เคาะเดียว...สมเด็จทรงฉัตร สมเด็จพระสังฆราช(ป๋า) ปี 2515 เนื้อผงน้ำมัน

ปิด สร้างโดย: chancharoen08  VIP  (5911)(1)

สมเด็จทรงฉัตร สมเด็จพระสังฆราช(ป๋า) ปี 2515 เนื้อผงน้ำมัน
[ รายละเอียด ] สมเด็จแสนเนื้อผงน้ำมัน พระสังฆราชป๋า วัดโพธิ์ จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2515 จัดสร้างเนื่องในโอกาศฉลองสมโภชเลื่อนสมนศักดิ์เป็นพระสังฆราช เอกลักษณ์ของพระพิมพ์นี้คือ ด้านหลังจะเป็นลายก้านโพธิ์ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่สร้างหลังจากนี้จะเป็นรูปใบโพธิ์ ซึ่งจะได้รับความนิยมน้อยกว่า เหตุที่ชื่อสมเด็จแสนเพราะท่านสร้าง แสนองค์ ส่วนมากคนจะนึกว่าเป็นพระนางพญา เพราะเป็นพิมพ์รูปร่าง สามเหลี่ยม มีขนาดสูง 2.8 ฐานกว้าง 2.2 ซ.ม. พระสมเด็จแสนเป็นพระปาฏิหาริย์มากเหมือนกัน คนที่เป็นลูกศิษย์สมเด็จป๋าเลื่อมใสกันทุกคน สมเด็จป๋าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ตอนที่ท่านแจกพระสมเด็จแสนนี้ ท่านได้บอกลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดนำทองคำเปลวมาติดที่ฐานพระ เพื่อทำการเป็นพุทธบูชา
    สมเด็จทรงฉัตร สมเด็จพระสังฆราช(ป๋า) จัดสร้าง 21 กรกฎาคม 2515 เพื่อฉลองสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่๑๗ สร้างถวายโดยพระครูวิศิษฏ์สมโพธิ วัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์) สร้างถวาย สมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) วัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์) หรือ สมเด็จพระสังฆราช(ป๋า) และได้นำเข้าปลุกเสกอีกครั้งในงานปลุกเสกเหรียญชาวสุพรรณบุรีสมโภชน์สมเด็จ พระสังฆราช ณ จ.สุพรรรณบุรี 16 ก.ย 2515 พิธีปลุกเสกใหญ่ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ และหลวงพ่อกวย ร่วมปลุกเสก องค์พระด้านหน้า บริเวณข้อพระหัตถ์ข้างซ้ายมือขององค์พระ จะปรากฏเส้นปลายจีวร ในพิมพ์ ที่เซียนพระทุกสาย เรียกว่า มีกำไล ทุกองค์ และเห็นชัดเจน ในองค์ที่สวย สภาพเดิมๆ คล้ายเป็นอุบายธรรม ที่หลวงพ่อท่านแสดงให้เห็นว่า ท่านปลุกเสกพระพิมพ์นี้ ให้มีพุทธคุณด้านโภคทรัพย์สูง ทำมาหากินดี มากที่สุด มีกำไร ไม่มีขาดทุน
    พระครูวิศิษฏ์สมโพธิ ท่านเป็นผู้สร้าง เหรียญอายุยืน ครึ่งองค์ ปี 2517, พระผงอายุยืน, ปิดตานะมิ, ปิดตาข้าวต้มมัด ถวาย หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 1 ปีเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สิริพระชันษาได้ 77 ปี
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) ประสูติเมื่อวันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก จ.ศ. 1258 ร.ศ. 115 เวลา 24 นาฬิกาเศษ ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2439 ณ บ้านตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อเน้า สุขเจริญ โยมมารดาชื่อวัน สุขเจริญ ทรงเป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน มีพี่เป็นหญิง 4 คน ถึงแต่กรรมแต่เยาว์วัย พี่คนที่ 5 เป็นชายชื่อเหลือ น้องชายคนที่ 7 ชื่อเป้ง สุขเจริญ และน้องชายคนที่ 8 ชื่อสิ่ว ถึงแก่กรรมไปทั้งหมดแล้ว
    ผลงานของพระองค์ นอกจากที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ และงานพิเศษต่าง ๆ ที่ได้รับมอบอย่างครบถ้วนแล้ว ยังมีงานด้านพระศาสนาที่ทรงริเริ่มพัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ งานด้านการก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์ ทรงก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ทั้งปูชนียสถาน เช่น พระอาราม สาธารณสถาน เช่น พิพิธภัณฑ์ โรงเรียน โรงพยาบาล ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมาก งานด้านมูลนิธิ ทรงก่อตั้งและสนับสนุนมูลนิธิ ที่ดำเนินงานด้านธรรม ด้านวิชาการ และการศึกษา และด้านสาธารณูปการ เป็นจำนวนมาก งานด้านพระนิพนธ์ มีพระธรรมเทศนาจำนวนมาก วันสำคัญทางศาสนา ประมวลอาณัติคณะสงฆ์ สารคดี เช่น สู่เมืองอนัตตา พุทธชยันตี เดีย-ปาล (อินเดีย-เนปาล) สู่สำนักวาติกัน และนิกสัน และบ่อเกิดแห่งกุศล คือ โรงพยาบาล เป็นต้น ธรรมนิกาย เช่น จดหมายสองพี่น้อง สันติวัน พรสวรรค์ หนี้กรรมหนี้เวร ไอ้ตี๋ ดงอารยะ เกียรติกานดา คุณนายชั้นเอก ความจริงที่มองเห็น ความดีที่น่าสรรเสริญ อภินิหารอาจารย์แก้ว กรรมสมกรรม
    งานด้านต่างประเทศ ทรงไปร่วมประชุมฉัฎฐสังคายนาพระไตรปิฎก ณ ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2497 ไปร่วมงานฉลองพุทธชยันตี (25 พุทธศตวรรษ) ณ ประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 2499 นอกจากนี้ยังทรงไป และสังเกตการณ์ พระศาสนาและเยือนวัดไทยในต่างประเทศ อีกเป็นจำนวนมาก
    ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางคณะสงฆ์[แก้]
    ตราประจำพระองค์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณฺสิริ)
    4 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เป็นพระคณาจารย์เอกทางเทศนา
    13 มีนาคม พ.ศ. 2486 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาคบูรพา (สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)
    3 กันยายน พ.ศง 2486 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 2 (อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร สุพรรณบุรี) เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย
    พ.ศ. 2487 เป็นพระอุปัชฌาย์
    10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 เป็นสมาชิกสังฆสภา
    9 มีนาคม พ.ศ. 2490 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน
    6 มีนาคม พ.ศ. 2491 เป็นสังฆมนตรี (สมัยที่ 1) ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นสังฆนายก
    18 มิถุนายน พ.ศ. 2491 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน
    31 สิงหาคม พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการและเลขาธิการ กรรมการสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ (ก.ส.พ.)
    17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 2 (สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)
    30 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นสังฆมนตรี (สมัยที่ 2) ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นสังฆนายก[3]
    11 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เป็นสังฆมนตรี (สมัยที่ 3) ซึ่งมีพระศาสนโศภน (จวน อุฏฺฐายี) เป็นสังฆนายก[4]
    24 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 เป็นสังฆมนตรี (สมัยที่ 4) ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นสังฆนายก[5]
    5 ตุลาคม พ.ศ. 2494 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 7 (สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์)
    23 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 เป็นสังฆมนตรี (สมัยที่ 5) ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นสังฆนายก[6] 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ (สมัยที่ 5) แทนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) ที่มรณภาพ[7] 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 เป็นกรรมการสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ (ก.ส.พ.) พ.ศ. 2502 – 2508 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ 12 มกราคม พ.ศ. 2503 เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแพร่ (สมัยที่ 6)[8] 31 ตุลาคม พ.ศ. 2504 เป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี 1 มกราคม พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม 29 มกราคม พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการพิจารณาร่างหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เปรียญตรี โท เอก พ.ศ. 2506 – 2507 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา 20 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และรักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก หนเหนือ และหนใต้ 15 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นแม่กองงานพระธรรมทูต 10 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช[9] 19 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ในคณะมหานิกาย[แก้]
    พ.ศ. 2490 – เป็นกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    พ.ศ. 2494 – เป็นประธานกรรมการเจ้าคณะตรวจการภาค (ก.จ.ภ.)
    พ.ศ. 2500 – เป็นกรรมการอุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    27 มีนาคม พ.ศ. 2516 – ตั้งสมัชชามหาคณิสสร และเป็นประธานสมัชชามหาคณิสสร
    ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ศาสนกิจพิเศษ[แก้]
    พ.ศ. 2483 – เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย แผนกพระวินัย
    พ.ศ. 2492 – เป็นสภานายกสภาพระธรรมกถึก
    พ.ศ. 2494 – เป็นอนุกรรมการอบรมศีลธรรมและวัฒนธรรมแก่ข้าราชการและประชาชน (ก.อ.ช.)
    พ.ศ. 2496 – เป็นประธานกรรมการสงฆ์แห่งโรงพยาบาลสงฆ์
    พ.ศ. 2497 – เป็นประธานทอดผ้าป่าวันโรงพยาบาลสงฆ์ โดยทรงริเริ่มในนามสภาพระธรรมกถึก, เป็นกรรมการวิทยุกระจายเสียงวันธรรมสวนะ
    พ.ศ. 2498 – เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการทำนุบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์
    พ.ศ. 2501 – เป็นประธานกรรมการปรับปรุงตลาดเฉลิมโลก
    พ.ศ. 2508 – เป็นกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์
    พ.ศ. 2510 – เป็นประธานจิตตภาวันวิทยาลัย

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม February 23, 2023 16:06:46
วันที่ปิดประมูล February 24, 2023 21:45:45
ราคาเปิด50
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงไทย (หาดใหญ่) ,

pakob

ผู้เสนอราคาล่าสุด

60

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ขาย


เยี่ยมครับ


chancharoen08March 05, 2023 07:22:04

ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


+1 Auto Feedback


pakobMarch 24, 2023 21:55:00

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น