karkar

ข้อมูลสมาชิก – karkar

เริ่มเป็นสมาชิก: September 01, 2011 05:04:34 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 660 รายการ , คำติ: 1 รายการ

ประวัติ Feedback


สมาชิกคุณภาพครับ +++++++++++


เขียนโดย :baouzakeruga เจ้าของรายการ April 22, 2019 04:23:03


ยอดเยี่ยมการันตีให้อีกหนึ่งเสียงครับ ปิดปุ๊บโอนทันที เครดิตดีมากๆครับ ขอให้คุณพระศรี คุ้มครองรักษาให้ปลอดภัยและประสบผลสำเร็จในทุกๆเรื่องนะครับ โอกาสหน้าขอโอกาสได้รับใช้ใหม่นะครับผม ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ แจ้งเลขที่จัดส่งครับ EMS EU050410737TH


เขียนโดย :มงคลแสงสุริยะ เจ้าของรายการ December 21, 2017 08:56:33



เขียนโดย :Chimo81 เจ้าของรายการ January 30, 2017 14:01:08


พระสมเด็จเกษไชโย วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง รุ่นประวัติศาสตร์ พิมพ์ 5 ชั้น ปี2531 เนื้อผง พร้อมกล่องเดิม


เขียนโดย :มอสแสงเกตุ เจ้าของรายการ January 23, 2017 21:15:58

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อผง-เนื้อว่าน/6944691


       ในวาระอันเป็นมิ่งมงคลสมัยอย่างยิ่งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา เมื่อปี 2542 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราชานุญาติ ให้จัดสร้าง “พระพุทธนราวันตบพิธ”  เพื่อให้ พสกนิกรได้สักการบูชา พระพิมพ์พระพุทธนราวันตบพิธเป็นพระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองปางห้ามสมุทร ขนาดสูง 3.2 ซ.ม ด้านหลังประดิษฐานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมายุ 72 พรรษา เนื้อผงประกอบด้วยมวลสารวิเศษมากมาย ได้แก่ มวรสารจากสถานที่ ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและปรินิพานในเนปาล และอินเดีย มวลสารจากวัดสำคัญเก่าแก่หลายแห่งในประเทศ ศรีสังกา จีน ญี่ปุ่น และในประเทศไทย   ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ที่เคารพทั่วราชอาณาจักร  ที่สำคัญยิ่งคือได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าพระราชทานเส้นพระเจ้า (เส้นผม) พระจีวร และ ผงจิตรลดา  โดยพระราชทานผ่าน สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชอันเชิญมาผสมอยู่ในเนื้อพระพุทธนราวันตบพิธนี้ด้วย             สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก ณ.พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก          สำหรับพระองค์นี้สภาพสวย สมบูรณ์ อยู่ในกล่องเดิม  รับประกันความแท้และความพอใจตามกฏ คืนเงินเต็มทุกกรณี โดยพระต้องอยู่ในสภาพเดิม     รหัส # 6089    


เขียนโดย :oudood เจ้าของรายการ November 01, 2016 05:53:28

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/กระดานวัดดวง/6952909


ต้องส่อง ถึงจะรู้ว่ามันส์กว่าในรูปครับ


เขียนโดย :มังกรทอง เจ้าของรายการ October 30, 2016 15:10:11


เหรียญชินราชอินโดจีน พ.ศ.2485 เหรียญประสบการณ์สูง จัดสร้างช่วงสงครามอินโดจีน พิธียิ่งใหญ่ ปี2485 วัดสุทัศน์ เหรียญสวยเดิมๆๆ ผิวพระเก็บรักษาได้ดีมากๆๆ พบเห็นพระผิวสวยได้ยากขึ้นแล้วครับ ในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหา ต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม กับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้น ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ ก. ชนิดที่ทำการสร้าง พระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1. พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้วขนาดห น้าตักขนาดใหญ่เพื่อสำหรับจัดส่งไปประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทย พระพุทธรูปชะนิดนี้ หากประชาชนปรารถนาจะสร้างไว้สำหรับสักการะบูชาของตนเอง ก็ขอให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งส่งเงินค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาทไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจักได้รวบรวมจำนวนให้ช่างจัดการต่อไป 2. พระเครื่อง มีการสร้างพระเครื่องขึ้นเป็น 2 วิธีคือ โดยวิธีหล่อ และ โดยวิธีปั๊ม - พระเครื่องชนิดหล่อ จะทำการหล่อด้วยโลหะและมีรูปลักษณะทำนองพระยอดธง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท พระเครื่องชนิดปั๊ม จะสร้างขึ้นโดยวิธีปั๊ม มีรูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้วด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมห าธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์ ผู้ประกอบพิธี สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิ ทยาคุณต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร-พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่จะหาพิธีไหนมาเปรียบเทียบได้ยากยิ่ง รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก พระพุทธชินราชในปี พ.ศ. 2485 1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานในพิธี 2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง 3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา                                    4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง                                   6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู 7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว                                 8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง 9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง                            10.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว 11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด                  12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ 13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง                             14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ 15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา                                16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ 17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก                   18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์ 19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่                            20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส 21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ         22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์ 23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา                                24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ 25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ                       26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค 27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ                    28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ 29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี                          30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง 31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ                        32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม 33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม                    34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ 35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน                       36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน 37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด           38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก 39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ                               40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ 41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ                                  42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ 43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง                               44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน 45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ                 46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ 47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ                    48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ 49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม                       50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์ 51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ               52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา 53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก                                   54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน 55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ                             56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน 57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส               58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง 59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำวน                             60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม 61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม                  62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง 63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก                   64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ 65.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง                          66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ 67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว                       68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง 69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า     70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง      71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา                                 72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง 73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า                         74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี 75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ                           76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม 77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม      78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์ 79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว                         80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง 81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง                     82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร 83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ                                   84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ 85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก                  86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ 87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา                                    88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ 89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม                    90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา 91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม                  92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์ 93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง                      94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม 95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง                               96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง 97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร           98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร 99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ                  100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด 101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย                                    102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ 103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ                          104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง 105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา                  106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น 107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ 108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)    ((โอนแล้ว กรุณาแจ้งทาง Mailboox ของเวป นะครับ เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่งครับ))   ((เบอร์มือถือ 088-765-1779 ที่อยู่ Email  -  [email protected]))  


เขียนโดย :เพชร เขลางค์ เจ้าของรายการ October 30, 2016 13:59:07


พบกันทุกวันจันทร์ - ศุกร์ มาร่วมสนุกกันครับ พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 17 วัดใหม่อมตรส จัดสร้างเนื่องในโอกาสครบ 101 ปี แห่งการมรณภาพของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนนำเงินรายได้สร้างโรงเรียนเทศบาลวัดใหม่อมตรส ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2517 โดยมีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกหลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ และอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นต้น ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ คือ ช่างเกษม มงคลเจริญ พระทุกพิมพ์จะมีฝากรอบเป็นแผ่นทองเหลือง และมีขาหยั่งเป็นตัวกำหนดความหนาขององค์พระ ดังนั้นจึงทำให้ความหนาขององค์พระค่อนข้างเป็นมาตรฐาน ด้านข้างมีทั้งที่แบบที่ปรากฏรอยตัด และเรียบไม่ปรากฏรอยดังกล่าว ส่วนด้านหลังมีทั้งลักษณะเรียบและหลังลายผ้า สำหรับเนื้อหาขององค์พระนั้น ส่วนใหญ่แล้วมีเนื้อละเอียดเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะมีแตกต่างกันก็ตรงที่บางองค์มีลักษณะแก่ผง หรือแก่น้ำมันแตกต่างกันไป การจำแนกพิมพ์ของสมเด็จบางขุนพรหม ปี 17 สมเด็จบางขุนพรหม ปี 2517 มีด้วยกันทั้งหมด 13 แบบแม่พิมพ์ คือ 1. พิมพ์ใหญ่ 2. พิมพ์เส้นด้าย 3. พิมพ์ทรงเจดีย์ 4. พิมพ์เกศบัวตูม 5. พิมพ์สังฆาฏิ 6. พิมพ์ปรกโพธิ์ 7. พิมพ์ฐานคู่ 8. พิมพ์ฐานแซม 9. พิมพ์อกครุฑ 10. พิมพ์ไสยาสน์ 11. พิมพ์คะแนน 12. พิมพ์จันทร์ลอย 13.พิมพ์รูปเหมือน องค์นี้ ดูง่ายมากผิวสวย ส่องมันส์ 


เขียนโดย :มังกรทอง เจ้าของรายการ October 27, 2016 14:37:23


เหรียญ ในหลวง ทรงนั่งบัลลังก์เต็มยศ เป็นเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จัดสร้างโดยกระทรวงมหาดไทยในวาระเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ.2539 เป็นเหรียญดี ประสพการณ์ดังในด้านแคล้วคลาดของทหารและตำรวจ เคยมีข่าวลงในหน้าหนังสือพิมพ์ด้วยครับ เหรียญเนื้อเงิน จัดสร้างเพียง 9,999เหรียญ ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านหลัง เป็นตรา จักร และ ตรี (ตราราชวงศ์ จักรี) สำหรับ เหรียญนั่งบัลลังก์กระทรวงมหาดไทยนั้นเนื้อทองคำ และเนื้อเงิน พื้นเหรียญจะขัดเงาเปรียบดังกระจก และจะไม่มีห่วง และเหรียญทองคำและเหรียญเงินนี้จะบรรจุอยู่ในกล่องกัมมะหยี่สีเหลือง ดังนั้นถ้ามีการเอาเหรียญอัลปาก้าไปชุบทองและหลอกขายว่าเป็นเหรียญทองคำ หรือเงินก็อย่าเชื่อครับ เพราะพื้นเหรียญจะต้องขัดเงาและไม่มีห่วง


เขียนโดย :ศรศิลป์ เจ้าของรายการ October 21, 2016 02:50:13


เข้าชมพระอีกหลายรายการ ราคาปิดไม่แพง น่าสะสม !!! www.geetarpra.lnwshop.com "" ผู้ชนะการประมูล โอนเงินแล้ว กรุณาแจ้งใน Mailbox (อีเมลล์) "" เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่ง เนื่องจากยอดเงินบางรายการเท่ากัน หรือโทรแจ้งก็ได้ เวลา ( 13.00 - 23.00 น. ) ทุกวัน ( แจ้งทาง Mailbox (อีเมลล์) จะสะดวกกว่าโทรนะครับ)


เขียนโดย :geetar เจ้าของรายการ April 13, 2016 07:27:35

หน้าที่ :  1