11.ขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู

ปิด สร้างโดย: Ting_sathu  VIP   (3038)

ขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู

พระขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อุบลราชธานี แจกกรรมการ สร้างน้อย หลวงปุ่คำบุ หรือ“พระครูวิบูลย์นวกิจ” เจ้าอาวาสวัดกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นพระเกจิคณาจารย์สายสำเร็จลุนรูปปัจจุบันที่ยังดำรงขันธ์อยู่ โดยเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่เกลี้ยง อริยะสงฆ์แห่งจังหวัดศรีสะเกษ อีกทั้งยังเป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงปู่ญาท่านสวน โดยหลวงปู่คำบุนั้นได้เดินทางไปต่อวิชากับญาท่านสวนอยู่เป็นประจำ จนญาท่านสวนเอ่ยปากว่าเมื่อสิ้นท่านไปแล้วให้ไปพึ่งบารมีของหลวงปู่คำบุ พระขุนแผนรุ่นนี้เป็นพระขุนแผนรุ่นสองของหลวงปู่ท่าน โดยทุกองค์ทำการผสมมวรสารและกดพิมพ์เองที่วัด อีกทั้งพระทุกองค์ยังได้รับการประจุพลังพุทธานุภาพจากหลวงปู่คำบุอย่างเต็มที่อีกด้วย เนื่องจากพระรุ่นนี้เตรียมมวลสาร จัดสร้างและบันทักไว้เป็นมาตรฐานมากกว่าพระขุนแผนรุ่นแรกของท่าน จึงทำให้คนส่วนใหญ่ยอมรับพระขุนแผนรุ่นนี้ ว่าเป็นพระขุนแผนรุ่นแรกของหลวงปู่และของวัดกุดชมภูอย่างแท้จริง พระขุนแผนรุ่นนี้แม้ว่ารูปทรงและเนื้อหาจะไม่สวยเหมือนพระโรงงานแต่ก็ เข้มขลังครับ เพราะทุกขั้นตอนทำกันในวัด เรื่องเมตตานั้นดีเยี่ยมครับ " หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต" เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่าทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง แห่งวัดกุดชมภู ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์สายตรงของพระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเข้มขลังมีพลังจิตสูง ชาติภูมิ หลวงปู่คำบุ ถือกำเนิดเกิด ณ บ้านกุดชมภู เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ เกิดในตระกูล คำงาม โยมบิดา-มารดา ชื่อนายสาและนางหอม คำงาม ครอบครัวทำนาทำสวน หลวงปู่คำบุ ปัจจุบันท่านอายุ ๘๖ ปี มีชื่อ-นามสกุลเดิมว่า คำบุ คำงาม ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๖ คน กาลต่อมาท่านเจริญวัยขึ้น มีอายุอันสมควร บิดามารดาได้ให้บรรพชาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดกุดชมภู โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังบวช ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้ พระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) วัดทุ่งศรีเมือง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับความเมตตาโอบอ้อมอารีจากหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่ง อุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์รอดจึงได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่รอดจวบจนท่านได้ มรณภาพลง พระอาจารย์รอดก็กลับมาพำนักพักที่วัดบ้านม่วงตามเดิม กล่าวสำหรับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ท่านเป็นพระที่มีวิทยาคมแก่กล้า พระอาจารย์รอดเป็นคนบ้านเดียวกันกับสามเณรคำบุ (สมัยบวชเณร) จึงมีความคุ้นเคยกันมาก่อน ด้วยความที่สามเณรคำบุเป็นผู้มีนิสัยสงบเรียบร้อย ใจเย็น มีเหตุมีผล เหตุนี้เองพระอาจารย์รอด จึงได้ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาแก่สามเณรคำบุตั้งแต่นั้นเรื่อยมา จวบจนถึงวัยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้รับฉายาว่า "คุตตจิตโต" มี พระครูสาธุธรรมจารี (สา) วัดดอนจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นบวชเป็นพระแล้ว หลวงปู่คำบุท่านยังคงแวะเวียนไปร่ำเรียนสรรพวิชาเวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์รอด ที่วัดบ้านม่วงอยู่เป็นประจำ ได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉานจึงออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ หลวงปู่คำบุได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมจากพระอาจารย์ที่มีความ ชำนาญด้านพระคาถาต่างๆหลายรูปจนวิชาแกร่งกล้า จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดกุดชมภูจนถึงปัจจุบัน มีเรื่องน่าสนใจอยู่ตอนหนึ่ง เนื่องจากพระอาจารย์รอดท่านเป็นพระที่ร้อนวิชาชอบลองวิชาอยู่เสมอ เมื่อร่ำเรียนวิชาอาคมแขนงใดได้ก็จะนำมาทดสอบหรือทดลองวิชานั้นอยู่เป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้สำเร็จวิชาหุงสีผึ้งมหาเสน่ห์ แล้วทำการทดลองปรากฏว่าบรรดาญาติโยมทั้งหญิงและชายแห่เข้ามาที่วัดเพื่อมาขอ สีผึ้งมหาเสน่ห์จากท่านอย่างมากมาย จนไม่มีเวลาประกอบกิจสงฆ์อันใดได้ ท่านจึงย้ายมาอยู่กับพระภิกษุคำบุ ที่วัดกุดชมภูและได้เขียนตำราเพื่อมอบให้กับพระภิกษุคำบุไว้ศึกษาเล่าเรียน สืบต่อไป พระภิกษุคำบุได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉาน จึงออกเดินจารึกธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ได้มีโอกาสร่ำเรียนสายวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ ในสายของท่านสำเร็จลุน แห่งวัดเวิ่นไชย เมืองปาเซ นครจำปาสัก พระผู้ทรงอภิญญา นอกจากการศึกษาวิชาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานแล้ว สรรพวิชาอาคมทุกแขนง หลวงปู่คำบุท่านก็มีความชำนาญและได้หมั่นศึกษาฝึกฝนอยู่เป็นประจำ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ปัจจุบัน หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มีอายุถึง ๘๙ ปี แต่ยังคงให้ความเมตตาศิษยานุศิษย์อย่างสม่ำเสมอ ในทุกวันอังคาร เสาร์ และอาทิตย์ ท่านจะประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ ด้วยความเมตตา การจารอักขระธรรมลงแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ ถือเป็นกุศโลบายทางธรรมเพื่อบ่งบอกถึง "ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตายหรือความหายนะ" ดังนั้นควรตั้งมั่นไม่ให้อยู่ในความประมาท ที่สำคัญถ้าท่านได้จารอักขระธรรมได้ครบถึง ๗ ครั้ง ว่ากันว่าอักขระธรรมจะฝังลึกถึงกระดูกและถ้าประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้ว จะอยู่ยงคงทน ต่อศาสตราวุธทั้งปวง สำหรับ พระเครื่อง-วัตถุมงคลของหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู ที่สร้างขึ้นมานั้นมีมากมายหลายรุ่น ส่วนใหญ่มักได้รับความนิยมจากนักสะสม โดยรุ่นล่าสุด "เมตตา โภคทรัพย์ กลับดวง" ปัจจัยสมทบทุนหล่อเนื้อนาบุญหลวงปู่คำบุ ร่วมสร้างวิหารธรรมเจดีย์ศรีชมภู

รับประกัน พระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000   ID Line : Ting_sathu Email : [email protected] หรือ [email protected]  

ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>>  http://www.web-pra.com/Shop/TingSathu


เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม April 18, 2024 07:53:30
วันที่ปิดประมูล April 28, 2024 07:53:30
ราคาเปิด340
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกสิกรไทย (เทสโก้ โลตัส พระรามที่ 3) , ไทยพาณิชย์ (สาธุประดิษฐ์) ,

-

ผู้เสนอราคาล่าสุด

340

ราคาล่าสุด


รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น