มณีจินดา

ข้อมูลสมาชิก – มณีจินดา

เริ่มเป็นสมาชิก: May 17, 2012 01:02:36 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 183 รายการ , คำติ: 0 รายการ

ประวัติ Feedback


"คัดสวย"เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มูลค่าหน้าเหรียญ50บาท ปี2555 สวยแท้ดูง่ายสบายตา เอามาแบ่งปัน หมดแล้วหมดเลยครับ *ขออนุญาตใช้ภาพเดิม รับประกันสวยทุกเหรียญ* **รับประกันตามกฎครับ**


เขียนโดย :Gthana เจ้าของรายการ November 12, 2016 08:32:16


"คัดสวย"เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มูลค่าหน้าเหรียญ50บาท ปี2555 สวยแท้ดูง่ายสบายตา เอามาแบ่งปัน หมดแล้วหมดเลยครับ *ขออนุญาตใช้ภาพเดิม รับประกันสวยทุกเหรียญ* **รับประกันตามกฎครับ**


เขียนโดย :Gthana เจ้าของรายการ November 12, 2016 08:31:43


"คัดสวย"เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มูลค่าหน้าเหรียญ50บาท ปี2555 สวยแท้ดูง่ายสบายตา เอามาแบ่งปัน หมดแล้วหมดเลยครับ *ขออนุญาตใช้ภาพเดิม รับประกันสวยทุกเหรียญ* **รับประกันตามกฎครับ**


เขียนโดย :Gthana เจ้าของรายการ November 12, 2016 08:31:14


ธนบัตร 10 บาท จำนวน 4 ใบ เลขเรียงกัน ไม่ผ่านการใช้ วัดใจเคาะเดียว


เขียนโดย :sutad3352 เจ้าของรายการ November 12, 2016 04:46:03


หายากมากๆ เนื้อเงินแท้ โค้ตเฑาะว์คู่ เหรียญรัศมี เนื้อเงินสร้างเพียง 99 เหรียญ ทุกเหรียญยิงโค้ตเฑาะว์คู่ไว้เป็นสัญลักษณ์เท่านั้น ราคาออกวัด พระอาจารย์แว่น วัดสพานสูง เนื้อเงินในตอนนั้นเหรียญละ 3,000 บาท (หมดแล้วครับ) วันนี้ผมมาแบ่งจริงๆ    สำหรับเนื้อเงินนี้ ต้องบอกตรงๆว่าหายาก ออกวัดก็ราคาสูงมากแล้ว วันนี้ผมจัดพิเศษให้ครับ สุดคุ้ม พระอาจารย์แว่น วัดสพานสูง จัดสร้าง ปี2558 :จริงๆแล้วรุ่นนี้สร้างและเสกมาหลายพิธีแล้ว ทั้งที่วัดละหารไร่ และวัดป่าบ้านแดง จ.อุบลราชธานี และในโบสถ์วัดสพานสูง แต่ยังไม่ได้แจกจ่ายไปบูชา พึ่งจะออกแจกจ่ายเปิดให้บูชากันในวันที่ 25 ธค. 58 ที่ผ่านมา หลังพิธีใหญ่ของวัดสพานสูงรุ่นสวดมนต์ข้ามปี เนื้อเงิน รุ่นนี้จะยิง โค้ต 2 โค้ต คือ โค้ตเฑาว์คู่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเหรียญ ที่นำเสนอนี้ หลังยันต์โสฬสมงคล หายาก นิยมกันเพราะเป็นยันต์ประจำตัวหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสพานสูง โดยเฉพาะ รุ่นนี้ชนวนโลหะแผ่นเงินจารยันต์ โสฬสมงคล วัดสพานสูง ยันต์สร้างพระต่างๆ ที่พระอาจารย์แว่น วัดสพานสูงจารเองกับมือ ตลอดจนชนวนเงินหล่อพระต่างๆทั่วประเทศที่รวบรวมไว้ พุทธาภิเษกในพระอุโบสถ วัดสพานสูง วันที่ 25 ธ.ค.2558 พระเกจิอาจารย์ :   หลวงปู่วาส วัดสพานสูง ,พระครูปราโมทย์สารคุณ (หลวงพ่ออ้อน) วัดบางตะไนย์ ,พระครูอมรนนทคุณ(พระอาจารย์นวย) วัดท้องคุ้ง,พระนันทวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์อ่าง) วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ,พระครูอมรศุภการ(พระอาจารย์ขาว) เจ้าอาวาสวัดสะพานสูง จุดเทียนชัย และพระวัดสพานสูงเจริญพระพุทธมนต์ โสฬสมงคล 108 จบ ซึ่งถือว่าเป็นที่สุดของเหรียญอีกรุ่นของวัดสพานสูง


เขียนโดย :nungfino เจ้าของรายการ November 10, 2016 10:21:58


แบงค์ 10 บาท 120ปี กระทรวงการคลัง สภาพ UNC จำนวน 12 ใบ เลขเรียง 72-80,94-95 ,48 หายากครับ


เขียนโดย :l2post เจ้าของรายการ November 10, 2016 09:31:12


พระพุทธนราวันตบพิธ เป็นพระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ประชาชนซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์ได้มีไว้เป็น สายใยกับพระองค์ท่าน เพราะมีมวลสารสำคัญ คือเส้นพระเจ้า (พระเกศา) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในมวลสารพระด้วย  ในวาระอันเป็นมิ่งมงคลสมัยอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา ปี 2542 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพุทธนราวันตบพิธขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงทราบว่า สมเด็จจิตรดาที่ทรงสร้างด้วยพระองค์เอง มีผู้ต้องการและเสาะแสวงหากันมาก เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสมจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระสำหรับ พสกนิกรผู้จงรักภักดีของพระองค์ท่าน โดยให้เป็นพระที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวที่ใครๆ ก็สามารถบูชาได้ เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และเสด็จมาประทับ ณ พระปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงสถาปนาพระพุทธปฏิมาประจำพระองค์ไว้ในพระบวรพระพุทธศาสนา  เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธปฏิมานี้ว่า "พระพุทธนราวันตบพิธ" ได้เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระปั้นหยาเป็นพระราชกุศลสืบไป องค์พระพุทธนราวันตบพิธ เป็นพระยืนยกพระหัตถ์ทั้งสอง ปางห้ามสมุทร อันเป็นพระประจำพระชนมวาร คือ วันจันทร์ ประทับยืนบนฐานกลมบัวคว่ำบัวหงายบนตั่งแข้งสิงห์เหนือหน้ากระดาน และมีฐานภัทรบิฐ สัญลักษณ์ประจำพระองค์รองอีกชั้นหนึ่ง ความสูงถึงสุดพระรัศมี 36.5 เซนติเมตร ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์พระและฐาน คณะกรรมการจัดสร้างขณะนั้น คือ พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ องค์มนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นกรรมการดำเนินงาน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา และเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพิมพ์เป็นพระเนื้อผง จากต้นแบบพระพุทธนราวันตบพิธพระพุทธรูปฉลองพระองค์ ประการสำคัญที่สุดได้พระราชทานมวลสารส่วนพระองค์ โดยเฉพาะเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศาของพระองค์) ให้นำมาผสมในเนื้อพระ เพื่อให้พสกนิกรได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ตลอดไป พระเนื้อผงที่จัดสร้างเป็นพระประทับยืนยกพระหัตถ์สองข้างบนพื้นที่ทำเป็นรูป ซุ้มโค้งแหลม สูง 3.2 เซนติเมตร ด้านหลังประดิษฐานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา เนื้อหามวลสาร นอกจากเส้นพระเจ้าและมวลสารส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานมวลสารมหามงคลอีกประการหนึ่งคือ พระจีวรที่องค์ครองคราวเสด็จออกผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้รวบรวมมวลสารจากพระธาตุสำคัญทุกปีเกิด จากวัดสำคัญ 143 วัดทั่วประเทศ สถานที่สำคัญอันได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ในอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ก็ได้ทรงพระราชทานมวลสารพุทธมงคลสำคัญมาร่วมสร้างพระพิมพ์พระพุทธนราวันตบ พิธ อีกจำนวนมาก สำหรับการผสมมวลสารมหามงคลพระราชทานนั้น อาจารย์อนันต์ สวัสดิ์สวนีย์ ซึ่งเป็นนายช่างแห่งกองช่างสิบหมู่ กรมศิลปกร ได้นำมวลสารมหามงคลทั้ง 3 ประการ มาซอยและย่อยให้เป็นผงละเอียดยิบ เพื่อจะได้ผสมมวลสารอย่างอื่นอย่างทั่วถึง เพราะฉะนั้นประชาชนทุกท่านมีสิทธิ์ได้รับมวลสารมหามงคลอย่างถ้วนทั่วกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีมหาพุทธาภิเศก เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2542 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงมอบให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์และจุดเทียนชัย มีพระเถระและพระคณาจารย์ รวม 72 รูปทั่วประเทศ อาทิ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพตหนองคาย หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน เลย หลวงพ่อพวง สุวีโร วัดป่าปูลู สกลนคร หลวงพ่อบุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น หลวงปู่หงส์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี สุรินทร์ หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม ราชบุรี หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ  


เขียนโดย :ขุนพลเมืองแพร่ เจ้าของรายการ November 08, 2016 23:58:00

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระสมเด็จทั่วไป/6982701


เวปประมูลก็ต้องเคาะประมูล ชิมิๆ เคาะกันวันละนิดจิตแจ่มใส พี่ๆแต่ละท่านก็มี ((( สไตล์ ))) ที่แตกต่างกัน อย่าว่างั้นงี้เลย ปอดกับหัวใจนู๋ไม่ค่อยแข็งแรง " พี่ๆคงไม่ปล่อยให้นู๋เร้าใจอยู่คนเดียวนะคร๊าบบบ "   พี่ๆแวะชมดูแล้วล็อคอินกันรึยังจ๊ะ วันนี้เปิด พรุ่งนี้ปิด ??? ลับแป้นรอกันเร้ยยย..ไม่เก็บวันนี้วันหน้าจะไม่มีให้เก็บนะจ๊ะ   พระสมเด็จ  วัดประสาทบุญญาวาส  ปี2506 เนื้อขาว  (((  สูง 4.0 ซ.ม.  )))  เก่าตามสภาพ ...คลาสสิคสุดๆ  ควรค่าแก่การบูชา น่าสะสมจังเลยคร๊าบ...   มีข้อมูลดี ดี บางช่วงบางตอน พี่ๆแวะมาศึกษาร่วมกัน อ่านกันเพลินๆนะคร๊าบ เครดิต http://www.web-pra.com/Shop/wison/Show/763593  ขอบพระคุณคร๊าบ   วัดประสาทบุญญาวาส สร้างขึ้นเมื่อราวๆ พ.ศ. ๒๓๗๖ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ ใช้ชื่อวัดว่า วัดคลองสามแสน เพราะอยู่ใกล้คลองสามแสน (ปัจจุบันเรียกคลองสามเสน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดขวิด เพราะมีต้นมะขวิดอยู่ด้านข้าง อุโบสถขนาดใหญ่ ๒ ต้น และประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๖ ก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ เสนาสนะ หลายหลังพร้อมทั้งอุโบสถหลังเดิมก็ถูกไฟไหม้เสียหายส่วนหนึ่ง เจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน ได้สร้างอุโบสถขึ้นใหม่ ประวัติการสร้าง พระวัดประสาทบุญญาวาส ๒๕๐๖ ในปี ๒๔๙๘ วัดประสาทบุญญาวาสถูกเพลิงเผาผลาญครั้งใหญ่ คืนหนึ่งพระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นิมิตถึงหลวงปู่ทวด มาบอกให้ท่านไปช่วยบูรณะ วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ ด้วยเนื่องจากถูกไฟไหม้ พระอาจารย์ทิมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อสืบข่าวว่านิมิตดังกล่าวเป็นความจริง หรือไม่ โดยเข้าจำวัดที่วัดเอี่ยมวรนุช และได้รับการยืนยันว่า วัดประสาทบุญญาวาสถูกไฟไหม้จริง พอทราบท่านจึงเดินทางไปที่วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อปรึกษาหารือกับพระครูสมุห์อำพล ในการบูรณะวัดประสาทบุญญาวาส ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ต่อมาในปี ๒๕๐๒ พระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นำแม่พิมพ์และมวลสาร พระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกปี ๒๔๙๗ พร้อมว่านแร่ดินกากยายักษ์มาให้วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านดำ แดง ขาว พิมพ์ที่ด้านหลัง มีเจดีย์ และพิมพ์ที่ด้านหลัง ไม่มีเจดีย์ พระครูบริหาร คุณวัตร เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ได้มอบพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหัก ชำรุดจากรุ่นเปิดกรุในปี ๒๕๐๐ เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดด้วย ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นนี้ปลุกเสกโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ เมื่อประมาณปี ๒๔๑๓ รายนามพระเกจิคณาจารย์ร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต อาทิ พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงปู่เขียว วัดหรงบล, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม และพระเกจิดังๆในสมัยนั้นเป็นร้อยรูป ประมาณว่าเราไม่ต้องมีหรือแขวนวัตถุมงคล ของหลวงพ่อหลวงปู่หลายๆท่าน แต่มีพระวัดประสาทไว้สักองค์หนึ่งก็พอแล้ว   (เพื่อความอุ่นใจ..พี่ๆลองเช็คราคานอกเวปดูก่อนเข้าร่วมประมูลนะคร๊าบบบ ^_^) หมายเหตุ ทุกข้อสงสัยล้วนมีคำตอบ สงสัยเรื่องใดเมล์ถามข้อมูลได้เลยคร๊าบบบ พี่ๆ ชาวดี ดี..... *** จัดส่งพระตามรูป รับประกันตามกฎเวป *** ผู้ชนะการประมูลโอนเงินแล้วรบกวนฝากข้อความในกล่องข้อความหรือโทร.แจ้งก็ได้นะครับ เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่ง จัดส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน ปลอดภัย ไร้กังวล คร๊าบ... ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเยี่ยมชมหรือเข้าร่วมการประมูล ขอบพระคุณคร๊าบบบ ^_^


เขียนโดย :thaiart เจ้าของรายการ November 08, 2016 07:26:23

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุด-จ.นครปฐม/6983153


การสร้างเหรียญเจ้าสัว 2 ปี พ.ศ.2535 เพื่อสมทบทุนพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก การสร้างครั้งนั้นมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นประธานฝ่ายฆราวาส มงคลวัตถุซึ่งทางวัดกลางบางแก้วสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นการมอบตอบแทนให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก ซึ่งมีการดำเนินการ วิธีการและการจัดสร้าง ดังต่อไปนี้   เหรียญเจ้าสัว ตำรับหลวงปู่บุญ ซึ่งวัดกลางบางแก้วได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ได้นำตำรับของหลวงปู่บุญมาปฏิบัติการตามขั้นตอนต่างๆ อย่างครบถ้วน โดยมีท่านพระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี และเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วเป็นผู้ดำเนินการ   พระอาจารย์เจือ ปิยะสีโล ศิษย์หลวงปู่เพิ่ม ผู้รับการถ่ายทอดพุทธาคมมาจากหลวงปู่บุญ อันถือว่าได้สืบทอดวิทยาคมมาจากหลวงปู่บุญเป็นผู้จารอักขระแผ่นยันต์ตามตำรับเหรียญเจ้าสัว อันประกอบด้วยยันต์ต่างๆ มากมาย เช่น ยันต์มหาโภคทรัพย์ 109 ยันต์มหาเศรษฐี เรือนเงิน-เรือนทอง ยันต์มหาลาภสังกัจจายน์ ยันต์มหาวาสนาบารมี 16 พระอรหันต์ และยันต์พระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ เป็นต้น หล่อหลอมรวมกับชนวนโลหะพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ ตลอดจนตะกรุด ทองคำ เงิน และทองแดงของหลวงปู่บุญ ซึ่งตกค้างอยู่ในกุฏิเก่าของท่าน นอกจากนี้ ยังได้รับชนวนพระสำคัญ และยันต์จากคณาจารย์ต่างๆ มากมายมาร่วมผสมในเนื้อโลหะของเหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ด้วยมากมาย   แผ่นยันต์ ตลอดจนชนวนโลหะทั้งหมด จะทำการหล่อหลอมรวมเนื้อ เพื่อนำไปสร้างเหรียญเจ้าสัวทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง ในวันอังคารที่ 14 เมษายน 2535 เวลา 07.19 น. อันได้ตำแหน่ง “มหัทธโนฤกษ์” คือ “ฤกษ์แห่งผู้มีทรัพย์” ณ วัดกลางบางแก้ว ท่ามกลางพิธีกรรมอันถูกต้อง   ลักษณะของเหรียญ เหมือนเดิม ทุกประการ โดยกรรมวิธีการถอดแบบจากองค์ที่งดงามที่สุด ซึ่งมีค่าหลายแสนบาท ด้วยกรรมวิธีการถอดแบบที่ประณีตบรรจง และพิถีพิถันในการหล่อ หลอมจัดสร้างเพื่อให้งดงามสมบูรณ์ทุกเหรียญเสมอเหมือนกัน ด้านหลังเหรียญบรรจุพระคาถามหาโภคทรัพย์ของหลวงปู่บุญคือ “อะระหัง ภควา นะชาลีติ”   จำนวนการจัดสร้าง ซึ่งเหรียญแต่ละชนิดมีจำนวนการสร้าง ดังนี้ 1. เหรียญเจ้าสัวทองคำ 700 เหรียญ 2. เหรียญเจ้าสัวเงิน 6,685 เหรียญ 3. เหรียญเจ้าสัวนวโลหะ 7,230 เหรียญ 4. เหรียญเจ้าสัวทองแดง 9,000 เหรียญ   สัญลักษณ์สำคัญหรือ “โค้ด” คณะกรรมการได้ทำการตอกโค้ดสำคัญด้านหลังเหรียญเจ้าสัวทุกเนื้อและทุกเหรียญ เพื่อกันการปลอมแปลงในอนาคต   พิธีพุทธา-มังคลาภิเษก คณะกรรมการ ซึ่งมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นประธานการสร้างฝ่ายฆราวาส ได้นำมงคลวัตถุชุดนี้ทั้งหมดไปให้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช แผ่เมตตาจิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นปฐมฤกษ์   จากนั้นในวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2535 ทำพิธีพุทธามังคลาภิเษก ณ โบสถ์วัดกลางบางแก้ว ในเวลา 13.39 น. อันได้ตำแหน่ง “มหัทธโนฤกษ์” คือฤกษ์แห่งผู้มีทรัพย์ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นประธานจุดเทียนชัย และได้นิมนต์พระคณาจารย์มาร่วมพิธีพุทธมังคลาภิเษก จำนวน 76 รูป   เหรียญเจ้าสัว ตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว รุ่น 2 เนื้อนวโลหะ ปี 2535 ในเรื่องของพุทธคุณนั้น เด่นทางด้านโชคลาภ ทำมาค้าขาย และทางด้านแคล้วคลาดอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ห้อยบูชาเหรียญเจ้าสัวแล้วทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยทุกคน จึงได้รับสมญานามว่าเหรียญเจ้าสัว อย่างในสมัยก่อนนั้น ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ล้วนแต่อุดมด้วยโชคลาภ ทรัพย์สินพูนทวีมีฐานะ เขาจึงมักเรียกเหรียญนี้กันว่า "เหรียญเจ้าสัว"


เขียนโดย :มังกรทอง เจ้าของรายการ November 08, 2016 03:39:50


# เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายที่ระลึก 60 ปี ราชาภิเษกสมรส + บรมราชาภิเษก ครบชุด 2 เหรียญ ตลับแพคเดิมๆ สวยปิ๊ง ธนารักษณ์จัดสร้างขึ้นตามจำนวนคนสั่งจองค่ะ....สวยมากกกกก. ขณะที่ราคาทองแดงชุด 50 ปี หลายตังแล้วค่ะ..(หายากด้วยค่ะ) จัดสร้าง 3 เนื้อค่ะ....มีทองคำและเงินด้วยค่ะ....ประมูลรวม สองเหรียญ ครบชุด .. น่าเก็บมากค่ะ


เขียนโดย :baibua เจ้าของรายการ November 07, 2016 13:18:53

หน้าที่ :  4