วัดใจ 40...พระรอด เนื้อดิน พิมพ์เล็ก ท่านพ่อลี ออกวัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทรบุรี พ.ศ.๒๔๙๖ พร้อมบัตร ดีดีพระ (หายากครับ)

ปิด สร้างโดย: toopronchai  VIP   (1139)(1)

ประวัติพระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านพ่อลี ธมฺมธโร

....ท่านพ่อลีได้เริ่มสร้างพระเครื่องที่วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี ในราวกลางเดือนยี่ของปี พ.ศ.๒๔๙๖ และนำมาพุทธาภิเษกในงานวันวิสาขบูชาปีเดียวกันนี้ด้วย ตามคำบอกเล่าของพระอ.สนั่น และคุณมงคล จิรวัฒน์ เสร็จแล้วได้นำออกแจกจ่ายให้ประชาชนในวันงานด้วย สำหรับพระพิมพ์พระเครื่องของท่านนั้นได้มาจากประเทศอินเดียว เมื่อคราวไปประเทศอินเดียครั้งที่ ๒ กับโยมสมุทร สุทธิสาคร ขณะนั้นยังบวชเป็นพระอยู่ ต้นแบบพิมพ์จริงๆ นั้นเป็นพระที่แกะมาจากงาช้าง เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับอยู่กลางรูปใบโพธิ์ มียันต์ล้อมรอบอยู่ ๔ ตัว ถามผู้รู้ท่านอ่านว่า "พุทธจักร" แกะโดยฝีมือช่างอินเดีย พิมพ์นี้เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในท่าปางสมาธิ ส่วนอีกพิมพ์หนึ่งเป็นรูปใบโพธิ์เช่นกัน แต่องค์พระจะมองดูลำสันกว่า ประทับอยู่ในท่าปางปฐมเทศนา ยกพระหัตถ์ขึ้นระดับอก ไม่มียันต์ "พุทธจักร์" ล้อมรอบองค์พระทั้งสองพิมพ์นี้นำมาแกะเป็นแม่พิมพ์ใหม่ ด้านหลังองค์พระจะเรียบ ไม่มียันต์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่บางองค์จะปรากฏเป็นรอยนิ้วมือบ้าง เพราะใช้อัดองค์พระพิมพ์ด้วยมือก็มี และนำมาปาดหลังก็มี

...ต่อมาได้นำพระทั้งสองพิมพ์นี้มาตัดเป็นห้าเหลี่ยมมุมแหลม และกลายเป็นอีกพิมพ์หนึ่ง นอกจากนี้ยังได้นำพิมพ์มาจากที่อื่นๆ และแกะขึ้นเองอีกหลายพิมพ์ เช่น แบบสมเด็จวัดระฆังบางพิมพ์ แบบสมเด็จบางขุนพรหมบางพิมพ์ แบบสมเด็จหลวงปู่ภูบางพิมพ์ แบบสมเด็จมฤคทายวันพิมพ์คะแนน แบบพระนางพญาที่แกะขึ้นเอง และแบบพระนางพญาพิมพ์สุโขทัย มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก แบบพระรอดมีทั้งใหญ่, กลาง, เล็ก แบบพิมพ์ขุนแผน แบบพิมพ์พระพุทธชินราช แบบพิมพ์พระประจำวันต่างๆ พิมพ์นางกวัก พิมพ์สมเด็จนำมาตัดเป็นแบบสามเหลี่ยมมุมแหลมก็มี

...สำหรับพิมพ์ใบโพธิ์สมาธินั้นภายหลังนำมาแกะแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นอีก ลักษณะจะเล็กและลีบกว่าพิมพ์แรกเราจึงเรียกแบบ โพธิ์เล็ก ซึ่งเป็นที่นิยมรองลงมาจากโพธิ์ใหญ่ และทั้งสองแบบนี้ บางองค์จะปรากฏยันต์อยู่ด้านหลังก็มี อาทิเช่น ยันต์ดวงใหญ่ ส๑ ซึ่งถือว่าออกที่วัดป่าคลองกุ้ง ยันต์ดวงเล็ก ส.๒ ถือกันว่าออกที่วัดอโศการาม ที่เป็นยันต์เฑาะขัตมาดก็มีบ้างแต่น้อยมาก มียันต์ดวงอีกชนิดหนึ่ง เราเรียกว่ายันต์ดวงเล็กรอบๆ ยันต์มีเป็นกลีบบัวเล็กๆ ยันต์นี้ถือว่าออกที่วัดอโศการามเช่นกัน

...ท่านพ่อลีท่านได้สะสมมวลสารที่เป็นมงคลและศักดิ์สิทธิ์ๆ ไว้จำนวนมาก และนำมาเป็นส่วนผสมสร้างพระเครื่องของท่าน พระอ.สนั่นและคุณมงคล จิรวัฒน์เล่าว่า มีผงศักดิ์สิทธิ์และเส้นเกศาของ ๗ อาจารย์ที่กำลังดังในสมัยนั้นรวมอยู่ด้วยคือ
๑.พระอ.เสาร์ กนฺตสีโล
๒.พระอ.มั่น ภูริทตฺโต
๓.พระอ.ฝั้น อาจาโร
๔.พระอ.เทสน์ เทสรังสี
๕.พระอ.กงมา จิรปุุญฺโญ
๖.พระอ.หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันน
๗.พระอ.ชา สุภทฺโท
....รวมกับผงเกสรดอกไม้ที่เป็นมงคล เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ที่ใช้บุชาพระแล้วนำมาตากให้แห้งป่นจนละเอียดเป็นผง นอกจากนี้ยังมีดิน ทราบจากสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เช่น ดิน ทรายจากสถานที่ตรัสรู้ ดิน ทราบจากสถานที่นิพพานและที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง สำหรับในเมื่องไทยนั้นก็ได้ดิน ทรายจากถ้ำทางภาคใต้ ซึ่งเรียกว่า ถ้ำกองทราย ถือว่าเป็นดิน ทรายที่ศักดิ์สิทธิ์ ทางไปเอานั้นลำบากมาก ต้องนั่งช้างเข้าไปถึง ๑ วันเต็มๆ ครั้นนั้นเดินทางไปกับพระมหาสมจิตและพระอ.เม้าทางภาคอีสานก็ได้ข้าวตาฤาษีเป็นของศักดิ์สิทธิ์อยู่ในถ้ำเขตอำเภอหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ มีเปลือกเป็นหินแข็งมาก ตะไตร่น้ำจับอยู่ภายนอกเขียวเต็มไปหมด ต้องนำมาทุบให้แตก จะมีไฟแลบ ข้างในจะมีเม็ดข้าว เล่ากันว่าเป็นข้าวที่ตาฤาษีกินเหลือแล้วเอาหินห่อทิ้งไว้ อายุเป็นพันๆ ปีมาแล้ว และนอกจากนี้ยังได้เปลือกหอยพันปีจากในถ้ำแห่งหนึ่งทางภาคอีสานนี้ลักษณะตัวยาวๆ ว่ากันว่ามีอายุยืนยาวมาก แต่ถ้ามีคนไปถูก มันจะตายทันที นำเปลือกหอยชนิดนี้มาป่นจนละเอียด

...ส่วนผงพระเครื่องที่ชำรุดแตกหักจากกรุต่างๆ ที่ลูกศิษย์และผุ้ที่คุ้นเคยนำมาถวายนั้นมีเป็นจำนวนมาก เช่น จากลพบุรี พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย สุพรรณบุรี สงขลา อยุธยา เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี อำเภอธาตุพนม ในกรุงเทพฯ และผงที่ท่านสร้างขึ้นเองอีกประมาณ ๑ บาตร นำมาป่นจนละเอียด ทั้งหมดนำมาคลุกเคล้าผสมเข้ากันดีแล้วจึงใส่ตุ่มตั้งไว้ พระอ.สนั่นท่านเรียกว่า ผงวิเศษ ทุกครั้งที่สร้างพระเครื่องท่านพ่อลีจะใส่ผงวิเศษนี้ลงไปด้วย พร้อมกับน้ำมนต์ ๑๐๐ ปี ที่ได้มาจากปราจีนบุรี และน้ำพระพุทธมนต์สรงพระธาตุ ซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก

...การสร้างพระเครื่องนี้เนื้อดินเผาที่วัดป่าคลองกุ้งนั้น ดินส่วนใหญ่ที่นำมาสร้างเป็นดินที่ได้มาจากการขุดสระซึ่งอยู่ในบริเวณวัดป่าคลองกุ้งนั่นเอง ลักษณะจะเป็นดินเหนียวปนทราย นำมาแช่น้ำแล้วใส่ครกช่วยกันตำ ๔ คน ใส่ผงวิเศษ ใส่น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อดินดีได้ที่แล้วจึงนำมาอัดแม่พิมพ์ นำออกผึ่งแดดเก็บไว้ เมื่อทำได้มากพอประมาณแล้วจึงนำมาเผาไฟเพื่อให้เนื้อพระแข็งแกร่ง พระอ.สนั่นเล่าว่าในบริเวณที่สร้างพระนั้น ท่านห้ามผู้หญิงเข้าเด็ดขาด

....การสร้างพระเครื่องเนื้อเกสร ท่านใช้ผงเกสรจากดอกไม้ต่างๆ ที่คนนำมาบูชาพระนำมาตากแห้งบดด้วยครกบดยาจนละเอียด ผสมด้วยแป้งปูนขาว ผสมผงวิเศษ ผสมกล้วย ผสมข้าวสุกก้นบาตร นำมาบดจนละเอียด นำลงภาชนะเคลือบ ผสมน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ใช้พายอันเล็กๆ กวนจนเหนียว ยกพายขึ้นจะยืดแล้วหดได้จึงจะใช้ได้ เนื้อเกสรนี้บางองค์ที่พิเศษๆ จะเห็นเกษาอยู่ด้วย นั่นคือเส้นเกษาของ ๗ อาจารย์ที่กล่าวมาแล้ว บางองค์จะมีเล็บของท่านพ่อลี บางองค์มีพระธาตุอัฐของพระอาจารย์บางท่าน ขอให้สังเกตุให้ดีๆ เมื่ออัดพิมพ์แล้วจึงนำออกผึ่งจนแห้ง บางองค์ก็จะนำมาชุบน้ำผึ้งด้วย

....ที่เรียกว่าเป็นเนื้อดินดิบก็มี ลักษณะเป็นเดินเนื้อฟูๆ สีขาวหม่นๆ คล้ายกับดินเผาแล้วยังไม่สุกดี บางองค์เห็นเม็ดกราวดเม็ดทรายอยู่ทั่วไป เนื้อต้องสังเกตุให้ดี ทั้งความแห้งของเนื้อดิน เม็ดกราวด เม็ดทราย ขอบรององค์พระและแบบพิมพ์องค์พระแต่ละพิมพ์ เพราะเป็นเนื้อที่ทำเลียนแบบง่ายที่สุด ที่เป็นเนื้อผงใบลานสีดำๆ ก็มี เท่าที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ใบโพธิ์สมาธิ พิมพ์ใบโพธิ์ปางเทศนา และที่นำมาตัดเป็นห้าเหลี่ยมมุมแหลมก็มี นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พระรอด มีทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ แบบนางพญาพิมพ์ใหญ่, เล็ก แบบพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ และอื่นๆ อีกหลายพืมพ์ บางองค์ก็จะมีเส้นเกษาอยู่ด้วย เนื้อนี้ต้องระวังอีกเช่นกัน

....พระเครื่องเนื้อผลช็อกกาแลตท่านพ่อลีเป็นเนื้อที่นิยมกันที่สุดในชุดพระเครื่องท่านพ่อลีมีราคาพุ่งขึ้นแรงอย่างไม่น่าเชื่อ ลักษณะเนื้อสีคล้ายช็อกการแลค แดงออกน้ำตาลไหม้ ส่วนผสมของเนื้อ ใช้ผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ผงดอกไม้มงคล ผลข้าวตอกดอกไม้ที่ใช้โรยในพิธีมงคลต่างๆ ผงวิเศษของท่านพ่อลี ผงช็อกกาแลตนำมาผสมเคล้ากันจนทั่ว ผสมน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ผสมน้ำผึ้ง นวดจนได้ที่แล้วจึงอัดพิมพ์นำมาออกผึ่ง เมื่อเนื้อพระแห้งจะมีเอกลักษณ์พิเศษที่ไม่เหมือนใคร คือ ผิวขององค์พระจะขึ้นเป็นเม็ดๆ คล้ายผิวของลูกมะระ เราจึงเรียกว่า ผิวมะระ ผิวมะระนี้แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ผิวมะระโดยตรงมีลักษณะเป็นเม็ดๆ ไม่เท่ากัน บางเม็ดเล็ก บางเม็ดก็ใหญ่ บางเม็ดก็กลมๆ บางเม็ดก็จะขึ้นเป็นแนวยาวๆ หรือสั้น แล้วแต่ อีกชนิดหนึ่งเราเรียกว่าผิวมะระไข่ปลา ลักษณะขึ้นเม็ดเล็กๆ กลมๆ คล้ายไข่ปลา ขนาดของเม็ดจะเท่าๆ กันองค์ที่งามๆ จะขึ้นเม็ดเสมอ และขนาดเท่าๆ กัน มองดูงดงามเป็นพิเศษ เนื้อช็อกกาแล็ตนี้ที่พบว่าไม่เป็นผิวลูกมะระก็มี ผิวมีลักษณะลื่นๆ เป็นคลื่นๆ เม็ดเล็กๆ ผิวจะไม่เรียบ ความนิยมรองลงมา ที่น่าสังเกตคือ พระเนื้อช็อกฯ ท่านพ่อลีนั้นไม่เคยพบเป็นแบบใบโพธิ์ปางสมาธิเลย ด้านหน้าหรือหลังจะไม่มีอักขระหรือยันต์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่พบส่วนมากจะเป็นแบบโพธิ์พิมพ์เทศนา ตัดเป็นห้าเหลี่ยมมุมแหลม แบบพระขุนแผน แบบสมเด็จมฤคทายวัน บางครั้งเราเรียกว่า สมเด็จพระคะแนน แบบสมเด็จนำมาตัดเป็นสามเหลี่ยม เรารียกว่าสมเด็จตัด และยังมีแบบอื่นอีกจากหลายพิมพ์ แต่ที่นิยมกันสุดๆ ก็ได้แก่ แบบพระสมเด็จพิมพ์แขนหักศอกที่เราเรียกว่า พิมพ์เผาแขนหักศอก

....พระอ.สนั่นและคุณมงคน จิรวัฒน์เล่าว่าพระเนื้อช็อกกาแลตของท่านพ่อลีนั้น ท่านได้บรรจงสร้างขึ้นเป็นพิเศษจริงๆ และมีจำนวนไม่มากนัก ท่านพ่อลีเคยพูดไว้ว่า พระเนื้อช็อกฯ ของท่านนี้ต่อไปเนื้อจะงอกได้และหาชมยาก เพราะสร้างไว้จำนวนน้อย นอกจจากนี้ยังมีเนื้อพิเศษอีก ๒ ชนิด คือ เนื้อผงธูปสีเหลือง ๆ คล้ายผงธูป มีประมาณ ๔๐ - ๕๐ องค์เท่านั้น เป็นรูปพระพุทธชินราชรูปใบโพธิ์ตัดห้าเหลี่ยมมุมแหลม และพิมพ์อื่นๆ ก็มี แต่พิมพ์ใบโพธิ์สมาธิและพนมมือไม่มีปรากฏ อีกชนิดหนึ่งเป็นเนื้อผสมผงชานหมากสีแดงๆ ปิดทองทั้งองค์มีอยู่หลายพิมพ์ แต่มีจำนวนน้อยเช่นกัน พระท่านพ่อลีทั้งสองเนื้อนี้ท่านพระอ.สนั่นและคุณมงคลเล่าให้ฟังว่าเป็นพระที่เสด็จมาเอง คล้ายพระธาตุ ท่านพ่อลีไม่ได้สร้างขึ้น สอบถามบรรดาศิษย์ก็ว่าไม่มีใครสร้าง อยู่ๆ ก็มาได้เอง นับว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างยิ่ง พระทั้งสองชุดนี้ ท่านจะแจกให้เฉพาะศิษย์ที่ใกล้ชิดและญาติโยมที่เป็นกำลังของวัดจริงๆ เท่านั้น จึงไม่พบเห็นกับบ่อยนัก ส่วนพระเครื่องท่านพ่อลีเนื้อผงว่านยานั้นเข้าใจว่าท่านสร้างที่วัดอโศการาม ลักษณะเนื้อจะหยาบเห็นผงว่านยาเป็นเส้นๆ มีสีดำคล้ำออกไปทางน้ำตาลไหม้ บางองค์จะมีเส้นเกษาอยู่ด้วย เนื้อนี้ต้องระวังอย่าสับสนกับเนื้อช็อกกาแลต ผุ้ที่ไม่เคยพบเนื้อช็อกนหรือจำลักษณะเนื้อช็อกฯไม่แม่นอาจพลาดได้ เพราะค่าความนิยมต่างกันมาก

...ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ นั้น นอกจากพระเครื่องที่สร้างจากเนื้อดินเผาและผงพระพุทธคุณต่างๆ แล้ว ยังมีเป็นเนื้อโลหะ ทองคำ เงิน ทองแดง ทองเหลืองผสมก็มี เช่น เหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงหลังยันต์พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ที่นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของทานพ่อลี สร้างในปี พ.ศ.๒๔๙๖ มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปท่านพ่อลีแค่ไหล่ ใบหน้านูนชัดเจนสวยงาม ขอบเหรีญด้านบนเขียนว่า วัดป่าคลองกุ้ง จันทบุรี ด้านล่างของเหรีญเขียนว่า ธมฺมธโร(ลี) ด้านหลังของเหรียญเป็นยันต์พระพุทธเข้าห้าพระองค์ใต้ยันต์เป็นลายเซ็นต์ชื่อของท่านเขียนว่า อาจารย์ลี เราจึงเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า รุ่นลายเซ็นหลังยันต์ห้า เหรียญลักษณะนี้ต่อมาเมื่อท่านพ่อลีได้เสียชีวิตลงในราวต้นปี พ.ศ.๒๕๐๔ ทางวัดอโศการามได้จัดสร้างขึ้นอีก ๒ รุ่น คือ ปี พ.ศ.๒๕๐๕ และ พ.ศ.๒๕๑๘ ด้านหน้ารูปท่านพ่อลีจะคล้ายกับเหรียญรุ่นแรก แต่ด้านบนจะเขียนว่า วัดอโศการาม ด้านล่างจะเขียนว่า พระสุทธิธรรมรังสี ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์สาม ใต้ยันต์เป็นลายเซ็นของท่านพ่อลีเขียนว่า อาจารย์ลี สำหรับเหรียญรุ่นแรกรูปไข่หลังยันต์ห้าลายเซ็นท่านอาจารย์ลีนั้นที่พอมีอยู่ ๓ เนื้อด้วยกัน คือเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง

...ในปี พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๐๐ ทานพ่อลีได้ระดมสร้างพระเครื่องเป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทันแจกประชาชนในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ซึ่งท่านจัดเป็นงานใหญ่ที่วัดอโศการาม พระเครื่องส่วนมากสร้างที่วัดอโศการาม เป็นเนื้อดินเผา พระอ.สนั่นเล่าว่าได้สร้างขึ้นเป็นจำนวนล้านองค์ พระที่เหลือจากการแจกจ่ายให้ประชาชนแล้ว ท่านได้นำไปลงกรุไว้ในที่ค่างๆ หลายแห่งด้วยกัน เนื้อที่จัดสร้างในครั้งนี้ส่วนมากจะเป็นเนื้อดินเผา เนื้อผงเกสร เนื้อผงว่านยา ผสมผงและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามตำรับของท่าน แบบพิมพ์นั้นส่วนมากจะเป็นแบบรูปใบโพธิ์ปางสมาธิ นำมาแกะบล็อกเพิ่มขึ้นอีกหลายบล็อก เพราะต้องใช้คนทำหลายคน ลักษณะแบบพิมพ์ที่วัดอโศการามนี้จะเห็นใบโพธิ์ลียเล็กกว่ารุ่นแรกๆ ซึ่งนักนิยมพระเครื่องเรียกว่าแบบ โพธิ์เล็ก แบบใบโพธิ์นี้ยังนำมาตัดเป็นรูปห้าเหลี่ยมมุมแหลมอีกเป็นจำนวนมาก เข้าใจว่าเป็นการประหยัดเนื้อดินที่สร้างพระไปในตัว นอกจากนี้ยังมีพิมพ์อื่นอีกหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์สมเด็จแบบต่างๆ พิมพ์นางพญา พิมพ์พระรอด พิมพ์ขุนแผน พิมพ์ชินราช พิมพ์พระประจำวัน และพิมพ์อื่นๆ อีกมาก

...ส่วนทีสร้างกับเนื้อโลหะในปี ๒๕๐๐ นั้นมีเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองแดง สร้างเป็นแบบเหรียญปั๊มตัดขอบ ที่พบมีอยู่ ๓ แบบคือ
๑.แบบพิมพ์ใบโพธิ์ปางสมาธิใหญ่ นักนิยมพระเครื่องเรียกว่า ใบโพธิ์หลังดวงจัมโบ้ ลักษณะด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระพุทธเจ้าปางสมาธิประทับอยู่กลางใบโพธิ์ รูปองค์พระนูนชัดเจน แลดูสง่าสวยงามมาก ล้อมรอบด้วยอักขระ พุทธจักร เห็นแนวเส้นใบโพธิ์ชัดเจน ด้านบนเป็นหูในตัวคล้ายก้านของใบโพธิ์เจาะเป็นรูใส่ห่วง ด้านหลังเหรียนเป็นรูปยันต์ดวงใหญ่ ส.๒
๒.แบบพิมพ์ใบโพธิ์เล็กคล้ายกับใบโพธิ์ใหญ่ แต่มีขนาดเล็กว่า มองเห็นเส้นเอ็นของใบโพธิ์ละเอียดกว่า ด้านล่างของเหรียญเขียนว่า ๒๕๐๐ หมายถึง พ.ศ. ด้านหล้งของเหรียญเป็นยันต์ดวงเล็ก .๒ ล้อมรอบยัต์เป็นกลีบบัวเล็กๆ
๓.แบบเหรียญกลมเล็ก พื้นเหรียญเป็นรูปวงล้อมธรรมจักร มีรูปพระพุทธเจ้าปางปฐมเทศนายกพระหัตถ์ขึ้นระดับพระอุระอยู่ตรงการเหรียญ ประทับอยู่บนกลีบบัวเล็กๆ ใต้กลีบเขียนว่า ๒๕๐๐ หมายถึง พ.ศ. ด้านบนเป็นห่วงในตัวกลมๆ เป็นตาปลา ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ดวงเล็ก .๒ ล้อมรอบด้วยกลีบบัวเล็กๆ

....เหรียญท่านพ่อลีทั้ง ๓ แบบที่กล่าวมาแล้วนี้เข้าใจว่าสร้างที่วัดอโศการาม แต่ส่วนมากจะนำมาออกที่วัดป่าคลองกุ้ง เพราะพบทีทางจันทบุรีมากกว่าทางวัดอโศการาม

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม September 04, 2021 05:55:15
วันที่ปิดประมูล September 05, 2021 07:08:39
ราคาเปิด20
เพิ่มครั้งละ20
ธนาคารไทยพาณิชย์ (บิ๊กซีสุวินทวงศ์ ) ,

8amulet

ผู้เสนอราคาล่าสุด

1220

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


+1 Auto Feedback


8amuletOctober 05, 2021 07:13:00

ความคิดเห็นจากผู้ขาย


+1 Auto Feedback


toopronchaiOctober 05, 2021 07:13:00

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น