เหรียญรุ่นแรกนั่งเสือ หลวงพ่อเที่ยง วัดพระพุทธบาทเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ปี 31

ปิด สร้างโดย: Chonticha4537  (38)

เหรียญรุ่นแรกนั่งเสือ "หลวงพ่อเที่ยง" วัดพระพุทธบาทเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ปี 31 เนื้อทองแดง สภาพหิ้ง ในพื้นที่ก็หายากแล้วนะครับ น่าเก็บครับ หลวงพ่อเที่ยง ในอดีตท่านเคยเป็นครูสักยันต์ โดยเฉพาะ ยันต์เสือเผ่น ของท่านเป็นที่ล่ำลือในหมู่ศิษย์ของท่านว่า ดุดัน มหาอำนาจ หนังเหนียวเป็นยิ่งนัก ศิษย์ที่ปฎิบัติหน้าที่ชายแดนกัมพูชา มีประสบการณ์ปะทะกันล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว กระสุนมายังกะห่าฝน แต่แคล้วคลาดมาได้ โดนเนื้อหนังใช่ว่าจะระคายไม่ เป็นเหรียญมากประสบการณ์อีก... 
    ประสบการณ์ พระเครื่องของ หลวงพ่อเที่ยง วัดพระพุทธบาทเขากระโดงเป็นที่กล่าวขานมานาน เรื่อง อยู่ยงคงกะพันชาตรี มหาอุด สมัยก่อนท่านเป็นครูสักยันต์ดังไปถึงต่างประเทศ ลายสักที่เป็นที่นิยมคือ เสือเผ่น ซึ่งหลวงพ่อเที่ยงเชี่วชาญ ท่านสำเร็จหัวใจเสือสมิง มีนักการเมืองตระกูลดังในจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้ตะกรุดของท่านติดตัวเสมอเพราะ มั่นใจในพุทธคุณค้มตัวให้รอดปลอดภัยได้ รวมถึงมีการลองยิงตะกรุดทุกประเภทของหลวงพ่อปรากฏว่ายิงไม่ออก และ กระบอกปืนแตกกัน เป็นที่ตะลึงแก่สายตาหลายๆท่านมาแล้ว 
    หลวงพ่อเที่ยงแบกกลดคู่ชีพธุดงค์มุ่งหน้าสู่เขาพระวิหารเพื่อบำเพ็ญเพียรสร้างสมบารมี ที่เขาพระวิหารนี้ ท่านได้พบกับพระเถระของเขมรระดับเกจิหลายรูปด้วยกัน ได้ฝากตัวเป็นศิษย์รับการถ่ายทอดวิชาการต่าง ๆ อย่างเต็มที่ 
    หลวงพ่อเที่ยงธุดงค์เข้าไปในเขมรพร้อมกับพระอาจารย์อุทัยเพื่อนสหธรรมมิก พบกับพระเกจิอาจารย์ขมังเวทชาวเขมรได้รับความเมตาสั่งสอนถ่ายทอดวิทยาคมต่าง ๆ อย่างไม่ปิดบัง จนสำเร็จอภิญญาทางอิทธิฤทธิ์ หรือสมถกรรมฐาน 
    ท่านรอนแรมธุดงค์อยู่ในป่าเสียมากก่วาจะอยู่ในเมือง พยายามที่จะทำวิปัสสนาธุระให้ได้ และศึกษาความรู้จากพระอาจารย์ต่าง ๆ นั่นเอง 
    ต่อมาปี ๒๕๒๒ หลวงพ่อบุญเย็น มรณะภาพทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ท่านไวด และรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ 
    เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง. เจ้าคณะตำบลเสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ หลวงพ่อเที่ยง ศึกษาวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐานอยู่หลายปี จนเชี่ยวชาญเสมอด้วย หลวงพ่อบุญมาที่เป็นอาจารย์ท่าน ซึ่งได้รับการแนะนำว่า ถ้าจะบรรลุถึงธรรมปฏิบัติที่แท้จริงแล้วจะต้องออกธุดงค์ เพื่อหาความวิเวกฝึกจิตสมาธิให้กล้าแข็ง ท่านจึงออกเดินธุดงค์จาริกหาความวิเวกไปตามป่าดงดิบทั้งไทย พม่า และเขมร 
    ประวัติสังเขป 
    หลวงพ่อเที่ยง (พระครูสัจจานุรักษ์ ปภังกโร) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง. เจ้าคณะตำบลเสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 
    สถานะเดิม 
    ชื่อ เที่ยง อารมณ์ เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเส็ง วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 บิดาชื่อนาย เสด มารดาชื่อ นางมั่น อารมณ์ บ้านเลขที่ 108 หมู่ที่ 12 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 
    บรรพชาอุปสมบท 
    วันเสาร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2513 วัด อิสาน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จนกระทั่งเวลา 02.46 น. วันที่ 7 มี.ค. 2559 หลวงพ่อเที่ยงได้มรณภาพอย่างสงบ โดยมีอายุ 75 ปี 2 เดือน 7 วัน พรรษา 46 พรรษา ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งดินแดนที่ราบสูง 
    หลวงพ่อเที่ยง ปภังกโร เป็นชาวบุรีรัมย์โดยกำเนิด ท่านเรียนจบแค่ประถมปีที่ 4 จากนั้นก็ช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนามาตลอด ช่วงชีวิตในวัยรุ่นไม่ค่อยมีอะไรผาดโผนเท่าไรนัก เพราะเป็นคนขยันทำมาหากินอย่างเดียว 
    กระทั่งอายุ 29 ปี ท่านจึงเข้าอุปสมบทที่วัดอีสาน โดยมีพระเมธีธรรมาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อบุญมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อจำรัส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วมาอยู่จำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทเขากระโดง หลวงพ่อเที่ยง ศึกษาวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐานอยู่หลายปี จนเชี่ยวชาญเสมอด้วย หลวงพ่อบุญมาทีเดียว ซึ่งได้รับการแนะนำว่า ถ้าจะบรรลุถึงธรรมปฏิบัติที่แท้จริงแล้วจะต้องออกธุดงค์ เพื่อหาความวิเวกฝึกจิตสมาธิให้กล้าแข็ง ท่านจึงออกเดินธุดงค์จาริกหาความวิเวกไปตามป่าดงดิบทั้งไทย พม่า และเขมร ต่อมา หลวงพ่อบุญมาถึงแก่มรณภาพ ท่านได้เดินทางกลับมาเพื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับศพของหลวงพ่อบุญมา และพระอธิการบุญเย็น พระอาวุโสในวัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา หลังจากนั้น หลวงพ่อเที่ยงก็ออกธุดงค์อีก คราวนี้ขึ้นไปทางเหนือ จุดหมายปลายทางคือ ฝั่งเมียวดี ประเทศพม่า ท่านผ่านทางแม่สอด จ.ตาก แล้วข้ามฟากมุ่งสู่ยอดดอย "ลิ้นกี่" ฝั่งเมียวดี แล้วเข้ากรรมฐานรักษาศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั่นเป็นเวลาเกือบปี และวันหนึ่ง ท่านใด้พบกับพระลาวรูปหนึ่งชื่อว่า หลวงมหาตันอ่อน เป็นพระเถระจากเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งเชี่ยวชาญในคาถาอาคม ออกธุดงค์มานับสิบ ๆ ปีแล้ว ท่านทั้งสองได้แลกเปลี่ยนวิทยาคม และความรู้ด้านปฏิบัติสมถะสำหรับในด้านคาถาอาคมนั้น พระมหาตันอ่อนก็เปรียบเสมือนครูอีกคนหนึ่งของหลวงพ่อเที่ยง ท่านได้สั่งสอนวิทยาคมต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อเที่ยงอย่างไม่ปิดบัง กระทั่งใก้ลเข้าพรรษา ท่านทั้งสองก็ต้องแยกจากกันเพื่อหาที่พักจำพรรษารับอนิสงส์ตามประเพณี พอออกพรรษา หลวงพ่อเที่ยงก็แบกกลดคู่ชีพธุดงค์มุ่งหน้าสู่เขาพระวิหารเพื่อบำเพ็ญเพียรสร้างสมบารมี 
    ที่เขาพระวิหารนี้ ท่านได้พบกับพระเถระของเขมรระดับเกจิหลายรูปด้วยกัน ได้ฝากตัวเป็นศิษย์รับการถ่ายทอดวิชาการต่าง ๆ อย่างเต็มที่ หลวงพ่อเที่ยงธุดงค์เข้าไปในเขมรพร้อมกับพระอาจารย์อุทัยเพื่อนสหธรรมมิก พบกับพระเกจิอาจารย์ขมังเวทชาวเขมรได้รับความเมตาสั่งสอนถ่ายทอดวิทยาคมต่าง ๆ อย่างไม่ปิดบัง จนสำเร็จอภิญญาทางอิทธิฤทธิ์ หรือสมถกรรมฐานนั่นเอง ท่านรอนแรมธุดงค์อยู่ในป่าเสียมากก่วาจะอยู่ในเมือง พยายามที่จะทำวิปัสสนาธุระให้ได้ และศึกษาความรู้จากพระอาจารย์ต่าง ๆ นั่นเอง..... 
    เมตตา มหาลาภ 
    หาใครทาบ เท่าเทียบท่าน 
    เผื่อแผ่ แก่ศีลทาน 
    บริจาค มากคณา 
    เครื่องราง และของขลัง 
    ศิษย์ใหลหลั่ง เที่ยวเสาะหา 
    หนังเสือ เหรียญมนต์ตรา 
    อีกพกพา ตะกรุดดี 
    เทพแท้ ภูเขาไฟ 
    ดังไปไกล ทั่วทุกที่ 
    พ่อเที่ยง เกจิดี 
    แห่งบุรี รีรัมย์เอย

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม June 09, 2022 04:17:00
วันที่ปิดประมูล June 10, 2022 04:18:44
ราคาเปิด200
เพิ่มครั้งละ50
ธนาคารกรุงไทย (อ่างทอง) ,

ponkit

ผู้เสนอราคาล่าสุด

250

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ขาย


+1 Auto Feedback


Chonticha4537July 10, 2022 04:24:00

ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


+1 Auto Feedback


ponkitJuly 10, 2022 04:24:00

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น