พระท่ากระดาน สนิมแดง พิมพ์ใหญ่ กรุเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
เมื่อพูดถึงพระท่ากระดานกรุเขื่อนศรีนครินทร์นี้ หลายท่านอาจไม่ค่อยคุ้นหูกันซักเท่าไรนัก เนื่องจากเป็นพระท่ากระดานกรุนี้ที่เพิ่งมีการค้นพบเมื่อประมาณปี 2544-2548 ที่ผ่านมา โดยพบอยู่บริเวณถ้ำเก่าหลังสันเขื่อนบริเวณที่จมน้ำอยู่ ครั้นเมื่อแล้งจัดปีนั้นน้ำลดมากจึงปรากฏถ้ำดังกล่าวให้เห็น โดยมีการค้นพบพระท่ากระดานกรุนี้มีด้วยกันสองครั้งคือ
การพบครั้งแรก พบบริเวณถ้ำบนพระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด แต่มีด้วยกัน2แบบคือ พระท่ากระดานเนื้อตะกั่วสนิมแดงเก่าแบบเดียวกับพระท่ากระดานกรุเก่าศรีสวัสดิ์ทุกประการ พร้อมกับอีกแบบคือพระท่ากระดานเนื้อตะกั่วสนิมแดงแต่เนื้อหาของตะกั่วจะอ่อนกว่าเล็กน้อยเช่นเดียวกับกรุท่าเสา เข้าใจว่าน่าจะนำพระกท่ากระดานกรุเก่ามาฝากรวมไว้เพื่อให้รู้ว่าเป็นมีผู้สร้างคนเดียวกันและสร้างเพิ่มเติมภายหลังเพื่อบรรจุลงกรุให้เต็ม ในครั้งแรกนี้มีการพบเจอน้อยจึงทำให้ตกอยู่กับนักสะสมพระเครื่องท้องถิ่นจนหมด
การพบครั้งที่สอง เป็นการพบที่ได้พระจำนวนมากพอสมควร ขุดลึกลงไปในถ้ำอีกพอสมควร ครั้งนี้มีการพบทั้งพระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กเป็นพระเนื้อตะกั่ว แต่ทั้งหมดเนื้อตะกั่วอ่อนกว่าพระท่ากระดานกรุเก่าเล็กน้อยจะเป็นแบบเดียวกับพระท่ากระดานกรุท่าเสา เข้าใจว่าพระท่ากระดานกรุนี้น่าจะสร้างเพิ่มเติมภายหลังจากสร้างพระท่ากระดานกรุเก่าไปแล้วและน่าจะสร้างคราวเดียวกันกับพระท่ากระดานกรุท่าเสาเพราะเนื้อหาความเก่าของตะกั่วนั้นอยู่ในยุคเดียวกันนั่นเอง และเนื่องด้วยพระท่ากระดานกรุนี้เป็นพระกรุที่อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานานจึงทำให้ไม่ปรากฏไขสนิมและสนิมแดงจัดมากอย่างกรุอื่นๆที่อยู่บนที่แห้ง แต่ส่วนมากคือเกือบทั้งหมดจะพบคราบแคลเซียมวรรณะขาวอมเหลือไข่ไก่และเหลืองอมน้ำตาลเกาะที่องค์พระทุกองค์มากบ้างน้อยบางขึ้นอยู่กับความลึกของพระที่อยู่ภายในกรุ
พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี มีมากมายหลายกรุ ขึ้นแต่ละกรุขนาด พิมพ์ทรง และหน้าตาจะต่างกันบ้างเล็กน้อย จะยึดติดไม่ได้ว่าต้องหน้านี้ท่านั้น พิมพ์นี้เท่านั้น หรือขนาดนี้ท่านั้นถึงจะถือว่าเป็นพิมพ์ใหญ่ เพราะพิมพ์ใหญ่แต่ละกรุนั้นขนาดไม่เท่ากันแม้แต่กรุเก่าศรีสวัสดิ์เองก็ตามที หายึดขนาด หน้าตา พิมพ์ทรงเห็นหักแล้ว ถ้าเช่นนั้นแล้วจะหาพระแท้ไม่ได้เลย แม้ในหนังสือพระตั้งแต่เก่าก่อน พระท่ากระดานเองก็มีหลายกรุ หลายหน้าตา หลายขนาดแต่ก็ล้วนแล้วแต่พิมพ์ใหญ่ทั้งสิ้น การจะเช่าสะสมพระท่ากระดานนั้นต้องเข้าใจถ่องแท้ถึงสภาพพระ พิมพ์ทรง หน้าตาของแต่ละกรุ มิเช่นนั้นแล้วจะโดนปั่นหัวจากเซียนนอกสายที่ไม่รู้จริงได้ง่ายๆ แทนที่จะได้ของดีไว้กับตัว
ยกตัวอย่างเช่น ส่งพระท่ากระดานให้ดู 1องค์ ใครดูก็รู้ว่าพระท่ากระดาน เซียนนอกสายหากดูเนื้อเก่าก็ตียัดกรุศรีสวัสดิ์ท่าเดียว ถามว่ากรุไหน ที่ศรีสวัสดิ์มีขึ้นต้องหลายกรุ แต่ที่เรียกกรุศรีสวัสดิ์เพราะเรียกตามอำเภอที่พบพระท่ากระดานเท่านั้น รู้บ้างหรือเปล่า แล้วตกลงว่าพระท่ากระดานกรุนี้ขึ้นที่กรุไหน ต้นโพธิ์ วัดล่าง วัดกลาง เป็นต้น แล้วพระท่ากระดานมีกรุแค่ศรีสวัสดิ์ที่เดียวหรือก็เปล่า ทั้งพระท่ากระดานกรุวัดเหนือ กรุดงสักก็มี ... แต่ถ้าเซียนนอกสายดูเนื้อว่าไม่เก่ามากก่ำกึ่ง ตีเก๊เลย ถามว่าเก๊ตรงไหน ดูยังไงเก๊ ตอบไม่ได้ ถ้าเป็นกรุใหม่เช่นกรุท่าเสา กรุหนองโรง กรุเขื่อนศรีนครินทร์ จะดูรู้ได้ไง เคยเห็นมั๊ย ความต่างของแต่ละกรุต่างกันยังไง บอกได้หรือเปล่า หรือ ถ้าเซียนนอกสายดูว่าผิดพิมพ์ บอกได้มั๊ยว่าผิดยังไง ตีว่าเป็นพิมพ์อะไร พระกรุขึ้นที่ไหน กรุนั้นมีขึ้นมากี่พิมพ์ รู้มั๊ยว่าขนาดมาตรฐานของแต่ละกรุมีขนาดเท่าไหร่ และเคยเห็นพิมพ์อื่นของกรุนั้นมั๊ย ... เหล่านี้เซียนนอกสายไม่อาจบอกชี้ชัดท่านได้หรอกว่าเป็นแบบไหน นอกจากเซียนพื้นที่ที่ได้เห็นพระเหล่านี้จนชินตา ตั้งแต่แตกกรุใหม่ๆ และสอนบอกเล่าต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ที่จะบอกความแตกต่างเหล่านี้กับท่านได้ ... นอกเสียจากเป็นพระเก๊ดูง่ายจริงๆเท่านั้น
องค์ที่โชว์นี้ เป็นพิมพ์ใหญ่ขึ้นกรุในคราวแรก เซียนทั่วเมืองกาญจน์ตีเข้ากรุลั่นทม กรรมการรับพระยังสงใสเลยว่าทำไมไม่ส่งเป็นพระกรุเก่า เลยให้ที่1มาแบบไม่ต้องลุ้น
องค์ถัดมา องค์นี้ถือว่าเป็นพิมพ์มาตรฐานสากลที่เซียนสายเมืองกาญจน์และสายสุพรรณบุรีเขาเล่นกัน เนื้อตะกั่วเก่า สนิมแดง ปิดทองเดิม เพิ่งได้มายังไม่ได้ประกวด ไว้งานหน้าครับ รับรองมีใบประกาศมาโชว์แน่นอน
องค์สุดท้าย องค์นี้เป็นพระที่ค้นพบภายหลังสุด พระจมอยู่ใต้น้ำทำให้ไม่เกิดไขสนิมเหมือนสององค์แรก แต่กลับพบคราบแคลเซียมเกาะคลุมทั่วองค์พระแทน มีปิดทองเก่ามาแต่เดิม เจ้าของคนก่อนได้ทำการล้างซะ จนเหลือสภาพอย่างที่เห็น
YOU MUST BE LOGGED IN TO REPLY TO THIS TOPIC!