พระผงนาคปรก พระธาตุพนม ที่ระลึกสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุพนม อ.เมือง จ.นครพนม ปี 2518 พิมพ์เล็กเลี่ยมกรอบสเตนเลสเดิมๆ รวมเกจิสายอีสาน ร่วมปลุกเสก โดยเฉพาะอาจารย์ฝั้น อาจาโร ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์จากทั่วประเทศ และสายอีสานพระอาจารย์มั่น รวมจำนวนกว่า 100 รูป พิธียิ่งใหญ่มาก งานนี้พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพฯ นครพนม, หลวงปู่คําพันธ์ วัดธาตุมหาชัย, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก และคณาจารย์สายกรรมฐานอีกหลายรูป สภาพสวยมาก หายากมาก สายอีสานไม่ควรพลาด สภาพเดิมๆจากวัด พระพุทธคุณสูง พิธีดี ........ พระรุ่นนี้สร้างปี 2518 ในการฉลองการบูรณะพระธาตุพนม ซึ่งมวลสารที่ใช้ก็มีทั้งปูนพระธาตุ ว่านมงคล ผงวิเศษ แร่มงคล ปลุกเสกโดยเกจิสายกรรมฐานหลายสิบรูป โดยมี หลวงปู่คำพันธ์ ร่วมทำการปลุกเสกด้วย......นับว่าเป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชาโดยแท้ พระสวยมาก ไม่เคยใช้เลย เก็บก็ดี บูชาก็เยี่ยม พระผง พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนม ปี2518 ที่ระลึกในงานพระราชพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ วันที่ 26 ธันวาคม 2518 รวมเกจิสายอีสาน ร่วมปลุกเสก โดยเฉพาะอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และเกจิสายอาจารย์มั่น ร่วมปลุกเสก “พระธาตุพนม" ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของชาวพุทธสองฝั่งโขง ประดิษฐานอยู่ที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นใน พ.ศ. 8 มีอายุเก่าแก่กว่า 1,500 ปี ภายในพระบรมธาตุเจดีย์ บรรจุสิ่งของมีค่ามากกว่า 2,500 ชิ้น และบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า) และพระบรมสารีริกธาตุอีกหลายองค์ ตลอดระยะที่ผ่านมามีการบูรณปฏิสังขรณ์รวม 5 ครั้ง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 องค์พระธาตุพนม ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองนครพนม ได้ล้มครืนพังทลายลง ได้สร้างความเศร้าสลดให้กับพุทธศาสนิกชนไทยทั้งประเทศ พระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) พระพุทธเจ้าและพระบรมสารีริกธาตุอีกหลายองค์ภายหลังพบพระอุรังคธาตุได้ 2 เดือน 26 วัน ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดงานพระราชพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุอื่นๆ อีก 115 องค์ อัญเชิญประดิษฐานในพลับพลาพิธี ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่รวม 7 วัน 7 คืน ในระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. 2518 - 1 ม.ค. 2519 ถือเป็นงานสมโภชระดับชาติ ที่มีพิธีทางพระพุทธศาสนาและพิธีทางบ้านเมืองไปพร้อมกันวันที่ 26 ธันวาคม 2518 ประมุขฝ่ายสงฆ์ นำโดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ 17 รูป เฝ้าฯ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯทรงสรงพระกรัณฑ์พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรซากปรักหักพังขององค์พระธาตุพนม ก่อนเริ่มพระราชพิธี 3 วัน จังหวัดนครพนม โดยนายพิศาล มูลศาสตรสาทร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก "สมโภชพระธาตุพนม" นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ลานต้นศรีมหาโพธิภายในวัด ปลุกเสกโดยคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมจากสำนักต่างๆ จำนวน 9 รูป หนึ่งในนั้นมีพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระเกจิชื่อดังร่วมในพิธีแผ่เมตตาจิต วัตถุประสงค์ตั้งใจ เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะองค์พระธาตุพนม รุ่นนี้ได้รับการกล่าวขานว่ามีประสบการณ์สูง ด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เป็นที่นิยมในหมู่ทหาร ตำรวจ ตชด. และ นปข.ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสมรภูมิ เป็นวัตถุมงคลที่เชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองและมีพุทธานุภาพสูง วัตถุมงคล พระธาตุพนม ที่ระลึกในงานสมโภชพระบรมสารีริกธาตุปี 2518 เกจิดังสายกรรมฐานปลุกเสกหลายองค์ จัดสร้างเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2518 ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์จากทั่วประเทศ และสายอีสานพระอาจารย์มั่น รวมจำนวนกว่า 100 รูป พิธียิ่งใหญ่มาก งานนี้พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพฯ นครพนม, หลวงปู่คําพันธ์ วัดธาตุมหาชัย, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก และคณาจารย์สายกรรมฐานอีกหลายรูป ได้ร่วมในพิธีด้วย เนื่องจากเป็นพิธีหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินในคราวนี้ด้วย พระรุ่นนี้ออกให้ประชาชนเช่าบูชาพร้อมกับเหรียญพระธาตุพนม เพื่อนำปัจจัยมาทำการบูรณะพระธาตุพนม ซึ่งได้ สร้างเสร็จเมื่อปี 2522 วัตถุมงคลรุ่นนี้มีประสบการณ์ดีมาก ทางด้านแคล้วคาด คงกะพันชาตรี เป็นนิยมในหมู่ทหาร ตำรวจ และ นปข. (หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง) พระธาตุพนมเป็นพระธาตุที่บรรจุพระอุรังคธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครที่ไปสักการะถือเป็นมงคลต่อชีวิตอย่างยิ่ง พระธาตุพนมนั้นประดิษฐานพระอุรังคธาตุของสมเด็จพระบรมศาสดาเอาไว้ และมีพญานาคจากนครพิภพพลัดกันเข้าเวรอารักษ์ขาพระธาตุ ดังนั้นปรกพระธาตุพนมจึงแทนองค์พระธาตุพนมและพญานาค ผู้ใดมีไว้ติดตัวเรื่องแคล้วคลาดดีนัก...
ได้รับแล้วถูกใจครับ
สวยเดิมๆ หายากครับ สภาพ นี้ หลวงปู่ดู่ปลุกเสก
เหรียญฉลุหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ รุ่นเสาร์ 5 คูณพันล้าน ปี 2537 สวยมากๆกล่องเดิมๆ
สุดยอดครับ ส่งเร็วถึงไว การันตีให้อีกเสียงครับ
พระสังวรานุวงศ์เถร มีนามเดิมว่า ชุ่ม เป็นบุตรนายอ่อน โพอ่อน นางขลิบ โพอ่อน เกิดที่ตำบลเกาะท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เมื่อวันพุธ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ ตรงกับวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ในต้นรัชกาลที่ ๔ ได้เล่าเรียนภาษาไทย ภาษาบาลี ในสำนักพระอาจารย์ทอง วัดราชสิทธาราม ตั้งแต่ ๑๐ ขวบ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๙ ในรัชกาลที่ ๔ อายุ ๑๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ในสำนัก พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ได้ศึกษาอยู่ตลอดมาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๑๗ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดราชสิทธาราม พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์กลั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) และศึกษาพระกรรมฐานต่อกับ พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ครั้งยังเป็นพระครูสังวรสมาธิวัตร แล้วได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี ต่อมาได้รับสืบทอดไม้เท้าไผ่ยอดตาล จากพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) องค์พระอุปัชฌาย์ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๑ เป็นเจ้าคณะหมวด เมื่อพรรษาได้ ๔ พรรษา ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๔ เป็นพระใบฏีกา ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๓ ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๗ พรรษา ๑๐ เป็นพระสมุห์ ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๒ ของพระอมรเมธาจารย์ (เกษ) ในพรรษานั้นท่านได้รับแต่งตั้งจากพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ให้เป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ด้วย ปีพระพุทธศักราช ๒๔๒๙ พรรษาที่ ๑๒ ได้เป็นพระปลัด ว่าที่ถานานุกรมชั้นที่ ๑ ของพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษ ตำแหน่งรองเจ้าอาวาสที่พระครูสังวรสมาธิวัตร ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๗ บาท และในปีเดียวกันนี้ พระครูสังวรสมาธิวัตร(ชุ่ม) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระสังวรานุวงศ์เถร รับพระราชทานพัดงาสาน เป็นองค์สุดท้ายของวัดราชสิทธาราม ได้รับพระราชทานนิตยภัตเดือนละ ๑๒ บาท ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๘ พระสุธรรมสังวร (ม่วง) ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม กลับไปวัดเดิม พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามเป็นองค์ต่อมา และเป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี มณฑลธนบุรี นับเป็นองค์สุดท้ายที่เจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามได้เป็นเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ประจำมณฑลธนบุรี และได้รับพระราชทานพัดงาสานเป็นองค์สุดท้ายของวัดราชสิทธาราม ผู้คนทั้งหลายในสมัยนั้นเรียกขานนามท่านว่า ท่านเจ้าคุณสังวราฯ บ้าง หลวงปู่ชุ่มบ้าง ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานนิตยภัตเพื่มขึ้นอีกเดือนละ ๒ บาท รวมเป็น ๒๔ บาท เทียบพระราชาคณะชั้นราช ปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๐ พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ครองวัดราชสิทธาราม พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในสมัยท่านเจริญรุ่งเรื่องมาก มีพระเถรพระมหาเถรมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กันมากมาย มีปรากฏชื่อเสียงหลายท่านคือ พระภิกษุพริ้ง (พระครูประสาธสิกขกิจ ) วัดบางประกอก พระภิกษุสด (พระมงคลเทพมุนี) วัดปากน้ำ พระภิกษุโต๊ะ (พระราชสังวราภิมนต์) วัดประดู่ฉิมพลี พระภิกษุกล้าย (พระครูพรหมญาณวินิจ) วัดหงส์รัตนาราม พระภิกษุขัน (พระครูกสิณสังวร) วัดสระเกศ พระภิกษุเพิ่ม (พระพุทธวิถีนายก) วัดกลางบางแก้ว และ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งมาศึกษากับพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ไม่ทัน ท่านจึงไปศึกษากับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอกฯ แทน ในกาลต่อมา การศึกษาสมัยพระสังวรานุวงษ์ (ชุ่ม) ครองวัด ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระเอง พระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ) เป็นผู้ช่วยพระอาจารย์ใหญ่ ทางด้านพระปริยัติธรรมพระมหาสอนเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ส่วนการเรียนพระบาลีไปเรียนที่วัดประยูรวงศาวาสบ้าง วัดอรุณราชวรารามบ้าง ในสมัยที่ท่านครองวัด พระกรรมฐานเจริญรุ่งเรื่องมาก ถึงขนาดมีพระสงฆ์มาศึกษาพระกรรมฐานมากถึง ๒๐๐ รูปเศษ ท่านเป็นผู้เก็บรักษาเครื่องบริขารต่างๆของบูรพาจารย์พระกรรมฐาน ต่อจากพระอาจารย์ของท่าน มีบริขารของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นต้น ปัจจุบันบริขารต่างๆได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พระกรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ท่านมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๗๐ รวมสิริอายุได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๔ เมื่อท่านมรณะภาพไม่นาน มีผู้คน คณะสงฆ์ ที่เคารพนับถือท่านได้มาที่วัดราชสิทธารามกันแน่นวัด มีเรือจอดที่คลองหน้าวัดแน่นขนัด เก็บสรีระของท่านไว้บำเพ็ญกุศลประมาณ ๑๐๐ วัน ระหว่างบำเพ็ญกุศลมีการจุดพลุตลอดทั้ง ๑๐๐ วัน เมื่อจะพระราชทานเพลิงศพทางวัดได้จัดทำเมรุ ทำเป็นรูปทรงเขาพระสุเมรุราช ข้างพระเจดีย์ใหญ่หน้าวัดด้านใต้ พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๗๐ (นับเดือนไทย ตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นปี ๒๔๗๑) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานเพลิงศพ ท่านเสด็จมาโดยมิได้มีหมายกำหนดการมาก่อน เมื่อมาถึงทางวัดได้จัดการให้พระองค์ท่านประทับนั่งอย่างสมพระเกียรติ (นั่งโต๊ะ) แต่พระองค์ท่านได้ตรัสว่า ฉันมาเผาอาจารย์ฉัน แล้วพระองค์ท่านก็ให้พระสงฆ์ที่ติดตามท่านมาปูลาดอาสนะธรรมดา ประทับนั่งลงกับพื้นในที่ชุมนุมสงฆ์แถวหน้าอย่างโดยไม่ถือพระองค์ กล่าวว่าท่านเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์เดียวที่เสด็จมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จนจบ กล่าวขานกันในสมัยนั้นว่าท่านเป็นพระมหาเถรองค์หนึ่งที่บรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา พระองค์ท่านจะมาศึกษาแบบส่วนพระองค์ในเวลาค่ำหลังเสร็จราชกิจ ทรงศึกษากับพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ณ วัดราชสิทธาราม ที่กุฏิหลังเขียว (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว ไปปลูกไว้ที่คณะ ๓) ใกล้เช้าพระองค์ท่านก็เสด็จกลับโดยเรือจ้าง (ไป - กลับ เรือจ้าง) พระองค์ท่านไม่ทรงใช้เรือของหลวง เมื่อเสร็จงานพระราชทานเพลิงแล้ว คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ ได้ทำการหล่อรูปเหมือนท่าน ประดิษฐานไว้ที่มุมเจดีย์หน้าพระอุโบสถด้านทิศใต้ เป็นที่สักการบูชา มาจนทุกวันนี้.
พระเดิมๆๆ คะ มาพร้อมบัตรรับรองคะ