พระกรุวัดจุฬามณี เนื้อดิน พิมพ์ชินราชซุ้มข้างขีด จ.พิษณุโลก จัดสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (อายุราว ๗๐๐ปี) ในยุคแห่งราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา

เปิด สร้างโดย: Guarantree100Yrs  VIP   (2039)

    " พระกรุวัดจุฬามณี "  นับเป็นพระกรุสำคัญของเมืองพระพิษณุโลก ที่มีอายุเก่าแก่ และมีพุทธศิลปะที่เป็นไปตามคติและฝีมือช่างพื้นเมือง  
   ชื่อ "วัดจุฬามณี" นี้ พบเป็นครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปรากฏความว่า "ศักราช 810 ปีมะโรง สัมฤทธิศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี" และ "ศักราช 811 ปีมะเส็ง เอกศก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าทรงผนวช ณ วัดจุฬามณี ได้แปดเดือนแล้วลาผนวช" ซึ่งไปตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับจักรพรรดิพงษ์ (จาด) แสดงให้เห็นว่า วัดจุฬามณีมีความสำคัญมากในสมัยอยุธยาเรืองอำนาจ ถึงขนาดพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงปฏิสังขรณ์ สร้างโบราณสถานต่างๆ จนถึงทรงผนวชอยู่นาน 8 เดือน
  วัดจุฬามณี ที่เมืองพิษณุโลก มีศิลาจารึกปรากฏอยู่บริเวณหน้ามณฑป รอยพระพุทธบาทจำลอง โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดฯ ให้จารึกไว้ในคราวที่ทรงจำลองรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ซึ่งค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม มาประดิษฐาน ณ วัดจุฬามณี แห่งนี้ เมื่อจุลศักราช 1180 (พ.ศ.2222) ความว่า "ตีความตามนาม ´จุฬามณี´ นั้นเป็นชื่อของพระมหาเจดีย์จุฬามณี ตามคติพุทธศาสนาที่เชื่อว่าเป็นมหาเจดีย์ประดิษฐานพระเกศธาตุขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระมหาเจดีย์นี้ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นที่เคารพสักการะของเทพยดาทั้งมวล ผู้ใดทำกุศลผลบุญอันมหาศาลจะได้ขึ้นไปสักการะองค์พระมหาเจดีย์จุฬามณีนี้”
     วัดสำคัญที่เก่าแก่ผ่านยุคผ่านสมัยมาหลายร้อยปีดังเช่น “วัดจุฬามณี” ย่อมต้องมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอย่างแน่นอน ซึ่งได้รับการขนานนามตามชื่อวัดว่า "พระกรุวัดจุฬามณี" หรือบางท่านก็เรียก "พระกรุน้ำ" เนื่องจากสมัยโบราณวัดจุฬามณีอยู่ริมลำน้ำน่าน เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน พระเจดีย์ที่บรรจุพระจึงถูกน้ำกัดเซาะ ทำให้พระส่วนใหญ่แช่อยู่ในน้ำ
พระกรุวัดจุฬามณี ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา สีขององค์พระจึงมีหลายวรรณะ แต่จะมีพุทธลักษณะโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ คือ องค์พระมีขนาดเขื่อง ขอบพิมพ์ทรงไม่สู้จะเรียบร้อยนัก ลักษณะการกดแม่พิมพ์มีทั้งกดด้านหน้าและด้านหลัง จึงมักจะปรากฏขอบวงนอกของแม่พิมพ์ด้านที่กดพิมพ์หลังปลิ้นขึ้นมาเล็กน้อย ผิวพื้นด้านที่กดพิมพ์หลังจะเว้าเป็นแอ่งกระทะน้อยๆ ส่วนด้านที่กดพิมพ์หน้าพื้นผิวจะแอ่นโค้งออก ไม่ปรากฏขอบวงนอกปลิ้นขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องกดด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นด้านหน้าอาจจะมีขอบวงแม่พิมพ์ปลิ้นและพื้นเว้า ส่วนด้านหลังอาจจะไม่มีขอบปลิ้นและแอ่นโค้งก็เป็นได้ เนื่องจากการกดแม่พิมพ์ทั้งสองด้านนี้เอง ทำให้พระกรุวัดจุฬามณีแบ่งแยกออกเป็นหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์หน้าฤาษี หลังนาง, พิมพ์หน้าฤาษีเปลวเพลิง หลังนาง, พิมพ์ชินราช หลังนาง, พิมพ์รัศมี หน้าเดียว และพิมพ์หน้านาง หลังนาง เป็นต้น
จุดสังเกตสำคัญอีกประการหนึ่งของ พระกรุวัดจุฬามณี ก็คือ องค์พระส่วนใหญ่แช่อยู่ในน้ำ ผิวขององค์พระจะไม่เรียบตึง จะมีรอยหดเหี่ยวและรูพรุนน้อยๆ บางองค์เห็นเม็ดกรวดทรายอย่างชัดเจน   
พระกรุวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก นับเป็นพระกรุสำคัญของพิษณุโลกที่มีอายุเก่าแก่ และมีพุทธศิลปะที่เป็นไปตามคติและฝีมือช่างพื้นเมือง ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงทำให้เป็นที่นิยมสะสมกันอย่างแพร่หลาย  

Read more

เหลือเวลา

วันที่เริ่ม July 18, 2025 14:42:08
วันที่ปิดประมูล July 28, 2025 14:42:08
ราคาเปิด88
เพิ่มครั้งละ100
ธนาคารไทยพาณิชย์ (ปากช่อง) ,

-

ผู้เสนอราคาล่าสุด

88

ราคาล่าสุด


รายละเอียดเพิ่มเติม


   +++ รับประกันพระแท้ 100 ปี +++ 

  พระเก๊คืนเต็ม100%+ค่าเสียเวลา  

Guarantree100Yrs – July 18, 2025 14:48:48


 

  +++ การันตีรายการคุณภาพ     พระแท้ ดูง่าย +++  

+++สวยยยยยงามมมมขั้นเทพ+++


Guarantree100Yrs – July 18, 2025 22:42:02


ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น