดามารดาค้าขายและทำไร่ ทำสวน จนอายุครบ 22 ปี ก็อุปสมบท ณ อุโบสถวัดวังหมู จ.อุตรดิตถ์  จากนั้นไปจำพรรษาที่วัดท่าทอง 1 พรรษา และย้ายไปจำพรรษาที่วัดท่าถนน 3 พรรษา ต่อมาตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทองว่างลง ญาติโยมกราบอาราธนาให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทองในปี พ.ศ. 2468 จวบจนสิ้นอายุขัย สิริอายุ 107 ปี หลวง ปู่ทองดำสนใจใน วิชาโหราศาสตร์ พุทธคุณและคาถาอาคม โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจาก " หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน " พร้อมทั้งได้ศึกษาวิชาอยู่ยงคงกระพันเพื่อป้องกันตัวและวิชาต่าง ๆ จนหมดสิ้น ระหว่างจำพรรษาที่วัดท่าถนนยังไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อทิมวัดกลาง อ.เมืองพิจิตร เกจิชื่อดังเกี่ยวกับ “ตะกรุดโทน” และหลวงพ่อทิมได้เมตตาถ่ายทอดวิชาและมอบตำราไสยเวทต่าง ๆ ให้ ซึ่งหลวงปู่ทองดำได้ใช้วิชาความรู้พัฒนาพุทธศาสนาเรื่อยมา กิตติศัพท์ความเลื่องลือในปฏิปทาอันแรงกล้าและจริยวัตรอันงดงามของหลวงปู่ ทองดำขจรขจายไปไกลทุกสารทิศ เกจิรุ่นหลังหลายรูป ได้ให้ความเคารพนับถือในตัวหลวงปู่ เดินทางมากราบไหว้และสนทนาธรรมอยู่เนือง ๆ รวมทั้ง พระเทพวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) อริยสงฆ์แห่งแดนที่ราบสูง จ.นครราชสีมา ก็เคยมากราบไหว้สนทนาธรรมกับหลวงปู่ทองดำถึงวัดท่าทอง สร้างความฮือฮาให้กับพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวเป็นยิ่งนัก หลวง ปู่ทองดำเป็นพระเถราจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กฤตยาคมท่านเป็นพระสุปัฎิปัณโณ ที่กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ผ่านการสะสมบำเพ็ญเพียรบารมี และปฎิบัติวิปัสสนาสมาธิมานานหลายทศวรรษแม้แต่ หลวงพ่อเกษม เขมโก นักบุญแห่งล้านนาไทย และ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ท่านยังออกปากกับชาวอุตรดิตถ์ที่ไปกราบท่านว่า "หลวงพ่อทองดำที่วัดท่าทองน่ะเก่งกว่าอาตมาอีก ทำไมไม่ไปหา" คำพูดนี้ไม่ใช่คำกล่าวอ้าง แต่ผู้ที่ไปได้ยินกันหลายคน และพากันกลับมาหาหลวงปู่ทองดำ โดยที่หลายคนนั้นไม่เคยรู้จักหลวงปู่มาก่อนเลย เพราะท่าน ฝึกฝน ปฎิบัติธรรมอยู่อย่างเงียบ ๆ ไม่แสดงความพิเศษให้ใครเห็นนอกจากลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ถ้าท่านผ่านไปทางภาคเหนือ ท่านจะแวะกราบหลวงปู่ทองดำ เสมอ เพราะหลวงปู่ทองดำท่านมี พรรษา มากกว่าหลวงพ่อคูณถึง 20 กว่าปี และหลวงพ่อคูณท่านเคยร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก พระกริ่งและพระเครื่อง รุ่นทอง*คูณ เมื่อ พ.ศ. 2537 ท่านกล่าวกับคณะกรรมการว่า "กูนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก ร่วมกับหลวงปู่ทองดำ แค่ 5 นาที พลังจิตของท่าน ไปไกล "กู่ตามท่านไม่ทันด๊อก" ด้าน วัตถุมงคลของหลวงพ่อทองดำ ท่านสร้างไว้หลายรุ่น แต่ละรุ่นล้วนมีประสบการณ์กับผู้ที่เลื่อมใส ศรัทธา และแขวนพระของท่านบูชา มีให้เห็นอยู่เป็นเนืองนิจ เหรียญ ที่ผมนำเสนอเป็น ปรกใบมะขามองค์จ้อย จัดมาเป็นชุด 2 องค์ 2 เนื้อ ( เนื้อทองเหลือง + เนื้อทองแดง ) ตอกโค๊ตด้านหน้า พระมีขนาด 0.6 x 1.5 ซ.ม. รับประกันแท้ สภาพสวยน่าใช้ ราคาวัดใจ ! หนังสือพระลงราคาองค์ละ 1,200-1,500 บาท ราคาเบา ๆ แบบนี้ ... รีบเคาะหน่อยคร๊าบบบบบบบ...... หากหาพระของ " หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน " มาห้อยคอไม่ได้ แนะนำให้ใช้ของหลวงพ่อทองดำแทนครับ แล้วท่านจะรู้ ว่าของ ๆ ท่านดี จริง ....


เขียนโดย :บุญยวีร์ เจ้าของรายการ December 09, 2015 12:20:10

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/5983819


สูง 1.7 ซม. แท้ดูง่ายครับ


เขียนโดย :งูงูปลาปลา เจ้าของรายการ December 08, 2015 01:56:19

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/5983782


ประวัติการสร้าง พระครูธรรมาธิมุตมุนี ( กลึง ) ผู้สร้างพระต่าง ๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ในราว พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครชุม โดยรวมเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ ให้เหลือเพียงองค์เดียวแต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี ( กลึง ) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ด้วย ฉะนั้น ในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแล้วบรรจุไว้ด้วย นอกจากนี้ในการสร้างพระของท่าน มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้นำผงพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) และผงพระพุทธบาทปิลันธน์ผสมลงไปด้วย โดยพิสูจน์ได้จากพระกรุวัดคูยางบางองค์ที่หักชำรุดจะเห็นผงสีขาว บางองค์มีผงใบลานเผาปนอยู่ด้วย และบางองค์ยังมีไขคล้ายพระของพระพุทธบาทปิลันธน์อยู่บ้าง ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ พระที่หักชำรุดมีผงสีขาวปรากฏให้เห็นนั้น มักเป็นองค์ที่ไม่มีคราบราว่านหรือมีเพียงบาง ๆ แต่พระส่วนใหญ่จะมีคราบราว่านสีดำปนน้ำตาลแก่จับหนาแน่นไม่แพ้กรุเก่าเมืองกำแพงเพชรเลย เพียงแต่เนื้อพระดูจะสดกว่าหน่อยเท่านั้น เนื้อพระกรุเก่าของวัดคูยางนี้ จะใกล้เคียงกับเนื้อพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ ่ จังหวัดสุโขทัย เช่น พิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมล้อพิมพ์สมเด็จ เนื้อและคราบราจะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันก็แต่กรุวัดคุ้งยางใหญ่ จะมีจารอักขระด้านหลังด้วยถ้าไม่มีจารก็แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นกรุวัดไหน ฉะนั้น ความแตกต่างก็จะอยู่ที่พิมพ์พระเป็นสำคัญ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่คล้ายกันมากทั้งเนื้อและพิมพ์ก็คือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งล้อพิมพ์สมเด็จพระพุทธบาทปิลันธน์ เพียงแต่จะเล็กหรือใหญ่กว่ากันบ้างเพราะไม่ได้ใช้พิมพ์เดียวกัน เกียรติคุณของผู้สร้าง พระครูธรรมาธิมุตมุนี ( กลึง ) เป็นพระสงฆ์ที่เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตร ทรงวิทยาคุณและอภินิหาร เป็นที่เคารพเลื่อมใสอย่างสนิทใจของสงฆ์และคฤหัสถ์ มีความรู้ความชำนาญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ด้านสมณศักดิ์ก็เป็นพระครูสัญญาบัตรรูปแรกของเมืองนี้ ด้านการปกครองสงฆ์ก็เป็นเจ้าคณะเมืองหรือเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการศึกษาก็นับเป็นหนึ่งมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีภายในวัดจนมีผู้สอบมหาเปรียญได้แล้วท่านก็ส่งไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ด้านสาธารณูปการคือการบูรณะปฏิสังขรณ์และการก่อสร้างศาสนวัตถุ โดยเฉพาะภายในวัดปรากฏชัดเจนดังหนังสือตรวจการณ์คณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตากของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ตอนหนึ่งว่า "............วัดคูยางนี้เป็นวัดใหญ่ของเมืองกำแพงเพชร เคยเป็นวัดเจ้าคณะเมือง เจ้าคณะเมืองรูปก่อนคือพระครูธรรมาธิมุตมุนี ( กลึง ) เป็นพระกว้างมาก ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญไว้ดีเป็นหลักฐาน........." การเปิดกรุ นับเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้ มีผู้แสวงหาพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนี ( กลึง ) สร้างกันมากขึ้น จึงอาจเป็นเหตุให้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์กันหลายครั้งโดยเฉพาะในราวกลางปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีการลักขุดเจาะฐานเจดีย์เป็นช่องขนาดใหญ่จนทำให้เจดีย์ชำรุด และเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีเดียวกันนี้ ก็มีการลักขุดกันอีก ทางวัดได้ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องแล้วเห็นสมควรตั้งคณะกรรมการ โดยมีพระสิทธิวชิรโสภณ ( ช่วง ) เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร พระครูวิมลวชิรคุณ ( ทอน ) เจ้าอาวาสวัดคูยาง และนายบุญรอด โขตะมังสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ทำการเปิดกรุ ปรากฏว่ามีทั้งพระกรุเก่าหรือพระฝากกรุและพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนีสร้างบรรจุไว้ทั้งประเภท พระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระเครื่องมีประมาณ ๓,๐๐๐ องค์ ซึ่งเหลือจากที่มีผู้ลักขุดเอาออกไปก่อนหน้านี้ซึ่งคาดว่าคงไม่น้อยกว่าจำนวนที่เหลือแน่นอน เนื้อ แบบพิมพ์และพระพุทธคุณ พระกรุวัดคูยางส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินที่ละเอียดนุ่มหนักแน่นมีราดำปรากฏทั่วไป ส่วนมากเป็นสีแดงคล้ำ บางองค์จะมีไขจับ และบางส่วนไม่มีราว่านหรือมีแต่เพียงบาง ๆ มีไขจาง ๆ บางองค์ที่มีคราบราหนา ๆ ก็จะเทียบกับพระกรุเก่าได้เลย มีความแห้งและเก่า แม้จะดูสดกว่าพระกรุเก่าก็ตามที พร้อมทั้งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับแบบพิมพ์พระกรุวัดคูยางที่สร้างโดย พระครูธรรมาธิมุตมุนี ( กลึง ) นั้นมีทั้งพิมพ์ที่ทำขึ้นเองและถอดพิมพ์มาจากพระอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะตื้นไม่ลึกและไม่คมชัดเท่าที่ควร ถึงกระนั้นก็มีหลายพิมพ์ที่ยังคงความงามอยู่ไม่น้อยสำหรับพระที่สร้างพิมพ์ขึ้นเองก็มีพระปิดตาสี่ทิศ ด้านหน้าจะมียันต์ ๕ ตัว คือ ตรงกลาง ๑ ตัว ช่องว่างระหว่างองค์พระทั้ง ๔ ทิศอีก ๔ ตัว ซึ่งยันต์ทั้ง ๕ ตัวนี้ เป็นยันต์เดียวกันกับพระของพระพุทธบาทปิลันธน์ เช่น พิมพ์ซุ้มประตู เป็นต้น ด้านหลังตรงกลางทำเป็นรูกลมลึกเข้าไปในเนื้อและก้นรูมียันต์ ๑ ตัว แต่ก็พบพระปิดตาสี่ทิศบางองค์ไม่มียันต์ด้านหลัง อาจจะหลงลืมในการกดพิมพ์ หรือพระบางเกินไปกดพิมพ์ให้ลึกเป็นรูไม่ได้ หรือจะคิดว่าเป็นพระคะแนนก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์อื่น ๆ อีก เช่น พระนารายณ์สี่กร ( ทรงปืน ) เป็นต้น ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ทำขึ้นเองเช่นกัน มียันต์ที่ก้นรูด้านหลัง เช่นเดียวกับพระปิดตาสี่ทิศอยู่บ้าง แต่ก็หาดูได้ยากมาก พระที่ถอดจากพระพิมพ์เก่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระของกำแพงเพชร แต่ก็จะมีจำนวนหนึ่งที่เป็นพิมพ์ของพระจังหวัดอื่น ๆ เช่น พระสมเด็จปรกโพธิ์ พระพุทธบาทปิลันธน์ พระกริ่งคลองตะเคียน และพระพลายเดี่ยว เป็นต้น ส่วนพระคงกับพระรอดนั้น ไม่ได้ถอดพิมพ์มาแต่ล้อรูปแบบเดิมได้ใกล้เคียงจึงอนุโลมไว้ในกลุ่มนี้ สรุปพระกรุวัดคูยางนั้นเป็นที่ทราบกันว่ามีมากกว่า ๔๐ พิมพ์ แต่เท่าที่มีผู้พบเห็นก็คือพระปิดตาสี่ทิศขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ พระซุ้มกอขนมเบี๊ยะ พระซุ้มยอ พระขุนไกร พระคง พระร่วงนั่งฐานสำเภา พระนางกำแพงมีซุ้ม พระนางกำแพงหัวเรือเมล์ พระกริ่งคลองตะเคียน พระอู่ทอง พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล พระซุ้มยอไม่ตัดปีก ( ฝากกรุ ) พระลีลาเม็ดขนุนขนาดเล็ก และใหญ่ พระสมเด็จปรกโพธิ์พระสมเด็จฐาน ๓ ชั้น พระซุ้มระฆัง พระพลายเดี่ยว พระอู่ทองซุ้มเรือนแก้ว พระนารายณ์สี่กร ( ทรงปืน ) พระสุพรรณหลังผาน ( หลังเรียบ ) พระรอด พระนาคปรก ( ๓ - ๔ พิมพ์ ) พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระลีลาใหญ่ ( ๓ - ๔ พิมพ์ ) พระเชตุพน พระซุ้มกอเล็ก และพระซุ้มกอใหญ่ ( ขนาดพิมพ์กลางของเดิม ) และพิมพ์อื่น ๆ พุทธคุณ ด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน และอื่น ๆ ตามความเชื่อถือของแต่ละบุคคล


เขียนโดย :งูงูปลาปลา เจ้าของรายการ December 08, 2015 01:55:56

หน้าที่ :  1