สมเด็จหลวงก๋งเฉื่อย วัดล่างบางปะกง หลังยันต์ใบพัด ภะ คะ วา ม ะ อะ อุ เกจิในตำนานเมืองแปดริ้ว

เขียนโดย : มัดหมี่ วันที่ลง : 2017-09-17 21:03 เยี่ยมชมร้านค้า


ชื่อพระ/สินค้า สมเด็จหลวงก๋งเฉื่อย วัดล่างบางปะกง หลังยันต์ใบพัด ภะ คะ วา ม ะ อะ อุ เกจิในตำนานเมืองแปดริ้ว
หมวด
ประเภท
ขายแล้ว
ราคา
รายละเอียด หลวงพ่อก๋งเฉื่อย วัดล่างบางประกง
หลวงก๋งเป็นชาวบางปะกงโดยกำเนิดเกิดที่บ้านปากคลองยายเม้ย ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง แปดริ้ว เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๙ โยมพ่อชื่อ บุญ โยมแม่ชื่อหมา นามสกุล บุญมี โดยที่หลวงก๋งเฉื่อยเป็นลูกชายคนโต และมีน้องสองคนคือนางฉ่ำ บุญมี และนางชุ่ม บุญมี เมื่ออายุได้ ๑๐ ขวบโยมทั้งสองได้นำมาฝากให้อยู่กับ"หลวงตาคง"เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดล่างบางปะกงเพื่อศึกษาเล่าเรียน ซึ่งหลวงตาคงรูปนี้เป็นพระที่มีวิชาอาคมแก่กล้า เป็นเพื่อนกันกับหลวงพ่อเปิ้น พุทฺธสโร วัดบ้านเก่า ตามประวัติกล่าวว่าท่านเป็นลูกจีนนอกบิดามารดาเป็นชาวจีนโพ้นทะเล อพยพจากเมืองจีนมาเข้าอ่าวบางปะกงขึ้นบกที่บางปะกงล่าง ตัวท่านมาเกิดที่บางปะกง ในวัยหนุ่มมีความสนใจในวิชาอาคม ได้ท่องเที่ยวไปสถานที่ต่างๆ เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ จนได้ไปพบกับหลวงพ่อแก้ว วัดหนองตำลึง และอยู่ศึกษาวิชาอาคมที่วัดหนองตำลึง ที่วัดหนองตำลึงนี้ท่านได้มีเพื่อนร่วมสำนักหลายท่าน ที่สำคัญก็คือท่านหลวงพ่อเปิ้น พุทฺธสโร ต่อมาได้เป็นอุปัชฌาย์สมภารวัดบ้านเก่า และเจ้าคณะแขวงอำเภอพานทอง พอศึกษาวิชาอาคมจนพอใจแล้ว เมื่อบวชก็กลับมาบวชที่บ้านเกิดบางปะกงล่าง ครั้งนั้นบ้านบางปะกงล่างยังไม่มีวัด ท่านก็บวชกลางแม่น้ำบางปะกงโดยทำเป็น"อุทกุกฺเขปสีมา"หรือ"อุทกสีมา สีมากลางแม่น้ำ"ต่อมาท่านได้สร้างวัดที่บ้านบางปะกงล่างบนที่ดินอันเป็นมรดกตกทอดของท่าน มีชื่อว่าวัดล่างบางปะกง ต่อมาได้ตั้งชื่อเป็นทางการว่า"วัดบำรุงธรรมราษฎร์ศรัทธารามและท่านก็เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดล่างนี้ นี่เป็นประวัติพอสังเขปของหลวงตาคงผู้เป็นพระอาจารย์รูปแรกของหลวงก๋งเฉื่อย ทีนี้จะกล่าวถึงประวัติของก๋งเฉื่อยต่อ
หลวงก๋งเฉื่อยท่านอยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักหลวงตาคงวัดล่าง โดยได้ศึกษาหนังสือไทยและขอมจนแตกฉาน พอรุ่นหนุ่มก็ออกมาช่วยงานบิดามารดาที่บ้าน พออายุครบบวชก็ไปทำการอุปสมบทที่วัดบ้านเก่า ตำบลบ้านมอญ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเส็ง พศ.๒๔๔๘ โดยมีหลวงพ่อพระครูเปิ้น พุทฺธสโร เจ้าคณะแขวงอำเภอพานทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ล้วน สิริธโร วัดโคกท่าเจริญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระใบฎีกาจู สิริวฒฺโน วัดบ้านเก่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า"พระธมฺมโกโส" หลังจากที่อุปสมบทแล้วได้กลับมาจำพรรษาอยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงตาคงปฐมเจ้าอาวาสวัดล่างบางปะกง และได้ศึกษาพระธรรมวินัยวิปัสสนากรรมฐาน และศึกษาวิชาพุทธาคมต่างๆกับหลวงตาคง พร้อมกันนี้หลวงตาคงก็ยังถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณยาสมุนไพรและวิชายาจีนต่างๆ นอกจากนี้ท่านยังได้ไปศึกษาวิชาอาคมจากอาจารย์ผู้ทรงคุณอีกหลายท่าน ที่สำคัญก็เช่นหลวงพ่อเปิ้นวัดบ้านเก่าอุปัชฌาย์ของท่าน กับท่านพระครูวิมลคุณากร(หลวงปู่ศุข เกสโร))วัดปากคลองมะขามเฒ่าเมื่อพศ.๒๔๖๒ครั้งที่มาปลุกเสกพระวัดหัวเนินแล้วมาแวะพักที่วัดบนคงคาราม ตอนนั้นหลวงพ่อสว่างเป็นเจ้าอาวาสวัดบนปีแรก ซึ่งหลวงพ่อสว่างนี้ก็เป็นสหธรรมมิกกันกับหลวงก๋งเฉื่อยมีอายุพรรษาแก่กว่า๑พรรษาเรียกว่ารุ่นราวคราวเดียวกัน ทั้งหลวงพ่อสว่างและหลวงก๋งเฉื่อยยังได้เคยร่วมเดินธุดงค์กับคณะหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยไปนมัสการพระบาทสระบุรีเมื่อครั้งเดินเลาะชายทะเลจากวัดบางเหี้ยมาแวะค้างแรมบิณฑบาตรน้ำจืดที่วัดบนคงคารามก่อนที่จะเดินต่อไปชลบุรีตอนนั้นมีพระร่วมเดินไปกับคณะหลวงพ่อปานเป็นร้อยรูปซึ่งต่อมาภายหลังได้เจริญพรรษายุกาลเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายรูปด้วยกัน ซึ่งต่างก็มีความรอบรู้ในวิชาพุทธาคมทั้งยังได้แลกเปลี่ยนวิชาอาคมกันจนแตกฉาน ยิ่งวิชาแพทย์แผนโบราณด้วยแล้วหลวงก๋งเฉื่อยท่านมีความชำนาญยิ่ง ท่านมีความรอบรู้ในสมุนไพรต่างๆเป็นจำนวนมาก จนสามารถวิเคราะห์โรคและทำนายอาการของโรคได้อย่างแม่นยำ จนเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไปตลอดทั้งจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยท่านเป็นผู้ที่มีเมตตาธรรมประจำใจ มีความกรุณาต่อชนทั่วไป ทั้งมีอัธยาศัยละมุนละไม เป็นพระที่เข้าหาได้ง่ายไม่ถือตัว แม้เมื่อเข้าสู่วัยชรามีพรรษายุกาลสูงแล้วก็ยังเมตตาสงเคราะห์อนุเคราะห์แก่ศิษยานุศิษย์ทั้งบรรชิตและคฤหัสสม่ำเสมอโดยเอนกปริยาย ในปีพศ.๒๔๖๕ หลังจากที่หลวงตาคงมรณภาพทหลวงก๋งเฉื่อยท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอธิการเฉื่อยเจ้าอาวาสวัดล่างบางปะกงรูปที่๒ ต่อมาวันที่ ๕ ธันวาคม พศ.๒๔๙๘ โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาติแก่องค์สกลมหาสังฆปรินายกให้ประทานตั้งประทวนสมณศักดิ์เป็น"พระครูเฉื่อย ธมฺมโกโส"
พระพิมพ์ซุ้มประตูเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งก็มีพิมพ์ทรงคล้ายกันกับเนื้อผงต่างกันที่ยันต์ด้านหลังเนื้อตะกั่วจะเป็นยันต์นะเก้าหน้าและมีสองพิมพ์คือยันต์เต็มและยันต์ขาด เนื้อตะกั่วที่ก๋งเฉื่อยใช้นำมาสร้างก็เป็นตะกั่วอวน ท่านนำมาลงยันต์แล้วหลอม หลอมแล้วตีเป็นแผ่นนำมาลงยันต์แล้วหลอมอีกทำอย่างนี้ ๑๐๘ ครั้ง เสร็จแล้วถึงจะนำมาเทพิมพ์พระ ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะได้พระพอประมาณไม่มากนักเนื้อตะกั่วของพระก๋งเฉื่อยจึงเนื้อจัด คล้ายๆพระของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ติดต่อร้านค้า

ที่อยู่ 136/107 ถนนอิสรภาพ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
โทร 088-5539565
อีเมล
Line ID
ธนาคาร