kaew11

ข้อมูลสมาชิก – kaew11

เริ่มเป็นสมาชิก: February 04, 2014 09:08:21 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 697 รายการ , คำติ: 0 รายการ

ประวัติ Feedback

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระบูชา-รูปถ่าย/7152015


      หลวงปู่หลิว ปณฺณโก นับเป็นผู้ทรงอภิญญา และมีพุทธาคมสูงส่ง ท่านเป็น ผู้ที่มีเมตตา พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ท่านพร้อมที่จะสร้าง พร้อมที่จะเสียสละ ให้กับบวรพุทธศาสนา ท่านไปอยู่ยังที่แห่งใดก็เปรียบเสมือนดวงประทีปของที่นั่น จนท่านได้ชื่อว่า พุทธบุตร ที่ทุกคนยกย่อง ในช่วงที่หลวงปู่หลิวยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้ใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่ท่านมี บูรณปฏิสังขรณ์ สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โดยมิได้หยุด หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เคยตั้งปณิธานด้วยสัจจะ 2 ประการคือ 1. ลดเลิกอบายมุขทุกชนิด 2. เมื่อมีโอกาสจะสั่งสมบารมี ด้วยการสร้างเสนาสนะภายในวัด เช่นโบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลาการ เปรียญ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ความปรารถนาอันแรงกล้าของหลวงปู่หลิวเป็นผลให้อำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สถิตย์ทั่วจักรวาล ดลบันดาล ให้ท่านมี วาจาสิทธิ์ กับ ญาณทิพย์ มาขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกของเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่ายากดีมีจนไม่ว่าใกล้ไกลที่ไหนท่านก็จะถามถึงทุกข์สุขของทุกคนท่านได้ช่วยเหลือจนหมดสิ้น ปฐมวัย หลวงปู่หลิว ปณฺณโก มีนามเดิมว่า หลิว นามสกุล แซ่ตั้ง (นามถาวร) บิดามีนามว่า คุณพ่อเต่ง แซ่ตั้ง มารดามีนามว่า คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ.2448 ปีมะเส็ง ( วันเกิดตามหลักฐาน ข้อมูลทะเบียนราษฎร์คือ วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2451 ) ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 9 คน คือ 1. นายเหรียญ แซ่ตั้ง 2. นางแอ๊ว ตู้นิ่ม 3. หลวงปู่หลิว ปณฺณโก 4. นายปลิว จุฬาเบา 5. นางลั้น เตี้ยเนตร 6. นางปั่น เหมือนจินดา 7. นายหนู นามถาวร 8. นายปู นามถาวร 9. นางปุ่น นามใจ ครอบครัวของหลวงปู่หลิว อยู่ในชนบทที่ห่างไกลความเจริญ บิดามารดามีอาชีพทำนา ต่างคนต่างต้องช่วยกันทำมาหากินกันไปตามสภาวะ หลวงปู่หลิวในวัยเด็กมีความคิดที่แตกต่างจากเด็กในวัยเดียวกันอย่างสิ้นเชิง แทนที่จะไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กในวัยเดียวกัน แต่หลวงปู่หลิว กลับมองเห็นความยากลำบากของบิดามารดา และพี่ ๆ หลวงปู่หลิวจึงได้ช่วยงานของบิดามารดา และพี่ ๆ อย่างขยันขันแข็ง ทำให้เป็นที่รักใคร่ของบิดามารดา ตลอดจนพี่น้องเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีความขยันและตั้งใจอดทน ทำให้หลวงปู่หลิวได้เรียนรู้วิชาช่าง ควบคู่ไปกับการทำไร่นา เพราะบิดานั้นเป็นช่างไม้ฝีมือดีคนหนึ่ง เมื่อเติบใหญ่หลวงปู่หลิว จึงมีฝีมือทางช่างเป็นเลิศจนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านโดยทั่วไป ในบางครั้งหลวงปู่หลิวท่านต้องไปรับจ้างคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมา ท่านต้องเดินทางไกล เพื่อไปทำงาน บางครั้งการไปกลับใช้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆนานา บางครั้งทำให้ท่านถึงกับล้มป่วยไปเลยก็มี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงปู่ท่านมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรมากมาย ( เพราะหลวงปู่หลิว ท่านมีลักษณะเด่นอยู่ในตัวท่านเองคือ มีความจำเป็นเลิศ ) ครอบครัวโดนรังแก ในสมัยก่อนจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม ถือว่าเป้นแหล่งแดนเสือ ดงนักเลง มีโจรผู้ร้ายมากมาย ครอบครัวของท่านก็โดนรังแกจากเหล่าโจรผู้ร้ายเช่นเดียวกัน ท่านพูดถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า” โยมพ่อโยมแม่เป็นคนซื่อ โจรมาโขมยวัว โขมยควายก็มิได้ต่อสู้ขัดขืน ทำให้ต้องสูญเสียข้าวของที่หาได้มา อาตมาจึงเจ็บใจแค้นใจ เป็นที่สุด ที่จะทำอะไรมันได้ “ด้วยเหตุนี้หลวงปู่จึงคิดหาหนทางช่วยเหลือครอบครัว และชาวบ้านด้วยการเรียนวิชาคาถาอาคม เข้าป่าเรียนอาคม หลวงปู่จึงชักชวนญาติลูกพี่ลูกน้อง 2 คน หนีออกจากบ้าน มุ่งสู่แดนกระเหรี่ยง เข้าป่าลึกก้ต้องนอนตามโคนต้นไม้ ตกดึกน้ำค้างแรง หนาวเหน็บ ยุงป่ามากมาย เสียงเสือคำรามมาแต่ไกล อุปสรรคขวางหน้าเพื่อนร่มทางได้ตายไปหนึ่งด้วยพิษไข้ป่า จะเอาศพกลับบ้านก็ไกลเกิน จึงตกลงกันเผาสพกลางป่า แล้วนำกระดูกใส่ห่อผ้าติดตัวไปด้วย ส่วนญาติผู้น้องเมื่อเห็นญาติผู้พี่ตายไปต่อหน้าต่อตา เกิดมีอาการท้อใจ จึงขอแยกทางจากหลวงปู่เพื่อกลับบ้าน หลวงปู่หลิวจึงได้เดินทางตามลำพัง จนกระทั้งถึงหมู่บ้านชาวกระเหรี่ยง หลวงปู่ได้เรียนวิชาอาคม จากหัวหน้าชาวกระเหรี่ยงอยู่หลายปี วิชาที่เรียนนั้นใช้สำหรับฆ่าคน มีทั้งวิธีผูกและวิธีแก้ ตั้งแต่ปรุงยาสมุนไพร….ยาสั่ง…..ยาพิษ…..ยางไม้ยางน่อง……การเสกหนังควาย….เสกหุ่น…..การเรียนวิชาผีตายโหง….เรียกวิญญาณเสือสมิง……เรียกวิญญาณพญาเต่าเรือน…. กลับมาตุภูมิครั้งแรก เมื่อกลับมาบ้านพ่อแม่ต่างดีใจ เมื่อทราบความเป็นมา…..หลวงปู่ได้ทดลองใช้วิชาที่ร่ำเรียนมากับพวกโจร พวกโจรเมื่อเข้ามาปล้นหมู่บ้านก็โดนผีบิดไส้บ้าง….โดนหนังควายบานในท้องบ้าง….ฯลฯ จึงรู้ว่ามีคนดีมีฝีมือ คอยปกป้องอยู่ จึงมากราบขอขมาลาโทษ ทำให้หมู่บ้านหนองอ้อมีความสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ได้กลับไปเรียนวิชาจากหัวหน้าชาวกระเหรี่ยงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวบ้าน ในครั้งนี้หลวงปุ่ได้เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณ….การดูฤกษ์ยาม….การทำตะกรุดคงกระพันจากหนังเสือและ ปล้องไผ่ ชีวิตที่ยังไม่เปิดเผย หลังจากนั้นหลวงปู่ได้กลับมาทำไร่ทำนาตามปก ในช่วงนี้ท่านได้แยกตัวออกมาทำงานของตัวเอง ท่านทำหลายอย่าง ทั้งเผาถ่าน เก็บเห็ดขาย แม้แต่รับจ้างทำไร่ก็เคย ช่วงที่ท่านทำไร่นี้ท่านก็ไดชอบพอและอยู่กินกับ นางหยด และมีลูกชายหนึ่งคน สู่โลกแห่งธรรม เมื่อท่านได้ใช้ชีวิตอยู่กับนางหยดระยะหนึ่งแล้ว ได้สัมผัสกับกระแสความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชาตัณหาราคะต่างๆ ท่านเริ่มจับตามองความเป็นไปต่างๆ ด้วยความเบื่อหน่าย จนกระทั่งท่านอายุ 27 ปีท่านได้เกิดความเบื่อหน่ายสุดขีดในการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกัน ซึ่งไม่ถูกกับนิสัยที่แท้จริงของท่าน หลวงปู่หลิวจึงได้ขออนุญาตบิดา มารดา เพื่อออกบวช แสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้น หลวงปู่หลิวได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2478 (วันเสาร์ แรม 15 ค่ำ เดือน 6) เวลา13.00 น. โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ วัดบ้านเลือก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ (เกจิอาจารย์ชื่อดัง จ.ราชบุรี) วัดโบสถ์ เป็นหพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดบ้านเลือก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่หลิวได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ปณฺณโก” แปลว่าผู้บริบูรณ์แล้ว เมื่อุปสมบทแล้วท่านได้มาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเล่าเรียนท่างพระปริยัติธรรมและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานควบคู่กันไป ทั้งยังมีความสะดวกสบายเพราะมีญาติพี่น้องและชาวบ้านให้ความอุปฐากอย่างใกล้ชิด ในพรรษาแรกนั้นท่านได้ช่วยวัดสร้างกี่กระตุก (ที่ทอผ้า) ขึ้นจำนวน 50 ชุด และได้ช่วยเจ้าอาวาสสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ เรียนอาคมเพิ่มบารมี หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจในการก่อสร้างแล้วท่านได้ไปโปรดอารย์ชาวกระเหรี่ยง สร้างความปลาบปลื้มแก่อาจารยืหัวหน้าเผ่าและชาวบ้าน ที่หลวงปู่เป็นศิษย์กตัญญู ในคราวนี้หลวงปู่หลิวยังได้รับการถ่ายทอดคาถามหามนต์ มหาเวทย์ของชาวมอญ อันเป็นเคล็ดวิชาที่อาจารย์ชาวกระเหรี่ยงเคยบวชเรียนอยู่หลายพรรษา จากนั้นหลวงปู่หลิวได้วกลงใต้ ไปกราบหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อแดงได้ขึ้นกัมมัฏฐานให้ และสอนวิชาทำสมาธิ เข้าญาณสมาบัติ สอนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ตลอดจนการเขียนลบผงอิทธิเจ….ปัทถมัง….ตรีนิสิงเห….ฯลฯ จากนั้นไปกราบพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช พ่อท่านคล้ายได้เมตตาสอนเคล็ดวิชาต่างๆ ให้ด้วยความปราณี ในช่วงนี้เองหลวงปู่หลิวได้พบกับอาจารย์อุ่ม เสือสมิง “จอมขมังเวทย์ชาวใต้” หลวงปู่หลิวได้ธุดงค์มาถึงตลาดห้วยมุด นครศรีธรรมราช ได้พบชายคนหนึ่งรูปร่างสูงใหญ่กำยำ สักยันต์เต็มตัว….รู้ในภายหลังว่าชื่ออาจารย์อุ่ม เป็นอาจารย์สักยันต์ด้วยนำมันเสือ ได้เข้ามายกมือไหว้ ขอให้ช่วยเป่ากระหม่อมให้หน่อย หลวงปู่หลิวมองด้วยสายตาก็รู้ว่า ชายผู้นี้มีวิชาอาคมต้องการจะมาลองดี จึงบอกไปว่า”ของๆโยมดีอยู่แล้ว” แต่อาจารย์อุ่มกลับไม่ยอม ดักหน้าดักหลัง หลวงปู่ทนรำคาญไม่ไหวจึงเป่ามนต์ไปที่ศีรษะ ทันทีที่ต้องมนต์ใบหน้าของอาจารย์อุ่มเปลียนไปทันที ดวงตาเบิกกว้าง อ้าปากคำราม คล้ายเสียงเสือ ชู 2 แขนกางมือจะตะปบใส่ หลวงปู่หลิวใช้มือขว้าคว้าศีรษะกดหัวลงกับพื้น ปากก็ตะโกนว่า “เสือ..เสือ…ใครไม่เคยเห็นเสือมาดูทางนี้” ………….ชาวบ้านร้านตลาดแตกตื่น พากันวิ่งมาดูพระธุดงค์มือซ้ายแบกกลด และเครื่องอัฏฐบริขารพะรุงพะรัง มือขวากดศีรษะชายร่างใหญ่ หมอบดิ้นไปมาคล้ายเสือ หลวงปู่จึงถามว่า “ยอมไหม” เสืออาจารย์อุ่มจึงพูดขึ้นว่า” ยอม …ยอมแล้ว…ยอมแล้วขอรับ ปล่อยมือเถิดครับ หัวผมจะแตกอยู่แล้ว” พอหลวงปู่หลิวเอามือออก อาจารย์อุ่มก็คลานไปกราบแทบเท้าขอขมาลาโทษ ไม่นึกว่าพระธุดงค์หนุ่มรูปนี้จะมีวิชาเกินตัว ปากก็พร่ำว่า “ผมยอมแล้ว” และยังพูดต่อไปอีกว่า “ขนาดพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน ยังไม่กล้าจับหัวผมเลย” พร้อมทั้งยกมือไหว้นิมนต์ให้ไปเยี่ยมสำนัก หลวงปู่หลิวทำใจดีสู้เสือ ที่สำนักของอาจารย์อุ่ม เลี้ยงผี เลี้ยงกุมารทอง เดินเพ่นพ่านไปหมด หลวงปู่หลิวจึงสะกดไว้ด้วยเวทย์มนต์ของอาจารย์ชาวกระหรี่ยง อาจารย์อุ่มได้นำคัมภีร์โบราณต่างๆ มาอวด พร้อมทั้งถวายเหล็กสักยันต์ เครื่องรางของขลังต่างๆ พร้อมทั้งแม่พิมพ์พระเครื่อง แต่หลวงปู่หลิวไม่ยอมรับ หลวงปู่หลิวคงรับไว้แต่แม่พิมพ์พระขนาดเขื่อง เป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัยนั่งบัว มีประภามณฑล ข้างๆ มีฉัตร คิดว่าจะนำแม่พิมพ์นี้ไปกดพระแจกแก่ศิษย์และผู้มีจิตศรัทธา หลวงปู่ให้ชื่อพระพิมพ์นี้ว่า “พระประตูชัย” หลวงปุ่สร้างเป็นพระเนื้อดินเผา ใต้บานมีตะกรุด 1 ดอก จากนั้นท่านได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่ออุ้ม จ.นครสวรรค์ การสร้างเสนาสนะและบูรณปฏิสังขรณ์ พ.ศ.2482 ได้บูรณะ วัดท่าเสา จ.สุพรรณบุรี ท่านได้สร้างกุฏิขึ้น 3 หลัง และพระอุโบสถอีก 1 หลัง พ.ศ.2484 ท่านไดไปจำพรรษา ณ วัดสนามแย้ จ.กาญจนบุรี ท่านได้บูรณะสิ่งต่างๆ มากมายไม่ว่า กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ และโบสถ์ จนมีความเจริยรุ่งเรือง จนเป้นที่รู้จักันดีของประชาชนทั่วไป อุดมการณ์แห่งการสร้างสรรคืพัฒนาของหลวงปู่หลิวสืฐสานการดำเนินการต่อเนื่องในวัดสนามแย้แห่งนี้ เป้นเวลายาวนานถึง 36 ปี ท่านเห็นว่าการทำงานของท่านสมควรแก่เวลาแล้ว ควรกระจายไปสู่ถิ่นอื่นบ้าง พ.ศ.2520 สร้างวัดไทรทอง ที่ ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ให้เวลาก่อสร้าง 5 ปีจึงแล้วเสร็จ พ.ศ.2525 สร้างวัดไร่แตงทอง ที่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง เมื่อวันที่ 7 มิถนายน พ.ศ.2535 กลับมาตุภูมิอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงปู่หลิวได้พัฒนาวัดไร่แตงทอง จนเป็นที่เจริยรุ่งเรืองแล้ว ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง แล้วได้ย้ายกลับมาจำพรรษยังวัดหนองอ้อ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี อันเป็นวัดบ้านเกิด อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2540 ท่านกลับมาจำพรรษาในฐานะพระลูกวัดองค์หนึ่งเท่านั้น ท่านใช้เวลาสร้างกุฏิหลังใหม่ด้วยเวลาเพียง 5 เดือนเศษ สิ้นแล้วหลวงปู่หลิว เริ่มเข้ากลางปี พ.ศ.2543 หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเสาร์5 เป็นต้นมา หลวงปู่หลิวเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ปรัชญฐาอันลึกซึ้งของหลวงปู่หลิว ขณะที่ท่านอาพาธ ก็คือไม่ยินดียินร้ายกับการจะอยู่หรือการจะไป ร่างกายของคนเราเป็นของผสม เมื่อถึงคราวแตกดับก็ต้องแตกดับ หลวงปู่หลิวเคยปรารภกับลูกหลานว่าเกิดที่หนองอ้อก็อยากตายที่หนองอ้อ และหากว่าถึงเวลาที่ท่านต้องจากไปก็อย่าได้หน่วงเหนี่ยวท่านไว้ เพราะวัฏสงสารเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ในค่ำคืนวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2543 เวลา 20.35 น. หลวงปู่หลิวได้ละสังขารอย่างสงบท่ามกลางลูกหลานที่คอยมาดูใจเป็นครั้งสุดท้าย ที่กุฏิของท่าน วัดหนองอ้อ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี รวมอายุ95 ปี 74 พรรษ


เขียนโดย :X-MEN เจ้าของรายการ January 19, 2017 09:47:46


อีกหนึ่งวัตถุมงคลอันเรื่องลือ พญาเต่าหิน เป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคล ที่หลวงพ่อท่านตั้งใจสร้างอย่างพิธี พิถันตามตำนานโบราณ ด้วยพลังจิตรอันเข้มแข็ง ที่ท่านอัญเชิญพระพุทธบารมี ลงมาประดิษฐาน ใน พญาเต่าเรือนมีชาวบ้านในระแวกนั้น เคยพบปรากฏการปฎิหารเกี่ยวกับเต่ามาแล้ววันที่หลวงปู่ทำพิธี บริกรรมคาถาเสกวัตถุมงคลพญาเต่าเรือน มีคนเคยเห็นเต่าเดินขึ้นมาจากบึงนับร้อยตัวมาล้อมที่ศาลา กลางน้ำ ลูกศิทธิ์ที่ใกล่ชิดหลวงปู่เล่าให้ฟังว่าท่านเสกจนพญาเต่าหินขยับตัวได้เรื่องนี้ชาวบ้านแถวนั้น วิธีบูชาพญาเต่าเรือน ให้จัดหาอาสนะที่ขังน้ำได้ จัดหาแท่นวางแล้วใส่น้ำล้อมแท่น อย่าให้น่้ำท่วมแท่น ก่อนที่จะเอาเต่าขึ้นแท่น แล้วตั้งจิตรอธิฐานตามความปารถนา คาถาบูชาพญาเต่าเรือน ตั้งนะโม3จบ อุกาสะ อุกาสะ ข้าพระเจ้าขออาราธนาเอาอภิญญาปาฎิหารย์ลาภสักการะทุกสิ่งทุกอย่างของพญาเต่า เรือนจงมาบังเกิดแก่(....)แห่งข้าพเจ้า ขอเดชะคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า คุณพระอาริยะเจ้า ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันต์ พระพุทธเจ้าอันพระองค์ได้ทรงสร้าง พระบารมี ได้เสวยพระชาติเป็นพญาเต่าเรือน พระองค์ทรงศักดาอานุภาพ ด้วยพระเมตตาธรรม ข้าพเจ้าจึงขอ น้อมนำ(....)สักการบูชา หวังเป็นเศรษฐีมั่งมีเงินตรา(ข้าเป็น.....)ขอให้ลาภผลอนันต์ ขอให้คุ้มครอง ป้องกันรักษาเภทภัยนานา ขออย่าพบพานศัตรูจงพินาศ ข้าทาสบริวารให้ซื่อตรง จงได้เมตตาด้วยเดชะ พระคาถาพญาเต่าเรือน นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ นะเลื่อนปื้น โมฟั่นเฟือน พุทธงวยงง ธาหลงใหล ยะสารพัด จังงังพรามณะ จิตติบุรุษ สะหญิงชายทั้งหลายเอ๋ย ทั้งแผ่นดินจงมานิ มานิจิตตังมะ มะ สัพเพชะนา พหูชะนา เพทิสา สะมาคะตา เอหิ เอหิ กาลโภชนา วิการโภชนา อาคัดฉายะ อาคะฉาหิ ปิยังมะมา สะมาคะตัง (กราบ1ครั้ง) นะโมพุทธายะ นิจจะนังราพัง นะชาลิติ โหมิทิพพระคาถังนิจถิตัง(กราบ1ครั้ง) มะอะอุ เมตตา จะมะหาราชา สัพพะเสน่หา จะปูชิตัง สุขังจะมะหาราพัง โกธังวินาศสันตุ สัพเพเสน่หา จะปูชิโต (กราบ1ครั้ง) คาถาย่อ นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ  ( ภาวนา 3  คราบ 7 คราบ) ให้บูชาทุกวัน เช้า กลางคืนก่อนนอน


เขียนโดย :X-MEN เจ้าของรายการ January 19, 2017 09:47:38


ประวัติหลวงปู่ทิม อัตตสันโต วัดพระขาว "พระครูสังวรสมณกิจ" เมืองกรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา มีพระเกจิอาจารย์เรืองนามอยู่ 3 รูปร่วมสมัยและเป็นสหธรรมิกกันประกอบด้วย หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา, หลวงปู่มี วัดมารวิชัย และหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ซึ่งมีวัยวุฒิไล่เลี่ยกัน โดยเฉพาะด้านไสยเวทวิทยาคมก็เป็นเอกอุต่างกัน แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ หลวงปู่เมี้ยน และหลวงปู่มี ละสังขารไปก่อน ภาระเจตนาบุญได้รับการสืบสานต่อโดยหลวงปู่ทิม พระเกจิอาจารย์แห่งวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ล้วนแล้วแต่ต้องนิมนต์หลวงปู่ทิมเพื่อทำหน้าที่ประธานฝ่ายสงฆ์ จุดเทียนชัยหรือดับเทียนชัย แต่แล้วเมื่อช่วงเช้าวันที่ 22 มีนาคม 2552 คณะศิษย์ของหลวงปู่ทิม อัตตสันโต ต้องได้รับข่าวเศร้า เมื่อหลวงปู่ทิมหรือพระครูสังวรสมณกิจ ได้มรณภาพลงอย่างสงบ ขณะเข้ารับการรักษาอาการป่วย ณ โรงพยาบาลโรคทรวงอก อ.เมือง จ.นนทบุรี สิริอายุ 96 พรรษา 62 ...ประวัติหลวงปู่ทิม วัดช้างให้ ประวัติ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว อัตโนประวัติหลวงปู่ทิม มีนามเดิมว่า ทิม ชุ่มโชคดี เกิดวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2456 ปีฉลู ที่ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายพร้อม และนางกิ่ม ชุ่มโชคดี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนลูกทั้งหมด 6 คน คนแรก พี่ทอง ชุ่มโชคดี เป็นหญิง เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย คนที่ 2 พี่เทียบ ชุ่มโชคดี  คนที่ 3 พี่ทัศน์ ชุ่มโชคดี เป็นผู้ใหญ่เก่า หมู่ 5 ต.พระขาว (เสียชีวิตแล้ว) คนที่ 4 พี่ทอด ชุ่มโชคดี  คนที่ 5 หลวงปู่ทิม ชุ่มโชคดี มรณภาพ วันที่ 22 มีนาคม 2552 คนที่ 6 นายสังวาลย์ ชุ่มโชคดี ช่วงวัยเยาว์ หลวงปู่ทิมได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดพิกุล จนถึงอายุ 13 ปี เมื่อจบ ป.4 จึงออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา ก่อนจะถูกเกณฑ์เป็นทหาร ถูกส่งตัวไปปฏิบัติราชการสงครามฝรั่งเศส รวมทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทั่งปลดประจำการ หลวงปู่ทิมจึงได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2475 ณ วัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อปุ๋ย วัดขวิด เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อหลิ่ว วัดโพธิ์กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการหลิ่ว เจ้าอาวาสวัดพิกุล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แต่บวชอยู่ในบวรพระพุทธศาสนาได้เพียง 1 พรรษา ท่านได้ลาสิกขาแต่งงานมีครอบครัวและมีบุตร-ธิดา 4 คน หลังจากนั้น หลวงปู่ทิมท่านได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2491 ขณะอายุได้ 35 ปี ณ วัดพิกุล อ.บางบาล โดยมี พระครูอุดมสมาจารย์ (หลวงพ่อสังข์) วัดน้ำเต้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อัตตสันโต หลังอุปสมบท หลวงปู่ทิมได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ในระหว่างที่หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุลนั้นได้มีชาวบ้านนำเอาศพคนตายมาฝากไว้ในกุฏิถึง 2ศพด้วยกัน ทำให้เกิดมีแนวกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ พร้อมทั้งอาศัยหลักกรรมฐานที่ว่า สามัญในลักษณะ หมายความว่า ลักษณะที่เสมือนกันใน สังขารทั้งหลายทั้งปวง สิ่งนั้นก็คือ อนิจจัง ( ความไม่แน่นอนในสังขาร ) ทุกข์ขัง (ความวุ่นวาย , ไม่สงบสุข ในสังขาร ) อนัตตา (ความตาย , ไม่มีตัวตน ) จากนั้นหลวงปู่ทิม ท่านได้ไปจำวัดอยู่ยังวัดน้ำเต้ากับอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสังข์ อยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าประมาณ 1 เดือน ในระหว่างที่อยู่กับหลวงพ่อสังข์นั้น หลวงพ่อสังข์ได้ไต่ถามถึงความเป็นมาของการปฏิบัติกรรมฐานที่ผ่านๆ มาเมื่อหลวงพ่อสังข์ ทราบเรื่องแล้ว หลวงพ่อสังข์ก็กล่าวชมเชยว่า ใช้ได้ทั้งๆที่ยังไม่มีใครสอนหรือต่อให้มากอน พร้อมทั้งพูดเสริมขึ้นอีกว่า "ฉันบวชให้คุณฉันได้บุญหลาย" ต่อจากนั้น หลวงปู่ทิมก็ได้นั่งปุจฉา-วิสัชนาอยู่กับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิด และทราบซึ้งในธรรมะมาก นับว่าเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่ท่านได้รับรู้แนวทางการเจริญธรรมกรรมฐานอย่าง จริงจังหลวงปู่ทิมมีเวลาอยู่เจริญกรรมฐานกับหลวงพ่อวัดน้ำเต้าอย่างใก้ลชิดเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม ต่อมาหลวงปู่ทิมจึงย้ายมาจำพรรษายังวัดพระขาว ตั้งแต่ พ.ศ.2492 และขึ้นเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.2498 จวบจนปัจจุบัน ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม หลวงปู่ทิม วัดพระขาว สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก เมื่อ พ.ศ.2500 พ.ศ.2510 ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลน้ำเต้า ตำบลพระขาว พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสังวรสมณกิจ พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม ผลงานด้านการพัฒนา หลวงปู่ทิมท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์สภาพของวัดที่เก่าแก่แต่เดิม ให้มั่นคงถาวรทั้งหมด ดังที่ได้เห็นทุกวัน ซึ่งเกิดจากบุญญาบารมีของหลวงปู่ทิม วัดพระขาวอย่างแท้จริง ซึ่งมีผลงานปรากฏดังนี้คือ หลวงปู่ทิม ปรับปรุงกุฏิทั้งหมด รวม 9 หลัง เมื่อปี พ.ศ.2499-2500 สร้างหอสวดมนต์ เมื่อปี 2501 เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถจากกระเบื้องดินให้เป็นกระเบื้องเคลือบ ยกช่อฟ้าพระอุโบสถ ทำหน้าบันพระอุโบสถทำกำแพงรอบพระอุโบสถ ทำรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กรอบๆ บริเวณวัดสร้างศาลาพักร้อนหน้าวัด สร้างฌาปนสถาน (เมรุเผาศพ) ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และสร้างศาลาเรียงพร้อมทั้งเปลี่ยนกระเบื้องศาลาทั้งหมด ทำห้องสุขาชาย-หญิง พร้อมห้องน้ำ สร้างถังน้ำคอนกรีตใหญ่และศาลา สร้างสะพานคอนกรีตจากกุฏิไปยังศาลาการเปรียญ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ จากกระเบื้องเคลือบมาเป็นกระเบื้องลายเทพนม สร้างภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ และเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก หลวงปู่ทิม วัดพระขาว เป็นพระนักปฏิบัติ และชอบการปลีกวิเวกอยู่ในป่าช้า สมถะรักสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่จับต้องปัจจัยเงินทอง มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ มีความเมตตาต่อทุกคนที่ไปกราบไหว้โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ หรือคนรวยคนจน ท่านให้ความเสมอภาค การเข้ากราบไหว้ขอพร หลวงปู่ทิม วัดพระขาว ทุกคนมีโอกาสเหมือนกันหมด และจะได้รับแจกของดีจากมือท่านโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง อาทิ พระขุนแผน ปลาเงินปลาทอง ลูกอมชานหมาก ภาพถ่ายสี ขนาดพกติดตัวที่เลื่องลือกันว่ามีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภสูง หลวงปู่ทิม วัดพระขาว โดดเด่นด้านวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อสังข์ พระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นต้น จนมีความเชี่ยวชาญชำนาญในวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ หลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่านมีปริศนาธรรม คำสอนอันทรงคุณค่า รวมทั้งการสร้างและเสกวัตถุมงคลจนเลื่องชื่อ เป็นที่ต้องการของนักสะสมและลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะ ลูกอมชานหมาก สำหรับวัตถุมงคลหลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระกริ่ง พระขุนแผน สิงห์งาแกะหลวงปู่ทิม และเหรียญมีสร้างหลากรุ่นหลายปีมาก รุ่นที่หยิบยกมาเอ่ยถึงนี้ นับวันเริ่มหายากแล้ว พระกริ่งสร้างปี 2539 พระขุนแผนเคลือบ สร้างปี 2540 และเหรียญรูปเหมือน สร้างปี 2540 จัดสร้างถวายหลวงปู่ทิม สำหรับแจกฟรีให้กับบรรดาลูกศิษย์ลูกหา โดยนักธุรกิจใจบุญ "บุญมา บุญเลิศวณิชย์" ซึ่งขออนุญาตสร้างไว้ทั้งหมด 14 พิมพ์ด้วยกัน โดยเฉพาะ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ห้วงนี้ลูกศิษย์ลูกหาสายตรงตามเก็บหมด ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทิมนั่งเต็มองค์ ด้านบนเขียนว่า พระครูสังวรสมณกิจ (หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต)ด้านล่างเขียนว่า รุ่นแรก ส่วนด้านหลังส่วนบนเขียนว่า "แจกวันเกิดอายุ ๘๔-๑๕ ม.ค.๔๐ วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา" ตรงกลางมียันต์ ด้านล่างเขียนว่า "รุ่นบุญรวยมา" ก่อนหลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่านละสังขารยังเมตตาอธิษฐานจิตพระขุนแผนและพระนางพญา ให้วัดโล่ห์สุทธาวาส จ.อ่างทอง เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมบุญบูชา เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนสร้างอุโบสถวัดโล่ห์ฯ นอกจากนี้ ยังอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นสุดท้าย รุ่นที่ระลึกครบ 8 รอบ 96 ปี เพื่อนำรายได้บูรณะวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา   ท้ายที่สุด ด้วยสภาพสังขารที่ร่วงโรยไปตามวัย กอปรด้วยอายุที่ล่วงเลยเข้าสู่บั้นปลาย หลวงปู่ทิม อัตตสันโตท่านย่อมไม่สามารถหลีกหนีสัจธรรมชีวิตที่เคยกล่าวปรารภไว้ได้เช่นกัน เมื่อเวลา 10.55 น. วันที่ 22 มีนาคม 2552 หลวงปู่ทิมได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการปอดบวมและติดเชื้อในกระแสโลหิต หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หรือ"พระครูสังวรสมณกิจ"ย้ำอยู่เสมอว่า วัตถุมงคลทั้งหลายล้วนเข้มขลังด้วยอำนาจแห่ง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แต่ไม่ว่าใครจะมีพระเครื่องที่ดี เด่น ดังเพียงใดก็ตาม ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถหนีความตายไปได้เพราะนี่คือสัจธรรมของชีวิต


เขียนโดย :X-MEN เจ้าของรายการ January 19, 2017 09:47:29

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระสมเด็จทั่วไป/7151499


              หลวงพ่อ สุพจน์ วัดสุทัศน์ฯปี2484 พิธีอินโดจีน (ตำราโบราณของพระครูลมูล วัดสุทัศน์พระรุ่นจัดสร้างโดยลพ.สุพจน์ นามเต็มของท่านคือ "พระครูพุทธมนต์วราจารย์" ท่านเป็นพระแบบว่าเก่งเงียบ ท่านมีวิชาลบผงสร้างผงจากตำราโบราณของวัดสุทัศน์ (ตำราโบราณของพระครูลมูล วัดสุทัศน์) เป็นสหายธรรมกับหลวงปู่นาคและหลวงปู่หิน วัดระฆัง จึงได้รับมอบผงสมเด็จวัดระฆังที่แตกหักเป็นจำนวนมาก ท่านเป็นหนึ่งในเกจิที่ ร่วมปลุกเสกพระยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ และงานพุทธาภิเษกใหญ่ ๆ เช่นพิธีวัดประสาทฯ ปี 06 พิธีปลุกเสกพระประจำจังหวัดชลบุรี ปี 09 ที่วัดป่าชลบุรี ก็มีชื่อของท่านในทำเนียบ พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการนิมนต์มาร่วมพิธีปลุก เสกด้วย สมเด็จพิมพ์นี้สร้างที่วัดสุทัศน์ฯ เมื่อปี 84 (พิธีอินโดจีน) โดยลูกศิษย์ของท่านนำพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหักจำนวนมากและไม่ได้ใครสนใจมา ถวายท่าน ท่านจึงนำพระเหล่านั้นมาบดเป็นผงละเอียดและได้แกะ พิมพ์ขึ้นมาใหม่ และได้กราบเรียนสมเด็จพระสังฆราชแพเพื่อขออนุญาตนำพระเข้าปลุก เสกในพิธีนั้น พร้อม ๆ กับวัตถุมงคลต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงได้มอบให้แก่ลูกศิษย์ตลอดจน ทหาร ตำรวจ และข้าราชการต่าง ๆ ที่ต้องไปราชการสงครามในสมัยนั้นเพื่อไปเป็นมงคล ปรากฎว่า "ประสบการณ์ดีเยี่ยม" พอข่าวนี้แพร่ออกไปปรากฎว่ามีประชาชนต่างมาทยอย ขอพระสมเด็จจากท่านจำนวนมาก ซึ่งท่านก็มอบให้ด้วยความเต็มใจจนหมด จึงเรียกได้ว่า พระชุดนี้ "ดีนอก ดีใน" จริง      


เขียนโดย :atts29 เจ้าของรายการ January 18, 2017 06:31:47

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุด-จ.นครปฐม/7131371


วัดใจ ปลาตะเพียนทอง หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ปี 2511 พร้อมบัตรรับรอง       หลวงพ่อเต๋ คงคสุวัณโณ ชาวบ้านเรียกติดปากว่า หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม   หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2434 ณ บ้านสามง่าม หมู่ที่ 4 โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ บู่ นามสกุล สามงามน้อย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 7 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 4 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 เมื่ออายุได้ 7 ปี ลุงของท่านซึ่งบวชอยู่ที่วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อว่า หลวงลุงแดง เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้นรูปหนึ่ง ได้ไปเยี่ยมญาติที่บ้านสามง่าม ได้พบหลานชายจึงได้ชวนให้ไปอยู่ด้วยกันที่วัดกาหลงเพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียน หนังสือ ธรรมะ และเวทมนต์คาถา เป็นเวลา 3 ปี จนสามารถเขียนอ่านได้เป็นอย่างดี จึงได้กลับมาบ้านเกิด หลวงลุงแดงของหลวงพ่อเต๋ ท่านเป็นผู้สนใจในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเห็นว่าบ้านสามง่าม ควรจะมีวัดวาอารามสำหรับให้พระภิกษุและชาวบ้านประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้ชักชวนหลานชายไปสร้างวัดขึ้นที่บ้านดอนตูม ห่างจากบ้านสามง่ามประมาณ 3 กิโลเมตร เมื่อหลวงพ่อเต๋ มีอายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดง ร่วมจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงลุงแดง ประวัติหลวงลุงแดงท่านเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความเชี่ยวชาญ พุทธาคมทั้งทางด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากมาย อีกทั้งหลวงพ่อเต๋ มีศักดิ์เป็นหลานของท่าน จึงได้รับถ่ายทอดวิชามาอย่างครบถ้วนโดยไม่มีการปิดบังอำพราง พ.ศ. 2454 ท่านมีอายุได้ 21 ปี จึงได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า คงทอง (ภายหลังเปลี่ยนเป็น คงสุวัณโณ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกติดปากว่า คงทอง พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเต๋ คือ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เป็นพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังมากในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่มี พุทธาคมเข้มขลังในขณะนั้น หลวงพ่อเต๋ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางธรรม สมถกัมมัฏฐาน ตลอดจนรับการสืบทอดด้านพุทธาคมต่าง ๆ ต่อมาไม่นาน หลวงลุงแดง มรณภาพลงที่วัดกาหลง สมุทรสาคร ก่อนมรณภาพท่านได้ฝากวัดสามง่ามให้หลวงพ่อเต๋ดูแล หลวงพ่อเต๋ เริ่มออกธุดงค์ระหว่าง พ.ศ. 2455 – 2472 เป็นเวลา 17 ปี รวมทั้งศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติม นอกจากที่ได้ศึกษาจาก หลวงลุงแดง และ หลวงพ่อทา หลังจากหลวงพ่อทา มรณภาพแล้ว ท่านได้เดินทางไปขอศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จากนั้นออกธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์อื่นทั้งพระสงฆ์และฆราวาส อาทิ หลวงพ่อกอน วัดบ่อตะกั่ว นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปเรียนกับพระอาจารย์ทางจังหวัดพิจิตร ยังมีอีกหลายรูปในขณะที่เดินธุดงค์ รวมทั้งอาจารย์ฆราวาส ท่านเป็นชาวเขมร เคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร หลวงพ่อเต๋ได้พบอาจารย์ท่านนี้ที่เขาตะลุง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ เคารพนับถือมาก ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านจะทำการไหว้ครูเขมรมิได้ขาด


เขียนโดย :reset_35 เจ้าของรายการ January 18, 2017 05:42:27

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อผง-เนื้อว่าน/7148941


การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อแพนั้น ท่านมิได้เน้นเรื่องความสวยงาม หากแต่เน้นไปในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลนั้น ๆ โดยท่านจะพิถีพิถันในการปลุกเสก ทั้งวิชาอาคม ทั้งอำนาจจิต เพื่อให้เกิดความแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง และด้วยพลังบริสุทธิ์ดังกล่าว จึงทำให้วัตถุมงคลของหลวงพ่อแพรุ่นต่าง ๆ มีประสบการณ์อภินิหารมากมาย สืบสานยาวนานมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อแพได้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงรุ่นหนึ่งขึ้นมาหลายพิมพ์ กล่าวกันว่า พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพสร้างขึ้น มีอานุภาพด้านพุทธคุณ ไม่ได้เป็นรองพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง แม้แต่น้อย ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากหลวงพ่อแพท่านมีศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อแพจึงได้สร้างพระสมเด็จขึ้น โดยยึดถือแนวทางการสร้างวัตถุมงคลชุดพระสมเด็จของสมเด็จโตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลักใหญ่หลวงพ่อแพท่านได้ลบผง เรียกว่า ผงวิเศษห้าประการ เป็นผงหลักในการสร้างพระสมเด็จ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ โดยเฉพาะผงพุทธคุณนั้น ท่านเขียนและลบด้วยพระคาถาชินบัญชร เพื่อใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย นอกจากผงวิเศษห้าประการแล้ว ยังมีผงอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ผงบดจากหนังสือ ๗ ตำนาน, ผงยันต์ในคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น ในการทำผงแต่ละอย่างนั้น มีเคล็ดลับที่หลวงพ่อแพถือปฏิบัติคือ รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก, ตั้งจิตสงบเป็นสมาธิจดจ่ออยู่กับคาถาอาคม และอักขระต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริกรรมภาวนา ต้องแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพจัดสร้างขึ้น จึงมีพุทธานุภาพทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เยี่ยมยอดทุกรุ่น ทุกแบบพิมพ์ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ท่านสร้างพระไว้มาก ถ้าจะประเมินกันอย่างคร่าว ๆ ก็คงไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ แบบพิมพ์เป็นอย่างต่ำ แต่ที่นิยมแพร่หลายนั้น ส่วนมากจะเป็นเนื้อผง เช่น พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสิวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ ซึ่งลูกศิษย์ลูกหา ญาติโยม ต่างก็เชื่อว่า มีพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยม, แคล้วคลาด อุดมด้วยลาภผล โภคทรัพย์พูลทวี ซึ่งก็คือ คำอวยพรของท่าน หลวงพ่อแพ ท่านมักจะอวยพรแก่ทุกคนที่ไปกราบท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกวันอาทิตย์แรกของทุกเดือน ท่านจะไม่รับนิมนต์ไปนอกวัด จะอยู่ที่วัดเพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยม ที่บางท่านก็เดินทางมาไกล เพื่อที่จะได้มีโอกาสกราบท่าน รับวัตถุมงคลจากมือของท่าน แล้วท่านก็จะอวยพรว่า ขอให้รวยขอให้รวย อาจเป็นเพราะท่านเป็นพระปรารถนาให้ทุกคนมีความสุข เป็นเรื่องสุดยอดแห่งความดี อักขระเลขยันต์หลังองค์พระ ก็เป็นเสมือนคำอวยพรของท่าน เพื่อที่เราจะได้ระลึกถึงท่านที่สร้างสมแต่บุญกุศล หรือความดีงามมาตลอดชีวิต เป็นเพชรเม็ดงามที่สดใสและแข็งแกร่ง ใสสะอาดและบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับพระอาจารย์ธรรมโชติ แห่งบ้านบางระจัน ซึ่งชาวสิงห์บุรี เคารพรักและภาคภูมิใจ ราวกับท่านคือ จิตวิญญาณของชาวสิงห์บุรีทั้งหมด พระผงที่มีเนื้อหาจัดที่สุด ฝีมือปราณีตที่สุด และมีราคาแพงมากที่สุดของท่าน คือ พระสมเด็จแพพัน ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ คำว่า แพพัน นั้น ปรากฎที่ด้านหลังองค์พระ อยู่ชิดขอบองค์พระด้านล่าง ใต้รูปเหมือนของท่านที่หันไปทางด้านซ้ายมือของเราทุกรุ่น โดยมีคำว่า “แพ” อยู่ด้านซ้าย และคำว่า “พัน” อยู่ด้านขวา คำว่า “แพ” หมายถึง “หลวงพ่อแพ” ส่วนคำว่า “พัน” นั้น หมายถึง “หลวงพ่อพัน” หรือ “พระอธิการพัน” เจ้าอาวาสวัดพิกุลทององค์ก่อน เป็นพระอาจารย์ที่บวชเณรให้กับท่าน เป็นผู้ที่ท่านรักและ เคารพนับถือประดุจบิดา ขอบบนสุด เหนือรูปเหมือน ที่อยู่ด้านซ้ายมือของเรา จะเป็นอักขระตัว “พุทซ้อน” ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากพระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ส่วนขอบบนสุดด้านขวา จะเป็นอักขระตัว “อัง” และมีตัว “อุ” อยู่เหนือตัว “อัง” ด้านหน้าของพระสมเด็จแพพัน จะเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือ ทรงไกเซอร์ ซึ่งต่อมารูปแบบพระสมเด็จที่สร้างในภายหลัง คือ แพ ๒ พัน, แพ ๓ พัน ...๔ พัน....๕ พัน...๗ พัน....๙ พัน..จะยึดเอกลักษณ์พิมพ์ทรงเดียวกันทั้งด้านหน้าและหลัง จะต่างกันที่ตัวเลขที่อยู่ตรงกลางใต้รูปเหมือน ระหว่างคำว่า “แพ” กับ “พัน” และเนื้อหามวลสารเท่านั้น ส่วนพระสมเด็จพิมพ์อื่น ๆ ก็มีมากมายหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ทรงเจดีย์, พิมพ์ปรกโพธิ์, พิมพ์ฐานสิงห์,พิมพ์ฐานแซม ฯลฯ ซึ่งด้านหลังจะมีอักขระเลขยันต์ที่ต่างกันไป แต่แทบทุกรุ่น จะต้องมีอักขระ ๒ ตัว คือ ตัวพุทซ้อน และ ตัว “อัง” “อุ” อยู่ด้วยเสมอ ถือเป็นอักขระทีเป็นเอกลักษณ์ของท่านก็ย่อมได้ สำหรับพระสมเด็จแพพันนั้น หากมองด้วยตาเปล่า สีสันวรรณะขององค์พระจะออกเป็นสีขาวหม่นเล็กน้อย แต่ถ้าส่องกล้องดู จะเห็นรูพรุนเท่า หรือเล็กกว่าปลายเข็มอยู่ทั่วองค์พระ ซึ่งเกิดจากการยุบตัว หรือ การหดตัวของผิวพระที่มีอายุการสร้างมากกว่า ๔๐ ปี และสิ่งที่ควรระวังก็คือ ในภายหลังได้มีการสร้างพระสมเด็จแพพันขึ้นมาอีก แต่ต่างกันที่เนื้อหามวลสาร อย่างเช่น พระสมเด็จแพพัน ปี ๒๕๑๖ เนื้อแร่ธาตุดำ เนื้อแร่ธาตุแดง เป็นต้น วัตถุมงคลของท่าน แม้จะสร้างเป็นจำนวนมาก หลายรุ่น หลายแบบ ตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ที่ท่านได้สร้างเอาไว้ ก็หาได้เพียงพอกับความต้องการของสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาไม่ ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านเริ่มหายาก และมีราคาแพงขึ้นทุกวัน จึงเป็นโอกาสอันดีที่พวกปลอมแปลงพระ ได้ทำของปลอม ของเลียนแบบ ออกมาจำหน่าย และใช่ว่าจะมีมาในช่วงที่ท่านมรณภาพก็หาไม่ มันมีมาตั้งแต่สมัยท่านมีชีวิตอยู่แล้ว พอมันรู้ว่ารุ่นไหนดัง รุ่นไหนได้รับความนิยม มันก็จะทำการปลอมแปลง เลียนแบบทันที ทั้ง ๆ ที่ของบางอย่างที่วัดยังมีอยู่เลย หลวงพ่อแพท่านจึงปกาศิตเอาไว้ว่า “ของแท้ ของดี ต้องมีที่วัดเท่านั้น” จะพบว่า วัตถุมงคลของท่านที่สร้างแต่ละรุ่น แต่ละแบบในระยะแรก ๆ นั้น ไม่ได้มีการโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน แต่ก็หมดไปจากวัดทุกรุ่น แม้บางรุ่นจะอยู่ที่วัดนานเป็นสิบปีก็ตาม


เขียนโดย :เฮียตุ้ย เจ้าของรายการ January 14, 2017 07:06:05


พระน่ารักดีครับ


เขียนโดย :โชคอนันต์ปากน้ำชุมพร เจ้าของรายการ January 13, 2017 12:02:54

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุด-จ.นครปฐม/7073818


เมตตาโชคลาภ ค้าขายดีครับ ปลาตะเพียนหลวงพ่อเต๋ ปี 2511 พิมพ์เล็ก หายาก พร้อมบัตรรับรอง


เขียนโดย :นำทรัพย์ เจ้าของรายการ January 09, 2017 16:00:06

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุด-จ.นครปฐม/7070966


 หลวงพ่อปลุกเสกเต่า มักมีพุทธคุณทุกด้าน แต่จะเน้นดังทางด้านค้าขายเจริญรุ่งเรืองมีโชคลาภ ปฐมปี 2540 เป็นพระเต่าพิมพ์ใหญ่ได้มาจากกรรมการจัดสร้างโดยในปี2540 โดยในสมัยนั้นโรงเรียนสอนพระธรรมมกุฎราชกุมารวิทยาลัยถนนจรัลสนิทวงศ์กรุงเทพขาดทุนทรัพย์สร้างตีกอาคารเรียนหลังใหม่จีงได้ขออนุญาติหลวงปู่หลิววัดไร่แตงทองในขณะนั้นฃี่งยังมีชีวิตอยู่ขอจัดสร้างพระบูชาพญาเต่าเรีอนมีรูปลอยองค์หลวงปู่หลิวนั่งหลังเต่าโดยหลวงปู่หลิวเมตตาอนุญาติให้จัดสร้างพระบูชาพิมพ์นี้ขี้นโดยทำการหล่อภายในบริเวณวัดไร่แตงทองปี2540 และนำเข้าพิธีพร้อมกับเหรียญเต่ารุ่นปลดหนี้40 ที่พิมพ์พระสังขจายอยู่หลังเต่า พร้อมกับรุ่นเมตตามหาลาภ ที่มีรูปหลวงปู่หลิวอยู่บนหลังเต่า เหรียญโดยพระในพิธีนี้ออกทุนจัดสร้างโดยมกุฎราชวิทยาลัย หลังจากเข้าพิธีนั่งปรกปลุกเสกพุทธาภิเษก โดยหลวงพ่อที่วัดไร่แตงทองหลวงพ่อ ได้นำส่งพระทั้งหมดมอบให้วิทยาลัย นำไปออกวัดหารายได้จัดสร้างตีกอาคารเรียนดังกล่าว และทางวิทยาลัยยังได้นำพระเข้าพิธีอีก 2 วาระคือ ในวาระที่ 2 ได้ขออนุญาติเข้าปลุกเสกที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดพระแก้วสมัย2540ด้วย  ส่วนวาระที่ 3 ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ที่วิทยาลัยโดยขอใช้พระอุโบสถวัดศรีสุดาราม เป็นสถานที่ทำพิธีด้งกล่าว พระในพิธีนี้ หลังจากได้แบ่งจากวัดไร่แตงทองบางส่วนที่เป็นพระบูชาเรียบๆ กรรมการจัดสร้างได้ระดมศิษย์เณร และพระที่เล่าเรียนสมัยนั้น นำปากกาหัวทองจารอักขระตามที่หลวงพ่อออกแบบไว้ โดยจารทั้งรอบตัวกระดองเต่า และท้องเต่าแต่เนื่องจากพระเณรหลายองค์ช่วยกันจาร และพระมีจำนวนมากลายมือจีงต่างกันบ้าง และปากกาหัวหมึกทอง ก็จัดฃื้อหัวใหญ่บ้างเล็กบ้าง แถมเณรบางองค์นีกสนุกได้จารฝ่าเท้าเต่าด้วย บางส่วนตอนหลังจีงมีพระบูชาบางองค์ มีจารฝ่าเท้าเต่าออกมาเข้าสนาม โดยบางท่านไม่รู้ข้อเท็จจริงไปตีเก๊ในพระของบางท่านที่มาปล่อยในเวป พระบูชารับทราบมาว่าจัดสร้าง 3 เนื้อคือ เนื้อทองเหลืองรมดำมีจารหมึกทองมี 2 พิมพ์ใหญ่ และเล็กไม่มีพิมพ์กลาง เนื้อที่ 2 คือเนี้อนะวะจำนวนจัดสร้างน้อยมาก  และพิมพ์ 3 มีไม่กี่องค์ เป็นเนื้อหินขัดทราย โดยโชว์อยู่ในตู้กุฎิของเจ้าอาวาสวัดศรีสุดา การสร้างพญาเต่าเรือน ซึ่งมีฤทธานุภาพสามารถลบเลือนคดีความต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในด้านโชคลาภ หากบูชาและภาวนา “นาสังสิโม” ไปเรื่อยๆ คำว่า “อด” ไม่มี ทำธุรกิจการค้ามีแต่ความเจริญรุ่งเรือง บ้านใดมีพญาเต่าเรือนอยู่อาศัยภายในบ้าน จะไม่มีความเดือดร้อน แม้นในยามทุกข์ พญาเต่าเรือนจะคอยขจัดปัดเป่าให้สิ่งไม่ดีทั้งหลายมลายหายไป จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ครอบครัวญาติพี่น้องรักใคร่สามัคคี ไม่ทะเลาะกัน เหมาะกับยุคนี้ที่บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะข้าวยากหมากแพง นับวันจะมีเภทภัยภยันตรายเกิดขึ้นแบบไม่คาดฝัน ถ้ามีสิ่งศักดิ์สิทธ์คุ้มครอง เกื้อหนุนจะยิ่งส่งเสริมให้มีความมั่งมีศรีสุขแคล้วคลาดปลอดภัย


เขียนโดย :X-MEN เจ้าของรายการ December 15, 2016 01:23:26


***************วัดใจ 20**************** สมเด็จเผ่าพิมพ์เจดีย์ 2495 สวยเดิมเก็บดีเนื้อจัดครับ


เขียนโดย :ชายพระเครื่อง เจ้าของรายการ December 14, 2016 02:06:24

หน้าที่ :  27