พระพุทธชินราชหลวงพ่อโม วัดสามจีน กทม. เนื้อตะกั่ว ปี 2457 "มีจาร"

เขียนโดย : มืองาน02 วันที่ลง : 2018-09-13 12:55 เยี่ยมชมร้านค้า


ชื่อพระ/สินค้า พระพุทธชินราชหลวงพ่อโม วัดสามจีน กทม. เนื้อตะกั่ว ปี 2457 "มีจาร"
หมวด
ประเภท
ขายแล้ว
ราคา
รายละเอียด

วัดสามจีน อาจไม่คุ้นหูคนยุคใหม่ เพราะชื่อเป็นทางการคือ "วัดไตรมิตรวิทยาราม" ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตของหลวงพ่อโมมาตั้งแต่ท่านยังเป็นฆราวาส และปัจจุบันวัดนี้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก ชาวต่างชาติต่างติดอกติดใจในความงามของ "หลวงพ่อทองคำ" ซึ่งถูกบันทึกไว้ใน "กินเนสส์บุ๊ก" ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจมาก

กล่าวสำหรับวัดไตรมิตรวิทยาราม อีกสิ่งหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันอย่างดียิ่งในแวดวงของผู้ชมชอบพระเครื่อง นั้นคือ พระเกจิอาจารย์ดังพระเกจิอาจารย์เรืองนามของวัดไตรมิตรวิทยาราม นาม หลวงพ่อโม ธมฺมสาโร เป็นหลวงพ่อโม ผู้ซึ่งได้รับฉายานามว่า "เกจิอาจารย์ผู้กำราบมังกรอลังการ์" เพราะย่านสัมพันธวงศ์ หรือเยาวราช ในอดีตเป็นแหล่งรวมของบรรดานักเลงหลายก๊กหลายเหล่าทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะนักเลงสายเลือดมังกรนั้นขึ้นชื่อลือชามากในเรื่องความโหดร้ายเหี้ยมอำมหิต ชนิดที่ว่านักเลงยุคนี้ต้องชิดซ้ายเทียบไม่ได้แม้ปลายเล็บ แม้ว่าจะซ่าขนาดไหนแต่นักเลงทุกรายต้องยอมศิโรราบให้ปรมาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้า เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน และเป็นที่เกรงกลัวของอันธพาลอย่างมาก นั่นก็คือ "หลวงพ่อโม วัดสามจีน" โดยเฉพาะนักเลงก๊กลักกั๊ก ซึ่งเป็นก๊กใหญ่ในฐานะ "เจ้าพ่อเยาวราช" ยุคนั้นต่างนับถือท่านกันทุกคน รายไหนรายนั้นแหวกอกเสื้อดูได้ ต้องห้อย "เหรียญรุ่นแรก ปี 2460" และ "พระพุทธชินราช" ของท่านกันทั้งนั้น

หลวงพ่อโม หรือนามสมณศักดิ์ว่า "พระครูวิริยกิจการี" เป็นลูกชาวจีนแท้ๆ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีพ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อ ลิ้ม โยมมารดาชื่อ กิมเฮียง แซ่ฉั่ว เดิมมีอาชีพค้าขายเป็นหลักอยู่ในย่านตลาดน้อย พอเข้าวัยการศึกษาบิดามารดาได้ส่งให้มาเล่าเรียนที่สำนักวัดสามจีน จนสามารถอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่วพออายุครบ 20 ปีได้เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสามจีน ในระหว่างปี พ.ศ.2426 โดยมี พระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ วัดหัวลำโพง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์แย้ม วัดสามจีน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ธัมมสาโร" เมื่อบวชแล้วได้อยู่จำพรรษาที่วัดสามจีน ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ด้วยความที่ท่านมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ไม่ว่าจะศึกษาวิชาการใดๆ ก็จดจำได้อย่างแม่นยำ จนเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ในด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง กล่าวกันว่าแทบทุกวันท่านจะเดินไปที่วัดปทุมคงคาเป็นประจำ เพื่อถ่ายทอดวิชาอาคม และวิปัสสนากับพระปรากรมมุนี (เปลี่ยน) พระอุปัชฌาย์ ซึ่งสมัยนั้นได้รับการกล่าวขวัญว่ามีวิชาอาคมเข้มขลังยิ่งนัก ลูกศิษย์ลูกหามากมายให้ความเคารพนับถือกล่าวกันว่า แต่ละวันจะมีประชาชนจากหลายสถานที่มาให้ท่านลงกระหม่อมด้วย "ขมิ้นชัน" ใครก็ตามหากท่านลงอักขระยันต์ที่กระหม่อม เมื่อเสียชีวิตที่กะโหลกศีรษะจะปรากฏอักขระยันต์ติดอยู่ เผาอย่างไรก็ไม่ไหม้ต้องนิมนต์ท่านมาถอนให้จึงจะเผาไหม้ ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ "พระปรากรมมุนี" ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่ จ.พิษณุโลก "หลวงพ่อโม" จึงได้ติดตามไปอยู่ด้วยเป็นเวลาหลายปี และหลังจากพระปรากรมมุนีได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดใหญ่จนเป็นระเบียบเรียบร้อย ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส (วัดรั้วเหล็ก) ฝั่งธนบุรี ส่วนหลวงพ่อโมได้กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามจีน ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของท่านสืบต่อมาจนถึงบั้นปลายชีวิต ในปี พ.ศ. 2461 หลวงพ่อโมก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 30 กันยายน อายุได้ 55 ปี พรรษาที่ 34 ... อายุพระ 100 กว่าปี ควรค่าแก่การบูชา มาพร้อมบัตรรับรอง

ติดต่อร้านค้า

ที่อยู่ พระราม 2
โทร 084-411-3313
อีเมล
Line ID
ธนาคาร