** วัดใจ 30 บาท**เหรียญพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร งานฝังลูกนิมิต วัดศรีบุญเรือง อ.หล่มสัก ปี ๒๕๔๐ อธิฐานจิต โดยหลวงปู่เปรื่อง วัดสันติวัฒนา เพชรบูรณ์ สวยเดิม วัดใจ เคาะเดียว

ปิด สร้างโดย: sutad3352  (6491)(1)

เหรียญพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร งานฝังลูกนิมิต วัดศรีบุญเรือง อ.หล่มสัก ปี ๒๕๔๐ อธิฐานจิต โดยหลวงปู่เปรื่อง วัดสันติวัฒนา เพชรบูรณ์ สวยเดิม วัดใจ เคาะเดียว

ประวัติหลวงปู่เปรื่อง ฐานังกโร วัดสันติวัฒนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

พระวินัยวงศาจารย์ หรือที่ชาวอำเภอหล่มเก่า และอำเภอหล่มสัก เรียกว่า “หลวงปู่เปรื่อง ฐานังกโร” แห่งวัดสันติวัฒนา ตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านเป็นพระเถระนักปฏิบัติกัมมัฏฐาน ที่ชาวอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก และในจังหวัดเพชรบูรณ์เลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก เนื่องจากหลวงปู่เปรื่องท่านพร้อมด้วยศีลาจารวัตร ดำเนินตามรอยพระบูรพาจารย์สายกัมมัฏฐาน ปัจจุบันท่านมีสิริอายุ 86 ปี (66 พรรษา) หลวงปู่เปรื่องท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติวัฒนา และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอหล่มสัก-เขาค้อ (ธรรมยุต)

หลวงปู่เปรื่องท่านเกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2474 มีชื่อสกุลเดิมว่า เปรื่อง รูปน้อย บิดาชื่อ นายบุญเรือง รูปน้อย มารดาชื่อ นางน้อย รูปน้อย อยู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วงวัยเยาว์ หลวงปู่เปรื่อง ท่านสำเร็จการศึกษาประถมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนบ้านหนองบัว เมื่อ พ.ศ. 2484 ภายหลังจากสำเร็จการศึกษา ท่านได้ช่วยครอบครัวพ่อแม่ ทำไร่ ทำนา และทำสวน พอย่างเข้าวัยหนุ่มมีจิตใจฝักใฝ่ และศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ประกอบกับที่ครอบครัวมักจะเข้าวัดฟังธรรม และรักษาศีลอยู่เป็นประจำ ต่อมาจึงได้บรรพชาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2495 ที่วัดสามัคคีวัฒนา ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และอุปสมบทเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495 ที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีพระครูสุธรรมคณี (พระอาจารย์สิงห์ทอง) วัดสามัคคีวัฒนา ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์คำภา โกสโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระอาจารย์พุฒ วรญาโณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

เมื่อหลวงปู่เปรื่องอุปสมบทแล้วได้กลับไปอยู่ที่วัดสันติวัฒนา ขณะนั้นที่วัดสันติวัฒนา มีพระอาจารย์โจม ฐานวุฑฺโฒ จำพรรษาอยู่ประจำมานานหลายปีแล้ว ซึ่งหลวงปู่เปรื่องได้จำพรรษาแรกที่วัดแห่งนี้ โดยที่ไม่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนที่ใดเลย มีแต่ท่องทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น และสวดมนต์เจ็ดตำนานจนพอใช้ได้หมด ต่อมาท่านอาจารย์โจม ฐานวุฑฺโฒ ได้ไปเที่ยววิเวกต่างจังหวัด โดยให้พระบวชใหม่และสามเณรอยู่วัดตามลำพัง จนถึงเดือนที่ใกล้จะเข้าพรรษา พระอาจารย์โจม ฐานวุฑฺโฒ ก็ยังไม่กลับมา ตอนนั้น พระอาจารย์สิงห์ทอง พระอุปัชฌาย์ได้มาเยี่ยมที่วัด ท่านเห็นว่ามีแต่พระบวชใหม่และสามเณรอยู่วัดตามลำพัง ท่านจึงสั่งสอนว่า ถ้าพระอาจารย์โจม ฐานวุฑฺโฒ ไม่กลับมาจำพรรษาก็ไม่ควรที่จะจำพรรษาอยู่ตามลำพัง เพราะไม่ดีและไม่ถูกต้องตามพระวินัย ท่านจึงแนะนำให้พิจารณาดูว่าจะกลับไปอยู่กับพระอุปัชฌาย์ หรือจะไปอยู่จำพรรษาที่วัดอื่นดี โดยพระอุปัชฌาย์ท่านแจ้งให้ทราบว่า ในปีนี้พระอาจารย์กุศล กุสลจิตโต (แส่ว) ที่วัดศิลามงคล บ้านหินฮาว ท่านจะเปิดสอนนักธรรม ถ้าสนใจจะไปอยู่ที่นั่นก็ได้ หลวงปู่เปรื่องท่านคิดขึ้นได้ว่า เรามีความรู้น้อย และอยากจะไปศึกษาเพิ่มเติม จึงตัดสินใจที่จะไปอยู่ที่นั้นเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยก็เลยบอกกับพระอุปัชฌาย์ว่า จะไปอยู่กับพระอาจารย์แส่ว ที่วัดศิลามงคล พระอุปัชฌาย์ท่านเมตตาจึงได้ทำหนังสือฝากฝังให้นำไปถวาย พระอาจารย์แส่ว

เมื่อพระอาจารย์แส่วรับหนังสือแล้ว ท่านก็บอกว่ายินดีรับให้อยู่จำพรรษาที่วัดได้ โดยในครั้งนั้น
มีพระไปด้วยกัน 3 รูป และสามเณร 1 รูป ท่านก็รับหมด โดยพระอาจารย์แส่วถือเป็นอาจารย์คนแรกที่สอนปริยัติให้กับหลวงปู่เปรื่อง และในช่วงเวลานั้นท่านยังได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์มหาทองอินทร์ กุสลจิตโต ซึ่งท่านมีศักดิ์เป็นน้องชายของพระอาจารย์แส่วที่เดินทางมาจากวัดป่าสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ และท่าน ยังเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สิม แห่งวัดถ้ำผาป่อง เมื่อจำพรรษากับพระอาจารย์แส่วได้สั่งสอนวิธีปฏิบัติและสอนนักธรรมให้ สอนให้ฉันในบาตร ในปีนั้นหลวงปู่เปรื่องสอบได้นักธรรมชั้นตรี คือ พรรษาที่ 2 ต่อมาพรรษาที่ 3 เรียนนักธรรมชั้นโทต่ออยู่ที่วัดศิลามงคลนี้ ถึงปี 2500 จึงสอบได้ถึงนักธรรมชั้นเอก

จากนั้นหลวงปู่เปรื่อง ประสงค์ไปวิเวกเที่ยวที่จังหวัดเลย และได้พำนัก ณ วัดศรีสุทธาวาส เป็นเวลา 3 คืน จนมีผู้แนะนำให้ท่านลองไปที่วัดถ้ำผาปู่ พอไปถึงรู้สึกชอบสถานที่นี้มาก เหมาะแก่การปฏิบัติกัมมัฏฐาน เพราะเป็นสถานที่เงียบสงบไม่พลุกพล่าน ประกอบกับท่านเป็นคนรักสันโดด ซึ่งในขณะนั้นมีหลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำผาปู่ ท่านได้เมตตารับหลวงปู่เปรื่องไว้เป็นลูกศิษย์ ทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และที่ วัดถ้ำผาปู่นี้เอง หลวงปู่เปรื่องท่านได้พบกับหลวงปู่สีทน วัดถ้ำผาปู่ หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน หลวงปู่ทองมา วัดทรงศิลา หลวงปู่พัน วัดป่าน้ำภู และหลวงปู่เผย ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำผาปู่ จึงถือได้ว่าครูบาอาจารย์ที่เอ่ยนามมานี้เป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันกับหลวงปู่เปรื่อง ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่เปรื่องได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่คำดี ครั้นถึงเวลาออกพรรษาหลวงปู่คำดีก็พาหลวงปู่เปรื่องออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสกลนคร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ณ อำเภอคอนสารนี้มีภูเขาและถ้ำมาก เมื่อธุดงค์ เป็นเวลานานพอสมควร หลวงปู่คำดีท่านให้หลวงปู่เปรื่องแยกย้ายกันปลีกวิเวกไปตามอำเภอต่างๆ และจังหวัดต่างๆ ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เมื่อถึงเวลาเข้าพรรษาก็กลับมาจำพรรษา ณ วัดถ้ำผาปู่ เมื่อพระรูปใดมีปัญหาทางจิตใจ หลวงปู่คำดีก็จะใช้อุบายแก้ปัญหาไปตลอดเวลาที่ปฏิบัติอยู่กับท่าน

ช่วงที่หลวงปู่เปรื่องจำพรรษาอยู่ ณ วัดถ้ำผาปู่ ท่านได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลปรนนิบัติ พ่อแม่ครูอาจารย์ที่มาพำนักยังวัดถ้ำผาปู่ เนื่องจากวัดถ้ำผาปู่ เป็นวัดที่อยู่ระหว่างภาคเหนือกับอีสาน เมื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ที่จะเดินทางจากภาคอีสานไปยังภาคเหนือ หรือจากภาคเหนือมายังภาคอีสาน ก็จะมาพำนักพักแรมที่วัดถ้ำผาปู่ก่อนเสมอ แล้วจึงเดินทางต่อ เพราะในสมัยนั้นการเดินทางยากลำบาก ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีเส้นทางสายหล่มสัก-ชุมแพ ทำให้พระสายป่าที่จะต้องเดินทางธุดงค์ขึ้นทางภาคเหนือ และจากเหนือ ลงมาอีสานต้องผ่านมาทางวัดถ้ำผาปู่อยู่เสมอ วัดถ้ำผาปู่จึงเป็นที่พำนักของพระธุดงค์สายวัดป่า ด้วยเหตุนี้หลวงปู่เปรื่องจึงได้มีโอกาสใกล้ชิด ดูแล พ่อแม่ครูอาจารย์ที่เดินทางมาพักที่วัดถ้ำผาปู่ในสมัยนั้นอยู่เสมอ อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั่ง, หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดสันติวรญาณ, หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง, หลวงปู่เทศน์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง, หลวงปู่ฝั้น อาจารโร วัดป่าอุดมสมพร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมานุสรณ์, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต,หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม,หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาดฯ

ด้วยเหตุนี้การที่หลวงปู่เปรื่องได้รับมอบหมายจากหลวงปู่คำดีให้คอยปรนนิบัติดูแลพ่อแม่ครูอาจารย์ที่มาพำนักยังวัดถ้ำผาปู่ ทำให้หลวงปู่เปรื่องได้มีโอกาสศึกษาธรรมะ และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อีกทั้งหลวงปู่เปรื่องท่านยังเป็นที่รักของพ่อแม่ครูอาจารย์ ดังจะเห็นได้จากภายหลังที่ท่านกลับมา จำพรรษาอยู่ที่วัดสันติวัฒนา จะมีครูบาอาจารย์ไปมาหาสู่กับหลวงปู่เปรื่องเป็นประจำ อาทิเช่น หลวงปู่ชอบ หลวงปู่เหรียญ หลวงปู่แหวน หลวงปู่ท่อน เป็นต้น โดยเฉพาะหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านมีความสัมพันธ์อันดีและสนิทสนมกับหลวงปู่เปรื่องเป็นอย่างมาก และอาจถือได้ว่าหลวงปู่เปรื่องเป็นลูกศิษย์ที่หลวงปู่ชอบรักและห่วงใยเป็นอย่างมาก ซึ่งหลวงปู่ชอบจะไปมาหาสู่กับหลวงปู่เปรื่องเป็นประจำ จากคำบอกเล่าของพระผู้ปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ชอบท่านเล่าให้ฟังว่า ไม่ว่าหลวงปู่ชอบจะไปกิจนิมนต์ที่ไหน หากผ่านเส้นทางสายนี้ ท่านจะบอกให้แวะไปหาหลวงปู่เปรื่องที่วัดทุกครั้ง หรือบางครั้ง เมื่อท่านคิดถึงหลวงปู่เปรื่อง ท่านจะเรียกคนขับรถให้พามาหาหลวงปู่เปรื่องอยู่เป็นประจำ อีกทั้งเมื่อคราวที่หลวงปู่ชอบยังดำรงธาตุขันธ์อยู่ ท่านเคยสั่งลูกศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า อย่าทิ้งหลวงปู่เปรื่อง หากมีการงานอะไรที่วัดหลวงปู่เปรื่องก็ขอให้มาช่วยงานที่วัดหลวงปู่เปรื่องด้วย เพราะท่านเปรื่องมีเพื่อนน้อย ท่านชอบสันโดษ จะเห็นได้ว่าหลวงปู่ชอบและหลวงปู่เปรื่องท่านมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเสมอมา นอกจากนี้ท่านยังมีความสนิทสนมกับหลวงปู่แหวนเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้นที่ท่านกลับมาจำวัดอยู่ที่วัดสันติวัฒนาท่านยังเดินทางไปมาหาสู่กับหลวงปู่แหวนที่จังหวัดเชียงใหม่อยู่เสมอ (ความสัมพันธ์ของหลวงปู่เปรื่องกับพ่อแม่ครูอาจารย์ที่กล่าวมานั้น สังเกตได้จากรูปภาพของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่หลวงปู่เปรื่องได้ให้ช่างวาดไว้ที่บนผนังของอุโบสถวัดสันติวัฒนา)
หลังจากที่หลวงปู่เปรื่องได้จำพรรษาอยู่กับ หลวงปู่คำดี ที่วัดถ้ำผาปู่หลายปี หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน ได้ขออนุญาตจากหลวงปู่คำดี เพื่อออกมาสร้างวัดศรีอภัยวัน และได้ขออนุญาตหลวงปู่คำดีให้ หลวงปู่เปรื่องและหลวงปู่พัน วัดป่าน้ำภู มาร่วมก่อสร้างวัดศรีอภัยวันด้วย โดยหลวงปู่คำดีได้อนุญาตตามที่หลวงปู่ท่อนขอ ซึ่งหลวงปู่เปรื่องและหลวงปู่พันได้อยู่ช่วยหลวงปู่ท่อนสร้างวัดศรีอภัยวันจนสำเร็จ และได้มีส่วนร่วมในการตั้งกฎวัด ได้เป็นผู้นำสวดปาฏิโมกข์ ด้วยเหตุนี้หลวงปู่ท่อนและหลวงปู่เปรื่องจึงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเป็นศิษย์พี่ศิษย์น้องอาจารย์เดียวกัน เมื่อคราวที่วัดสันติวัฒนามีงานบุญ หลวงปู่ท่อนก็จะมาช่วยงานเป็นประจำ หากวัดศรีอภัยวันมีงานบุญ หลวงปู่เปรื่องก็จะไปช่วยงานเป็นประจำเช่นกัน จนถึงปี พ.ศ. 2509 ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสันติวัฒนาจนถึงปัจจุบัน

*****ทุกรายการ สะสมได้ โอนเมื่อพร้อม ในกรณี ราคาประมูล ไม่ถึง 100 บาท หากต้องการให้ส่ง ขอค่าส่งลงทะเบียน 15 บาท ส่งแบบอีเอ็มเอส 25 บาท (คนละครึ่ง) ขอบคุณครับ (รายการวัดใจมิได้มุ่งหวังกำไรหากไม่ช่วยค่าส่งขออนุญาติส่งแบบติดแสตมป์ธรรมดานะครับ)******


เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม September 08, 2019 15:41:53
วันที่ปิดประมูล September 17, 2019 08:07:29
ราคาเปิด25
เพิ่มครั้งละ5
ธนาคารธนาคารกรุงไทย (อนุสาวรีชัยฯ) ,

ปานัท

ผู้เสนอราคาล่าสุด

30

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ขาย


+1 Auto Feedback


sutad3352October 17, 2019 08:08:00

ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


เยี่ยมมากครับ


ปานัทOctober 13, 2019 02:55:35

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น