ผม ปิยะวัฒน์ ศักดา โทร 0841805159 [email protected]
เสนอวิชาการ การตรวจดูพระสมเด็จวัดระฆัง ศึกษาดูนะครับ
เป็นวิชาการที่ควรที่ศึกษาเพื่อเป็นความรู้ตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังครับ
1.กรอบกระจกขององค์พระมี 1 ขอบ ถึง 4 ขอบแล้วแต่การตัดโดยติ้วไม้ไผ่
2.กรอบกระจกด้านซ้ายสิ้นสุดกลางลำแขนซ้ายพอดี
3.พระบาทซ้ายนูน
4.แขนซ้ายทิ่งดิ่งหักข้อศอกลงพบชายจีวรตรงพระเพลา
5.แขน ขวาโค้งเข้ารูปพบแขนซ้ายกลางหน้าตักตรงกลางองค์พระ
6.พระกัจฉะ(ซอกรักแร้)ด้านซ้ายสูงกว่าขวา
7.ฐานชุกชีด้านล่างสุดเป็นแท่งยุบตัวเล็กน้อย
8 มุมด้านซ้ายองค์พระตั้งตรง,มุมด้านขวาเฉียงเข้ามุม
9.คม ขวานฐานสิงห์
10.ซุ้มครอบแก้ว 2 ลักษณะ..แบบ หวายผ่าซีก,และเส้นขนมจีน
11.ซุ้มครอบแก้วภายนอกซุ้มสูงกว่าด้านในซุ้ม
12.ระดับชั้นองค์พระ,ภายใน และภายนอกซุ้มเป็นแบบ 3 มิติ
13.ซุ้มครอบแก้วม้วนขอบ
14.เกศเอียง / เกศตรง / เกศตรงทะลุซุ้ม
15.เนื้อเกินที่ขอบพระ และที่สำคัญเนื้อมวลสารที่เก่าหนึบ
16.รอยตัดขอบพระแบบตอกไม้ไผ่
17. เห็นพระกรรณรำไร
18. พระพักตร์ 5 ชนิด แบบผลมะตูม,ข้าวหลามตัด,กลม,ไข่ไก่,ตั๊กแตน...
ประเภทของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง..มีดังนี้..
๑. เนื้อผง
๑.๑เนื้อน้ำมัน
๑.๒เนื้อปูน
- เนื้อปูนเพชร
- เนื้อปูนขาวลงรักปิดทองลงชาด
๑.๓ เนื้อแตกลาย
๑.๔เนื้อหินลับมีดโกน
๑.๕เนื้อชานหมาก
๑.๖เนื้อมวลสาร (ข้าวสุก ก้านธูป เศษจีวร ทองคำเปลว)
๑.๗เนื้อเกสรดอกไม้
๑.๘เนื้อดินสอเหลือง
๑.๙เนื้อผงใบลานเผา
๑.๑๐เนื้อแป้งข้าวเหนียว
๒.เนื้อกระเบื้อง
๓.เนื้อดินเผา
๔.เนื้อโลหะ
๔.๑ เนื้อเงิน
๔.๒ เนื้อตะกั่ว
หมายเหตุุ- ตามประวัติ..เฉพาะเนื้อผง..มีมากเนื้อกว่านี้แน่นอน..ยกตัวอย่างให้นี้พอสังเขป...ซึ่งจะปรากฎเป็นเนื้ออะไรแล้วแต่ว่าจะประสมเนื้อส่วนผสมอย่างใดมากกว่ากันดังต่อไปนี้
- ซึ่งเป็นธรรมดาของการผสมพระปูนปั้น..จะผสมมวลสารครั้งละมาก ๆไม่ได้..เพราะมวลสารจะแห้ง
หมาดไม่ทันกดพิมพ์พระ..พระบางองค์กดพิมพ์พระขณะมวลสารเปียก..จึงเกิดลักษณะรอยเหนะหนะ...บางองค์กดพิมพ์พระขณะมวลสารแห้งหมาดจึง
ปรากฎลักษณะแตกหน้าไม่แตกหลัง...เป็นต้น
มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีนหรือถ้วยชามเบญจ รงค์ของไทย ปูนขาว
๒. หินอ่อน หรือ ศิลาธิคุณ
๓.ดินหลักเมือง ๗ หลัก
๔. ดินสอพอง
๕. ดินโปร่งเหลือง
๘. ข้าวสุกและอาหารสำรวม
๙. แป้งข้าวเหนียว
๑๐. กล้วยน้ำไทย
๑๑. ยางมะตูม
๑๒.น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๓. น้ำมันตังอิ๊ว
๑๔. ขี้เถ้าไส้เทียนและเทียนบูชาพระประธาน
๑๕. ผงใบลานเผา
๑๖. ดอกบัวสัตตบุษย์
๑๗.ดอกมะลิ
๑๘. ดอกกาหลง
๑๙. ยอดสวาท
๒๐. ยอดรักซ้อน
๒๑. ราชพฤกษ์
๒๒.พลูร่วมใจ
๒๓. พลูสองหาง
๒๔. กระแจะหอม
๒๕. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ชนิด
วิธีการหัดดูพระสมเด็จฯ
พระสมเด็จที่เราจะหัดดูกันนี้หมายถึงพระสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่แท้ ๆ ส่วนพระพิมพ์สมเด็จอื่น ๆ
ไม่เกี่ยวปัจจุบันพระสมเด็จกับพระพิมพ์สมเด็จและพระสมเด็จปลอมถอดพิพ์ เลียนแบบ เก๊เก่ามีปะปนกัน
อยู่ในตลาดพระมากมายประมาณกันว่าพระหมื่นองค์จะมีพระแท้ไม่เกินหนึ่งองค์ ในการพิจารณาซื้อหา
เช่าพระในตลาดจึงเป็นเรื่องยากที่จะมีโอกาสได้พระสมเด็จแท้ แต่ก็ไม่เสมอไปคนที่อยู่ในศีลประพฤติธรรม
มีใจบริสุทธิ์และสวดบทชินบัญชรอยู่ประจำและศัทธาเคารพ
ท่านและอยากได้พระสมเด็จของท่านจะได้ท่านจะให้พระแท้แต่อย่าเรื่องมากก็แล้วกัน มีคนได้มาแล้วเยอะได้อย่าง
ปาฏิหาริย์แบบไม่น่าเชื่อ
พระของท่านไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน จะมีส่วนที่เหมือนกันอยู่และต่างไปจากของปลอม คือ เนื้อหามวลสารผงวิเศษ
พระสมเด็จของท่านยุคหนึ่งสมัยหนึ่งจะต่างกันไปทั้งรูปร่างพิมพ์ทรง เนื้อหา อายุหรือเนื้อเก่าของพระ แต่สิ่งหนึ่งในพระที่
แต่สิ่งหนึ่งในพระที่เหมือนกันคือ ผงกฤติยาคม หรือผงวิเศษ หรือผงสมเด็จ ไม่ว่ารุ่นไหนหรือยุคไหน
จะเหมือนกันหมด เพราะท่านทำอย่างเดียวกันเหมือนกันหมดทุกครั้ง
ในการพิจารณาดูพระสมเด็จจึงจำเป็นจะต้องดูในส่วนสำคัญก่อนหลังดังต่อไปนี้
อันดับที่ 1ให้พิจารณาดูกฤติยาคมหรือผงวิเศษหรือผงสมเด็จก่อน ที่เรียกชื่อได้ทั้ง 3 อย่างนี้ คือ อันเดียวกันเรียกได้ 3 ชื่อ
ผงสมเด็จนี้พระสมเด็จทุกองค์จะต้องมีผงสมเด็จ จึงจะถือว่าเป็นพระสมเด็จแท้ ถ้าไม่มีจะถือว่าไม่แท้ไม่ใช่พระสมเด็จ
ผงผสมจะเป็นผงเม็ดเล็กๆ มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ต้องใช้กล้องขยายประมาณ 10 เท่า
ส่องดูจึงจะเห็นเป็นเม็ดผงลักษณะสัณนฐานกลมๆ รีแข็ง
สีขาวอมเหลืองนิดๆ คล้ายๆ สีของฟันคน ซ่อนติดอยู่ตามเนื้อพระ ด้านหน้า หรือด้านหลัง หรือด้านข้าง
หรือด้านบน และด้านด้านล่าง พระบางองค์ก็มีมาก บางองค์ก็มีน้อย บางองค์มีเพียงเม็ดสองเม็ด
เม็ดผงพระสมเด็จจะมีลักษณะสันฐานกลมอย่างเดียว สัณฐานอื่นๆ เช่นแบบเหลี่ยมจะไม่ไส่เด็ดขาด
สรุป ผงพระสมเด็จจะกลมเม็ดเล็กมาก สีคล้ายฟันหรือกระดูกคน
อันดับที่ 2ให้พิจารณาดูเนื้อพระสมเด็จเก่าที่แตกหักแล้ว ท่านเอามาบด
ตำทำเป็นผงมวลสารใส่ผสมไปในเนื้อพระสมเด็จรุ่นต่อ ๆ มา
ผงเนื้อพระสมเด็จเก่าแตกหักที่นำมาบดตำทำเป็นผงมวลสารพระจะมีรูปพรรณสัณฐานเป็นเม็ดเหลี่ยม มี 2 ขนาด
คือ ขนาด เล็กมองด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็น ต้องใช้กล้องขยายส่องจึงจะเห็นเป็นเม็ดขาวอมเหลืองคล้าย ๆ
ฟันเหมือนเนื้อพระสมเด็จแท้ทั่ว ๆ ไป คล้าย ๆ กับผงสมเด็จหรือผงกฤติยาคม ต่างกันตรงเป็นเม็ดเหลี่ยมไม่
กลมซ่อนอยู่ตามเนื้อพระด้านหน้า-หลัง-ข้าง โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นผงสมเด็จ เป็นผงพระเก่าอย่างเล็ก
อันดับที่ 3ให้พิจารณาดูเนื้อพระซุ้มกอที่แตกหัก แล้วท่านนำเอามาบดตำทำเป็นผงมวลสารใส่ผสมลงไปในเนื้อพระสมเด็จ พระซุ้มกอ
เป็นพระเนื้อดินเผาโบราณ สมเด็จโตไปขุดได้ตามลายแทงที่กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระ 1 ใน 5 ชุด เบญจภาคี คือ
1.พระสมเด็จ 2. พระรอด 3. พระซุ้มกอ 4.พระผงสุพรรณ 5.พระนางพญา
พระเบญจภาคี 5 องค์ คือเป็นพระชุดใหญ่
เนื้อพระซุ้มกอ ที่นำมาบดใส่ผสมลงไปในเนื้อพระสมเด็จจะเป็นเหมือชิ้นก้อนอิฐเก่าๆ แกร่งๆ สีน้ำตาลสัณฐานก้อนเหลี่ยม แนบชิ้น
พระสมเด็จเก่ามีสีน้ำตาลปะปนอยู่ตามเนื้อพระด้านหน้า หรือด้านหลัง หรือด้านข้างพระสมเด็จ
อันดับที่ 4 ให้พิจารณาดูผงแร่ธาตุ-อัญมณีที่ท่านถือว่าเป็นของมงคลเอามาบดใส่ไว้ เช่น เพชร พลอย สะเก็ดดาวตก เศษทอง-เงิน-นาค
จากผงตะไบพระบูชา หรือเวลาหล่อแต่งพระประธานในโบส์ เศษอัญมณีในพระสมเด็จนี้ มักจะพบเห็นในพระยุคต้นๆ และยุคกลาง
ส่วนยุคปลายไม่มีคงเพราะไม่นิยมใส่ เศษพวกอัญมณี มรกต บุษราคัม โกเมน ไพทูรย์ เป็นต้น
อันดับ 5 ในพระโบราณยุคต้นและยุคกลาง จะนิยมฝังพระโบราณ ฝังคดปลวง คดไม้ ฝังอัญมณีประดับพระ ฝังของมงคล เช่น ตะเพียนเงิน
ตะเพียนทอง ฝังก้างปลา ฝังเจ้าแม่กวนอิม ฝังพระกริ่ง ไว้ด้านหลัง ส่วนด้านฟน้าจะเป็นรูปพระสมเด็จ-รูปสมเด็จโตนั่งสมาธิ อย่างนี้ก็มี
อันดับที่ 6ให้พิจารณาดูเนื้อพระ จะต้องเป็นเนื้อพระแท้ตั้งแต่โบราณเนื้อพระในยุคต้นจะมีเนื้อมากประมาณ 12 ชนิด คือ
1.เนื้อดินสอพอง 2.เนื้อดินเผากังไส 3.เนื้อผงเกษร 4.เนื้อว่าน
5.เนื้อกล้วย – ขนุน 6.เนื้อกระยาหาร 7.เนื้อเทียนชัย 8.เนื้อสีน้ำมัน
9.เนื้อตะกั่ว 10.เนื้อนวโลหะ 11.เนื้อหินดิบ 12.เนื้อหินสุก
ใน 12 เนื้อนี้ พอมายุคปลาย มานิยมกันแค่ 2 เนื้อ คือ เหลือแค่เนื้อหินดิบ และเนื้อหินสุก เนื้อหินดิบเกิดจากการนำเอาหินเปลือกหอย
มาบดป่นจนเป็นผงละเอียด แล้วนำมาเป็นผงพื้นพระเป็นส่วนมาก จะใช้ทำพระวัดระฆัง จึงมีสีค่อนไปทางน้ำตาล หรือเหลืองอมน้ำตาล
เนื้อหินสุกเกิดจากการนำเอาหินเปลือกหอยมาเผาให้สุกเป็นปูนขาว แล้วนำมาเป็นผงพื้นพระเป็นส่วนมาก จะเป็นพระวัดบางขุนพรหม
จึงมีสีค่อนข้างขาว หรือขาวอมเหลือง
เนื้อพระหินสุก หินดิบ กลายเป็นพระเนื้อนิยมในยุคปลายมาจนถึงปัจจุบัน
พระสมเด็จฯดีอย่างไร
พระสมเด็จของพระพุฒจารย์โต พรหมรังสีดีตรงพระมีคุณวิเศษ 5 อย่าง ตามลักษณะการ
ทำพระเครื่องบูชา คือ
1. อิทธิเจ หมายถึง คุณวิเศษทางด้านดี มีเมตตา มหาเสน่ห์
ถ้าจะดีต้องมีสัจจะและพรหมวิหารธรรม
2. ตรีนิสิงเห หมายถึง คุณวิเศษทางด้าน แคล้วคลาด ปราศจากภัย อุบัติภัย และภัยภิบัติต่างๆ
ถ้าจะดีต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งแวดล้อมทุกๆสังคมที่อยู่ร่วมกัน
3. ปัถมัง หมายถึง คุณวิเศษทางด้านหนังเหนียว เหนียวแน่น ไม่ขาดทุน
ถ้าจะดีต้องมีต้องความเกรงกลัวต่อบาปและละอายต่อบาป
4. มหาราช หมายถึง คุณวิเศษทางด้านเป็นใหญ่ ยิ่งใหญ่เป็นที่น่าเกรงกลัว เกรงขามแก่ผู้อื่น
ถ้าจะดีต้องมีความเป็นธรรมทุกฝ่ายและเคารพกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ นี้เป็นลักษณะผู้นำ
5. พุทธคุณ หมายถึง คุณวิเศษทางด้านสติปัญญา ฉลาดหลักแหลม (ปัญญาคุณ)
ถ้าจะดีต้องรักษาจิตใจตนเอง คือรักษาศีลธรรม เช่น ศีล5 ศีล8 เป็นต้น และ ละความโลภความโกรธความหลง ให้ได้
ทำสติพิจารณาใจของตนเอง จะเกิดปํญญา พิจารณสังขารธรรม
บัญญัติ 18 ประการในการพิจารณาพระสมเด็จ ฯ
รากผักชี
รอยราน
ซุ้มหวาย
แอ่งกระทะ
ความแห้ง
คราบกระดาษสา
คราบแป้ง
รอยตอกตัด
รอยปูไต่
หนอนด้น
หนึกนุ่ม
ปุนแกร่ง
ความห่างโมเลกุลของมวลสาร
เม็ดมะค่า
หนังปลากระเบน
การตกผลึก ของตั้งอิ้ว
เม็ดผงพุทธคุณ
ความหนา/บาง
ถ้าเรามีความหวังที่จะมีพระสมเด็จแท้ๆเพื่อไว้บูชาสักองค์ โปรดติดต่อ ปิยะวัฒน์ 0841805159 ; [email protected]
คนที่มีพระสมเด็จรักเคารพบูชาพระสมเด็จ ท่านจะได้รับสิ่งดีๆ ต่างๆมากมาย แต่ท่านต้องอยู่ในศีล - ปรพฤติธรรม - มีใจบริสุทธิ์ และสวดคาถาชินบัญชรเป็นนิจ แล้วอธิษฐานขอความเป็นมงคลแก่เราจะได้ในสิ่งต่อไปนี้จากกฤติยาคม วัตถุมงคล และมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ในพระของท่านคือ
1. มีเมตตามหานิยม มีมหาเสน่ห์คนรักใคร่
2. มีลาภ ยศ สรรเสริญ ศฤงคาร
3. มีอำนาจ วาสนาบารมี มีคนนับหน้าถือตา
4. มีศิริมงคลแคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ
5. มีมหาอุตคงกระพัน แคล้วคลาดศาสตรา
6. มีความสำเร็จสมบูรณ์พูลสุขในชีวิต
7. ขจัดโรคภัยไข้เจ็บเสนียดจัญไร
8. ป้องกันศัตราเขี้ยวงา พิษร้าย
9. ทำให้เกิดความสงบสุขในชีวิตและครอบครัว
พิจารณาจิตใจตนเองวันละหลายๆรอบทำให้จิตใจ แจ่มสว่างสะอาด เริ่มแรกจะเป็นแสงดวงเล็กๆ และจะค่อยสว่างขึ้นเรื่อยๆ ใช้สติติดตามพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรรม ในสังขารธรรม จนเกิดป้ญญาเพื่อความพ้นทุกข์ ทั้งปัญหาทางโลกปัญหาทางธรรมได้ดีทีเดียว
ข้อมูลต่อไปนี้คัดลอกมาจากหนังสือ ทีเด็ดพระสมเด็จ ของอาจารย์พน นิลผึ้ง มาเพียงส่วนเดียว
พระสมเด็จทำมาจากอะไรบ้าง
การสร้างพระสมเด็จของพระพุฒาจารย์โต พระหมรังสี ท่านใช้ส่วนประกอบขององค์พระมากมายหลายอย่าง มีทั้งผงวิเศษ หรือผงสมเด็จ หรือผงกฤติยาคม เกษรดอกไม้ร้อยแปดชนิด ว่านยาและว่านมงคล สมุนไพรต่างๆ อัญมณี แร่ธาตุ พระธาตุ พระเก่าโบราณ ของวิเศษที่เป็นมงคล ก้านธูปบูชาพระรัตนตรัย ไม้มงคล ดินโป่ง หินเปลือกหอย ผลไม้ กระยาหาร ข้าวหอม ไคลเสมาไคลเสาตะลุงช้างเผือก ดินสอพอง ปูนตายซาก หมุดเงินทอง ทรายเงินทรายทอง ใบลาน น้ำอ้อย ยางไม้ น้ำมันตังอิ๊ว ผงตะไบพระทอง และของที่เหลือใช้อย่างอื่นอีก
การทำพระสมเด็จของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านมีวิธีการทำดังนี้
ขั้นที่1 ท่านเอาดินสอพองจากลพบุรีถือว่าเป็นดินที่ขาวบริสุทธิ์ เอามาร่อนแยกเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากดินสอพอง ให้เหลือแต่ดินสอพองบริสุทธิ์ ปั้นเป็นท่อนพอหมาดแล้วตัดเป็นแผ่นบางๆตากแดดให้แห้งสนิท
ขั้นที่2 เอาดินสอพองที่หั่นตากแดดแห้งสนิทแล้วเอามาบดให้เป็นผงละเอยดเอาไปตากแดดให้แห้งสนิทอีกครั้ง แล้วแยกผงแป้งดินสอพองออกไปบรรจุใส่บาตร 5 บาตรเท่าๆกัน
ขั้นที่3 เอาดินสอพองในบาตรที่หนึ่ง บริกรรมบรรจุด้วยคาถาบท อิธเจ บาตรที่2 บริกรรมประจุด้วยคาถาบท ตรีนิสิงเห บาตรที่3 บริกรรมปรุด้วยคาถาบท ปัทมัง บาตรที่4 บริกรรมประจุด้วยคาถาบทมหาราช และบาตรที่5 บริกรรมประจุด้วยคาถาบทพุทธคุณ ท่านบริกรรมประจุด้วยคาถาทั้ง 5 บท แต่ละบาตรอยู่ตลอดเวลาด้วยตัวท่านเอง จนเห็นว่าขัลงเพียงพอ
ขั้นที่4 เอาผงทั้ง 5 อย่าง 5 บาตรมารวมกันใส่ในบาตรใหญ่ 1 บาตร แล้วกำกับด้วยคาถา ทั้ง 5 บท อิธเจ - ตรีนิสิงเห - ปัทถมัง - มหาราช - พุทธคุณ พร้อมกันในบาตรใหญ่ เรื่องการบริกรรมคาถาทั้ง 5 บทพร้อมกันนี้ อาจารย์มงคลเล่าว่า ผู้ทำได้จะต้องมีจิตสมาธิแข็งกล้าจริงๆ ไม่เช่นนั้นจะทำให้จิตแตกกลายเป็นบ้าไปได้ บุคคลหรือพระที่ทำได้ในโลกนี้ก็มีเพียงสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น จึงทำให้ผง กฤติยาคมของท่านขลังยิ่งนัก
ขั้นที่5 เอายอดไม้มงคลเช่นยอดตำลึง - ยอดสุดสวาท - ยอดและดอกรักซ้อน - ยอดกาหลง - ยอดทองพันชั่ง - ราชพฤกษ์ - กระแจตะนาว - ยอดใบเงิน - ทอง - นากและอื่นๆอีก เอามาตำให้แหลกละเอียดเอาน้ำพุทธมนต์ 7 บ่อ 7 รสผสมลงไปแล้วตั้นเอาแต่นำไปผสมผง 5 อย่าง แล้วปั้นเป็นแท่งชอล์คเอาไว้เขียนเลขยันต์ เรียกว่าดินสอมหาชัย
ขั้นที่6 เอาดินสอมหาชัยไปเขียนเลขยันต์บนกระดาน แล้วลบเลขยันต์เก็บเอาผงชอล์คหรือดินสอมหาชัย ไว้เอาไปผสมน้ำคั้นยอดไม้มงคลปั้นเป็นแท่งดินสอมหาชัยใหม่ตากให้แห้ง แล้วนำมาเขียนเลขยันต์ในกระดานแล้วลบเลขยันต์เอาผงไปผสมน้ำคั้นยอดไม้มงคลอีก นำมาปั้นเป็นดินสอมหาชัย แล้วเอาไปเขียนเลขยันต์ทำอยู่อย่างนั้นหลายร้อยคาบ หลายร้อยครั้ง จนสุดท้ายผงจากดินสอมหาชัยที่มียางยอดไม้ผสมจะเกาะเป็นเม็ดกลมเวลาเขียนจะร่วนออกมาเป็นเม็ดๆเล็กๆสีขาวขุ่นๆแข็งแกร่งมาก เม็ดผงนี่แหละเรียกว่า ผงสมเด็จหรือกฤติยาคม
ขั้นที่7 ท่านเอาผงกฤติยาคมไปบรรจุไว้ในบาตรและบริกรรมพระคาถาดังกล่าวมาแล้วกำกับตลอดทุกวัน เป็นเวลานานๆ จนท่านมั่นใจว่าขลังดีแล้ว จึงเอามาผสมเนื้อพระและมวลสารอื่นตำผสมทำเป็นเนื้อพระเอาไปพิมพ์พระต่อไป
การรรักษาจิตใจ คือ การรักษาศีลเพื่อสร้างบุญ บารมีให้แก่ตนเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องฝึกอบรมจิตใจของตนเอง
เพื่อ ละความโกรธความโลภความหลง
YOU MUST BE LOGGED IN TO REPLY TO THIS TOPIC!