ชิน กับความรู้ทางวิชาการ

กระดานข่าว :

February 14, 2009 14:57:29 เจริญสิทธิ์  (0)

ชิน   เป็นโลหะชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนผสมระหว่าง  ดีบุกกับตะกั่ว  มีความแข็งแกร่ง ทนทาน   แต่โบราณมานิยมสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นพุทธบูชา  โดยใช้เนื้อชินเป็นหลัก   ด้วยเหตุผลความเป็นเคล็ดที่ว่า   ชิน  หมายถึง  ชัยชนะ    ดังนั้นการสร้างพระเครื่องด้วยเนื้อชิน ให้ทหารนำติดตัวเข้าสู่สมรภูมิ   ก็เพือเป็นเคล็ดและเป็นกำลังใจ  ให้มีชัยชำนะต่อ ข้าศึก ศัตรู    

February 14, 2009 15:37:34 เจริญสิทธิ์  (0)

ชิน  แบ่งออกเป็น 3ประเภท  ตามส่วนผสมของโลหะ

          ชินสังฆวานร หรือชินตะกั่ว   เป็นโลหะผสมระหว่าง ตะกั่วกับปรอท  พระที่สร้างด้วยชินตะกั่ว ถ้าส่วนผสมแก่ตะกั่ว สีจะออก  ดำ  เนื่องจากสนิมตะกั่วจะมีสีดำ   ถ้าส่วนผสมแก่ปรอท  สีจะออกขาว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง  เนื่องจากสนิมของปรอทจะมี  สีแดง
          ชินเงิน   เป็นโลหะผสมระหว่าง  ตะกั่ว  ดีบุก  และปรอท   พระที่สร้างด้วยเนื้อชินเงิน บริเวณด้านหลังจะเกิดรอยยุบมากบ้างน้อยบ้าง  อาจจะเป็นแอ่ง  หรือมีรอยยาวที่เรียกว่าทางน้ำไหล   เนื่องจากเกิดการยุบหรือหดตัวตามกาลเวลา    ถ้าพระไม่ถูกความชื้น ผิวพระจะมีความแห้งสนิทตามอายุของพระ   ถ้าพระในกรุ ถูกความชื้น  จะเกิดการระเบิดจากเนื้อในขององค์พระ  มีสีดำ  ที่เรียกกันว่า  สนิมตีนกา
          ชินอุทุมพร หรือชินเขียว   เป็นโลหะผสมระหว่าง  ดีบุก  ตะกั่ว  สังกะสี  พลวง  ปรอท  เงิน และเหล็ก  เนื้อของโลหะชนิดนี้จะมีความแข็งแกร่งทนทาน  มากกว่าโลหะชนิดอื่น    พระที่สร้างด้วยเนื้อชินอุทุมพร   จะมีสนิมไขเป็นเม็ดมีลักษณะ ใสเป็นมัน คล้าย ไข่แมงดา จึงเรียกว่า สนิมไข่แมงดา   มีการแซมด้วย  สีดำ ที่เรียกว่า  ผด  เป็นช่วงๆมากบ้างน้อยบ้าง  อันเื่นื่องมาจากมี  เงิน  เป็นส่วนผสม   บางองค์แก่  ปรอท จะมี  สีแดง แซมตามเนื้อพระ    ดังนั้น  พระที่สร้างด้วยเนื้อชินอุทุมพร   นอกจากความแห้งตามธรรมชาติแล้ว ในองค์ที่สมบูรณ์  สนิมจะเป็นไข่แมงดามีลักษณะใส  มีแซมด้วยสนิมแดง   ในขณะที่เนื้อในจะมีสีดำ    ถ้าออกลักษณะนี้ถือว่า   สมบูรณ์  100%

February 14, 2009 16:06:32 เจริญสิทธิ์  (0)

ขออนุญาต   เสริมอีกสองจุด    ในส่วนสนิม ไข่แมงดา ที่มีลักษณะใสเป็นมัน เกิดจากส่วนผสมที่มี  ตะกั่ว และสังกะสี  เนื่องจากสนิมตะกั่วเมื่อได้อายุจะผุดเป็นไข ขึ้นมาจากเนื้อพระ     ส่วน  รอยเหี่ยวย่น  เกิดจากส่วนผสม ที่มี   แร่พลวง  เป็นส่วนผสม  เมื่อได้อายุจะเกิดการหดตัวมากว่าโลหะชนิดอื่น   จะสังเกตุได้จาก พระปิดตาท้ายย่าน  สร้างจากแร่พลวง จะเกิดรอยเหี่ยวย่น บริเวณด้านท้องขององค์พระ     

February 15, 2009 03:33:30 nitis   (850)
avatar
nitis   (850)

ขอบพระคุณครับ ......

February 16, 2009 02:54:15 ศรศิลป์  (1286)

ขอบคุณครับ

February 18, 2009 17:00:50 dang2505  (795)

ขออณุญาตคุณเจริญสิทธิ์ ขอเสริมภาพประกอบความแตกต่างของพระเนื้อชินต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อให้เห็นภาพเด่นชัด สำหรับใช้ศึกษาและสะสมนะครับ
 

 

 

 

 
ตัวอย่างพระเนื้อสนิมแดงแบบแท้ดูง่ายครับ
 

 

 

 

 

 
ตัวอย่างพระเนื้อชินเงินครับ ให้สังเกตุการผุกร่อน การระเบิด สนิมและคราบไขต่าง ๆ บนเนื้อพระครับ
 

 

 

 

 

 
ตัวอย่างพระเนื้อชินเขียวครับ
 

สำหรับเนื้อชินเขียว ผมจะเลือกสะสมแบบไขจัด ๆ แน่น ๆ ที่เรียกสนิมไขแมงดา และมีปานดำที่มีลักษณะนูนขึ้นมาจากเนื้อพระ ไม่ใช่มีสีดำเรียบ ๆ แบน ๆ ครับ

 

February 19, 2009 12:05:16 เจริญสิทธิ์  (0)

ขอบคุณ   คุณ dang 2505  มากครับ   ภาพทำให้เสริมความเข้าใจได้เต็ม  100 %

February 21, 2009 16:48:36 พรวศิน  (334)

สุดยอดครับ  ท่านพี่เจริญสิทธิ์  ให้ความรู้  ได้อย่างชัดเจนแจ๋มแจ๋ว จริงๆ  กระจ่าง  ผมว่า   สมาชิกได้ประโยชน์จากความรู้ที่พี่นำมา  มากๆเลยครับ ( ผมก็คนหนึ่งหละ )  อย่างผม  ก็รู้แต่ว่า  เขาเรียกกันชิน  เนื้อชิน  แต่ไม่รู้ว่าคืออะไรแบบ ลึกซึ้ง  ยอดเยี่ยมจริงๆครับ  นับถือๆ

March 06, 2009 02:58:01 สามก็ก  (4)

ข้อมูลเยี่ยมมากเลย ขอบคุณครับ

March 06, 2009 03:12:16 วายุ  (212)

ขอบคุณครับ

April 27, 2009 02:23:03 Mostcollection   (3263)

Thank..กิ้ว     Thank..กิ้ว ครับ รู้เรื่องขึ้นเยอะเลยครับ

YOU MUST BE LOGGED IN TO REPLY TO THIS TOPIC!