เนื้อจัดสุดๆ ดูง่ายมากๆ ไม่มีซ่อม เนื้อหาจัดจ้าน ดินนุ่มนวลตา ส่องมันส์มากครับ สุดคลาสสิค รับประกันพระแท้ทุกสนาม พระดีประสบการณ์สูงที่ใกล้จะกลายเป็นตำนาน
หลวงพ่อเต๋ คงคสุวัณโณ ชาวบ้านเรียกติดปากว่า หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2434 ณ บ้านสามง่าม หมู่ที่ 4 โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ บู่ นามสกุล สามงามน้อย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 7 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 4 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 เมื่ออายุได้ 7 ปี ลุงของท่านซึ่งบวชอยู่ที่วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อว่า หลวงลุงแดง เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้นรูปหนึ่ง ได้ไปเยี่ยมญาติที่บ้านสามง่าม ได้พบหลานชายจึงได้ชวนให้ไปอยู่ด้วยกันที่วัดกาหลงเพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียน หนังสือ ธรรมะ และเวทมนต์คาถา เป็นเวลา 3 ปี จนสามารถเขียนอ่านได้เป็นอย่างดี จึงได้กลับมาบ้านเกิด หลวงลุงแดงของหลวงพ่อเต๋ ท่านเป็นผู้สนใจในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเห็นว่าบ้านสามง่าม ควรจะมีวัดวาอารามสำหรับให้พระภิกษุและชาวบ้านประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้ชักชวนหลานชายไปสร้างวัดขึ้นที่บ้านดอนตูม ห่างจากบ้านสามง่ามประมาณ 3 กิโลเมตร เมื่อหลวงพ่อเต๋ มีอายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดง ร่วมจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงลุงแดง ประวัติหลวงลุงแดงท่านเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความเชี่ยวชาญ พุทธาคมทั้งทางด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากมาย อีกทั้งหลวงพ่อเต๋ มีศักดิ์เป็นหลานของท่าน จึงได้รับถ่ายทอดวิชามาอย่างครบถ้วนโดยไม่มีการปิดบังอำพราง พ.ศ. 2454 ท่านมีอายุได้ 21 ปี จึงได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า คงทอง (ภายหลังเปลี่ยนเป็น คงสุวัณโณ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกติดปากว่า คงทอง พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเต๋ คือ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เป็นพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังมากในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่มี พุทธาคมเข้มขลังในขณะนั้น หลวงพ่อเต๋ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางธรรม สมถกัมมัฏฐาน ตลอดจนรับการสืบทอดด้านพุทธาคมต่าง ๆ ต่อมาไม่นาน หลวงลุงแดง มรณภาพลงที่วัดกาหลง สมุทรสาคร ก่อนมรณภาพท่านได้ฝากวัดสามง่ามให้หลวงพ่อเต๋ดูแล หลวงพ่อเต๋ เริ่มออกธุดงค์ระหว่าง พ.ศ. 2455 – 2472 เป็นเวลา 17 ปี รวมทั้งศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติม นอกจากที่ได้ศึกษาจาก หลวงลุงแดง และ หลวงพ่อทา หลังจากหลวงพ่อทา มรณภาพแล้ว ท่านได้เดินทางไปขอศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จากนั้นออกธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์อื่นทั้งพระสงฆ์และฆราวาส อาทิ หลวงพ่อกอน วัดบ่อตะกั่ว นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปเรียนกับพระอาจารย์ทางจังหวัดพิจิตร ยังมีอีกหลายรูปในขณะที่เดินธุดงค์ รวมทั้งอาจารย์ฆราวาส ท่านเป็นชาวเขมร เคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร หลวงพ่อเต๋ได้พบอาจารย์ท่านนี้ที่เขาตะลุง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ เคารพนับถือมาก ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านจะทำการไหว้ครูเขมรมิได้ขาด
หลวงพ่อจง ปลุกเสก พุทธคุณเหมือนมีกำเเพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น คอยคุ้มครอง พระดี มวลสารดี พิธีใหญ่ ประสบการณ์มาก พร้อมบัตรรับรอง
พระธรรมขันธ์ รุ่น 4 เมื่อพระของขวัญรุ่น 3 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำได้สร้างไว้เป็นรุ่นสุดท้ายได้หมดลงแล้ว และปรากฏว่ายังมีผู้นิยมต้องการพระวัดปากน้ำอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นทางวัดปากน้ำโดยคณะศิษยานุศิษย์จึงได้ทำการจัดสร้างพระขึ้นใหม่อีกรุ่นหนึ่ง นับเป็นรุ่นที่ 4 ต่อจากรุ่นที่ 3 ที่หลวงพ่อได้สร้างไว้ ทางวัดได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นโดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสเป็นประธาน และได้มอบหมายให้พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระดำเนินการจัดสร้างพระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 ขึ้นมามีจำนวน 800,000 องค์ (แปดแสน) โดยได้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา และได้เริ่มนำออกให้เช่าบูชาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 และได้จำหน่ายหมดในปี พ.ศ. 2527 พระรุ่น 4 นี้มีชื่อเรียกว่า “พระธรรมขันธ์” มีคำชี้แจงตอนหนึ่ง ของพระเดชพระคุณพระภาวนาโกศลเถร ในสมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิรมเป็นคำชี้แจงที่พิมพ์ห่ออยู่กับพระธรรมขันธ์ ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า ....เนื่องด้วยพระของขวัญของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่นได้แจกหมดไปแล้วเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ทางวัดจึงได้จัดทำพระผงขึ้นใหม่ เรียกว่า “พระธรรมขันธ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ” โดยนำผงพระของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่น คือรุ่น 1 รุ่น 2 รุ่น 3 ผสมรวมกันเพื่อทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และนำเข้าพิธีโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้วิชาธรรมกายทำพิธีตลอดไตรมาสสามเดือนในพรรษาและได้เริ่มแจกในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 อันเป็นวันออกพรรษา เมื่อท่านทั้งหลายได้รับไปแล้ว จงเก็บรักษาไว้ให้ดี เมื่อมีอุปสรรคอันใดเกิด่ขึ้น จงตั้งจิตอธิษฐานเอาเถิด... ในการสร้างพระธรรมขันธ์นี้ ทางวัดได้จัดพิมพ์พระคะแนนในรุ่นนี้ขึ้นด้วย เรียกว่า พระคะแนนรุ่น 4 โดยใช้แม่พิมพ์เดียวกัน พระคะแนนนี้มีความแตกต่างพิเศษจากพิมพ์ธรรมดาอยู่ 2 ประการ คือด้านหน้าองค์พระจะใส่เส้นเกศาของหลวงพ่อไว้ทุกองค์ เส้นเดียวก็มี หลายเส้นก็มี บางองค์อาจจะไม่ปรากฏเห็น เนื่องจากหลุดหายไปหรือไม่ก็อาจจะฝังจมอยู่ในเนื้อ ด้านหลังองค์พระจะมีตัว “ภ” พิมพ์อยู่เป็นพิเศษอยู่ ด้วย อักษรตัว “ภ” นี้ย่อมาจากคำว่า “พระครูภาวนาภิรม” ชื่อของผู้สร้างในสมัยนั้น พระคะแนนนี้มีทั้งชนิดพิมพ์ 4 เหลี่ยม และชนิดพิมพ์ 3 เหลี่ยม ทางวัดได้นำออกให้ประชาชนได้นำออกให้ประชาชนได้เช่าบูชาในราคาองค์ละ 100 บาท ส่วนพิมพ์ธรรมดาองค์ละ 25 บาทเท่านั้น พระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ ถึงแม้จะเป็นรุ่นที่คณะศิษย์ของหลวงพ่อเป็นผู้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกหรือเป็นรุ่นแรกที่คณะศิษย์ได้สร้างขึ้นก็ตาม หากจะกล่าวถึงในด้านชื่อเสียงและความนิยมโดยทั่วไปแล้วก็นับได้ว่าไม่แตกต่างจากพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 ที่หลวงพ่อได้สร้างขึ้นเนื่อเพราะว่าในรุ่นนี้ ได้นำเอาผงพระของขวัญของหลวงพ่อทั้ง 3 รุ่นมาเป็นส่วนผสมด้วยประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือได้ทำพิธีบรรจุอานุภาพตามหลักวิชาธรรมกายเหมือนรุ่น 1-2-3 ซึ่งทางคณะศิษย์ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย จนถึงปัจจุบัน พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จึงคงความศักดิ์สิทธิ์มีผู้นิยมนำไปสักการบูชากันอย่างแพร่หลายจนกระทั่งหมดในปี พ.ศ. 2527 แม่พิมพ์ แม่พิมพ์ของพระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จัดแยกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทพิมพ์สี่เหลี่ยมกับประเภทพิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์สี่เหลี่ยมนั้นมี 2 พิมพ์ และพิมพ์สามเหลี่ยมมี 2 พิมพ์เช่นกัน เมื่อรวมกันแล้วพระธรรมขันธ์รุ่น 4 จึงมีทั้งหมด 4 พิมพ์ด้วยกัน ขนาดของพระธรรมขันธ์แบบสี่เหลี่ยมทั้งสองพิมพ์กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 2.4 ซม. ความหนาประมาณ 6 มม. ชนิดสามเหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์ฐานกว้างประมาณ 1.7 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. หนาประมาณ 6 มม. พุทธลักษณะทั่วไปของพระสี่เหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์นั้นเป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นลักษณะจีบนิ้วอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ข้างซุ้มทั้งสองด้านมีเส้นม่านเป็นขีดๆ เรีงกันเป็นลำดับ ฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น ด้านหลังองค์พระพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า “ธรรมขันธ์” พุทธลักษณะทั่วไปของพระพิมพ์สามเหลี่ยมทั้ง 2 พิมพ์ เป็นพระนั่งสมาธิราบปางปฐมเทศนาเช่นกัน พระหัตถ์ซ้ายที่ว่างบนพระเพลา จีบเป็นวงเข้าหากัน และพระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นก็มีลักษณะจีบนิ้ว ขอบรอบองค์พระเป็นลายกนกสวยงาม ด้านหลังพิมพ์เป็นอักขระขอม อ่านว่า “ธรรมขันธ์” ส่วนผสมรุ่น 4 พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีส่วนผสมหลายอย่างจะกล่าวพอเป็นสังเขปดังนี้ 1.ปูนขาว ที่ทำจากเปลือกหอย 2.กล้วยน้ำว้า 3.ดอกไม้ต่างๆ โดยเฉพาะดอกมะลิ 4.ผงพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 5.อัญมณีบางส่วน 6.เส้นเกศาของหลวงพ่อ (โดยเฉพาะพระคะแนน) 7.น้ำมันตั้งอิ๊ว 8.และอื่นๆ เนื้อพระรุ่น 4 พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ แยกประเภทของเนื้อพระออกโดยทั่วๆ ไปเป็น 4 ประการคือ 1. เนื้อสีขาว 3. เนื้อสีคล้ำหม่น 2. เนื้อสีเหลือง 4. เนื้อเกล็ดสีขาว (สังขยา) พระเนื้อสีขาว ลักษณะของเนื้อจะเป็นสีขาวนวลไม่ใช่ขาวซีด อีกประการหนึ่งจะเป็นสีขาวอมเหลืองอ่อนๆ พบมากโดยทั่วไป เนื้อสีเหลือง เนื้อพระชนิดนี้มีทั้งชนิดสีเหลืองอ่อน สีเหลืองเข้มและสีลักษณะเหลืองใสคล้ายเนื้อเทียน เนื้อพระชนิดนี้จะเป็นที่นิยม เนื้อสีคล้ำหม่น ลักษณะคล้ายๆ จะเป็นสีดำๆ หรือน้ำตาลปึกแก่ๆ สีเนื้อชนิดนี้มีพบอยู่ไม่มากนัก เนื้อเกล็ดสีขาว พระเนื้อเกล็ดหรือที่รู้จักกันเรียกันโดยทั่วไปว่า “เนื้อสังขยา” นี้ เป็นพระที่มีเนื้อแปลกแตกต่างออกไปจากเนื้ออื่นๆ ลักษณะของเนื้อพระจะขึ้นเป็นเกล็ดขาวๆ เต็มไปทั่วทั้งองค์ หากถูกจับถูบ่อยๆ หรือถูกความเปียกชื้น เกล็ดนี้ก็จะหลุดล่อนออกได้ สีของเนื้อพระด้านในที่เป็นสีเหลืองก็มี ที่เป็นสีคล้ำๆ ดำๆ คล้ายสีน้ำตาลปึกก็มี พระเนื้อเกล็ดนี้หากสังเกตให้ดีจะพบว่ามีจำนวนอัญมณีผสมรวมอยู่มาเป็นพิเศษ ข้อสังเกต พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีข้อสังเกตบางประการที่น่าสนใจ คือเราจะพบเห็นว่า พระบางองค์อาจจะมีจุดตำหนิต่างๆ ที่ผิดหูผิดตา หรือผิดแปลกแตกต่างออกไปจากองค์อื่นๆ โดยทั่วไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นที่หูหรือที่ซุ้มก็ตาม หรือบางทีจะปรากฏมีเส้นเป็นรอยพิมพ์แตกบ้าง และบางองค์ ปาก จมูก จะใหญ่โตกว่าพิมพ์อื่นๆ ธรรมดาโยทั่วไปบ้าง ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการถอดพิมพ์บ้าง เกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดร้าวบ้าง จากสาเหตุดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดการผิดเพี้ยนขึ้นมา แต่ถึงอย่างไรก็ตามพิมพ์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ถึงจะมีอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อยเท่านั้น ไม่ถือเป็นประมาณในการนับแยกพิมพ์ พระธรรมขันธ์รุ่น 4 ก็มีเพียง 4 พิมพ์ตามแม่พิมพ์ต้นแบบเท่าเดิมทุกประการ มิใช่นอกเหนือมากไปกว่านี้
เหรียญพระนางพญา ปี2512 เนื้อทองแดงรมดำ วัดนางพญา จ.พิษณุโลก " พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรราธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทรธาธิราช บรมนาถบพิธ พระราชทาน พระฤกษ์สร้างอุโบสถ วัดนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก ณ วันพุทธ ที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ เวลา ๙ นาฬิกา ๑๒ นาที เป็นปฐมฤกษ์ ลัคนาสถิตราศีมีน " เหรียญพระฤกษ์พระราชทานสร้างพระอุโบสถ วัดนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก ๒๕๑๒ ทำพิธีจัดสร้างโดย วัดนางพญา จ.พิษณุโลก สมัย พระอาจารย์ถนอม เขมจาโร และพระครูบวรชินวัฒน์ โดยมี สมเด็จพระวันรัต (ปุน ปุณณสิริ) ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่17แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย พระอาจารย์ไสว สุมโน เป็นเจ้าพิธี พระครูวามเทพมุนี เป็นประธานฝ่ายพราหมณาจารย์ และพลโทสำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่3 เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ทำพิธีดับเทียนชัย วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาจตุปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถวัดนางพญา โดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันพุธที่ 29 มกราคม 2512 เวลา 9 นาฬิกา 12 นาที เป็นปฐมฤกษ์ตามพระฤกษ์สร้างพระอุโบสถที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ตราธิราชตามจารีตประเพณีโบราณาจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2514 ในวิหารวัดนางพญา จ.พิษณุโลก พิธีนี้เป็นอภิมหาพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มากในยุคนั้น โดยนิมนต์ยอดเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศ 108 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเศกอาทิเช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำขาม สกลนคร หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ จ.ขอนแก่น หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก เพชรบูรณ์ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี และคณาจารย์อื่นๆอีกมากมาย
เหรียญพระนางพญา ปี2512 เนื้อทองแดงรมดำ วัดนางพญา จ.พิษณุโลก " พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรราธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทรธาธิราช บรมนาถบพิธ พระราชทาน พระฤกษ์สร้างอุโบสถ วัดนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก ณ วันพุทธ ที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ เวลา ๙ นาฬิกา ๑๒ นาที เป็นปฐมฤกษ์ ลัคนาสถิตราศีมีน " เหรียญพระฤกษ์พระราชทานสร้างพระอุโบสถ วัดนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก ๒๕๑๒ ทำพิธีจัดสร้างโดย วัดนางพญา จ.พิษณุโลก สมัย พระอาจารย์ถนอม เขมจาโร และพระครูบวรชินวัฒน์ โดยมี สมเด็จพระวันรัต (ปุน ปุณณสิริ) ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่17แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย พระอาจารย์ไสว สุมโน เป็นเจ้าพิธี พระครูวามเทพมุนี เป็นประธานฝ่ายพราหมณาจารย์ และพลโทสำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่3 เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ทำพิธีดับเทียนชัย วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาจตุปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถวัดนางพญา โดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันพุธที่ 29 มกราคม 2512 เวลา 9 นาฬิกา 12 นาที เป็นปฐมฤกษ์ตามพระฤกษ์สร้างพระอุโบสถที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ตราธิราชตามจารีตประเพณีโบราณาจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2514 ในวิหารวัดนางพญา จ.พิษณุโลก พิธีนี้เป็นอภิมหาพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มากในยุคนั้น โดยนิมนต์ยอดเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศ 108 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเศกอาทิเช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำขาม สกลนคร หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ จ.ขอนแก่น หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก เพชรบูรณ์ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี และคณาจารย์อื่นๆอีกมากมาย
หลวงพ่อปลุกเสกเต่า มักมีพุทธคุณทุกด้าน แต่จะเน้นดังทางด้านค้าขายเจริญรุ่งเรืองมีโชคลาภ ปฐมปี 2540 เป็นพระเต่าพิมพ์ใหญ่ได้มาจากกรรมการจัดสร้างโดยในปี2540 โดยในสมัยนั้นโรงเรียนสอนพระธรรมมกุฎราชกุมารวิทยาลัยถนนจรัลสนิทวงศ์กรุงเทพขาดทุนทรัพย์สร้างตีกอาคารเรียนหลังใหม่จีงได้ขออนุญาติหลวงปู่หลิววัดไร่แตงทองในขณะนั้นฃี่งยังมีชีวิตอยู่ขอจัดสร้างพระบูชาพญาเต่าเรีอนมีรูปลอยองค์หลวงปู่หลิวนั่งหลังเต่าโดยหลวงปู่หลิวเมตตาอนุญาติให้จัดสร้างพระบูชาพิมพ์นี้ขี้นโดยทำการหล่อภายในบริเวณวัดไร่แตงทองปี2540 และนำเข้าพิธีพร้อมกับเหรียญเต่ารุ่นปลดหนี้40 ที่พิมพ์พระสังขจายอยู่หลังเต่า พร้อมกับรุ่นเมตตามหาลาภ ที่มีรูปหลวงปู่หลิวอยู่บนหลังเต่า เหรียญโดยพระในพิธีนี้ออกทุนจัดสร้างโดยมกุฎราชวิทยาลัย หลังจากเข้าพิธีนั่งปรกปลุกเสกพุทธาภิเษก โดยหลวงพ่อที่วัดไร่แตงทองหลวงพ่อ ได้นำส่งพระทั้งหมดมอบให้วิทยาลัย นำไปออกวัดหารายได้จัดสร้างตีกอาคารเรียนดังกล่าว และทางวิทยาลัยยังได้นำพระเข้าพิธีอีก 2 วาระคือ ในวาระที่ 2 ได้ขออนุญาติเข้าปลุกเสกที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดพระแก้วสมัย2540ด้วย ส่วนวาระที่ 3 ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ที่วิทยาลัยโดยขอใช้พระอุโบสถวัดศรีสุดาราม เป็นสถานที่ทำพิธีด้งกล่าว พระในพิธีนี้ หลังจากได้แบ่งจากวัดไร่แตงทองบางส่วนที่เป็นพระบูชาเรียบๆ กรรมการจัดสร้างได้ระดมศิษย์เณร และพระที่เล่าเรียนสมัยนั้น นำปากกาหัวทองจารอักขระตามที่หลวงพ่อออกแบบไว้ โดยจารทั้งรอบตัวกระดองเต่า และท้องเต่าแต่เนื่องจากพระเณรหลายองค์ช่วยกันจาร และพระมีจำนวนมากลายมือจีงต่างกันบ้าง และปากกาหัวหมึกทอง ก็จัดฃื้อหัวใหญ่บ้างเล็กบ้าง แถมเณรบางองค์นีกสนุกได้จารฝ่าเท้าเต่าด้วย บางส่วนตอนหลังจีงมีพระบูชาบางองค์ มีจารฝ่าเท้าเต่าออกมาเข้าสนาม โดยบางท่านไม่รู้ข้อเท็จจริงไปตีเก๊ในพระของบางท่านที่มาปล่อยในเวป พระบูชารับทราบมาว่าจัดสร้าง 3 เนื้อคือ เนื้อทองเหลืองรมดำมีจารหมึกทองมี 2 พิมพ์ใหญ่ และเล็กไม่มีพิมพ์กลาง เนื้อที่ 2 คือเนี้อนะวะจำนวนจัดสร้างน้อยมาก และพิมพ์ 3 มีไม่กี่องค์ เป็นเนื้อหินขัดทราย โดยโชว์อยู่ในตู้กุฎิของเจ้าอาวาสวัดศรีสุดา การสร้างพญาเต่าเรือน ซึ่งมีฤทธานุภาพสามารถลบเลือนคดีความต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในด้านโชคลาภ หากบูชาและภาวนา “นาสังสิโม” ไปเรื่อยๆ คำว่า “อด” ไม่มี ทำธุรกิจการค้ามีแต่ความเจริญรุ่งเรือง บ้านใดมีพญาเต่าเรือนอยู่อาศัยภายในบ้าน จะไม่มีความเดือดร้อน แม้นในยามทุกข์ พญาเต่าเรือนจะคอยขจัดปัดเป่าให้สิ่งไม่ดีทั้งหลายมลายหายไป จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ครอบครัวญาติพี่น้องรักใคร่สามัคคี ไม่ทะเลาะกัน เหมาะกับยุคนี้ที่บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะข้าวยากหมากแพง นับวันจะมีเภทภัยภยันตรายเกิดขึ้นแบบไม่คาดฝัน ถ้ามีสิ่งศักดิ์สิทธ์คุ้มครอง เกื้อหนุนจะยิ่งส่งเสริมให้มีความมั่งมีศรีสุขแคล้วคลาดปลอดภัย
พระกำแพงแก้ว วัดรัมภาราม (วัดบ้านกล้วย) อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 ได้เก็บรวบรวมมวลสารอันเป็นมงคลต่างๆ มาเป็นส่วนผสมดังนี้ 1.ดินกรุพระเครื่องมีชื่อ 7 กรุ 2.ไคลเสมาจากวัดที่มีชื่อลงท้ายว่า "แก้ว" 7 วัด 3.ดินสังเวชนียสถาน 7 ตำบล 4.ทรายจากกระถางธูปหน้าพระพุทธรูป ที่มีคนมาสักการะมาก 7 แห่ง 5.เกสรดอกไม้ในที่บูชาตามสถานที่สำคัญ 7 แห่ง 6.ใบโพธิ์ตรัสรู้จากประเทศอินเดีย 7 ต้น 7.พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ 8.ดินจอมปลวก 7 จอม 9.น้ำมนต์ 7 วัด เป็นเครื่องประสาน อาทิ น้ำมนต์ คาถาแสน วัดรัมภาราม ปี พ.ศ.2501, น้ำมนต์ 100 ปี วัดบวรนิเวศวิหารและวัดราชบพิธฯ, น้ำมนต์เสาร์ 5 วิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช พิษณุโลก, น้ำมนต์หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรฯ, น้ำมนต์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร, น้ำมนต์จากวัดระฆังฯ นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แล้วแผ่เป็นแผ่นผูกดวงชะตาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ดวงประสูติ ดวงตรัสรู้ ดวงปรินิพพาน นอกจากนี้ ยังได้รับผงเกสรดอกไม้และว่านต่างๆ จากอีกหลายพระคณาจารย์ เช่น หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ มอบผงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผงเศษพระปิลันทน์กับผงที่ท่านทำเอง พระครูวิริยกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี มอบผงที่ท่านเก็บสะสมไว้ ซึ่งเหลือจากการสร้างพระรุ่นอินโดจีน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มอบผงมหาราช, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มอบผงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มูลกัจจายน์ อิทธิเจ, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง มอบผงมหาราช ปถมัง ตรีนิสิงเห นะ 108 เกสร 108 และว่านต่างๆ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ มอบผงวิเศษมหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี, พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ มอบเศษพระจากกรุวัดบ้านกร่าง และดินกลางใจเมือง 8 จังหวัด ดิน 534 วัด ดินสระ 7 สระ ดินโป่ง 5 แห่ง ดินจากสถานที่สำคัญอีก 24 แห่ง พระอาจารย์ถนอม เขมจาโร วัดนางพญา พิษณุโลก มอบเศษพระชำรุดเป็นจำนวนมากจากหลายกรุหลายจังหวัด คือ จากพิษณุโลก 115 กรุ รวมทั้งเศษพระนางพญา สุโขทัย 16 กรุ อุตรดิตถ์ 1 กรุ กำแพงเพชร 1 กรุ พิจิตร 1 กรุ ลพบุรี 1 กรุ ลำพูน 1 กรุ พระอาจารย์ประหยัด วัดสุทัศน์ มอบผงที่เหลือจากการสร้างพระเมื่อปี พ.ศ.2496 ซึ่งปลุกเสกโดยพระอาจารย์หลายสิบรูป เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน รวมทั้งผงเศษตะไบพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระครูปริยัติยานุกูล วัดพระงาม ลพบุรี มอบทรายทองในถ้ำสังกิจโจ และเม็ดพระศกหลวงพ่อพระงาม นอกจากนั้นยังมีผงศักดิ์สิทธิ์จากพระคณาจารย์อื่นๆ ที่มอบให้อีกเป็นจำนวนมาก มวลสารที่ได้มาในคราวหลังนี้ นำมาผสมรวมกับคราวแรกจัดพิมพ์เป็น พระเครื่องเนื้อผง ด้านหน้าเป็นรูป พระแก้วมรกต ประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ ล้อมด้วยซุ้มเส้นลวด เป็นกำแพง 7 ชั้น ใต้สุดมีตัวหนังสือว่า กำแพงแก้ว ด้านหลังเรียบปราศจากอักขระเลขยันต์ใดทั้งหมดอยู่ในกรอบพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้างประมาณ 2.1 ซ.ม. ยาวประมาณ 3.4 ซ.ม. เนื้อหาเป็นเนื้อผงอมน้ำมัน สีน้ำตาลอมเขียว จำนวนไม่ทราบแน่ชัดแต่ประมาณว่าคงจะอยู่ในราว 3,000 องค์ เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงทางวิทยาคม จำนวน 27 รูป มาร่วมพิธีปรกปลุกเสก พิธีการได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2504 ตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 รวมเวลา 7 วัน 7 คืน รายนามพระคณาจารย์ ที่อาราธนามานั่งปรกปลุกเสก หมุนเวียนกันก็มี อาทิ พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆังฯ พระครูทักษิณานุกิจ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม พระครูวิริยกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ พระครูอาคมสุนทร (มา) วัดสุทัศน์ พระครูศรีพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง พระครูรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลย์ พระครูนิสิตคุณากร (กัน) วัดเขาแก้ว หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว หลวงพ่อชม วัดตลุก หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน หลวงพ่อฉาย วัดป่าธรรมโสภณ หลวงพ่อผัน วัดพยัคฆาราม หลวงพ่อดำ วัดเสาธงทอง หลวงพ่อสาย วัดไลย์ หลวงพ่อโสภิต วัดรัมภาราม และพระคณาจารย์ชื่อดังอีก 7 รูป เท่านี้ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีแล้วว่า พระเครื่องที่สร้างขึ้นครั้งนี้ ย่อมจะบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชา หากไม่คิดเห็นเป็นอย่างอื่น ในเรื่องของพระหลักพระนิยมแล้ว พระสมเด็จกำแพงแก้ว หรือพระกำแพงแก้ว ของวัดรัมภาราม ท่าวุ้ง ลพบุรีนี้ จึงควรค่าแก่การสะสมสักการบูชาอย่างยิ่ง พระกำแพงแก้ว มีด้วยกันสองพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก พุทธลักษณะเป็นพระแก้วมรกต ประทับนั่งอยู่ภายในเส้นซุ้มครอบแก้ว 7 ชั้น ใต้ฐานมีอักษรเขียนว่า "กำแพงแก้ว" พระพิมพ์ใหญ่เป็นรูปทรงขอบสี่เหลี่ยม ส่วนพระพิมพ์เล็ก เป็นพระที่ตัดขอบเข้ารูปตามซุ้มครอบแก้ว นอกนั้นจะคล้ายๆ กัน พระกำแพงแก้วนี้เป็นพระเนื้อผง พระกำแพงแก้ว พุทธคุณคุ้มครองดั่งกำแพงแก้ว 7 ชั้นที่ล้อมรอบองค์พระครับ เท่าที่ดูจากมวลสาร และพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกแล้ว ล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ดังๆ ทั้งสิ้น
ประวัติ หลวงพ่อสนิท ยสินธโร วัดลำบัวลอย จังหวัดนครนายก ประวัติ หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นามเดิมของท่านคือ สนิท นามสกุล มีพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2468 ( ในแผ่นดินรัชกาลที่ 6 ) ณ. บ้านบางกุ้ง ต.บางกุ้ง อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี เมื่อครบอายุบวชท่านได้อุปสมบทที่วัดท่าเรือ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2491 โดยมีท่านพระครูอุทัยธรรมธารี(หลวงพ่อตี่ สุริยวงศ์สวัสดี) วัดท้าวอู่ทอง จ.ปราจีนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจรูญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทองพูนเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ยสินธโร” ประวัติการศึกษาของหลวงพ่อสนิท เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้เดินทางกลับมายังวัดลำบัวลอย และเป็นยุคที่วัดเสื่อมโทรมที่สุด เพราะเจ้าอาวาสองค์เก่าได้ลาสิกขาไป เหลือแต่บรรดาพระภิกษุหนุ่ม และสามเณรน้อยดูแลความประพฤติกันเอง โดยมีภิกษุเพียง 2 พรรษาเป็นผู้ควบคุมดูแลหมู่คณะ เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นพระภิกษุหนุ่มท่านก็มิได้นิ่งนอน ทำวัตรสวดมนต์เสร็จกิจก็ท่องเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ครบถ้วนกระบวนความเป็นเครื่องยังชีพ ที่ต้องไปสวดร้องท่องบ่นฉลองศรัทธาที่มานิมนต์ นอกจากท่านร่ำเรียนเจ็ดตำนาน สิบสองตำนานแล้ว หลวงพ่อท่านยังค้นคว้าร่ำเรียนพระธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส เครื่องตรึงรัดมัดใจ ให้หลงในลาภสักการะและยศถาบรรดาศักดิ์ต่างๆ และเรียนรู้กฏระเบียบแห่งการปกครอง และคำบัญญัติข้อห้ามของพระภิกษุ-สามเณร แต่ว่าสอบนักธรรมในพรรษาแรกไม่ได้ ประวัติด้านการศึกษาพระเวทย์ ในปี 2496 หลังจากหลวงพ่อสนิทอุปสมบทได้ 6 พรรษา ซึ่ง หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย ท่านได้สอนพระภิกษุ-สามเณรในวัด จนสอบนักธรรมตรีได้หลายองค์ ทางพระเถระชั้นผู้ใหญ่จึงให้หลวงพ่อสนิทท่านสอบนักธรรมสนามหลวง หลวงพ่อสนิทท่านจึงสอบนักธรรมสนามหลวงผ่านถึงนักธรรมชั้นโท ในปีหลังๆต่อมาท่านก็ไม่ได้ไปสอบอีกต่อไป คงรับหน้าที่อบรมสั่งสอนพระลูกศิษย์ลูกหาเสมอมา เกี่ยวกับทางด้านการศึกษาค้นค้าทางด้านพุทธาคม เนื่องจากหลวงพ่อสนิทท่านสนใจทางไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ได้เสาะแสวงหาอาจารย์ร่ำเรียนคัมภีร์ เลขยันต์ เวทมนต์ คาถาอาคมขลังสรรพวิยาคุณต่างๆจนแตกฉาน ชำนิชนาญด้านสรรพคุณไสยด้านถูกกระทำย่ำยีจากศัตรู รู้รอบด้านการแก้สรรพพิษ ยาเบื่อ ยาเมา และยาสั่ง จาก “ หลวงพ่อดำ วัดกุฎิ ” เกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม เป็นเจ้าตำรับผู้สร้าง พระปิดตา เนื้อตะกั่วดำ พิมพ์ปักเป้า อันลือชื่อด้านการป้องกันพิษยาสั่ง และคงกระพันชาตรี ศิษย์อาจารย์เส็ง ซื่อสัตย์ วัดสันทรีย์ เมื่อครั้งสมัยหนุ่มแน่นนั้น หลวงพ่อสนิท ยสินธโร ได้เดินทางไปปราจีนบุรี เสาะหาอาจารย์ชื่อดังที่สร้างและปลุกเสก “ จระเข้โทน “ กับพระอาจารย์เส็ง แห่งวัดสันทรีย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสันทรีย์ ครั้งแรกในการสร้างและปลุกเสกจระเข้โทนเกิดขึ้นราวๆปี 2470 เป็นเนื้อตะกั่วสีดำ ขนาดลำตัวยาวราวๆ 4 เซนติเมตร หลวงพ่อสนิทท่านมีศักดิ์เป็นหลานของ พระอาจารย์เส็ง ซื่อสัตย์ ซึ่งพระอาจารย์เส็งท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสันทรีย์ ตั้งแต่ปี 2435 จนถึง 2476 และท่านได้ลาสิกขาบท ซึ่งต่อมาเมื่อหลวงพ่อสนิท มาฝากตัวร่ำเรียนวิชาจระเข้โทนที่วัดสันทรีย์ ซึ่งหลังจากท่านได้ลาสิกขาบทแล้วท่านได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้หลวงพ่อสนิทจนหมดสิ้น และท่านได้ถ่ายทอดวิชาจระเข้โทนจนสำเร็จ จนหลวงพ่อสนิทสามารถสร้างจระเข้โทน เนื้อชินตะกั่วสีดำ และสร้างจระเข้ปางนารายณ์อวตารหลังลูกศรนารายณ์ (จระเข้รุ่นจันทร์เพ็ญ) ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณจาก พระครูอุทัยธรรมธารี(หลวงพ่อตี่ สุริยวงศ์สวัสดี) วัดท้าวอู่ทอง จ.ปราจีนบุรี อีกด้วย และได้เดินทางไปศึกษาพระเวทย์จากหลวงพ่อพระอาจารย์ทองดำ วัดโคกหม้อ จ.นครสวรรค์ จนสำเร็จวิทยาคมต่างๆ ทั้งตำรายาโบราณการสูญฝี และโรคภัยต่างๆอย่างชำนาญ หลวงพ่อสนิท มรณะภาพเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2542 สิริอายุรวม 74 ปี พรรษา 51 และได้มีการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2544 ท่ามกลางศิษยานุศิษย์ และสาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อสนิท ปรากฏว่าวันงาน ผู้คนแขกเหรื่อมากันจนแน่นขนัดวัด จนล้นออกมานอกวัด นับเป็นประวัติการณ์ และเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย และเส้นเกศาที่เคยปลงเก็บไว้ก็แปรสภาพเป็นพระธาตุอย่างน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง พญาเต่าเรือน ปาฏิหาริย์พระธาตุเสด็จ ในบรรดา พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล ที่หลวงพ่อสนิทท่านได้จัดสร้างขึ้น ซึ่งมีมากมายหลายรุ่น ทั้ง จระเข้โทน พญาเต่าเรือน นกสาริกา ไข่พญากาเผือก สะดือหนุมาน ต่างก็ล้วนแล้วแต่มีอภินิหาร เป็นที่ประจักษ์มากมายทั้งสิ้น แต่ที่จะนำประสบการณ์มาบอกเล่าก็คือ เรื่องของพญาเต่าเรือน เพราะพญาเต่าเรือนของหลวงพ่อสนิท จะแตกต่างและไม่เหมือนของที่อื่นๆ ท่านใช้หินแล้วนำมาแกะเป็นพญาเต่าเรือน ซึ่งท่านได้สร้างมาเรื่อยๆ มีหลากหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กห้อยคอจนกระทั่งถึงขนาดใหญ่มากๆจนต้องใช้กำลังคนหลายคนยกขึ้น ส่วนรุ่นที่ไม่ใช่หินแกะจะมีพญาเต่าเรือนกริ่งขนาดห้อยคอ สร้างจากเนื้อโลหะกะไหล่ทอง ซึ่งพญาเต่าเรือนนี้ หลวงพ่อสนิทท่านจะตั้งใจสร้างอย่างพิถีพิถัน ตามตำนานโบราณ สมัยเมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาเต่าเรือน ปลุกเสกจนกระทั่งมีชีวิตจริงจึงถือว่าเสร็จพิธี ด้วยพลังจิตอันเข้มแข็งที่อัญเชิญพระพุทธบารมีลงมาประดิษฐานในพญาเต่าเรือน ทำให้เกิดอัศจรรย์แก่ศรัทธาญาติโยมที่นำไปบูชาเป็นอันมาก ประสบการณ์ที่บรรดาลูกศิษย์ที่ศรัทธานำไปบูชาทำให้การทำมาค้าขายไหลลื่น ราบลื่น มีลูกค้าเพิ่มขึ้นและยอดขายเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย และปาฏิหาริย์ที่ประจักษ์ต่อสายตาญาติโยมและบรรดาลูกศิษย์ก็คือการมีพระธาตุเสด็จมาเกาะที่กระดองพญาเต่าเรือน ในเรื่องของการที่พระธาตุเสด็จเป็นปาฏิหาริย์แล้ว ยังเกิดกับวัตถุมงคลอีกหลากหลายชนิดที่ท่านสร้างอย่างอื่น ด้วย เช่นที่ จระเข้จันทร์เพ็ญ(ปลุกเสกถึง 5 ไตรมาส) และพระบูชาปางเปิดโลก ที่สร้างเมื่อปี2533 เป็นต้น จระเข้โทน หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย รุ่นแรก(หางตัน) ปี 2509 เนื้อตะกั่วดำหล่อ ใต้ท้องตอกยันต์ "อิสวาสุ นะมะพะทะ" โดยหลวงพ่อหล่อเองที่วัดมิได้สร้างมาจากที่อื่น เจตนาเพื่อ บูชาคุณอาจารย์เส็ง ซื่อสัตย์ ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาจระเข้โทนมาให้ และเพื่อแจกทหาร ตำรวจ สร้าง 2 เนื้อ คือเนื้อ 3 กษัตริย์ จำนวน 500 ชุด และเนื้อตะกั่วหางตัน จำนวน 7,999 ตัว เพื่อแจกในงานฌาปนกิจศพ อาจารย์เส็ง ผู้เป็นอาจารย์และลุงของท่าน ในการสร้างครั้งนั้นเป็นที่โจษขานเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของจระเข้รุ่นนี้ได้สร้างความนิยมแก่ผู้ที่มีไว้ครอบครองเป็นอย่างมาก ทำให้ท่านต้องสร้างจระเข้รุ่น 2 หรือรุ่น ท.บ. ออกมาในเวลาต่อมานั่นเอง ซึ่งรุ่น 2 นี้เอง ได้สร้างชื่อเสียงให้นักสะสมพระเครื่องและวงการรู้จักหลวงพ่อสนิทมากขึ้น จระเข้โทนนั้น การสร้างในแต่ละครั้งใช้เวลานานหลายเดือนมาก ไม่ได้สร้างเพียงไม่กี่เดือนก็เสร็จ ท่านทำตามตำราโบราณทุกประการ และที่สำคัญแจกในงานทำบุญหลวงปู่เส็ง จึงต้องพิถีพิถันทุกขั้นตอน เพื่อลำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ จระเขโทนรุ่น 2 ท.บ. เป็นรุ่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงพ่อสนิทท่านเป็นอย่างมาก สร้างเมื่อปี2516-2519 คณะพ่อค้า ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ได้มาขอร้องให้ท่านสร้างจระเข้รุ่นที่2ขึ้น โดยมีคณะกรรมการหลายฝ่าย ร่วมกันจัดหาทุนสร้างจระเข้รุ่น2นี้ขึ้น สร้างทั้งสิ้นจำนวน 100,999 ตัว การสร้างจระเข้โทนครั้งนี้ จัดว่าสร้างเป็นกรณีพิเศษ รุ่นไตรมาส เพราะอธิษฐานจิตในพรรษา 3 เดือน(ไตรมาส)สร้างด้วยเนื้อตะกั่วดำ เมื่อทำการปลุกเสกเสร็จ ทางคณะกรรมการได้แยกประเภทไว้ดังนี้ 1.ได้ทำการแจกผู้ที่สั่งจองเอาไว้ก่อน 3,500 ตัว 2.ได้จัดไว้ให้เช่าบูชาตัวละ200บาท 5,000 ตัว 3.ถวายหลวงพ่อเอาไว้แจกจ่ายลูกศิษย์ 3,000 ตัว ส่วนที่เหลือจึงได้ทำการบรรจุไว้ ภายในอุโบสถของวัด เพื่อรอโอกาสที่จะเปิดกรุ หาทุนทรัพย์สร้างเจดีย์ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2525 จึงทำการเปิดกรุออกมาอีกครั้ง มีจำนวนประมาณ 89,499 ตัว ทางคณะกรรมการจึงได้แยกประเภทไว้ดังนี้ 1.ถวายหลวงพ่อแจกแก่ ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร จำนวน 20,000 ตัว 2.ถวายหลวงพ่อในการกุศลเป็นเอกสิทธิ์หลวงพ่อ จำนวน 20,000 ตัว 3.ส่วนที่เหลือทางคณะกรรมการควบคุมโดยตรง จำนวน 49,499 ตัว โดยมีผู้ให้รายละเอียดต่างๆ ได้โดยตรงที่วัดลำบัวลอย และคณะกรรมการชุดเก่าต่างมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกประการ กล่าวคือ ถึงสร้างจระเข้โทนรุ่นนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของบรรดาผู้ศรัทธา จึงต้องสร้างถึง 3 รุ่น เป็นที่ล่ำลือจนถึงปัจจุบัน จระเข้โทนที่ได้สร้างขึ้นมา ผู้ใดได้สักการะบูชาก็จะประสบผลดังนี้ 1. เป็นมหาอำนาจ ศัตรูเกรงขาม ปกป้องคุ้มครอง แคล้วคลาด ภัยอันตรายต่างๆ 2. คุ้มครอง ป้องกัน ภูตผีปิศาจเกรงกลัว 3.แก้-กัน เสนียดจัญไร ถอนเสน่ห์ยาแฝดต่างๆ(โดยการทำน้ำมนต์แช่ลงไปในน้ำแล้วนำมาดื่ม มาอาบ) 4. มีอำนาจปกป้องภัยทั้งทางบก และทางน้ำ ป้องกันสัตว์เลื้อยคลาน 5.ดีทางเมตตา ค้าขาย พิธีการที่จะให้จระเข้โทนคุ้มครองป้องกัน จำเป็นที่สุด ก่อนเราจะออกไปไหนมาไหน ต้องปลุกด้วยคาถาย่อ ๆ คือ " อิสวาสุ "ภาวนา 3 คาบ 7 คาบ คำว่าคาบหนึ่งนั้น ได้แก่ อึดใจหนึ่ง ถ้าปรากฏว่าขนหัว ขนตัวลุก ซู่ซ่าทุกครั้งไป ผู้นั้นไม่ตายด้วยคมหอก คมดาบ และอาวุธใดๆ ทั้งสิ้นหรือในยามว่างจะนั่งปลุกเสก 108คาบก็ยิ่งประเสริฐนัก เพื่อเป็นการเพิ่มพลังอิทธิฤทธิ์ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น จะใช้คาถาบทใหญ่โดยตรงก็ได้ดังคาถาข้างล่างนี้ “อมปลุกพญากุมภา ลุกแล้วอย่าไปอื่น ตื่นแล้วจงมารักษา เข้าคุ้มครองกายา ทั่วสารพรางกาย พุทธังเมสะระนังเมสิทธิ ธัมมังเมสะระนังเมสิทธิ สังฆังเมสะระนังเมสิทธิ พุทธังเอหิมาเรโส ธัมมังเอหิมาเรโส สังฆังเอหิมาเรโส พุทธังกุมภีโรโจรัง คงคัง ปิติอิ ธัมมัง กุมภีโรโจรัง คงคัง ปิติอิ สังฆังกุมภี โรโจรัง คงคัง ปิติอิ” การสร้างจระเข้โทนนี้ สร้างด้วยอำนาจพระพุทธเจ้า พระธัมเจ้า พระสังฆเจ้า ได้ทำพิธีบวงสรวง อัญเชิญพระบารมีของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเสวยชาติ เป็นจระเข้พระโพธิสัตว์เป็นพญากุมภีร์ มี บริวาร 500 โดยอาศัยเหตุผลนี้จึงสร้างจระเข้ขึ้น เมื่อบุคคลใดได้สักการะบูชาจระเข้ เท่ากับเราบูชาพระพุทธเจ้าเช่นกัน ตอนนี้มนุษย์เรายังมีกิเลสอยู่ จึงต้องพึ่งพาสิ่งเหล่านี้ ดังนี้น ผู้ที่มีจระเข้ หรือ พกพาจระเข้ จะใส่กระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง ผูกติดเอว ใส่สายคล้องคอ จะเข้าตรอก ซอกซอย รอดราวผ้า ใต้ถุน ไม่ถือทั้งสิ้น ลอดได้ เว้นไว้แต่บุคคลนั้น เป็นผู้คิดคดต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ บุคคลนั้นจะแพ้ภัย จระเข้ไม่คุ้มครองป้องกัน การที่พญากุมภีร์ มีบริวารเป็นจระเข้อีก 500 ตัว เรียกได้ว่าใคร ๆ ต่างก็เกรงกลัวบารมีของพญากุมภีร์เป็นอันมาก และจากความเชื่อนี้เองที่ทำให้ครูบาอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั้งหลายจึงนิยมสร้างจระเข้โทนเป็นเครื่องรางให้ลูกศิษย์ลูกหาได้นำไปบูชาติดตัวกัน เพื่อปกป้องคุ้มครองตนและปกป้องเรื่องอุบัติเหตุต่าง ๆ ให้บังเกิดเป็นแคล้วคลาด หนึ่งในจำนวนครูบาอาจารย์ที่สร้าง " จระเข้โทน " ได้มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์สูงนั้น ต้องยกให้พระครูเวทย์วินิฐ หรือ หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นั่นเอง ท่านก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยการสร้างจระเข้โทนนั้นท่านศึกษาเล่าเรียนมาจากพระอาจารย์เส็ง มีศักดิ์เป็นลุงแท้ๆ ของท่าน ตัวพระอาจารย์เส็งนี้ได้ศึกษาวิชามาจากที่ใดไม่อาจทราบได้ (ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมาจากทางเขมร) และท่านเองก็พยายามคะยั้นคะยอให้ หลวงพ่อสนิทตั้งใจศึกษาเรียนวิชานี้จากท่าน เพราะท่านทราบว่าต่อไป หลวงพ่อสนิท จะต้องเป็นผู้นำวิชาการสร้างจระเข้โทนนี้ไปช่วยคนได้อีกมาก และรับมรดกชิ้นนี้จากท่านไป ซึ่งหลังจากพระอาจารย์เส็ง ได้ถ่ายทอดวิชาจระเข้โทนนี้ให้หลวงพ่อสนิทได้ไม่นาน ท่านก็ได้ลาสิกขาบท ไปครองเรือน และถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา เสกจระเข้จากไม้ และหิน ให้มีชีวิต เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของจระเข้โทนของพระอาจารย์เส็งนั้นครั้งหนึ่ง หลวงพ่อสนิทท่านเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยแรก ๆ ท่านไม่เคยเชื่อเรื่องนี้มาก่อน พระอาจารย์เส็งจึงพาท่านไปที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่ง และได้หยิบจระเข้ออกจากย่าม 4 ตัว เป็นเนื้อไม้ทองหลาง 2 ตัว เนื้อหินแกะ 1 ตัว และเนื้อไม้คูณอีก 1 ตัว จากนั้นก็บริกรรมคาถาสักพักแล้วโยนลงแม่น้ำทั้ง 4 ตัว สักพักเห็นจระเข้เป็น ๆ ตัวใหญ่มาก 4 ตัวลอยขี้นมาบนผิวน้ำ น่าเกรงขามมาก เพราะทุกตัวขยับเขยื้อนมีชีวิตจริง ๆ สักพักพระอาจารย์เส็งท่านก็เอามือตบไปที่น้ำในริมตลิ่งเบาๆ สักพักหนึ่ง จระเข้เหล่านั้นก็คลานมาใกล้ ๆ แล้วก็กลับร่างเป็นจระเข้โทนตัวเล็กๆเท่าเดิม แต่ครั้งนั้นมีที่ว่ายกลับเข้าฝั่งมาจริงๆ เพียง 3 ตัว หายไป 1 ตัว พยายามมองไปเท่าไรก็หาไม่เจอ ก็เลยเป็นอันว่าจระเข้หายไป 1 ตัว จากนั้นเป็นต้นมา ด้วยประจักต์สายตาต่อวิชาอาคมนี้ หลวงพ่อสนิทท่านจึงหายสงสัยและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในอาคมนี้ และท่านก็ยังบอกด้วยว่าจระเข้จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 7 วันเท่านั้น!! และจะกลับเป็นร่างเดิมหลังจาก7วันไปแล้ว หลวงปู่ท่านได้สร้างสุดยอดเมตตามหานิยมไว้อีกอย่าง ซึ่งไม่ได้มีการแพร่หลายทั่วไป ก็คือนกสาริกา เนื่องจากมวลสารนั้นหายากมาก อันประกอบด้วย ผงบดละเอียดจาก กาฝาก ๑๐๘ ชนิด เกสร ๑๐๘ ผงอิทธิเจ ผงยันต์สูตรลบถมตามตำรา และที่สำคัญคือ ขี้ผึ้งปากผีตายโหง (ขี้ผึ้งที่ใช้อุดปากอุดจมูกศพ เพื่อกันน้ำเหลืองไหล) ซึ่งจำนวนในการสร้างนั้นมีน้อยมาก ซึ่งเรียกกันว่าสาลิกาจับปากโลง อันเป็นสุดยอดวิชาเมตตามหานิยมจริงๆ คาถาบูชาสาริกา ก็ต้องหมั่นท่องทุกคืนใช้ว่า “โอมปลุกปลุก รุกแล้วอย่านอน ครูกูสอน อย่าช้าสาลิกาเจ้าเอ๋ย อย่าเฉยเลยรา ครูสั่งเจ้ามาให้รักษาคุ้มครอง ปกป้องเคหา ผู้ใดมีจิตคิดร้ายขอให้กลับใจเมตตา โรคภัยนานาขออย่าได้พบพาล ลาภและยศขอให้ปรากฏขึ้นทั้งแปดทิศ มิตรขอให้เกิดขึ้นทั้งแปดด้าน ผู้ใดเห็นหน้ากูแล้วขอให้มันรัก ผู้ใดทักกูแล้วขอให้มันหลง โอม มหาสาลิกา กรึง กะระณัง ตาวัง ตาวา มะมะ เอหิ สวาหะ” หลักการใช้สาลิกานั้น จำเป็นมากที่ต้องพยายามเรียกใช้เสมอ ยิ่งใช้ยิ่งศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ต้องปลุกเสกด้วยคาถา “วันนะ วันนา สาลิกาโย พุทธังสิโรวาหะมะมะ” สมัยหลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่น้อยคนมากที่ได้มา เพราะท่านหวงเหลือเกินครับ(ท่านกลัวจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี) มีส่วนผสมเป็นขี้ผึ้งของท่านครับขนาดที่ท่านต้องเอาฝังดินซ่อนไว้ เพราะหลานสาวของท่านโดนผู้ชายที่นำสีผึ้งของท่านไปทำสเน่ห์ใส่ครับ ท่านเลยหวงมาก และยังนำขี้ผึ้งที่อุดปากศพมาผสมหลังจากนั้นนำไปใส่โลงนั่งปลุกเสกจนนกสาริกามาเกาะจึงใช้ได้ท่านว่าอย่างนั้น ปลัดขิกศรณ์นารายณ์ เป็นเครื่องรางอีกอย่างที่หลวงปู่ตั้งใจจัดสร้างขึ้นด้วยกุศโลบายที่เยี่ยมยอด ศรณ์ของพระนารายณ์ไม่เคยพลาดเป้า ปัดเป่าความชั่วให้หายสิ้น เป็นเครื่องรางที่หลวงปู่สร้างและติดย่ามของท่านตลอดเวลา หลวงพ่อสนิท เป็น พระอริยสงฆ์ที่รักสันโดษเป็นอย่างมาก กล่าวถึงเมื่อก่อนที่สังขารของท่านจะร่วงโรย ท่านจะถือธุดงควัตร ออกธุดงค์อยู่ตลอดเวลา ท่านไม่สะสมสิ่งของมีค่าใดๆทั้งสิ้น วัตถุ หรือทรัพย์สินต่างๆ มีเมตตาสูง ไม่เคยแยกแยะว่าผู้มาหาจะมีฐานะร่ำรวย หรือยากจนอย่างไร ท่านก็ยังคงปฏิบัติต่อญาติโยมทุกคนเท่าเทียมกันหมด และตัวท่านเอง ก็ยังมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง เมื่อครั้งในอดีตท่านเคยรักษาผู้ป่วยที่มาพึ่งบารมีทั้งที่ป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บและที่ ป่วยจากการโดนคุณไสยต่างๆ
เหรียญหลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี หลังหลวงพ่อเทวฤทธิ์ ปี 2516 กะไหล่ทองเลี่ยมเก่า พิธีใหญ่ สภาพสวย หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่ที่วัดเขาตะเครา ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ และมีชื่อเสียงมานาน ที่ได้นามว่า วัดเขาตะเครา เพราะได้สันนิษฐานกันว่า มีเจ้าสัวชาวจีนผู้หนึ่งมีศรัทธามาก เมื่อได้พระพุทธรูปหลวงพ่อขึ้นมาแล้ว และนำมาประดิษฐาน ณ บ้านแหลม จึงได้สละทรัพย์สร้างเป็นวัดขึ้น ให้นายช่างซึ่งเป็นลูกน้องไม่ปรากฎนาม เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง นายช่างเป็นชาวจีน จึงไว้เครายาว ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวจีนในยุคนั้น ชาวบ้านเห็นคนจีนเอาไว้เครายาวดังนี้ จึงเรียกวัดและเขา ผนวกกันเข้าไปว่า วัดเขาจีนเครา ต่อมาคำว่า จีนเป็นคำเรียกยากสำหรับชาวเมืองเพชร ไม่คุ้นหูชาวบ้าน ในยุคต่อมาจึงเปลี่ยนคำว่า จีน เป็น ตา กลายเป็นเขาตาเครา เมื่อกาลเวลาล่วงไป ภาษากร่อน สระอา จึงกลายเป็นสระอะ เปลี่ยนจาก ตา เป็น ตะ นามที่เรียกกันในปัจจุบันจึงเรียกกันว่า วัดเขาตะเครา ส่วนหลวงพ่อวัดเขาตะเครา นี้ มีตำนานเกี่ยวกับท่านสองตำนานคือ ตำนานแรก ท่านเป็นพี่น้องกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกสององค์คือ หลวงพ่อพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา และหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม (หรือวัดเพชรสมุทร) อีกตำนานหนึ่ง เชื่อว่าท่านเป็นพี่น้องกับพระพุทธรูปอีกสององค์คือ หลวงพ่อวัดบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ และหลวงพ่อวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ท่านเป็นพี่น้องกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์ใดแน่ หากเอาตามตำนานหรือประวัติของวัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทร กับของวัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี แล้วใกล้เคียงกัน และพื้นที่จังหวัดก็อยู่ติดต่อกันด้วย จึงขอเล่าประวัติของหลวงพ่อวัดเขาตะเครา หรือหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ไว้ดังนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๒ ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ให้แก่พม่า (เสียกรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๓๐๑) ชาวบ้านแหลม เพชรบุรี ได้อพยพหนีทัพพม่า ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากแม่น้ำแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ใกล้กับวัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทร ในปัจจุบัน ซึ่งเวลานั้น วัดบ้านแหลมชื่อว่า วัดศรีจำปา เป็นวัดร้าง ชาวบ้านแหลมที่อพยพไปอยู่ จึงช่วยกันบูรณะ ก่อสร้างขึ้นใหม่แล้วให้ชื่อตามท้องถิ่น ที่พวกตนจากมาคือชื่อ วัดบ้านแหลม เพื่อเป็นอนุสรณ์ของชาวบ้านแหลมผู้สร้าง และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดเพชรสมุทร วันหนึ่งชาวบ้านแหลมที่มีอาชีพดั้งเดิมคือ ชาวประมง ได้ไปจับปลาลากอวน ลากอวนติดเอาพระพุทธรูปมา ๒ องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง ปางมารวิชัย อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน จึงนำองค์พระพุทธรูปยืน มาประดิษฐานไว้ ณ วัดบ้านแหลม (วัดศรีจำปา) ต่อมาชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปยืนองค์นี้ว่า หลวงพ่อบ้านแหลม ตามนามที่ได้พระพุทธรูปมา ส่วนอีกองค์หนึ่ง ที่เป็นพระพุทธรูปนั่งนั้น ได้มอบให้ชาวบ้าน ชาวบางตะบูน ซึ่งเป็นท้องถิ่นเดิมที่พวกตนได้จากมา ชาวบางตะบูน จึงนำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดเขาตะเครา และเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา ส่วนที่เรียกกันในภายหลังว่า หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เพราะว่าเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๒๗ เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ เณรรูปหนึ่ง ได้วิ่งมาบอกเจ้าอาวาสคือ พระครูวชิรกิจโสภณ ว่า เกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นที่โบสถ์ พระเณรจึงวิ่งไปดูที่โบสถ์ เห็นไฟไหม้ลุกท่วมองค์หลวงพ่อทอง และไฟได้ไหม้ลุกลามขึ้นไปสูง ปรากฎว่ามีทองคำหลอมเหลวไหลออกมาจากหลวงพ่อทอง เมื่อไฟดับแล้ว นำทองคำไปชั่งได้น้ำหนักถึง ๙ กิโลกรัม ๙ ขีด ท่านเจ้าอาวาสจึงนำทองคำไปหล่อเป็นลูกอมทองไหล หลวงพ่อทอง ลักษณะเป็นรูปทองคำทรงกลม และมีรูปหลวงพ่อทองติดอยู่ แล้วหุ้มรูปทรงกลมด้วยพลาสติค นำออกให้ประชาชนเช่าบูชา มีรายได้เข้าวัดเป็นเงินมากถึง ๒๑ ล้านบาทเศษ และนำรายได้นี้ไปสร้างมณฑป สร้างโรงเรียน สร้างประปา สร้างศาลาเอนกประสงค์ หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ปัจจุบันไม่ได้ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ แต่ประดิษฐานอยู่ในศาลาหลังคาสีแดง ตรงข้ามกับอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว สูง ๒๙ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาตะเครา นับถึง พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นเวลา ๒๔๔ ปี ส่วนหลวงพ่อที่เป็นพระประธานในอุโบสถนั้น นามหลวงพ่อคือ หลวงพ่อเทวฤทธิ์ ประดิษฐานในอุโบสถ เป็นพระทรงเครื่องแบบเทวรูป สูง ๕๔ นิ้ว หน้าตักกว้าง ๓๘ นิ้ว เนื้อปูน เป็นพระเก่าแก่องค์หนึ่ง พุทธลักษณะคล้ายกับพระประธานในอุโบสถวัดพระเมรุ ที่อยุธยา การปั้นอยู่ในลักษณะเดียวกัน ปูนก็ชนิดเดียวกัน มีความศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ชาวบ้านในละแวกนั้น และชาวจังหวัดใกล้เคียว หากจะบนบานขอพึ่งพระบารมี ไม่ว่าในด้านใด ๆ ก็ตาม มักจะไปขอคู่กันคือ ขอจากหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ในศาลาหลังคาสีแดง ก่อน แล้วจึงไปขอจากหลวงพ่อเทวฤทธิ์ ในอุโบสถควบคู่กันไป มักได้รับความสำเร็จสมปรารถนา วัดเขาตะเครา ยังมีพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่ง ประดิษฐานเป็นพระประธาน อยู่ในวิหารบนเขาที่อยู่ด้านหลังอุโบสถ มีบันไดให้ขึ้นไปนมัสการได้ หลวงพ่อองค์นี้ สร้างจำลองแบบหลวงพ่อเขาตะเครา สูง ๗๗ นิ้ว หน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว ปั้นด้วยปูนขาวผสมน้ำเชื้อแบบโบราณ ตามตำนานเล่าไว้ว่า เมื่อได้หลวงพ่อทอง มาแล้ว ก็นำไปประดิษฐานไว้ที่ยอดเขาตะเครา เพื่อความสะดวกในการที่จะผ่านไป ผ่านมา ระหว่างแม่กลองกับบ้านแหลม ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของตน สมัยก่อนทะเลกับเขาตะเครา ไม่ห่างกันมากนัก เมื่อชาวทะเลผ่านมาทางทะเล ก็นมัสการได้จากในทะเล ต่อมาชายทะเลได้งอกยาวออกไป นมัสการจากทะเลชักจะมองไม่เห็น ต้องขึ้นจากเรือมานมัสการบนบก ก็ต้องไต่เขาขึ้นไปเพราะยังไม่มีบันไดให้ขึ้น ได้สะดวกเช่นทุกวันนี้ (ขนาดมีบันได คนปูนผมก็หัวใจเกือบวาย) ชายทะเลก็งอกยาวออกไปไม่รู้จบ จึงได้ย้ายหลวงพ่อทอง ลงมาไว้ที่อุโบสถ และย้ายต่อมาไว้ที่ศาลาหลังคาแดง (น่าจะย้ายลงมาหลังเกิดไฟไหม้แล้ว) ในอุโบสถจึงสร้างหลวงพ่อเทวฤทธิ์เอาไว้ ส่วนวิหารยอดเขาตะเครา สร้างหลวงพ่อหมอ ไว้แทนหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา เหตุที่ไปเรียกท่านว่า หลวงพ่อหมอ ก็เพราะประชาชนละแวกนั้น ในสมัยก่อน เมื่อยามเจ็บป่วย หาหมอรักษายาก จึงเด็ดเอาต้นไม้บนเขา ที่เชื่อแน่ว่ากินได้ ถือว่าเป็นยาของหลวงพ่อ แล้วใส่หม้อยาเอาไปตั้งหน้าหลวงพ่อ จุดธูป เทียน อธิษฐานขอให้กินยาในหม้อนี้ แล้วหายโรค แล้วนำขี้ธูปเศษเทียน ที่จุดบูชาใส่ลงไปในหม้อด้วย นำไปต้มกิน ปรากฎว่าหายมากว่าตาย จึงเรียกท่านว่า หลวงพ่อหมอ และยังมีอีกในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ ในด้านเมตตามหาลาภ ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเป็นหมอเท่าไรนัก หากผู้ใดเดือดร้อนเรื่องเงินทอง ไม่สามารถหาทางออกได้ อาจจะถึงขั้นล้มละลาย หายนะแล้ว ก็จุดธูปเทียนออกนามหลวงพ่อหมอ หลวงพ่อหมอ อาจจะไปเข้าฝันบอกลาภให้ ก็จะพ้นจากล้มละลายหายนะได้ และยังมีอีกหลายเรื่อง