สวยเดิม สร้างปี 2549 ยุคเเรกครับ พร้อมบัตรรับรอง
สำหรับมวลสาร ตลอดจนผงพุทธคุณ และ ผงวิเศษต่างๆ ที่ใช้ในการจัดสร้างมีมากมายอันประกอบไปด้วย ๑ ผงพลายกุมาร ของ หลวงปู่ทิม อันเป็นสมบัติส่วนตัวของ หลวงพ่อสาคร ที่ท่านเก็บสะสมไว้ ๒ ผงมหานิยมน้อย และ ใหญ่ ๓ ผงจินดามณีรูปทอง (ผงชนิดนี้ พุทธคุณทางด้านเมตตา มหานิยม ไม่แพ้ ผงพลายกุมาร แต่อย่างใด) ๔ ผงปฐวีธาตุ หลวงปู่คำพัน โฆษะปัญโญ พระอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ ท่านพระอาจารย์ไพรวัลย์ที่ท่านไปร่ำเรียนมาหลายพรรษาด้วยกัน และ หลวงปู่คำพัน ท่านเมตตามอบให้เก็บไว้ส่วนตัว จึงนำมาเป็นส่วนผสมพระชุดนี้ด้วย. ๕ ผงจตุคามรามเทพ ปี ๒๕๓0 ท่านพระอาจารย์ไพรวัลย์ ได้รับมอบมาจากลูกศิษย์ใกล้ชิดท่านหนึ่ง. ๖ ผงที่เหลือจากการสร้าง หนุมาร พิชัยยุทธ ที่ท่านพระอาจารย์ไพรวัลย์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ในการจัดสร้าง เพื่อนำไปแจกให้กับ ทหารที่ปฏิบัติ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเดือน พฤษภาคม ของปีนี้. ๗ ผงพุทธคุณ ผงเก่าของพระที่ชำรุดแตกหัก และ ของพระเกจิอาจารย์เก่าๆ อีกมากมายหลายท่านด้วยกัน เป็นต้น. และนอกจากนี้ พระพรหม ๔ หน้ารุ่นแรกนี้ ยังได้มีการกดพิมพ์พระโดย พระ และ เณร ในวัดหนองกรับ เองทั้งหมด ไม่ใช่พระที่ปั๊ม มาจากโรงงาน แต่อย่างใด โดย เริ่มต้นกดพิมพ์พระตั้งแต่เดือน มีนาคม ของปีนี้ และ ท่านพระอาจารย์ไพรวัลย์ และ หลวงพ่อสาคร ก็ได้ดำเนินการปลุกเสกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งได้มีการดำเนินการจัดพิธีปลุกเสกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๘ อันเป็นวันแห่งฤกษ์ ที่เป็นมงคล โดยเริ่มพิธีปลุกเสกตั้งแต่เวลา ๙.๓0 น. โดยประมาณ ไปจนถึง เวลา ๑๑.๓0 น. เป็นอันเสร็จพิธี ดังภาพประกอบ ที่ผู้เขียน ที่เป็น ๑ ในคณะกรรมการที่ร่วมกันจัดสร้าง ได้เก็บภาพมายืนยัน แบบ ชัดเจน โปร่งใส ไร้กังวล ว่าหลวงพ่อสาคร ท่านปลุกเสกให้แน่นอน ครับ. จะเห็นได้ว่า จำนวนจัดสร้างมีไม่มาก อีกทั้ง พระพรหม ๔ หน้ารุ่นแรกนี้ หลวงพ่อสาคร ท่านมีดำริ กับ ท่านพระอาจารย์ไพรวัลย์ มานานแล้วว่า ท่านอยากจะสร้าง รวมทั้งท่านเป็นคนเลือกรูปแบบ ตลอดจนอักขระ เลขยันต์ต่างๆ โดยตัวท่านเองทั้งหมด จึงทำให้ พระพรหม ๔ หน้ารุ่นแรก รุ่นนี้ออกมา สวยสด งดงาม เข้มขลัง น่าบูชา อีกทั้งขนาดกำลังพอดี ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป ขนาดของพระโดยประมาณ เท่าๆกับพระพิมพ์สมเด็จทั่วไป ครับ. พร้อมบัตรรับรอง องค์จริงเนื้อ ออกชมพู ตอนนี้หายากมาก สร้างน้อยมากๆ หมดเเล้วหมดเลยนะครับ
*พระธรรมขันธ์ รุ่น 4 เมื่อพระของขวัญรุ่น 3 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำได้สร้างไว้เป็นรุ่นสุดท้ายได้หมดลงแล้ว และปรากฏว่ายังมีผู้นิยมต้องการพระวัดปากน้ำอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นทางวัดปากน้ำโดยคณะศิษยานุศิษย์จึงได้ทำการจัดสร้างพระขึ้นใหม่อีกรุ่นหนึ่ง นับเป็นรุ่นที่ 4 ต่อจากรุ่นที่ 3 ที่หลวงพ่อได้สร้างไว้ ทางวัดได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นโดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสเป็นประธาน และได้มอบหมายให้พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระดำเนินการจัดสร้างพระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 ขึ้นมามีจำนวน 800,000 องค์ (แปดแสน) โดยได้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา และได้เริ่มนำออกให้เช่าบูชาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 และได้จำหน่ายหมดในปี พ.ศ. 2527 พระรุ่น 4 นี้มีชื่อเรียกว่า “พระธรรมขันธ์” มีคำชี้แจงตอนหนึ่ง ของพระเดชพระคุณพระภาวนาโกศลเถร ในสมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิรมเป็นคำชี้แจงที่พิมพ์ห่ออยู่กับพระธรรมขันธ์ ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า ....เนื่องด้วยพระของขวัญของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่นได้แจกหมดไปแล้วเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ทางวัดจึงได้จัดทำพระผงขึ้นใหม่ เรียกว่า “พระธรรมขันธ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ” โดยนำผงพระของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่น คือรุ่น 1 รุ่น 2 รุ่น 3 ผสมรวมกันเพื่อทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และนำเข้าพิธีโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้วิชาธรรมกายทำพิธีตลอดไตรมาสสามเดือนในพรรษาและได้เริ่มแจกในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 อันเป็นวันออกพรรษา เมื่อท่านทั้งหลายได้รับไปแล้ว จงเก็บรักษาไว้ให้ดี เมื่อมีอุปสรรคอันใดเกิด่ขึ้น จงตั้งจิตอธิษฐานเอาเถิด... ในการสร้างพระธรรมขันธ์นี้ ทางวัดได้จัดพิมพ์พระคะแนนในรุ่นนี้ขึ้นด้วย เรียกว่า พระคะแนนรุ่น 4 โดยใช้แม่พิมพ์เดียวกัน พระคะแนนนี้มีความแตกต่างพิเศษจากพิมพ์ธรรมดาอยู่ 2 ประการ คือด้านหน้าองค์พระจะใส่เส้นเกศาของหลวงพ่อไว้ทุกองค์ เส้นเดียวก็มี หลายเส้นก็มี บางองค์อาจจะไม่ปรากฏเห็น เนื่องจากหลุดหายไปหรือไม่ก็อาจจะฝังจมอยู่ในเนื้อ ด้านหลังองค์พระจะมีตัว “ภ” พิมพ์อยู่เป็นพิเศษอยู่ ด้วย อักษรตัว “ภ” นี้ย่อมาจากคำว่า “พระครูภาวนาภิรม” ชื่อของผู้สร้างในสมัยนั้น พระคะแนนนี้มีทั้งชนิดพิมพ์ 4 เหลี่ยม และชนิดพิมพ์ 3 เหลี่ยม ทางวัดได้นำออกให้ประชาชนได้นำออกให้ประชาชนได้เช่าบูชาในราคาองค์ละ 100 บาท ส่วนพิมพ์ธรรมดาองค์ละ 25 บาทเท่านั้น พระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ ถึงแม้จะเป็นรุ่นที่คณะศิษย์ของหลวงพ่อเป็นผู้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกหรือเป็นรุ่นแรกที่คณะศิษย์ได้สร้างขึ้นก็ตาม หากจะกล่าวถึงในด้านชื่อเสียงและความนิยมโดยทั่วไปแล้วก็นับได้ว่าไม่แตกต่างจากพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 ที่หลวงพ่อได้สร้างขึ้นเนื่อเพราะว่าในรุ่นนี้ ได้นำเอาผงพระของขวัญของหลวงพ่อทั้ง 3 รุ่นมาเป็นส่วนผสมด้วยประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือได้ทำพิธีบรรจุอานุภาพตามหลักวิชาธรรมกายเหมือนรุ่น 1-2-3 ซึ่งทางคณะศิษย์ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย จนถึงปัจจุบัน พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์มีผู้นิยมนำไปสักการบูชากันอย่างแพร่หลายจนกระทั่งหมดในปี พ.ศ. 2527 แม่พิมพ์ แม่พิมพ์ของพระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จัดแยกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทพิมพ์สี่เหลี่ยมกับประเภทพิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์สี่เหลี่ยมนั้นมี 2 พิมพ์ และพิมพ์สามเหลี่ยมมี 2 พิมพ์เช่นกัน เมื่อรวมกันแล้วพระธรรมขันธ์รุ่น 4 จึงมีทั้งหมด 4 พิมพ์ด้วยกัน ขนาดของพระธรรมขันธ์แบบสี่เหลี่ยมทั้งสองพิมพ์กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 2.4 ซม. ความหนาประมาณ 6 มม. ชนิดสามเหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์ฐานกว้างประมาณ 1.7 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. หนาประมาณ 6 มม. พุทธลักษณะทั่วไปของพระสี่เหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์นั้นเป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นลักษณะจีบนิ้วอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ข้างซุ้มทั้งสองด้านมีเส้นม่านเป็นขีดๆ เรีงกันเป็นลำดับ ฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น ด้านหลังองค์พระพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า “ธรรมขันธ์” พุทธลักษณะทั่วไปของพระพิมพ์สามเหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์ เป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนาเช่นกัน พระหัตถ์ซ้ายที่ว่างบนพระเพลา จีบเป็นวงเข้าหากัน และพระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นก็มีลักษณะจีบนิ้ว ขอบรอบองค์พระเป็นลายกนกสวยงาม ด้านหลังพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า “ธรรมขันธ์” ส่วนผสมรุ่น 4 พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีส่วนผสมหลายอย่างจะกล่าวพอเป็นสังเขปดังนี้ 1.ปูนขาว ที่ทำจากเปลือกหอย 2.กล้วยน้ำว้า 3.ดอกไม้ต่างๆ โดยเฉพาะดอกมะลิ 4.ผงพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 5.อัญมณีบางส่วน 6.เส้นเกศาของหลวงพ่อ (โดยเฉพาะพระคะแนน) 7.น้ำมันตั้งอิ๊ว 8.และอื่นๆ เนื้อพระรุ่น 4 พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ แยกประเภทของเนื้อพระออกโดยทั่วๆ ไปเป็น 4 ประการคือ 1. เนื้อสีขาว 3. เนื้อสีคล้ำหม่น 2. เนื้อสีเหลือง 4. เนื้อเกล็ดสีขาว (สังขยา) พระเนื้อสีขาว ลักษณะของเนื้อจะเป็นสีขาวนวลไม่ใช่ขาวซีด อีกประการหนึ่งจะเป็นสีขาวอมเหลืองอ่อนๆ พบมากโดยทั่วไป เนื้อสีเหลือง เนื้อพระชนิดนี้มีทั้งชนิดสีเหลืองอ่อน สีเหลืองเข้มและสีลักษณะเหลืองใสคล้ายเนื้อเทียน เนื้อพระชนิดนี้จะเป็นที่นิยม เนื้อสีคล้ำหม่น ลักษณะคล้ายๆ จะเป็นสีดำๆ หรือน้ำตาลปึกแก่ๆ สีเนื้อชนิดนี้มีพบอยู่ไม่มากนัก เนื้อเกล็ดสีขาว พระเนื้อเกล็ดหรือที่รู้จักกันเรียกันโดยทั่วไปว่า “เนื้อสังขยา” นี้ เป็นพระที่มีเนื้อแปลกแตกต่างออกไปจากเนื้ออื่นๆ ลักษณะของเนื้อพระจะขึ้นเป็นเกล็ดขาวๆ เต็มไปทั่วทั้งองค์ หากถูกจับถูบ่อยๆ หรือถูกความเปียกชื้น เกล็ดนี้ก็จะหลุดล่อนออกได้ สีของเนื้อพระด้านในที่เป็นสีเหลืองก็มี ที่เป็นสีคล้ำๆ ดำๆ คล้ายสีน้ำตาลปึกก็มี พระเนื้อเกล็ดนี้หากสังเกตให้ดีจะพบว่ามีจำนวนอัญมณีผสมรวมอยู่มาเป็นพิเศษ ข้อสังเกต พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีข้อสังเกตบางประการที่น่าสนใจ คือเราจะพบเห็นว่า พระบางองค์อาจจะมีจุดตำหนิต่างๆ ที่ผิดหูผิดตา หรือผิดแปลกแตกต่างออกไปจากองค์อื่นๆ โดยทั่วไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นที่หูหรือที่ซุ้มก็ตาม หรือบางทีจะปรากฏมีเส้นเป็นรอยพิมพ์แตกบ้าง และบางองค์ ปาก จมูก จะใหญ่โตกว่าพิมพ์อื่นๆ ธรรมดาโยทั่วไปบ้าง ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการถอดพิมพ์บ้าง เกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดร้าวบ้าง จากสาเหตุดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดการผิดเพี้ยนขึ้นมา แต่ถึงอย่างไรก็ตามพิมพ์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ถึงจะมีอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อยเท่านั้น ไม่ถือเป็นประมาณในการนับแยกพิมพ์ พระธรรมขันธ์รุ่น 4 ก็มีเพียง 4 พิมพ์ตามแม่พิมพ์ต้นแบบเท่าเดิมทุกประการ มิใช่นอกเหนือมากไปกว่านี้ ++ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.watpaknam.org/amulet/amulet_detail.php?id=61 ________________________________________________________________________ ***************************************************************************************************** ***พระองค์นี้เป็น พระผงวัดปากนํ้า รุ่น 4 พิมพ์สี่เหลี่ยม(หน้านางบัว2ชั้น) เนื้อสังขยา(หายากมากครับ) สภาพพอสวย มีบัตรรับประกันครับ ++ไม่มีกล่องใส่พระเดิมนะครับ แต่มีใส่ตลับแสตนเลสพร้อมใช้ครับ ********************************* <<เริ่มที่20บาทครับ>> ******************************
สร้างปี 2536 เนื้อทองผสม วัดสุทัศน์ สวยงาม พร้อมบัตรรับรองครับ
วัดใจ.........เริ่มที่เคาะแรกเหรียญนพรัตน์ นพคุณ นพรัตน์คู่บุญ นพคุณคู่บารมี บารมี 8 ทิศ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม พลอยกลางสีเขียว เหรียญนพรัตน์ นพคุณ นพรัตน์คู่บุญ นพคุณคู่บารมี สัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สุดยอดเหรียญอัญมณีประจำวันเกิด เหรียญนพรัตน์ นพคุณ นพรัตน์คู่บุญ นพคุณคู่บารมี สัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อนุสรณ์ 1 ปี พระมงคลสิทธิการ(หลวงพ่อพูล) ละสังขารดับขันธ์ ดำริสร้างโดยพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (พระครูน้ำฝน) ศิษย์เอกหลวงพ่อพูล รักษาการเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนบูรณะโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดไผ่ล้อม และสร้างอาคารเรียนพระมงคลสิทธิการ(หลวงพ่อพูล) โรงเรียนวัดไผ่ล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างที่ชัดเจนและมีเหตุผลสำคัญยิ่ง เหรียญนพรัตน์ นพคุณ สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า ด้วยการบรรจุอัญมณีประจำวันเกิดทุกวัน ครบทั้ง 8 วัน วันอาทิตย์ ฝังอัญมณีสีแดง, วันจันทร์ ฝังอัญมณีสีเหลือง, วันอังคาร ฝังอัญมณีสีชมพู,วันพุธ(กลางวัน) ฝังอัญมณีสีเขียว,วันพฤหัสบดี ฝังอัญมณีสีส้ม,วันศุกร์ ฝังอัญมณีสีฟ้า,วันเสาร์ ฝังอัญมณีสีม่วง,วันพุธ (กลางคืน) ฝังอัญมณีสีดำ ด้านหน้าตรงกลางเหรียญทุกเหรียญ ฝังอัญมณีสีประจำวันเกิดสำหรับผู้ครอบครองและอัญเชิญยันต์พระคาถาหัวใจธาตุสี่ นะ,มะ,พะ,ทะและยันต์พระคาถาหัวใจยอดศีล คือ พุท์,ธะ,สัง,มิรวม 8 อักขระ เพื่อเสริมชีวิตให้เข้มขลังเน้นพุทธคุณทางเมตตา รอบนอกอัญเชิญยันต์พระคาถาอิติปิโส แปดทิศ รวมเป็นคาถาพุทธคุณ 56พระคาถา ซึ่งเป็นพระคาถาทรงอานุภาพเอนกประการ คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายรอบด้าน จะเดินทางไกลที่เปลี่ยวคนเดียว บริกรรมคาถาอิติปิโส แปด ทิศ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ด้านหลังตรงกลางเหรียญมีคำว่า “พูล” มงคลนาม แปลว่า บ่อน้ำแห่งความชุ่มฉ่ำ สัญลักษณ์เทพเจ้าแห่งเมตตา ครอบด้วยยันต์พระคาถาหัวใจพระพุทธเจ้า ยันต์พระคาถาหัวใจธาตุกรณีย์ รอบนอกอัญเชิญยันต์พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นเสมือนมงกุฎสวมใส่อยู่บนศีรษะคุ้มกันอันตรายทั้งปวง( อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุท์ธะนาเมอิ อิเมนาพุท์ธะตังโสอิ อิโสตังพุท์ธะปิติอิ) จัดสร้างขึ้นเพื่อน้อมระลึกวันละสังขารดับขันธ์วันสำคัญวิสาขบูชาของพระพุทธเจ้าและในการที่หลวงพ่อพูล อัตตรักโข (พระมงคลสิทธิการ วิ.) พระอมตเถราจารย์ เทพเจ้าแห่งเมตตาบารมี จึงขนานนามเหรียญว่า “นพรัตน์ นพคุณ”เป็นมงคลนามสรรเสริญพระคุณอันยิ่งใหญ่ ความบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นรัตนะอันประณีตประเสริฐสุดแวดล้อมด้วยอัญมณีสีประจำวันเกิดทุกวัน และฝังอัญมณีสีประจำวันของผู้เกิดแต่ละวันแจ่มจรัส อัญเชิญยันต์พระคาถาที่มีตำนานเล่าขานตามโบราณจารย์ เหรียญนพรัตน์ นพคุณ นำเข้าพิธีปลุกเสก 11 พิธีธรรม พระเถราจารย์อธิษฐานจิตแผ่เมตตาพระพิธีธรรม สวดนพเคราะห์ สวดธรรมจักร บทเมตตาใหญ่ อาการ 32 ยึดหลักครูบาอาจารย์ อัญเชิญดวงวิญญาณหลวงพ่อพูลอธิษฐานจิตตลอด 11 พิธีธรรมใหญ่ ปีใหม่สากล ปีใหม่จีน ปีใหม่ไทย และพิธีมหามงคล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายา เสด็จแทนพระองค์ในการพิธีพุทธาภิเษก วันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 49 และพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์ (วิสาขบูชารำลึก) พระเถราจารย์ทั่วประเทศอายุรวมกันหมื่นกว่าปี อธิษฐานจิตแผ่เมตตา สำหรับพิธีปลุกเสกครั้งแรกปีใหม่สากลวันเสาร์ที่ 31 ธ.ค.48 ปีใหม่สากล พระเถราจารย์อธิษฐานจิต 32 รูป ได้แก่ หลวงพ่อแย้ม หลวงพ่อเจือ หลวงพ่ออั๊บ หลวงพ่ออวยพร หลวงพ่ออุ้น หลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อเฉลิม หลวงพ่อผล หลวงพ่อเอื้อน หลวงพ่อสิริ หลวงพ่อไพรินทร์ หลวงพ่อสะอาด หลวงพ่ออิฏฐ์ หลวงพ่อสำราญ หลวงพ่อวุฒิโชค หลวงพ่อวิลาส หลวงพ่อญาณกฤษฏิ์ หลวงพ่ออำนวย หลวงพ่อแย้ม หลวงพ่อแวว หลวงพ่อสุชัย หลวงพ่อสุวิชัย หลวงพ่อแขก หลวงตาละมัย หลวงพ่อเก๋ หลวงพ่อรอด หลวงพ่อเที่ยง หลวงพ่อประสิทธิ์ หลวงพ่อสำราญ หลวงพ่อวิไล หลวงพ่อฟู หลวงพ่อสมพงษ์พระพิธีธรรมสวดลำนำพระเวท สวดนพเคราะห์ สวดธรรมจักร บทเมตตาใหญ่ อาการ 32 พิธีปลุกเสกครั้งที่ 2 วันตรุษจีน(ปีใหม่จีน) วันอาทิตย์ที่ 29 ม.ค.49 พระเถราจารย์ 32 รูป ได้แก่ หลวงพ่อเขียว หลวงพ่อเจือ หลวงพ่ออั๊บ หลวงพ่ออุ้น หลวงพ่อสิริ หลวงพ่ออวยพร หลวงพ่อฟู หลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อแวว หลวงพ่อเฉลิม หลวงพ่อผล หลวงพ่อสำราญ วัดเสาธง หลวงพ่อเอื้อน หลวงพ่อสุชัย หลวงพ่อสุวิชัย หลวงพ่อธรรมโสภณ หลวงตาละมัย หลวงพ่อรอด หลวงพ่อไพรินทร์ หลวงพ่อสะอาด หลวงพ่อเจริญ หลวงพ่อสุนทร หลวงพ่อจง หลวงพ่อครูบาสายทอง หลวงพ่อสำราญ หลวงพ่อวิไล หลวงพ่อประสิทธิ์ หลวงพ่ออิฏฐ์ หลวงพ่อโกมินทร์ หลวงวุฒิโชค หลวงพ่อวิลาศ หลวงพ่อแย้ม หลวงพ่ออำนวย พิธีปลุกเสกครั้งที่ 3 ถึงครั้งที่ 10 ปีใหม่ไทย (สงกรานต์) รวม 8 วันสำคัญ วันที่ 9 –15 เม.ย.49 พระเถราจารย์อธิษฐานจิต วันละ 16 รูป และที่สำคัญวันพุธ พิธีปลุกเสก 2 รอบ คือพุธกลางวัน (12.00 น.) คือ เที่ยงวัน และพุธกลางคืน (24.00น.) คือ เที่ยงคืน โดยครั้งที่ 3 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 เม.ย. 49 พิธีพุทธาภิเษก พระพิธีธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ อัญเชิญพระพุทธมนต์บทสำคัญประกอบด้วยสัจจบารมี เมตตาบารมี ยิ่งด้วยนวหรคุณทั้ง 9 ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นสรณะที่พึ่งของเทวดาและมนุษย์ เสด็จสถิตประดิษฐานแผ่บารมีสู่เหรียญนพรัตน์ นพคุณ โดยแวดล้อมไปด้วยพระภาวนาจารย์จากภาคอิสาน-ตะวันออก นั่งปรกอธิษฐานจิต 16 รูป คือ หลวงพ่อแสง หลวงพ่ออินทร์ หลวงพ่อนิยม หลวงพ่อเสียน หลวงพ่อร่อน หลวงพ่อเสนาะ หลวงพ่อเกลี้ยง หลวงพ่อโทน หลวงพ่อจ้อย หลวงพ่อผาด หลวงพ่อบุญทา หลวงพ่อสนธิ์ หลวงพ่อแผน หลวงพ่อเมียด หลวงพ่อเจิม หลวงพ่อเล้ง นั่งปรกบริกรรมพระคาถา พิธีปลุกเสกครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 10 เม.ย.49 พิธีอาฏานาฏิยปริตร พระพิธีธรรม วัดมหาธาตุฯ สวดอัญเชิญพระคาถาท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 ผู้เป็นอธิบดีแห่งทิศทั้ง 4 ท่ามกลางพระภาวนาจารย์จากภาคเหนือนั่งปรกอธิษฐานจิต 16 รูป คือครูบาดวงดี ครูบาอิ่นคำ ครูบาบุญรัตน์ ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน ครูบาอินเพชร ครูบาสิทธิ ครูบาข่าย ครูบาสายทอง ครูบาปวง หลวงพ่อจง หลวงพ่อทุเรียน หลวงพ่อแขก หลวงพ่อไพรินทร์ หลวงตาละมัย หลวงพ่อรอด หลวงพ่อสะอาด เป็นคณะรอบมณฑลพิธีราชวัติฉัตรธงแผ่เมตตาบารมี พิธีปลุกเสกครั้งที่ 5 วันอังคารที่ 11 เม.ย.49 พิธีมหามงคลจักรวาฬ พระพิธีธรรม วัดระฆังฯ สวดอัญเชิญอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยพระบารมี 30 ทัศ อำนาจพระปริตร ตลอดถึงอานุภาพแห่งทวยเทพเทวาในหมื่นโลกธาตุและแสนโกฏิจักรวาฬ เพื่อประสิทธิ์ประสาทเหรียญนพรัตน์ นพคุณ โดยพระภาวนาจารย์จากภาคใต้16 รูป นั่งปรกอธิษฐานจิต แผ่เมตตา คือพ่อท่านเขียว พ่อท่านเอื้อม พ่อท่านเรือง พ่อท่านเจือ พ่อท่านเจียม พ่อท่านเนื่อง พ่อท่านเล็ก พ่อท่านบุญให้ พ่อท่านเนื่อง พ่อท่านท้วม พ่อท่านบุญมา พ่อท่านท้วม พ่อท่านหวน พ่อท่านผ่อง พ่อท่านหวาน หลวงพ่อเก็บ พิธีปลุกเสกครั้งที่ 6 วันพุธที่ 12 เม.ย. วันพุธกลางวัน พิธีมหามงคลจักรพรรดิ์ พระพิธีธรรม วัดนครสวรรค์ สวดอัญเชิญมหามงคลแห่งองค์จักรพรรดิเพื่อประทานพรให้บังเกิดอานุภาพแห่งเหรียญนพรัตน์ นพคุณ ให้เจริญด้วยมงคลรัตนะ แก้วแหวนเงินทองที่มีค่ายิ่งหรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษมีค่ามากจักบังเกิดแก่ชีวิต และประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญมั่นคง อยู่ดีกินดี มั่งมีศรีสุข เงินทองไหลมา นะชาลีติ โดยพระภาวนาจารย์อธิษฐานจิต 16 รูปคือ หลวงพ่อฟู หลวงพ่อทรง หลวงพ่อเฉลิม หลวงพ่อประดิษฐ์ หลวงพ่อผล หลวงพ่อเอื้อน หลวงพ่อเพี้ยน หลวงพ่อสวัสดิ์ หลวงพ่อทองพูน หลวงพ่อเกรียงไกร หลวงพ่อเที่ยง หลวงพ่อสงัด หลวงพ่อวุฒิโชค หลวงพ่อไพฑูรย์ หลวงพ่อองอาจ หลวงพ่อสะอาด พิธีปลุกเสกครั้งที่ 7 วันพุธกลางคืน พิธีทิพมนต์ภาณวาร พระพิธีธรรม วัดสุทัศน์ สวดอัญเชิญคำศักดิ์สิทธิ์จากเทวดาทุกชั้นฟ้าทั่วพสุธา ร่ายทิพย์มนต์พระเวท เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยพระภาวนาจารย์นั่งอธิษฐานจิต 16 รูป คือ หลวงพ่อแวว หลวงพ่อสุเทพ หลวงพ่อวิชัย หลวงพ่อประยูร หลวงพ่อญาณกฤษณ์ หลวงพ่ออำนวย หลวงพ่อโกมินทร์ หลวงพ่อแย้ม หลวงพ่อสำราญ หลวงพ่ออำนาจ หลวงพ่อสำราญ หลวงพ่อสุชัย หลวงพ่อสุวิชัย หลวงพ่อธรรมภณ หลวงพ่อปาน หลวงพ่อวิลาศ พิธีปลุกเสกครั้งที่ 8 วันพฤหัสที่ 13 เม.ย.49 พิธีนวัคคหายุสมธัมม์ พระพิธีธรรม วัดราชประดิษฐ์ สวดเจริญบทธรรมมะที่ควรประพฤติปฏิบัติเท่าจำนวนพระเคราะห์ทั้ง 9 รวมเป็น 117 หัวข้อธรรม เป็นหลักธรรมเพื่อดำเนินเข้าสู่หลักชัย ตามคัมภีร์พระปริตรโบราณ บรมคณาจารย์ได้เคยประกอบพิธีเป็นสิริสวัสดิ์ สืบชะตาแก่ตนเองและประเทศชาติให้สุขสงบร่มเย็น โดยพระมหานาคทั้ง 4 พร้อมพระภาวนาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต 16 รูป คือ หลวงพ่ออิฏฐ์ หลวงพ่อเจือ หลวงพ่ออวยพร หลวงพ่ออั๊บ หลวงพ่อบุญธรรม หลวงพ่อเพี้ยน หลวงพ่อสำอางค์ หลวงพ่อวิไล หลวงพ่อประสิทธิ์ หลวงพ่อสุนทร หลวงพ่อแกละ หลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อสิริ หลวงพ่อตี๋ หลวงพ่อจิ๋ว หลวงพ่อวีรศักดิ์ พิธีปลุกเสกครั้งที่ 9 วันศุกร์ที่ 14 เม.ย.49 พิธีรัตนมาลา พระพิธีธรรม วัดนครสวรรค์ สวดอัญเชิญปลุกยันต์อักขระพระคาถาจารึกลงในวัตถุมงคล ให้ตื่นให้เบิกบานทรงพลานุภาพทั้งด้านหน้าและด้านหลังแห่งเหรียญนพรัตน์ นพคุณ ตามโฉลกมงคลวันของผู้ครอบครอง ตามจักราศี พระภาวนาจารย์อธิษฐานจิต 16 รูป คือ หลวงพ่อประจวบ หลวงพ่อสวง หลวงพ่อทองสืบ หลวงพ่อธงชัย หลวงพ่อโฮ้ว หลวงพ่อทองหล่อ หลวงพ่อสมโภชน์ หลวงพ่อหมู หลวงพ่อเสนียน หลวงพ่อประเสริฐ หลวงพ่อสาคร หลวงพ่อแจ่ม หลวงพ่อประวิทย์ หลวงพ่อสุดใจ หลวงพ่อไพโรจน์ หลวงพ่อสุรินทร์ พิธีปลุกเสกครั้งที่ 10 วันเสาร์ที่ 15 เม.ย.49 เวลา พิธีมหาราชปริตร พระพิธีธรรม วัดไผ่ล้อม สวดอัญเชิญบทสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่จารึกใน 12 ตำนานแห่งพระเวทที่ยิ่งใหญ่ดุจจอมจักรพรรดิมหาราชผู้ทรงครองราชย์สมบัติอันยิ่งใหญ่ เพื่อประสิทธิ์ประสาทคุ้มครองป้องกันประเทศชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่คู่ราชอาณาจักรไทยสืบไป พระภาวนาจารย์อธิษฐานจิตปลุกเสก 16 รูป คือหลวงพ่อโด่ง หลวงพ่อทองหยิบ หลวงพ่อผล หลวงพ่อนะ หลวงพ่อพร หลวงพ่อจีน หลวงพ่อติ๋ว หลวงพ่อ หลวงพ่อวิเชียร หลวงพ่อจำนงค์ หลวงพ่อสิงห์ชัย หลวงพ่อขาว หลวงพ่อนรินทร์ หลวงพ่อชูชาติ พิธีปลุกเสกสุดท้ายครั้งที่ 11 วันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 49 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายา เสด็จแทนพระองค์ในการพิธีพุทธาภิเษกเหรียญนพรัตน์ นพคุณ โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานจุดเทียนชัย สมเด็จพระมหาธีราจารย์ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พระพรหมสุธี พระเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต 16 รูป หลวงปู่สุภา พ่อท่านทอง ครูบาดวงดี หลวงพ่อบุญมี หลวงปู่ลี หลวงปู่เหม่า พ่อท่านเนียม ครูบาอิ่นคำ หลวงปู่ถิร พ่อท่านบุญมาก ครูบาอ้าย หลวงปู่เก๋ หลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อเฉลิม หลวงพ่อเจือ หลวงพ่ออิฏฐ์ และนำเข้าพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์ วันวิสาขบูชา วันที่ 12 พ.ค.49 และที่สำคัญพระสงฆ์ทั้งวัดไผ่ล้อม นำโดยพระครูปลัดสิทธิวัฒน์(พระครูน้ำฝน)ได้ร่วมกันปลุกเสกทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00-06.00 น. วันเสาร์ที่ 31 ธ.ค.48 จนถึงวันศุกร์ที่ 12 พ.ค.49 รวม 133 วัน พิธีปลุกเสก เหรียญนพรัตน์ นพคุณ เหรียญอัญมณีประจำวันเกิด นับเป็นมหามงคลสูงสุด นำเข้าพิธีปลุกเสกถึง 11 พิธีธรรมใหญ่ ปีใหม่สากล ปีใหม่จีน ปีใหม่ไทย และพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์ นับได้ว่าวัตถุมงคลรุ่นนี้ เปี่ยมไปด้วยสิริมงคลพร้อมด้วยพุทธคุณตามแบบโบราณจารย์อย่างแท้จริง
“วัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม” เรียกสั้นๆว่าวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 และเป็นพระอารามแห่งแรกของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ ซึ่งรัชกาลที่4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ภายในวัดมีศิลปะในยุครัตนโกสินทร์งดงามตระการตาให้ชมมากมาย มีจิตรกรรมฝาผนังภาพการชมสุริยุปราคาในสมัยรัชกาลที่4 และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ด้วยเมื่อสร้างวัดราชประดิษฐ์ ฯ เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศฯ มาครองวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ซึ่งต่อมาภายหลังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เมื่อปีพ.ศ.2436 ถึงปีพ.ศ.2442 รวม 6 พรรษา ประวัติของสมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทโว) เมื่อย้อนไปเมื่อพระชนมายุได้ 18 ปี ทรงแปลพระปริยัติธรรม 9 ประโยค ได้เป็นเปรียญเอกตั้งแต่ยังทรงเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรองค์แรกที่ได้เป็นเปรียญ 9 ประโยคในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้ลาสิกขาไปเป็นฆราวาสอยู่พักหนึ่ง และเมื่อพระชนมายุได้ 38 ปี ได้กลับมาอุปสมบทใหม่ ว่ากันว่า ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และทรงแปลได้หมดทั้ง 9 ประโยค จึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ด้วยสมญานามว่า "สังฆราช 18 ประโยค"(โสฬส) ในปีพ.ศ.2515 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ในการฉลองวัดครบรอบ 108 ปี ทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคล พระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตรายแบบพัดยศและแบบเสมา ได้มีการจัดพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน พระกริ่งโสฬสเป็นพระกริ่งที่ฉีดชักกริ่งในตัว เนื้อทองเหลือง และรมดำ (บางองค์ก็ไม่มีเสียงกริ่ง) ชนวนที่นำมาหลอมฉีดพระกริ่ง และเหรียญ ได้นำมาจากคณาจารย์ ชื่อดังทั่วทั้ง ๔ ภาคของประเทศไทย ในการหลอมยันต์ในครั้งนี้ใช้เวลาในการหลอมเป็นเวลานานมาก เพราะยันต์ของคณาจารย์บางท่านกว่าจะหลอมละลายได้ ต้องใช้เวลานานพอสมควร ตามธรรมดาแล้ว แผ่นทองเหลือง, แผ่นทองแดง เมื่อใส่ลงในเบ้าหลอมแล้วก็จะละลายโดยง่ายดาย แต่ยันต์ที่นำมาหลอมทำพระกริ่ง และเหรียญพระนิรันตรายนั้นหลอมละลายได้ยากมาก รูปแบบของพระกริ่งโสฬส เป็นพระกริ่งฉีดวรรณะ เนื้อทองเหลืองรมดำ ถอดแบบมาจากพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ด้านหลังมีพระนามย่อของรัชกาลที่ 4 มปร. เนื้อเหลืองกะหลั่ยทอง แจกกรรมการ สร้าง 3000องค์ ทองแดงรมดำ จำนวนสร้าง 50,000 องค์ ตั้งแต่วันที่ 16-24 พฤศจิกายน 2515 โดยได้นำชนวนมาจาก การเททองหล่อพระนิรันตรายรุ่นแรก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเททองในการครั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เมตตามาเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายวัตถุมงคล รวมพระเกจิ 108 รูป อาทิ 1...พระราชสุทธาจารย์ (หลวงพ่อโชติ ระลึกชาติ) เป็นประธาน 2...หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ 3..หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ 4...หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงฆ์บุรี 5…หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 6…หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม 7… หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร 8..หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา 9…หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง 10… หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.อยุธยา 11…หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี 12… หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา 13..หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง จ.เลย 14.. พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม, จ.สกลนคร 15…หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, จ.ระยอง 16…หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล, จ.อุดรธานี 17… หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย 18…หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี 19..หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี 20..หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จนนทบุรี 21..หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ฯลฯ (ปกติแล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน) นอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนาทั้ง ๔ ภาคร่วมนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน นับว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่หาได้ไม่ง่ายนักในสมัย ๓๕ ปีที่ผ่านมา (พระคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกส่วนมากจะมรณภาพเกือบทุกรูปแล้ว) รูปแบบของพระกริ่งนั้น ด้านหน้าเป็นฐานกลีบบัว ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ม.ป.ร” รูปแบบเหรียญพระนิรันตรายแบบเสมาด้านหน้าเป็นรูปพระนิรัตราย ด้านหลังมีตราประจำวัด (ตราพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ ๔) และประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “ม.ป.ร” ซึ่งเป็นพระนามย่อของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๔ กล่าวได้ว่าพระกริ่งโสรสรุ่นนี้เป็นสิ่งล้ำค่าหาได้ยาก ผู้ใดมีไว้บูชาจะเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง หลวงปู่โต๊ะฯ ท่านได้เคยกล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดว่า พระกริ่งรุ่นนี้ดีมาก ใช้แทนวัดสุทัศน์ พ.ศ.ลึกๆ ได้เลย ..ฯลฯ...
พระวัดปากน้ำ รุ่น4 ปี2514 พร้อมบัตรดีดีพระ สภาพสวยไม่หักไม่บิ่น พร้อมกล่องเดิม
"หลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ" วัดเขาแหลม อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว ลูกศิษย์ลูกหามักเรียกขานท่านว่า "หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว" พระเถราจารย์หนึ่งเดียวที่มีเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการสูง หลวงปู่กาหลง เกิดเมื่อวันที่ 10 มค. 2461 วันเสาร์ ปีมะแม ศิริอายุได้ 91 ปี ชาติภูมิของหลวงปู่กาหลง เกิดในสกุล นงนุช เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2461 ปีมะแม เป็นชาวเมืองเพชรบุรีโดยกำเนิด ก่อนที่ครอบ ครัวจะย้ายมาอยู่ที่จ.ปทุมธานี มีเรื่องเล่าตอนท่านถือกำเนิดว่า มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงบาง อาชีพหาปลา มีอยู่คืนหนึ่ง ขณะที่ลุงบางออกหาปลา ได้เห็นดวงไฟลอยมายังหน้าบ้านของหลวงปู่ จึงตามดวงไฟดังกล่าวเพื่อดูให้รู้ว่าคือดวงไฟอะไร พอตามไปแกก็เห็นพระฤๅษีตนหนึ่งจูงเด็กน้อยเข้าไปในบ้านของหลวงปู่ เมื่อลุงบางเห็นดังนั้น จึงยกมือขึ้นไหว้ด้วยความศรัทธา แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่าหากสิ่งที่เห็นเป็นเรื่องจริง เด็กที่เกิดในบ้านต้องเป็นเด็กชาย และหากเป็นจริง จะเลิกอาชีพหาปลา หันมาเข้าวัดฟังธรรม ไม่นานโยมแม่ของหลวงปู่คลอดลูกออกมาเป็นเด็กชาย และให้ชื่อว่า กาหลง ส่วนลุงบางเมื่อพบว่าสิ่งที่ตนเห็นเป็นจริง ก็เลิกหาปลาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมา วัดนาบุญ จ.ปทุมธานี โดยมีหลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต จ.ปทุม ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ทั้งนี้ หลวงปู่กาหลงได้ร่ำเรียนวิทยาคมจากพระเกจิชื่อดังมากมาย อาทิ หลวงพ่อเนียม วัดนาบุญ, หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนคร ศรีอยุธยา, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี, พระราชมงคลมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ กทม. และศึกษาวิชาสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกด้วย ส่วนวัตถุมงคลที่ท่านสร้าง อาทิ ผ้ายันต์นารายณ์ทรงครุฑ พระผงรูปเหมือนนั่งเสือ พระปิดตาหลวงปู่กาหลง เหรียญหนุมานขี่สิงห์ปี 2547 เหรียญเสมารูปเหมือนหลวงปู่กาหลง เป็นต้น หลวงปู่กาหลงนับเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า ที่เคยเข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลครั้งยิ่งใหญ่ พิธี 25 พุทธศตวรรษ ณ สนามหลวงและพระวิหารหลวงวัดสุทัศน์ เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบ หลวงปู่กาหลงเป็นพระเถราจารย์ผู้มีฤทธิ์อำนาจวาจาประกาศิต ด้วยเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด คือ 1 ปี สรงน้ำ 1 ครั้ง ลูกศิษย์ใกล้ชิดต่างรู้กันทั่วไป หลวงปู่กาหลง ชอบสันโดษ รักษาธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีเมตตากรุณาจนเป็นที่นับถือแก่บุคคลทั่วไป ท่านได้อุปถัมภ์วัดหลายแห่งที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจของพระภิกษุ-สามเณร สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ หลวงปู่กาหลงมรณภาพอย่างสงบ ด้วยโรคมะเร็งที่ลำคอและปอด เมื่อเวลา 01.09 น. กลางดึกคืนวันที่ 13 ก.ย. 2552 ที่โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ สิริอายุ 92 ปี พรรษา 72 ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2552 หลวงปู่กาหลงได้เดินทางมาพักรักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ด้วยอาการแน่นหน้าอกและไอ แต่เป็นๆ หายๆ มานาน ต้องเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ กับ จ.สระแก้ว เป็นประจำ ภายหลังคณะแพทย์ตรวจพบอาการมะเร็งในลำคอ จึงขอให้หลวงปู่กาหลงงดภารกิจและพักผ่อนมากๆ แต่ท่านยังปฏิบัติศาสนกิจดังเดิม
หลวงพ่อคล้อย อโนโม วัดภูเขาทอง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ท่านเป็นศิษย์สายเขาอ้อสายตรงของแท้ โดยท่านเป็นหลานของ. ”พระอาจารย์เอียดวัดดอนศาลา“ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาสายเขาอ้ออย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้ของศาสตร์วิชา “ หลวงพ่อคล้อย “ เกิดเมื่อวันที่ 9 ก.พ 2472ปัจจุบันอายุ80 ปี พรรษา 58 นามเดิมว่า นายคล้อย ทองโอ่ โยมบิดา ชื่อ นายแสงโยมมารดา ชื่อ นางเอียด เกิดที่บ้านมะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 1 มี.ค 2493 ที่ วัดควนปันตาราม โดยมี พระครูรัตนากิรัตเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเจิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูกาชาต (บุญทองเขมทัตโต) วัดดอนศาลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พ่อท่านคล้อยเป็นหลานของพ่อท่านเอียดจึงได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคมสายเขา อ้อของพ่อท่านทองเฒ่า,พ่อท่านเอียด,พ่อท่านปาน,อย่างเต็มที่ผนวกกับความ ตั้งใจศึกษาสรรพศาสตร์อย่างเต็มที จึงทำให้พ่อท่านคล้อยเป็นผู้คงแก่เรียน และเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์รูปหนึ่ง ในบรรดาศาสตร์วิชาที่พ่อท่านคล้อยมีความเชี่ยวชาญมากเป็นพิเศษแก่ได้ศาสตร์ วิชาพิธีกรรมการผูกหุ่นพยนต์ซึ่งการผูกหุ่นพยนต์นั้น มีหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป การสร้างหุ่นพยนต์ตาปะขาวจัดพิธีกรรมตามตำราเขาอ้อทุกประการโดยเริ่มแรก กำหนดเรียกรูปเรียกนามจากธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดินน้ำ ลม ไฟ จนให้เกิดอาการ 32 จนสามารถรับรู้รับเห็นเคลื่อนไหวได้เหมือนสิ่งมีชีวิต หรือผูกจิตซ่อนเร้นอยู่ในวัตถุธาตุอาถรรพณ์นั้นดวงจิตจะคอยแอบแฝงแสดงฤทธิ์ ปกป้อง คุ้มครองผู้ที่เป็นเจ้าของหุ่นพยนต์เมื่อมีผู้คนคิดปองร้ายหรือมีเจตนาที่ ไม่ดี ถ้าเป็นสถานที่ต่างๆ หุ่นพยนต์จะแสดงฤทธิ์ดูแลรักษาเฝ้าทรัพย์สินในพื้นที่นั้นๆการผูกหุ่นพยนต์นั้นการสร้างในแต่ละครั้ง พระอาจารย์ผู้ปลุกเสกนั้นจะต้องใช้สมาธิจิตขั้นสูงกว่าการปลุกเสกวัตถุมงคล ในรูปแบบอื่นๆมากนักและชนวนมวลสารในการจัดสร้างก็ต้องเป็นวัตถุอันเป็นมงคล และศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวเองด้วยการทำให้ชนวนมวลสารมีความศักดิ์สิทธิ์เพิ่ม ขึ้น ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพิ่มอิทธิปาฎิหาริย์แก่วัตถุมงคล โดยการลงอักขระมหายันต์ต่างๆลงในชนวนมวลสารแล้วเสกกำกับด้วยมนตราอาคมอีกที หนึ่ง ในการจัดสร้างวัตถุมงคล“ตาปะขาว ประทานทรัพย์” ของพ่อท่านคล้อยครั้งนี้ท่านได้ลงอักขระยันต์ลงบนชนวนมวลสารหลายอย่าง เช่น “นะฤาชา” มีอานุภาพเด่นดีทางด้านชื่อเสียง เกียรติยศ “มหาอุต” มีอานุภาพทางแคล้วคลาด คงกระพัน “ยันต์เทพอาวุธ”อานุภาพทางด้าน คงกระพันชาตรี “ยันต์มหาพรหมเชิญเทพ” มีอานุภาพเชิญเทพเทวดาทั้งหมดมาคุ้มครองรักษา “ยันต์มหาพรหมเรียกทรัพย์” “ยันต์หัวใจตรีนิสิงเห”อานุภาพครอบจักรวาล “ยันต์หัวใจพระรัตนตรัย” อานุภาพครอบจักรวาล “ยันต์หัวใจพระสิวลี”อานุภาพมหาโชค มหาลาภ โภคทรัพย์ “ยันต์ครู พุทธคุณ 108”และอีกมากมายหลายอักขระยันต์ ซึ่งล้วนแล้วมีอานุภาพดีเด่นครบเครื่องทุกเรื่อง และที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจของศาสตร์วิชาสายเขาอ้อก็คือวัตถุมงคลตาปะขาว รุ่น ประทานทรัพย์ รุ่นนี้ เป็นการปลุกเสกในน้ำมันมหาว่านอันเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะทำให้อิทธิ อานุภาพมงคลต่างๆแห่งมหาว่านทั้งปวงและซึมซับผสมผสานกับมนตรามหาเวทย์ หลอมหล่อจนเกิดอิทธิปาฎิหารย์แก่วัตถุมงคลก่อเกิดเป็นสุกยอดแห่งมงคลวัตถุ แห่งยุค แห่งปี ที่ทุกท่านมิควรพลาดโอกาสแห่งความสิริมงคลในครั้งนี้…. ทั้งยังได้ร่วมบุญร่วมกุศลกับพ่อท่านคล้อยวัดภูเขาทอง ในการก่อสร้างเมรุวัดภูเขาทองให้แล้วเสร็จสถานที่สุดท้ายของมนุษย์ทุกนามทุก นาม กุศลแห่งการร่วมสร้างเมรุ ถือว่าเป็นกุศลใหญ่เปรียบเสมือนเป็นสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาให้กับตนเอง และญาติมิตร ให้พ้นทุกข์ หมดโศกหมดโรค หมดภัย วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่เลขที่ 158 ม3 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ. พัทลุง สังกัดคณะสงฆ์นิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา นส.3 เลขที่ 2109 มีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ งาน 77 ตารางวา นส.3 เลขที่ 2114 วัดภูเขาทองสร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๒ ต่อมาจึงได้จัดสร้างวัดควลคู่กันไปด้วย สำหรับผู้บริจากที่ดินเป็นตระกูลของ หรือบางคนเรียก “วัดเขาทอง” ก็มี วัดภูเขาทองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 35 เมตร ยาว 60 เมตร ปัจจุบันของวัดภูเขาทอง เจริญรุ่งเรื่องถาวรวัตถุเสนาสนะได้รับการดูแลรักษาโดย พ่อท่านคล้อย อโนโม อีกทั้งท่านยังมีส่วนร่วมสำคัญในการพัฒนาชุมชนด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และยังได้สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนทุกๆ ปี อีกด้วย
"หลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ" วัดเขาแหลม อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว ลูกศิษย์ลูกหามักเรียกขานท่านว่า "หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว" พระเถราจารย์หนึ่งเดียวที่มีเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการสูง หลวงปู่กาหลง เกิดเมื่อวันที่ 10 มค. 2461 วันเสาร์ ปีมะแม ศิริอายุได้ 91 ปี ชาติภูมิของหลวงปู่กาหลง เกิดในสกุล นงนุช เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2461 ปีมะแม เป็นชาวเมืองเพชรบุรีโดยกำเนิด ก่อนที่ครอบ ครัวจะย้ายมาอยู่ที่จ.ปทุมธานี มีเรื่องเล่าตอนท่านถือกำเนิดว่า มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงบาง อาชีพหาปลา มีอยู่คืนหนึ่ง ขณะที่ลุงบางออกหาปลา ได้เห็นดวงไฟลอยมายังหน้าบ้านของหลวงปู่ จึงตามดวงไฟดังกล่าวเพื่อดูให้รู้ว่าคือดวงไฟอะไร พอตามไปแกก็เห็นพระฤๅษีตนหนึ่งจูงเด็กน้อยเข้าไปในบ้านของหลวงปู่ เมื่อลุงบางเห็นดังนั้น จึงยกมือขึ้นไหว้ด้วยความศรัทธา แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่าหากสิ่งที่เห็นเป็นเรื่องจริง เด็กที่เกิดในบ้านต้องเป็นเด็กชาย และหากเป็นจริง จะเลิกอาชีพหาปลา หันมาเข้าวัดฟังธรรม ไม่นานโยมแม่ของหลวงปู่คลอดลูกออกมาเป็นเด็กชาย และให้ชื่อว่า กาหลง ส่วนลุงบางเมื่อพบว่าสิ่งที่ตนเห็นเป็นจริง ก็เลิกหาปลาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมา วัดนาบุญ จ.ปทุมธานี โดยมีหลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต จ.ปทุม ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ทั้งนี้ หลวงปู่กาหลงได้ร่ำเรียนวิทยาคมจากพระเกจิชื่อดังมากมาย อาทิ หลวงพ่อเนียม วัดนาบุญ, หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนคร ศรีอยุธยา, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี, พระราชมงคลมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ กทม. และศึกษาวิชาสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกด้วย ส่วนวัตถุมงคลที่ท่านสร้าง อาทิ ผ้ายันต์นารายณ์ทรงครุฑ พระผงรูปเหมือนนั่งเสือ พระปิดตาหลวงปู่กาหลง เหรียญหนุมานขี่สิงห์ปี 2547 เหรียญเสมารูปเหมือนหลวงปู่กาหลง เป็นต้น หลวงปู่กาหลงนับเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า ที่เคยเข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลครั้งยิ่งใหญ่ พิธี 25 พุทธศตวรรษ ณ สนามหลวงและพระวิหารหลวงวัดสุทัศน์ เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบ หลวงปู่กาหลงเป็นพระเถราจารย์ผู้มีฤทธิ์อำนาจวาจาประกาศิต ด้วยเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด คือ 1 ปี สรงน้ำ 1 ครั้ง ลูกศิษย์ใกล้ชิดต่างรู้กันทั่วไป หลวงปู่กาหลง ชอบสันโดษ รักษาธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีเมตตากรุณาจนเป็นที่นับถือแก่บุคคลทั่วไป ท่านได้อุปถัมภ์วัดหลายแห่งที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจของพระภิกษุ-สามเณร สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ หลวงปู่กาหลงมรณภาพอย่างสงบ ด้วยโรคมะเร็งที่ลำคอและปอด เมื่อเวลา 01.09 น. กลางดึกคืนวันที่ 13 ก.ย. 2552 ที่โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ สิริอายุ 92 ปี พรรษา 72 ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2552 หลวงปู่กาหลงได้เดินทางมาพักรักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ด้วยอาการแน่นหน้าอกและไอ แต่เป็นๆ หายๆ มานาน ต้องเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ กับ จ.สระแก้ว เป็นประจำ ภายหลังคณะแพทย์ตรวจพบอาการมะเร็งในลำคอ จึงขอให้หลวงปู่กาหลงงดภารกิจและพักผ่อนมากๆ แต่ท่านยังปฏิบัติศาสนกิจดังเดิม