วัดใจ เคาะเเรก เหรียญเสมาหน้าแก่ หลวงพ่อเงิน ปี 2513 เนื้อทองเเดงรมดำ วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม พร้อมบัตรครับ

ปิด สร้างโดย: กานต์ เมืองปทุม  VIP   (3634)


หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม

พูดถึงของขลังของดีมาก็หลายครั้งหลายครา หันมองไปมองมา เอ๊ย! ไอ้เราก็มีของดีกับเค้าเหมือนกันนี่ ของดีที่ผมว่านี้ก็เป็นพระเหรียญที่ห้อยคอมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ พ่อกับแม่ให้มาตั้งแต่ครั้งยังไม่รู้ประสีประสา พอมาอยู่ในวงการพระเครื่องถึงได้รู้ว่า พระเหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ที่พ่อกับแม่ให้มานี่ก็ใช่ย่อยนา (พูดแล้วน้ำตาจะไหลด้วยความซึ้ง) ด้วยว่า หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ วัดดอนยายหอม หรือ พระราชธรรมาภรณ์ ท่านเป็นทั้งพระนักพัฒนา พระปฏิบัติ มีเมตตาธรรม ต่อประชาชนทั่วไป ทั้งนี้หลวงพ่อเงินท่านยังเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างมาก ความรู้ด้านวิชา คาถาอาคมของท่านก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร เป็นที่เคารพศรัทธายิ่ง พูดมาซะขนาดนี้ หลายคนคงอยากรู้เรื่องราวแบบเจาะลึกกันแล้ว ผมจะพาไปดูครับ

 

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม

หลวงพ่อเงิน ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2433 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นบุตรคนที่ 4 ของ นางกลอง-นายพรม นามสกุล ด้วงพลู ครอบครัวของท่านถือได้ว่าเป็นผู้มีอันจะกินครอบครัวหนึ่งในตำบล ดอนยายหอม ในขณะนั้น

หลวงพ่อเงิน เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม รูปร่างแข็งแรงสมบูรณ์สูงใหญ่ผึ่งผาย ผิวพรรณสะอาด หน้าตาจัดว่าเป็นชายหนุ่มรูปงามในตำบลนั้น แต่ก็เป็นการประหลาดอยู่ไม่น้อยที่ไม่มีนิสัยเจ้าชู้เลย จึงไม่เคยมีคู่รักคู่ใคร่เหมือนหนุ่มชายคนอื่น ไม่ชอบเที่ยวเตร่ไปไหน เหล้าไม่ดื่ม การพนันไม่เล่น อยู่แต่บ้านทำแต่งาน ทำอะไรก็เรียบร้อยประณีต สะอาดเรียบร้อย ชนิดที่ว่า ผู้หญิงสาวๆ ก็สู้ไม่ได้ อาจารย์พรหมและนางกรอง บิดามารดา จึงมักจะพูด อยู่เสมอๆ ว่า "เอาลูกสาว 5 คนมาแลกก็ไม่เอา" มีความหมายว่า ถึงผู้หญิง 5 คนรวมกัน ก็สู้ลูกชายคนนี้ไม่ได้

 

ครั้นเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ ครบบวชแล้ว บิดามารดา จึงได้จัดการบวชให้ตามประเพณี พ่อแม่และลูกชาย มีความคิดตรงกัน คือบวชอย่างประหยัด ไม่จัดงานบวชอย่างเอิกเกริกมโหฬารอะไร ไม่มีการแห่แหน ไม่มีลิเกฉลองเหมือนอย่างชาวบ้านทั่วไป เพียงแต่บอกญาติมิตรคนที่เคารพนับถือกัน จัดเครื่องอัฐบริขาร แล้วก็พากันไปวัด เดินประทักษิณเวียนโบสถ์ 3 รอบ แล้วก็เข้าโบสถ์ ทำพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ สำเร็จเป็นภิกษุภาวะ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2453 เวลา 18.15 นาฬิกา พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า "จนฺทสุวณฺโณ" ตามตำราการตั้งฉายาตามวันเกิดของคนวันอังคาร วรรค จ.ฉ.ช.ฌ.ญ. พระอุปัชฌาย์ คือหลวงพ่อฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เป็นที่น่าแปลกอยู่ประการหนึ่งคือ ในขณะทำพิธีอุปสมบทนั้น ได้เกิดลมพายุพัดอย่างแรง แล้วฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก คล้าย ๆ กับว่าเทพยดาฟ้าดิน ก็พลอยปรีดาปราโมทย์ อนุโมทนาในการอุปสมบทของหลวงพ่อเงินด้วย เมื่อบวชได้ 1 พรรษา ก็ท่องบทสวดมนต์ 7 ตำนาน 12 ตำนาน ได้หมดสิ้น แล้วก็ท่องพระปาฏิโมกข์ได้ในพรรษาแรกนั้นเอง เป็นที่โจษขานกันมาก เพราะคนสมัยนั้นนับถือกันว่าใครท่องพระปาฏิโมกข์ในพรรษาแรกได้ พระภิกษุรูปนั้น ปัญญาดี และมีบุญเก่ามาส่งเสริม จะเจริญในทางพระพุทธศาสนา

 

วันหนึ่ง เมื่อไปบิณฑบาตที่บ้าน โยมบิดาก็พูดว่า "คุณเงิน คุณอย่าจำวัดแต่หัวค่ำนัก เป็นพระไม่ได้ทำไร่ทำนาก็ควรจะฝึกหัด ให้อดทน"

 

หลวงพ่อเงิน ทราบดีว่าโยมบิดาทราบเรื่องนี้ได้นั้น เพราะนั่งเข้าฌานเพ่งกสิณ ไปดูพระลูกชาย โดยฌานสมาบัติ หรือที่เรียกว่า นั่งทางใน ต่อมาไม่ช้า เวลาค่ำ อาจารย์พรหม ก็มักจะไปหาพระลูกชาย เพื่อถ่ายทอดวิชาเพ่งฌานสมาบัติให้ อาจารย์พรหม สอนพระลูกชายว่า

 

"จะเรียนวิชานี้ให้สำเร็จต้องประกอบด้วย ศรัทธา-ความเชื่อมั่น วิริยะ-ความเพียรพยายาม ขันติ-ความอดทน สัจจะ-ความถือสัตย์ อธิษฐาน-ความตั้งใจแน่วแน่"

ขั้นแรกต้องมีความเชื่อมั่น(ศรัทธา)

ขั้นสองต้องพากเพียรปฏิบัติ (วิริยะ)

ขั้นสามต้องมีความอดทน (ขันติ)

ขั้นสี่ ต้องมีสัจจะในใจว่า จะต้องทำให้ได้เหมือนใจคิดและปากพูด ถ้าไม่สำเร็จก็ยอมเสียสละทุกอย่างได้ (สัจจะ)

ขั้นห้า คือ อธิษฐาน-ความตั้งมั่นในจิตใจ อ้างเอาคุณพระรัตนตรัย อ้างเอาคุณบิดามารดา อ้างเอาคุณแห่งศีล คุณแห่งทาน มาตั้งมั่นในใจ เพื่ออธิษฐานให้สำเร็จ" (อธิษฐาน)

 

เล่าให้พระลูกชายฟังว่า "เมื่อโยมเรียนวิชากับพระอาจารย์นั้น ท่านหัดให้เพ่งดวงอาทิตย์ตอนเช้า จนสามารถมองดูดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงได้ หลับตาก็มองเห็นดวงอาทิตย์ได้ นั่งสมาธิเพ่งดวงเทียนจับนิ่งอยู่ที่เปลวเทียน จนเมื่อหลับตาแล้ว ก็ยังแลเห็นดวงเทียนสว่างอยู่ที่เดิม ให้นั่งที่ท่าน้ำ ใช้ดวงจิตเพ่งไปที่ผักตบชะวา แล้วภาวนาให้ผักตบชะวานั้น นิ่งอยู่กับที่ด้วยอำนาจกระแสจิตได้ เมื่อทำเช่นนี้ จึงจะสามารถเรียนวิชาสำเร็จได้" หลวงพ่อเงิน จึงฝักใฝ่ตั้งใจฝึกหัด จนสำเร็จวิชาตามที่โยมบิดาสอนให้

 

ในปลายพรรษาที่ 5 หลวงพ่อเงินพร้อมด้วยพระที่วัดอีก 2 รูป ได้ออกธุดงค์ไปตามชนบท มุ่งหน้าขึ้นภาคเหนือ ผ่านป่าสระบุรี ลพบุรี เรื่อยขึ้นไปถึงนครสวรรค์ ค่ำที่ไหนก็ปักกลดพักแรมที่นั่น อาหารที่ฉันก็เพียงมื้อเดียว การเดินทางในสมัยนั้น เดินทางด้วยเท้าเปล่า บ้านคนก็ไม่ค่อยมี ป่าก็เป็นป่าดงดิบ ที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ซึ่งยากที่พระภิกษุผู้ที่ไม่มีอาวุธ หรือเครื่องมือเพื่อป้องกันภัย จะธุดงค์ได้ตลอดรอดฝั่งด้วยความปลอดภัย เพราะเหตุที่ต้องประสบกับความยากลำบาก ในการออกธุดงค์ในครั้งนั้น จึงมีเรื่องเล่าต่อมา ภายหลังจากที่หลวงพ่อเงินกลับจากธุดงค์เป็นเวลา 4 เดือน หลวงพ่อเงิน ได้มาปักกลดอยู่ข้างบ้านดอนยายหอม โดยที่มีผิวกายดำกร้าน ร่างกายซูบผอมราวกับคนชรา ชาวบ้านที่เดินผ่านไปมาจึงจำท่านไม่ได้ แม้แต่นายแจ้งซึ่งเป็นพี่ ชาย ก็คิดว่าเป็นพระธุดงค์มาจากที่อื่น แต่พอเข้าไปดูใกล้ๆ ก็ตกตะลึง แทบจะปล่อยโฮออกมา พอได้สติจึงยกมือไหว้ แล้วถามท่านว่า "คุณเงินหรือนี่" ซึ่งหลวงพ่อเงินก็ตอบพร้อมกับหัวเราะว่า "ฉันเอง โยมพี่ทิดแจ้ง" ฉันแปลกมากไปเชียวหรือ จึงจำฉันไม่ได้ ฉันมาปักกลดอยู่ที่นี่นานแล้ว เห็นพวกบ้านเราเขาเดินผ่านไปผ่านมาหลายคน แต่ไม่มีใครทักฉันเลย ฝ่ายพ่อพรมนั้น พอทราบข่าวว่า พระลูกชายกลับจากธุดงค์ด้วยความปลอดภัยแล้ว ก็เต็มไปด้วยความปลาบปลื้มยินดี สาเหตุที่ หลวงพ่อเงิน ท่านไม่อยากครองชีวิตแบบคฤหัสถ์ กล่าวกันว่า เพราะท่านมองเห็นว่า ความสุขทางโลกไม่จีรังยั่งยืน เหมือนความสุขทางธรรม เรื่องของทางโลก มีแต่ความยุ่งยาก วุ่นวาย เดือดร้อน ข่มเหง เบียดเบียน และอิจฉาริษยากันไม่สิ้นสุด ผู้เสพรสของความหรรษาทางโลก ย่อมมียาพิษเจือปนอยู่เสมอ ส่วนผู้เสพรสพระธรรม ไม่มีพิษไม่มีโทษแต่อย่างใด

 

หลวงพ่อเงิน มักจะปรารภให้ผู้ใกล้ชิด ฟังอยู่บ่อยๆ ว่า ร่างกายมนุษย์เรานี้ ไม่มีแก่น เกิดมาเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร ที่เต็มไปด้วยกองทุกข์ มนุษย์จะหนี ทุกข์ได้ มิใช่มากด้วยสมบัติพัสถาน หรือข้าทาสบริวาร ตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้เป็นพันธะยึดเหนี่ยวจิต เสมือนจิตถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน ต้องพะวักพะวนเศร้าหมอง

 

คติธรรมที่หลวงพ่อเงินได้ให้ไว้ คือ รู้จักพอ ก่อสุข ทุกสถาน

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ละสังขาร

หลวงพ่อเงิน ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เมื่อปี พ.ศ.2466 และท่านได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี

แม้ท่านจะมรณะภาพไปนานแล้วก็ตาม แต่สิ่งต่างๆ ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำของบรรดาลูกศิษย์ ผู้เคารพศรัทธา โดยเฉพาะชาวดอนยายหอมอย่างไม่มีวันลืม ทั้งนี้ท่านได้สร้าง พระเครื่อง-วัตถุมงคลไว้เพื่อเป็นมรดกถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน วัตถุมงคลของท่านยอดเยี่ยมด้านคงกระพันชาตรี เปี่ยมด้วยเมตตามหานิยมยิ่งนัก

 

คำอาราธนาหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม

โดยก่อนอื่นให้ท่องนโมฯ 3 จม แล้วท่องคำอาราธนาตามนี้

"จันทสุวัณโณ มหาเถโร ปูริตะ ปารมี โพธิสัตโต ปะฐะมะนะคะระเทโว หิตะสุขะชนะโก เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ภะวะตุเม สัพพะมังคะลัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวักกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวักกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวักกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวักกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวักกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตรัง ปัญญักเขตตัง โลกัสสาติ"

เมื่อท่องคำอารธนาแล้วก็ขอให้หลวงพ่อเงินท่านช่วงเรื่องการงาน เรื่องแคล้วคลาด เรื่องดูแลปัดเป่าภยันตราย เรื่องสวัสดิภาพร่างกายต่างๆ ท่านจะช่วยให้ได้สมประสงค์ แต่หากเรื่องโชคการพนันนั้นหลวงพ่อท่านไม่โปรด อย่างไรก็ตามบูชาพระแล้วอย่าลืม พูดดี คิดดี ทำดี ประกอบกุศลกรรมอยู่เนืองนิจ ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นคนดีอย่างแท้จริง คนดีพระย่อมคุ้มครอง ผมเชื่อย่างนั้นครับ สาธุ


เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม November 11, 2019 04:23:44
วันที่ปิดประมูล November 12, 2019 12:08:17
ราคาเปิด490
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงศรี (นางรอง) , กรุงศรี (นางรอง) ,

acobat

ผู้เสนอราคาล่าสุด

1410

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


ขอบคุณครับ


acobatNovember 16, 2019 02:17:16

ความคิดเห็นจากผู้ขาย


EF238219136TH ขอบคุณมากครับ


กานต์ เมืองปทุมNovember 14, 2019 02:53:17

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น