@ "นพเก้า" พระปรางค์วัดหลวงพ่อพระพุทธชินราช @@@ ปี 2444 อัญเชิญลงเมื่อปี 2550 @@@

ปิด สร้างโดย: บารมี๑๕   (5389)

@ "นพเก้า" พระปรางค์วัดหลวงพ่อพระพุทธชินราช @@@ ปี 2444 อัญเชิญลงเมื่อปี 2550 @@@  

  หน้าวัดจำหน่ายที่ 999 บาท ครับ

ภูมิหลังความเป็นมา "นพเก้า" พระปรางค์วัดหลวงพ่อพระพุทธชินราช นายวินัย ชาญวิชัย ไวยาวัจกรฝ่ายประชาสัมพันธ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อ.เมือง จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ขณะนี้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช กำลังมีการบูรณะพระปรางค์ประจำวัด ศิลปะสมัยอยุธยา ที่ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารพระพุทธชินราช ซึ่งนักวิชาการคาดว่าจะสร้างคร่อมเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย และภายในเป็นที่ประดิษฐานองค์พระสารีริกธาตุ เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรมลงไปมาก เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อประชาชนที่มาเคารพสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ได้ ทางสำนักศิลปากรที่ 6 ได้มีการจัดงบประมาณจำนวน 30 ล้านบาทเข้ามาปรับปรุง ในการบูรณะจะมีการแกะชิ้นส่วนของพระปรางค์ ที่เรียกว่านพเก้า (แผ่นกระเบื้องโมเสกสีทอง ขนาด 3 x 3 ซ.ม.) ออก (เป็นพระปรางค์องค์เดียวในประเทศไทยที่มีการติดนพเก้า หรือกระเบื้องโมเสกสีทอง) ซึ่งทางกรมศิลปากร และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้มีมติให้นำชิ้นนพเก้าออกให้ประชาชนเช่าบูชาเก็บไว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล และหลังจากที่ทางวัดได้เปิดให้มีการบูชานพเก้าพระปรางค์ ปรากฏว่ามีประชาชนที่ทราบข่าวทั้งคนในและต่างจังหวัด พากันเดินทางไปขอบูชากันเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องด้วยชิ้นนพเก้ามีเพียงประมาณ 10,000 แผ่นเท่านั้น ทางวัดจึงกำหนดให้สามารถเช่าได้คนละไม่เกิน 3 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สามารถนำชิ้นนพเก้าไปบูชาเพื่อความเป็น สิริมงคลอย่างทั่วถึงกัน สำหรับราคาในการบูชานั้น ชิ้นนพเก้าเกรด A ราคา 1,299 บาท เกรด B ราคา 999 บาท สำหรับการก่อ สร้างนั้น นางทองใบ พันธ์ภูมิพฤกษ์ กรรมการวัดพระศรีรัตมหาธาตุวรมหาวิหาร อดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช กล่าวว่า เมื่อมองจากสภาพภายนอกพระปรางค์ด้วยตาเปล่ายอมรับว่าพระปรางค์มีสภาพชำรุด ร้อยละ 70-80 นพเก้า หรือกระเบื้องโมเสกสีทอง ได้หลุดลอกมาจำนวนมาก โดยบางจุดปูนถึงกับหมดสภาพ กลีบขนุนที่หุ้มด้วยโมเสกสีทองได้ร่วงหล่นมาทั้งพลู น่าเสียดายมาก เพราะอายุของพระปรางค์มีมากหลายร้อยปี สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับการสร้างวัด ช่วง พ.ศ.1900 แต่พระปรางค์องค์ปัจจุบันเป็นพระปรางค์ศิลปะสมัยอยุธยา นักวิชาการคาดว่าจะสร้างคร่อมเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย และภายในเป็นที่ประดิษฐานพระสารีริกธาตุ ที่ทางวัดจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ขึ้นไปสักการะเพียงปีละ 1 ครั้ง ในงานสมโภชพระพุทธชินราชเท่านั้น : ข้อมูล จากนสพ.ข่าวสด ออนไลน์ ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระปรากรมมุณี ( เปลี่ยน ) เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ในขณะนั้น ได้รวบรวมเงินจากผู้มีจิศรัทธาสั่งซื้อกระเบื้องสีทองจากประเทศอิตาลี เรียกว่าแผ่นนพเก้า สาเหตุที่เรียกว่าแผ่นนพเก้า เนื่องจากมี ๙ ช่อง แต่ละช่องมีจุด ๓ จุด ๓x๙ = ๒๗ และ ๒+๗ =๙ บางแผ่นแต่ละช่องมี ๔ จุด ๔x๙ = ๓๖ และ ๓+๖ = ๙ แผ่นนพเก้าปิดทองนี้ติดบนองค์พระปรางค์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔และในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้มอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซมองค์พระปรางค์ใหม่ จึงได้นำแผ่นนพเก้าที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ออก และมอบให้ทางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อมอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาทำบุญสร้างนพศูลทองคำติดบนยอดพระปรางค์ แผ่นนพเก้านี้ มีอายุ ๑๐๖ ปี ใครบูชาหรือมีไว้นับว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งครับ นพเก้านี้จากการบอกเล่าจากคนเฒ่า คนแก่บอกว่าเมื่อสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันนี้เมื่อมีงานพุทธาภิเษกพระหรืองาน มงคลต่างๆทางวัดใหญ่ก็จะนำสายสิญจ์ขึ้นไปโอบพันรอบพระปรางค์เก่านี้ไว้โดย ตลอด เท่ากับว่านพเก้านี้ผ่านการปลุกเสกมานับไม่ถ้วยเลยทีเดียวครับ แต่ก่อนนั้นนพเก้ากว่าจะได้มาสักหนึ่งองค์นั้นยากแสนยาก เพราะต้องรอนพเก้าหลุดล่วงหล่นลงมาถึงจะมีการเอานพเก้านี้ออกมาให้บูชากัน ครับ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ทางวัดได้นำนพเก้าออกมาให้บูชาอย่างเป็นทางการครับ ถ้าท่านใดสนใจนพเก้านี้ก็เชิญบูชาไว้เป็นศิริมงคลได้เลยครับ


เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม May 29, 2019 00:27:04
วันที่ปิดประมูล May 30, 2019 13:07:25
ราคาเปิด10
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงไทย (พิษณุโลก) ,

สมบัติจักรพรรดิ์

ผู้เสนอราคาล่าสุด

120

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ขาย


สุดยอดสมาชิกระดับ ๕ ดาว ซื้อจริง โอนไว ใส่ใจการประมูล ขอบพระคุณอีกครั้งครับท่าน


บารมี๑๕June 04, 2019 01:35:08

ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


+1 Auto Feedback


สมบัติจักรพรรดิ์June 30, 2019 13:17:00

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น