@@@ ถูกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว @@@ พระสมเด็จหลังรูปเหมือนหลวงพ่อแพ ปี2537 เนื้อผงเกสร วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี พร้อมบัตรรับรอง

ปิด สร้างโดย: พันธุ์ทิพย์  VIP   (3249)


หลวงพ่อแพ เขมังกโร ท่านเป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2448 ที่บ้านสวนกล้วย ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเทียน-นางหน่าย ใจมั่นคง มารดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน บิดาจึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของ นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา อายุ 11 ปี บิดามารดาบุญธรรมนำ ด.ช.แพ ขำวิบูลย์ ไปฝากที่สำนักอาจารย์ป้อม เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม และเข้าศึกษาต่อที่สำนักวัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ ได้ระยะหนึ่ง ก็กลับบ้านเกิดเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพิกุลทอง โดยมี พระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเดินทางกลับวัดชนะสงครามตามเดิม จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชก็กลับมาอุปสมบทที่วัดพิกุลทองอีก โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมังกโร” แล้วเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม ศึกษาด้านพระปริยัติธรรมขั้นสูง จนได้เปรียญ 4 ประโยค ได้เป็น “พระมหาแพ” หลังจากนั้นมานัยน์ตาเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมจึงต้องยุติลง แต่ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา ท่านจึงหันมาศึกษาด้านสมถกัมมัฎฐานและวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักพระครูภาวนา วัดเชตุพนฯ และยังได้เป็นศิษย์รูปหนึ่งของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ ด้วย ต่อมาทราบว่าที่อำเภอบางระจัน มีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมและวาจาศักดิ์สิทธิ์นัก ชื่อ หลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์และยังเป็นที่โปรดปรานของพระอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง ปี พ.ศ.2473 อาจารย์หยด เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ลาสิกขาบท ชาวบ้านจึงร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อแพให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนในปี พ.ศ.2474 ท่านจึงเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อปกครองวัดพิกุลทอง โดยขณะนั้นมีอายุเพียง 26 ปีเท่านั้น และวัดพิกุลทองก็ชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงไปปรึกษา หลวงพ่อศรี พระอาจารย์ และด้วยบารมีของพระเกจิทั้งสองรูป จึงสามารถบูรณปฏิสังขรณ์ รวมทั้งสร้างถาวรวัตถุภายในวัดพิกุลทองได้ในเวลาอันรวดเร็ว อันได้แก่ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอประชุมกุฎิสงฆ์ หอไตร หอฉัน ศาลาวิปัสสนา โรงฟังธรรม และ ฌาปนสถาน เป็นต้น นอกจากนี้ ท่านยังสร้างความเจริญให้ท้องถิ่นอีกมากมายเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ ทั้ง โรงพยาบาล, ที่ว่าการอำเภอ, สถานีตำรวจ, สถานีอนามัย, โรงเรียนประชาบาล, สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนอาคารผู้ป่วยของโรงพยาบาลสิงห์บุรีที่เป็นอนุสรณ์สืบมาจนปัจจุบัน คือ อาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี, อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี (อาคารเอ็กซเรย์), อาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี และ อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร ที่โดดเด่นเป็นสง่าภายในโรงพยาบาลสิงห์บุรีวัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรีหลวงพ่อแพ เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนโดยถ้วนหน้า มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมุนี ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 รวมสิริอายุ 94 ปี พรรษา 73 ปัจจุบัน สรีระของหลวงพ่อแพยังคงประดิษฐาน ณ วัดพิกุลทอง เพื่อให้ญาติโยมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สักการบูชาสืบมา หลวงพ่อแพ เริ่มสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 และด้วยความศรัทธาในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านจึงได้สร้าง “พระสมเด็จ” ขึ้น โดยยึดถือแนวทางการสร้างของสมเด็จโตเป็นส่วนใหญ่ รวมแล้ววัตถุมงคลของท่านมีไม่ต่ำกว่า 300 พิมพ์ มีทั้งเนื้อผงและเนื้อโลหะ มีอาทิ พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสิวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ ซึ่งท่านจะไม่เน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก หากแต่เน้นในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ จะพิถีพิถันในการปลุกเสกให้เกิดความเข้มขลัง แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง, เมตตามหานิยม, อุดมด้วยลาภผลและโภคทรัพย์ แต่ผู้ที่ใช้วัตถุมงคลของท่านแล้วจะเกิดพุทธคุณได้นั้น ต้องรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด  ด้านค่านิยมนั้น สำหรับ ‘พระเนื้อผง’ ที่มีเนื้อหาจัดสุด มีความฝีมือประณีตสุด และราคาแพงที่สุด คือ “พระสมเด็จแพพัน” ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ.2510 คำว่า  “แพ” นั้น หมายถึง หลวงพ่อแพ ส่วนคำว่า “พัน” หมายถึง พระอธิการพัน อดีตเจ้าอาวาสผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อครั้งบวชเณรที่ท่านเคารพนับถือมาก พุทธลักษณะด้านหน้า จะเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือ ทรงไกเซอร์ ซึ่งต่อมารูปแบบพระสมเด็จที่สร้างในภายหลัง จะยึดเอกลักษณ์พิมพ์ทรงเดียวกันทั้งด้านหน้าและหลัง ต่างกันที่ตัวเลขด้านหลังที่อยู่ตรงกลางใต้รูปเหมือน และเนื้อหามวลสารเท่านั้น ได้แก่ แพ ๒ พัน, แพ ๓ พัน ... จนถึง แพ ๙ พัน จุดสังเกตสำคัญ คือ หากมองด้วยตาเปล่า สีสันวรรณะขององค์พระจะออกเป็นสีขาวหม่นเล็กน้อย แต่ถ้าส่องกล้องดูจะเห็น “รูพรุน” เท่าหรือเล็กกว่าปลายเข็มอยู่ทั่วองค์พระ อันเกิดจากการยุบตัวหรือหดตัวของผิวพระที่ผ่านกาลเวลามากว่า 48 ปี นอกจากนี้ภายหลังยังมีการสร้างพระสมเด็จแพพันขึ้นอีก แต่ต่างกันที่เนื้อหามวลสาร เช่น พระสมเด็จแพพัน ปี 16 เนื้อแร่ธาตุดำ-แร่ธาตุแดง เป็นต้น     ส่วน ‘พระเนื้อโลหะ’ ที่นับว่าได้รับความนิยมสูงสุดก็คือ “พระสมเด็จทองเหลือง” ปี พ.ศ.2494  เป็นพระสมเด็จรุ่นแรกที่ท่านสร้าง สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูศรีพรหมโสภิต โดยจำลองแบบพิมพ์จากพระสมเด็จวัดระฆังฯ สร้างเป็นเนื้อทองเหลืองแบบเนื้อขันลงหิน รูปสี่เหลี่ยมแบบหล่อโบราณ  มีลักษณะพิเศษคือ จะปรากฏเกล็ดทองทั่วองค์พระ แบ่งเป็น 2 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ลึกและพิมพ์ตื้น วัตถุมงคลของหลวงพ่อแพ แม้จะสร้างเป็นจำนวนมาก และมีหลายเนื้อ หลายรุ่น หลายแบบ แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของสาธุชนผู้มีจิตศรัทธา ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านเริ่มหายากและสนนราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการทำเทียมก็ตามมาเป็นเงาตามตัวทีเดียวครับผม




เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม September 20, 2023 10:18:04
วันที่ปิดประมูล September 21, 2023 11:16:20
ราคาเปิด10
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ (ฟิวเจอร์) ,

กานกินรี

ผู้เสนอราคาล่าสุด

500

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


+1 Auto Feedback


กานกินรีOctober 21, 2023 11:25:00

ความคิดเห็นจากผู้ขาย


3.TH01344P9G9F2A0 FLASH ขอขอบพระคุณท่าน ที่มาอุดหนุนครับ


พันธุ์ทิพย์September 27, 2023 09:34:49

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น