มังกรทองมาแว้วววว พระนางพญา เนื้อดิน กรุวัดเวียง จ.อยุธยา + พร้อมบัตรรับรองพระ

ปิด สร้างโดย: มังกรทอง  VIP   (6768)

พระนางพญา วัดเวียง
นาม "พระนางพญา" เรียกชื่อกันตามพุทธลักษณะพิมพ์ทรงที่เหมือน "พระนางพญา วัดนางพญา จ.พิษณุโลก" หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทย

"พระนางพญา วัดเวียง" ก็เช่นกัน แล้วก็ไม่ใช่พระกรุที่จะเรียกว่าพระนางพญา กรุวัดเวียง ได้ด้วย เนื่องจากมิได้นำลงบรรจุกรุ แต่เป็นการนำพระใส่โอ่งทิ้งไว้ในโบสถ์ ใครอยากหยิบก็หยิบไปได้ จึงไม่นับเป็นพระกรุ

พระนางพญา วัดเวียง เป็นพระพิมพ์เก่าแก่อีกพิมพ์หนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเรียกได้ว่ามีมาคู่กับวัดเลยทีเดียว สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา โดยพระเถระฝ่ายลาวจากเวียงจันทน์ เมื่อครั้งอพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ว่ากันว่ามีชาวลาวจำนวนมากอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นต้นมา และลงหลักปักฐานทำมาหากินอยู่ตามที่ลุ่มของแม่น้ำป่าสักไล่มาจนถึงเพชรบูรณ์ สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา โดยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น เมื่อสภาพความเป็นอยู่เริ่มลงตัว จึงคิดสร้างวัดวาอาราม เพื่อใช้เป็นที่ประกอบกิจทางศาสนาเยี่ยงพุทธศาสนิกชนที่ดีพึงกระทำ อาทิ วัดสะตือ วัดเวียง วัดดาวเสด็จ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละวัดที่กล่าวมานี้ก็เป็นที่คุ้นหูทั้งสิ้น โดยเฉพาะนักนิยมสะสมพระเครื่อง เช่น วัดสะตือก็จะเกี่ยวข้องกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือ วัดดาวเสด็จก็มีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงคือ "พระนางพญาวัดดาวเสด็จ" ใครจะทราบว่าวัดเหล่านี้สร้างโดยชาวเวียงจันทน์

วัดเวียง ก็เช่นกัน เมื่อมาตั้งถิ่นฐานบ้านช่องแล้วหมู่บ้านที่ พวกเขาอยู่ก็จึงเรียกกันว่าบ้านเวียง แล้วต่อมาก็ได้สร้างวัด โดยนิมนต์พระเถระจากฝั่งลาวมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ และเรียกกันว่า “วัดเวียงจันทน์” สืบต่อมาการเรียกชื่อก็เพี้ยนไป โดยตัดคำเรียกให้สั้นลงเหลือแต่คำว่า “วัดเวียง” เท่านั้น และเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อครั้งสร้างวัดขึ้นในสมัยอยุธยานั้น ก็มีการจัดสร้างพระพิมพ์ด้วยคือ "พระนางพญา วัดเวียง" สร้างพระไว้ ประมาณราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระเนื้อดินเผา ที่เนื้อดินหยาบพอประมาณ มีทรายและแก้วแกลบเป็นเสี้ยนสีขาวผสมอยู่มาก คล้ายเนื้อดินของพระตระกูลสุโขทัย หรือพระของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี ซึ่งผิวพรรณจะนวลสะอาดแบบหม้อใหม่ปัจจุบัน และเมื่อใช้หรือผ่านการสัมผัสจะมีความแกร่งและมันวาว

หลังจากผ่านการเผาเป็นที่เรียบร้อย ก็จะนำมาใส่โอ่งดินวางไว้ 4 มุมในพระอุโบสถ ดังนั้น นอกจากจะได้รับการปลุกเสกจากพระเถระผู้สร้างเป็นอย่างดีแล้ว จะได้รับการปลุกเสกในพระอุโบสถตลอดเวลาอีกด้วย ทั้งสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น สวดปาฏิโมกข์ สวดยัด ฯลฯ ลักษณะเป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก มีพุทธศิลปะคล้ายศิลปะอู่ทอง รูปทรงสามเหลี่ยม พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนอาสนะ การหักของพระกรหักเป็นมุม ช่วงต่ำกว่าข้อศอกแลดูผิด ส่วน พระเกศเป็นแบบเกศปลี พระกรรณยาวและอ่อนสลวย พระสังฆาฏิยาวจดพระหัตถ์ ลำพระองค์ สูงชะลูดและดูผึ่งผาย แบ่งได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์เส้นอาสนะยาวตลอดพระเพลา และพิมพ์อาสนะยาวไม่ตลอดพระเพลา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม August 19, 2023 04:44:00
วันที่ปิดประมูล August 20, 2023 06:39:35
ราคาเปิด200
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี นายบุญสิริ (รังสิต) ,

cadetart

ผู้เสนอราคาล่าสุด

600

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


ได้รับเรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณครับ


cadetartAugust 26, 2023 13:38:55

ความคิดเห็นจากผู้ขาย


เยี่ยมยอดครับ โอนไว โอนเร็ว ขอบคุณครับ


มังกรทองAugust 23, 2023 03:37:04

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น