@@ พระกรุท่ามะปราง กรุวัดป่ามืดกำแพงเพชร สภาพตามรูปและบัตรรับรองเวปดีดีพระ

ปิด สร้างโดย: sawitri  (412)

***พระกำแพงท่ามะปราง กรุวัดป่ามืด. เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง. จ.กำแพงเพชร ...พระท่ามะปราง และพระพิมพ์สกุลพระท่ามะปรางวัดต่างๆ *ประวัติความเป็นมา* ...จากตามพงศาวดารเหนือ กล่าวว่า หลังจากพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (น่าจะเป็นพระเจ้าลิไท) สร้างเมืองพิษณุโลกแล้ว ตรัสให้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(วัดใหญ่) ขึ้น มีพระธาตุรูปปรางค์สูง ๘ วา สร้างวิหาร ๔ ทิศ มีระเบียง ๒ รอบ แล้วโปรดให้ช่างเมืองเชลียง (สวรรคโลก) เชียงแสน และหริภุญไชยร่วมมือกันทำพิธีเททองหล่อพระ เมือวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ พ.ศ.๑๔๓๘ ในครั้งนั้นทองติดเป็นรูปองค์พระบริบูรณ์เพียง ๒ องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา ส่วนองค์หลักทองไม่ติด พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก จึงได้ทรงทำพิธีตั้งอธิษฐานจิตใหม่ และจัดพิธีเททองหล่ออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ เดือน ๖ ปีมะเส็ง พ.ศ.๑๕๐๐ ในระหว่างทำพิธีเททองหล่อนั้น ปรากฏว่ามีชีปะขาวผู้หนึ่งมาช่วยเททองด้วย ความนี้สำเร็จเป็นองค์พระบริบูรณ์ จากนั้นชีปะขาวก็เดินขึ้นไปทาง เหนือถึงหมู่บ้านหนึ่งก็หายตัวไปตามหาไม่พบ จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า “บ้านชีปะขาวหาย” มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำเร็จงดงามตามตำนานนั้น คือ “พระพุทธชินราช” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองพิษณุโลกนั่นเอง ด้วยความงดงามและความ ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธชินราช อันเป็นที่นับถือทั้งพระมหากษัตริย์จวบจนปุถุชนคนทั่วไปมาทุกยุคทุกสมัย มีการสร้างเป็นพระพิมพ์ขนาดเล็กเพื่อพกติดตัว รวมทั้งบรรจุกรุตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทำให้พบรูปแบบพระพุทธชินราชในลักษณะของพระพิมพ์ต่างๆ หลากหลายรูปแบบ เช่น พระชินราชใบเสมา พระชินราชซุ้มเส้นคู่ พระชินราชกรุเขาสมอแครง เป็นต้น แต่ยังมีพระพิมพ์อีกสกุลหนึ่งที่โด่งดังคู่กับพระนางพญามาตั้งแต่สมัยโบราณกาล อีกทั้งยังเป็นการจำลองพุทธลักษณะของพระพุทธชินราชมาไว้ในรูปแบบของพระ เครื่องอีกด้วยนั้น คือ “พระท่ามะปราง” นั่นเอง วัดท่ามะปราง (วัดท่ามะปรางค์) จ.พิษณุโลก วัดนี้เดิมเรียกว่าวัดท่าพระปรางค์ เพราะที่วัดมีท่าน้ำและมีพระปรางค์อยู่องค์หนึ่ง ต่อมาองค์พระปรางค์ได้ชำรุดทลายลงมาหมด พระพิมพ์ที่พบเป็นต้นแบบและที่มาของสกุลพระเครื่องท่ามะปราง โดยจะพบพระเครื่องสกุลนี้ที่วัดท่ามะปรางเป็นแห่งแรก ทั้งเนื้อดินและเนื้อชินเงิน พิษณุโลก ทั้งนี้พุทธลักษณะขององค์พระท่ามะปรางจะ ถ่ายทอดถอดแบบมาจากองค์พระพุทธชินราชโดยตรง พระเกศเป็นปิ่นยาวเล็กน้อยพองาม เม็ดพระศกแสดงเป็นตาสี่เหลี่ยม พระพักตร์เป็นรูปไข่ ใบหูยาวประบ่า ลำแขนอวบล่ำ ซอกแขนแคบ พระนาภี (สะดือ) เป็นแอ่งบุ๋มเล็กๆ ประทับนั่งในท่ามารวิชัย พระหัตถ์ขวาวางแนบหัวเข่าด้านขวา เรียกการนั่งแบบนี้ว่า “นั่งแบบเข่าใน” (หัวเข่าอยู่ในอุ้งพระหัตถ์) ซึ่งเป็นแบบทั่วๆ ไปของพระสกุลท่ามะปราง พระจากกรุวัดท่ามะปรางนี้ ในเนื้อชินจะพบเป็นแบบเนื้อชินผิวสีดำสนิมตีนกา ส่วนในเนื้อดินพบเป็นแบบเนื้อละเอียดหลังเรียบๆ จากคำบอกเล่า การขุดพบพระกรุนี้พบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยได้มีการแจกจ่ายให้ทหารไปปราบเงี้ยวทางภาคเหนือ ในครั้งนั้นเกิดปะทะกันอย่างดุเดือด ทหารไทยที่ห้อยพระท่ามะปรางชุด นี้ ถูกกระสุนปืนยิงล้มคว่ำ ล้มหงาย แต่ไม่เป็นไร สามารถลุกขึ้นมายิงต่อสู้กับพวกเงี้ยวได้อีก จนทหารเงี้ยวเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์ ถึงกับหนีทัพแตกไป ถึงกับมีชื่ออีกพระชุดนี้ว่า “พระท่ามะปราง กรุเงี้ยวทิ้งปืน” พระท่ามะปราง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นพระร่วมกรุกับพระชินราชใบเสมา สถานที่พบพระส่วนใหญ่บรรจุไว้ในพระปรางค์ด้านหลังวิหารพระพุทธชินราช ซึ่งมีรูปทรงคล้ายกับพระท่ามะปรางกรุวัดท่ามะปรางมาก แต่จะปรากฏรายละเอียดขององค์พระชัดเจนมากกว่า และมักพบพระที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ งดงาม เพราะองค์พระนั้นถูกบรรจุอยู่ในกรุที่แข็งแรงมิดชิดมากกว่าพระกรุวัดใหญ่ ถ้าเป็นเนื้อดินมักจะพบแบบเผาแก่ไฟ เป็นเนื้อสีแดงเข้ม เนื้อแกร่ง และแข็ง เป็นส่วนใหญ่ ส่วนเนื้อชินนั้นเป็นแบบเนื้อชินผิวสีดำ แต่มักจะเป็นแบบแก่ตะกั่วเล็กน้อย ไม่ฟู ลุ่ย เท่าของวัดท่ามะปราง พระสกุลท่ามะปรางจากวัดต่างๆในพิษณุโลก กำแพงเพชร และพิจิตร พระท่ามะปราง กรุวัดสะตือ พิษณุโลก จะเป็นพระท่ามะปรางที่ มีพุทธลักษณะแตกต่างจากกรุอื่นๆ คือ จะประทับนั่งในลักษณะมารวิชัยแบบเข่านอก กล่าวคือ ประทับโดยวางพระหัตถ์ขวาไว้ด้านใน หัวเข่าขวายื่นออกมาด้านนอก พระที่พบส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดิน เนื้อนุ่มละเอียด และที่สำคัญ พระท่ามะปรางกรุนี้ด้านหลังเป็นแบบหลังเรียบ รวมทั้งเป็นแอ่งเกือบทุกองค์ นอกจากนี้แล้วพระท่ามะปรางของ จ.พิษณุโลก อันเป็นที่นิยมยังมีอีกหลายกรุ เช่น กรุวัดอรัญญิก กรุเจดีย์ยอดทอง และกรุวัดโพธิ์ เป็นต้น ขณะเดียวกันยังพบพระสกุลท่ามะปรางในกรุจังหวัดอื่นๆ อีกด้วย และได้รับความนิยมไม่แพ้กันคือ พระท่ามะปราง กำแพงเพชร เป็นสกุลพระท่ามะปรางอีก พิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะเนื้อชิน ซึ่งจะมีรายละเอียดที่งดงาม ผิวพรรณที่พบมักเป็นแบบปรอทขาว ส่วนเนื้อดินจะเป็นที่นิยมรองลงมาแต่พบน้อยกว่า มักปรากฏเม็ดว่านดอกมะขามสีส้มๆ ผสมให้เห็น จากพระกรุอื่นๆเนื้อแกร่งและแข็ง เป็นส่วนใหญ่ ส่วนเนื้อชินนั้นเป็นแบบเนื้อชินผิวสีดำ พระท่ามะปราง พิจิตร พบมาจากกรุมะละกอ มีทั้งแบบกรุใหม่กรุเก่าซึ่งสรุปว่าแท้ทั้งคู่ มีลักษณะคล้ายของกรุพิษณุโลกมาก คาดว่าฝีมือช่างเป็นฝีมือสกุลเดียวกันสร้าง แต่นำไปฝากกรุไว้ที่พิจิตร เนื่องจากเมืองพิจิตรกับเมืองพิษณุโลกนั้นห่างกันไม่มาก พระสกุลท่ามะปรางจากสุพรรณบุรี ในส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรีก็พบพระท่ามะปรางอยู่สองกรุ คือของกรุสำปะซิว พระที่พบจะเป็นพระเนื้อดิน ซึ่งมีทั้งชนิดดินหยาบและเนื้อดินละเอียด ส่วนพระท่ามะปรางของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้นจะพบพระท่ามะปรางเป็นเนื้อชินเงิน ลักษณะคล้ายๆ กันกับพระท่ามะปรางของกรุสำปะซิว ในสมัยก่อนๆ พระพิมพ์นี้ชาวสุพรรณ เขาเรียกกันว่า พระพิจิตรหลังผ้า ต่อมามีผู้เห็นว่าพุทธลักษณะเหมือนกับพระท่ามะปรางของทางเหนือ จึงเรียกเสียใหม่ว่า พระท่ามะปราง พระท่ามะปรางของสุพรรณบุรีนี้พุทธลักษณะจะแตกต่างจากพระกรุทางแถบเหนือก็คือองค์พระจะมีลักษณะต้อกว่า ทั้งของกรุสำปะซิวและกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ รายละเอียดส่วนอื่นๆ จะมีเหมือนกับของกรุทางเหนือ พระท่ามะปรางเนื้อชินของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรรบุรีนั้น จะมีเอกลักษณะของแม่พิมพ์อยู่อย่างหนึ่ง คือที่ซอกแขนขวาขององค์พระจะมีตุ่มนูนขึ้นมาทุกองค์ สันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากแม่พิมพ์ชำรุด จึงเกิดเป็นตุ่มนูนเช่นนี้ทุกองค์ ผิวขององค์พระส่วนใหญ่มักจะปรากฏผิวปรอทขาวเกือบทุกองค์ ที่ด้านหลังพระจะเป็นแบบหลังผ้า ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อเดิมที่เรียกว่า พิจิตรหลังผ้า พุทธคุณของพระท่ามะปรางของกรุสุพรรณบุรีนั้น เด่นทางด้านคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด โดยเฉพาะของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ผมว่าน่าสนใจเพราะเป็นพระกรุเดียวกับพระผงสุพรรณ และพระมเหศวร ซึ่งพระผงสุพรรณนั้นมีสนนราคาสูงมาก พระมเหศวรปัจจุบันก็มีราคาสูง แต่พระท่ามะปรางวัดพระศรีฯ นี้ราคายังไม่แพงมาก น่าสนใจ แต่ก็ไม่ค่อยได้พบพระบ่อยนัก สรุปว่าพระท่ามะปรางนั้น เป็นพระเครื่องที่จำลองรูปแบบของพระพุทธชินราชมาไว้เป็นพระเครื่อง ในยุคแรกๆ ก็ว่าได้ แต่ในปัจจุบันราคาค่านิยมของพระสกุลท่ามะปรางนั้น ยังคงไม่สูงมาก นักสะสมหลายท่านที่ใฝ่ฝันอยากได้พระพุทธชินราชในรูปแบบพระเครื่องมาอาราธนา พกติดตัวนั้น หากคิดว่าพระพุทธชินราชใบเสมานั้นราคาสูงเกินเอื้อมไป สำหรับเราๆ ท่านๆ ก็น่าจะหันมามองพระสกุลท่ามะปรางทั้งหลายนี้ดูบ้าง พระท่ามะปรางนอกจากความงดงามและพุทธคุณที่เข้มขลังแล้วพระท่ามะปราง พระสกุลท่ามะปรางยังขึ้นชื่อว่ายุคการสร้างที่เก่าแก่กว่าพระพุทธชินราชสกุลอื่นๆ อีก

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม August 14, 2019 13:37:51
วันที่ปิดประมูล August 15, 2019 14:46:33
ราคาเปิด250
เพิ่มครั้งละ50
ธนาคารกสิกรไทย (สาขาโลตัส รัตนาธิเบศร์) ,

เจริญก้าวหน้า

ผู้เสนอราคาล่าสุด

2100

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ขาย


+1 Auto Feedback


sawitriSeptember 15, 2019 14:48:00

ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


+1 Auto Feedback


เจริญก้าวหน้าSeptember 15, 2019 14:48:00

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น