รูปหล่อรุ่นแรก พิมพ์นิยม ฐานเหลียม สร้างประมาณปี พ.ศ. 2508-2510
รูปหล่อรุ่นแรกนี้ แม้แต่หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม ยังนำไปแจกลูกศิษย์ของท่านที่่สุรินทร์ ให้กับผู้ที่่มาขอพระของท่าน แถมยังกำชับไว้ว่าให้เก็บรักษาให้ดีเพราะพระองค์นี้ดีมาก
ในปี พ.ศ. 2514 อันเป็นปีที่วัดสามง่ามจัดงานพุทธาใหญ่เนื่องในวาระที่จัดสร้างวัตถุมงคลฉลองอายุครบ 80ปี หลวงพ่อเต๋ ได้มีการสร้างพระกริ่งบรมครู หลวงพ่อเต๋ได้นิมนต์่ท่านมาเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก ที่โบสถ์หลังเก่า เมื่อใกล้ได้ฤกษ์ปลุกเสก ท่านได้เดินทางมาถึงวัดสามง่าม และได้ตรงไปยังโบสถ์ที่ทำพิธีพุทธาภิเษก แลเมื่อท่านได้ก้าวเข้ามาในโบสถ์ หลวงพ่อเต๋ได้ลุกจากธรรมาสน์มาหาท่าน ทันใดสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะได้พบในชีวิตก็บังเกิดขึ้น หลวงพ่อเต๋ได้ก้มลงกราบที่เท้าของท่าน อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อเต๋เคารพท่านเหมือนกับอาจารย์ โชคร้ายที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน จึงไม่มีใครได้บันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน แต่จากเหตุการณ์นั้น บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในบริเวณโบสถ์ ได้เล่าขานกันต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน
รูปหล่อรุ่นสาม ของท่านสร้างในปี พ.ศ.2514
รูปหล่อรุ่นสอง ของท่านใช้รูปหล่อรุ่นแรกนำมาตะไบมุมที่ฐานด้านหลังออก ทำให้ฐานด้านหลังโค้งมนตามรูปขององค์พระ
จึงเรียกกันว่า รุ่นแรกฐานเหลียม รุ่นสองฐานมน รุ่นสามปี14
อยากแล้วศรัทธาเลยครับ ว่าแต่หลวงพ่อท่านคือใครหร๋อครับ
ความรู้น้อยไม่ทราบจริงๆ
เข้ามามึนด้วยค่ะ ข้อมูลแน่นค่ะ
ในสมัยที่หลวงพ่อเต๋ยังมีชีวิต ท่านมีสหธรรมิกรุ่นพี่ ที่ท่านเคารพเปรียบเหมือนกับอาจารย์ด้วยกันสามองค์ด้วยกัน
องค์แรกคือ หลวงพ่อเชย วัดเจษฏาราม มหาชัย ในทุกครั้งที่่หลวงพ่อเต๋เดินทางไปที่วัดกาหลง ที่หลวงลุงแดงฝากฝังหลวงพ่อเต๋ไว้หลวงพ่อเต๋จะต้องแวะไปหา หลวงพ่อเชยทุกครั้งไป หลวงพ่อเชยท่านมีอาวุโสกว่าหลวงพ่อเต๋ หนึ่งรอบ ท่านจะเรียกหลวงพ่อเต๋ให้กับลูกศิษย์ใกล้ชิดได้ฟังบ่อยๆว่า ไอ้เสือสามง่าม
องค์ที่สองคือ หลวงพ่อแตง วัดดอนยอ อ.ดอนตูม ซึงอยู่ห่างจากวัดสามง่ามไปประมาณ 10 ก.ม. หลวงพ่อแตงเป็นคนแม่กลอง ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่เหมือน วัดกลางเหนือ หลวงพ่อแตงถือเป็นสุดยอดในด้านคงกระพันชาตรี ท่านมีอายุมากกว่าหลวงพ่อเต๋ หนึ่งรอบ
องค์ที่สามคือ หลวงพ่ออินทร์ วัดสระสี่มุม หรือ วัดบ้านสระ อ.กำแพงแสน ท่านมีอายุมากกว่าหลวงพ่อเต๋ 6ปี ดั้งเดิมท่่านอยู่ที่สุรินทร์ หลวงพ่อเต๋ได้นิมนต์ท่านให้มาอยู่ที่วัดบ้านสระในช่วงก่อน พ.ศ. 2500 ท่านพัฒนาจนวัดบ้านสระเจริญรุุ่่่่งเรือง เป็นที่นับถือของคนในเขตกำแพงแสนและใกล้เคียง ทหารอากาศในยุคเริ่มแรกที่มาสร้างสนามบินกำแพงแสน ต่างก็เป็นลูกศิษย์ของท่านทั้งนั้น มีเรื่องเล่ากันว่าในยุคที่มีการสร้างสนามบินกำแพงแสน ในช่วงปี พ.ศ.2500 เศษ ช่างรับเหมาไม่สามารถทำการก่อสร้างได้เนื่องจากมีอถรรพณ์ มากมาย ต้องมีการนิมนต์หลวงพ่ออินทร์ มาตั้งศาลเจ้าพ่อเสือขึ้นภายในสนามบิน การก่อสร้างจึงสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ศาลเจ้าพ่อเสือนี้ไม่ใช่ศาลของเทพ แต่เป็นศาลของเสือที่่ปล้นชาวบ้านในอดีต เนื่องจากว่าในอดีต อ.กำแพงแสน เป็นเขตป่าไม้ เป็นส่วนใหญ่ เป็นที่กบดานของเสือร้ายหลายชุมโจร เมื่อถูกตำรวจเข้าโจมตีถูกจับกุมได้ จะถูกสามัญซะเป็นส่วนใหญ่ จึงมีเสือที่จี้ปล้นถูกนำมาวิสามัญในเขตอ.กำแพงแสน เป็นส่วนมาก ด้วยเหตุนี้การก่อสร้างสนามบินจึงพบกับอาถรรพณ์ต่างๆนาๆ และไม่มีหลวงพ่อองค์ใดที่จะแก้อาถรรพณ์ได้นอกจาก หลวงพ่ออินทร์องค์เดียว
หลวงพ่ออินทร์ วัดสระสี่มุม องค์นี้คือพระองค์ที่หลวงพ่อเต๋ ก้มกราบด้วยความศรัทธาอย่างจริงใจ ในคราที่่่หลวงพ่ออินทร์ มาเป็นองค์ประธานในพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ที่วัดสามง่าม ในปี พ.ศ.2514 นอกจากหลวงพ่อเต๋จะให้ความนับถือแล้ว หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพารามก็ยังให้ความนับถือหลวงพ่ออินทร์เป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่เมื่อลูกศิษย์มาขอวัตถุมงคลท่าน ท่านจะมอบรูปหล่อหลวงพ่ออินทร์รุ่นฐานเหลี่ยมให้ไปแทน
ลูกหมากเสก เป็นวัตถุมงคลยุคแรกที่ท่านมอบให้กับลูกศิษย์ ในช่วงปี 2490 เนื่องจากสมัยก่อนอ.กำแพงแสน มีงูเห่าชุกชุมมาก สร้างความดือดร้อนให้กับลูกศิษย์ที่มีอาชีพทำไร่ ต้องมาร้องขอวัตถุมงคลกับหลวงพ่ออินทร์ หลวงพ่อจึงปลุกเสกลูกหมากแจกเนื่องจากในช่วงนั้นข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านในกำแพงแสนจะเรียกกันว่า ลูกหมากกันงู
หลวงพ่ออินทร์จะนำลูกหมากกินกับพลูมาตากแห้งแล้วปลุกเสกอีกทีนึง ลูกหมากเสกของท่าน จะมีทั้งแบบไม่จุ่มรัก จุ่มรักครึ่งเดียวแบบอันนี้ และที่นิยมกันมากคือแบบจุ่มรักทั้งลูก ลูกหมากเสกกันงูของหลวงพ่ออินทร์เป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในหมู่ลูกศิษย์ เรียกว่าขอให้มีเถอะเท่าไหร่ก็สู้
เยี่ยมครับ ท่านเจริญสิทธิ์ ข้อมูล แน่นปึ๊ก...ผมเคยได้ยินชื่อท่านมาบ้าง ถ้าจำไม่ผิด ท่านจะมีพระผงรูปเหมือน พิมพ์สี่เหลี่ยม คณะศิษย์กำแพงแสน จัดสร้างถวายด้วย ซึ่งแม่พิมพ์ และ รูปแบบจะเหมือนของ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล แต่ เป็นรูปเหมือนของ หลวงปู่อินทร์ ท่าน ใช่ไหมครับ.
ขอบคุณ คุณหลงที่่นำพระหลวงปู่ดุลย์มาเป็นหลักฐานยืนยันข้อมูลของผม พระเนื้อผงหลวงปู่ดุลย์รุ่นนี้ลูกศิษย์หลวงพ่ออินทร์ที่เป็นชาวกำแพงแสนสร้างถวายให้หลวงปู่ดุลย์ หลังจากที่หลวงพ่ออินทร์สิ้นแล้ว ( หลวงพ่ออินทร์สิ้นในปี พ.ศ.2518) เนื่องจากลูกศิษย์หลวงพ่ออินทร์ ได้ติดตามหลวงพ่อกลับสุรินทร์ บ่อยครั้ง ทำให้คุ้นเคยกับหลวงปู่ดุลย์และนับถือมากพอ ที่จะสร้างพระถวายหลวงปู่ดุลย์ คนกำแพงแสนยุค 2500 ต้นๆ ถือเป็นเมืองคนจริงครับ พระองค์ใดถ้าไม่แน่จริงไม่มีวันได้รับความนับถือจากคนกำแพงแสนหรอกครับ ในอดีตนอกจากหลวงพ่ออินทร์แล้วที่คนกำแพงแสนนับถือก็ยังมี หลวงพ่อหว่าง วัดกำแพงแสน องค์นี้ถือเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกับหลวงพ่อเต๋เป็นอย่างมาก ยังมีอีกหนึ่งคือ พระครูสิงห์โต วัดลาดหญ้าไทร องค์นี้เป็นหลานแท้ๆของหลวงพ่อหว่าง แต่อายุไม่ห่างกันเท่าไหร่ เหรียญรุ่นแรกพระครูสิงห์โต ติดอันดับหายากที่สุดในนครปฐม ปัจจุบันก็มี หลวงปูแผ้ว วัดกำแพงแสน และหลวงปู่มหาเจิม อีกองค์นึง
พระพิมพ์สี่เหลียมหลวงพ่ออินทร์ หลวงพ่อลำเจียก วัดศาลาตึกลูกศิษย์ของท่านสร้างถวายภายหลังจากที่ท่านสิ้นแล้วครับ ผมจึงไม่ได้เำก็บไว้
พระปางลีลาหลวงพ่ออินทร์เป็นอีกพิมพ์นึงที่หายากมาก แม่พิมพ์ด้านหน้าใช้ของหลวงพ่อเต๋ แกะด้านหลังใหม่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่ออินทร์
พระปางลีลานี้ ส่วนใหญ่จะไม่เคลือบ แต่องค์นี้พิเศษมากเคลือบทั้งองค์ พึ่งเคยเห็นเป็นองค์แรกในชีวิต
สวยมากครับเข้ามากราบด้วยคนนะครับผม
ยินดี และน้อมรับคำวิจารณ์ จากทุกท่านครับ
เรียน คุณเจริญสิทธิ์
ผมรู้สึกดีใจที่ท่านได้เขียนบทความของหลวงพ่ออินทร์ วัดสระสี่มุมขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผมเฝ้าค้นหาประวัติใน Website ต่าง ๆ แล้ว กลับมีไม่ชัดเจนนักทั้งในแง่ประวัติหลวงพ่อ และวัตถุมงคล ซึ่งเมื่อได้อ่านบทความของท่านแล้วจึงทำให้กระจ่างขึ้น จึงอยากเรียนถามท่านเกี่ยวกับรูปหล่อรุ่น 3 ปี 14 ดังนี้
1. รูปหล่อเป็นแบบปั้มหรือหล่อโบราณ
2. มีกี่เนื้อ ( ทองเหลือง , ทองแดง ) เพราะเคยเจอผ่าน เหมือนออกทองแดงด้วย
3. มีของปลอมออกมารึยัง
4. จุดสำคัญในการพิจารณาและโค๊ดหรือไม่
5. เกจิอาจารย์และพิธีการในการปลุกเสก ประสบการณ์ที่พบ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งเผยแพร่ประวัติของท่าน วัตถุมลคล และประสบการณ์ให้ทกท่านที่มีความเคารพรักและศรัทธาในหลวงพ่อได้รับรู้ต่อไป...ขอขอบคุณครับ
เรียน คุณเจริญสิทธิ์
ผมรู้สึกดีใจที่ท่านได้เขียนบทความของหลวงพ่ออินทร์ วัดสระสี่มุมขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผมเฝ้าค้นหาประวัติใน Website ต่าง ๆ แล้ว กลับมีไม่ชัดเจนนักทั้งในแง่ประวัติหลวงพ่อ และวัตถุมงคล ซึ่งเมื่อได้อ่านบทความของท่านแล้วจึงทำให้กระจ่างขึ้น จึงอยากเรียนถามท่านเกี่ยวกับรูปหล่อรุ่น 3 ปี 14 ดังนี้
1. รูปหล่อเป็นแบบปั้มหรือหล่อโบราณ
2. มีกี่เนื้อ ( ทองเหลือง , ทองแดง ) เพราะเคยเจอผ่าน เหมือนออกทองแดงด้วย
3. มีของปลอมออกมารึยัง
4. จุดสำคัญในการพิจารณาและโค๊ดหรือไม่
5. เกจิอาจารย์และพิธีการในการปลุกเสก ประสบการณ์ที่พบ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งเผยแพร่ประวัติของท่าน วัตถุมลคล และประสบการณ์ให้ทกท่านที่มีความเคารพรักและศรัทธาในหลวงพ่อได้รับรู้ต่อไป...ขอขอบคุณครับ
YOU MUST BE LOGGED IN TO REPLY TO THIS TOPIC!