พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ (เนื้อดิน)

ปิด สร้างโดย: น้ำส้ม  VIP  (3611)



#พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ (เนื้อดิน)

((สภาพสวยมากๆไม่ผ่านการใช้มาเลยค่ะ)))

พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ประวัติพิธีการสร้างและปลุกเสก ครั้งยิ่งใหญ่

        พระเครื่องที่มีพิธีกรรมปลุกเสกครั้งยิ่งใหญ่ในเมืองไทย วงการพระจักต้องจารึกพระราชพิธีที่สำคัญยิ่งไว้ในครั้งนั้น ได้แก่ พิธีพุทธาภิเษก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งพิธีนี้ปลุกเสกที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครนี่เอง และนับเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นพระเครื่องที่ทางการได้จัดสร้างขึ้นเพื่อนำเงินรายได้จัดสร้างพุทธมณฑลที่ตำบลศาลายา และบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานที่สำคัญๆ ในทางพุทธศาสนาของเรา นับเป็นการสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และถูกต้องครบถ้วนตามพิธีทางศาสนา ทำการปลุกเสกโดยพระคณาจารย์ที่มีชื่อ 108 องค์ ซึ่งทางการได้คัดเลือกมาจาก ทั่วราชอาณาจักร เป็นพระเครื่องที่มีพุทธานุภาพและปาฏิหาริย์หลายอย่างแก่ผู้มีไว้ในครอบครอง 

พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ

        1.พระเครื่องเนื้อทองคำแท้ สร้างเพียง 2,500 องค์
        2.พระเครื่องเนื้อชิน สร้างเพียง 2,421,250 องค์
        3.พระเครื่องเนื้อดิน สร้างเพียง 2,421,250 องค์
        4.พระเครื่องชนิดเหรียญนิกเกิล สร้างเพียง 2,000,000 เหรียญ 

         อนึ่ง นอกจากนี้ก็มีพิมพ์พิเศษ ซึ่ง พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร หนึ่งในกรรมการดำเนินงานได้สร้างขึ้นเป็นพิมพ์สี่เหลี่ยม พระชุดนี้ พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร ได้นำเข้าพิธีพร้อมกับพระเนื้อชินและเนื้อดิน เมื่อเสร็จพิธีแล้วได้แจกให้กับกรรมการที่มีส่วนในการจัดงานให้ลุล่วงไปด้วยดีคนละหนึ่งองค์ หากผู้ใดจะเช่าบูชานั้นจะสมนาคุณรายที่เช่าบูชาพระเนื้อดินหรือชินพร้อมกันครั้งละ 100 องค์ 

         สำหรับพระเนื้อชินและเนื้อดินนั้นมีส่วนผสมที่น่าสนใจมาก คือ พระเนื้อชิน ที่ประกอบด้วยมวลสารของโลหะหลายอย่างเช่น พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ และ แผ่นเงิน, ทองแดง ที่พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศทำการลงอักขระยันต์มาแล้ว ยังมีชนวน หล่อพระในพิธีอื่นๆ พร้อมผงตะไบ “พระกริ่งนวโลหะ” ทั้งของ สมเด็จพระสังฆราชแพ และ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ มาเป็นชนวนในการสร้างที่มากถึง 2,421,250 องค์ 

         ส่วน พระเนื้อดินผสมผงเกสร ก็มีมวลสารที่ประกอบด้วยดินจาก ทะเลสาบสงขลาเกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นส่วนผสมหลัก เนื่องจากดินที่เกาะยอเนื้อละเอียดมีลายเป็นพรายน้ำในตัวและมีสีเหลืองนวลคล้าย พระซุ้มกอ, พระลีลาเม็ดขนุน โดยนำมาผสมกับผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิด แล้วยังมีว่านต่างๆ พร้อมดินหน้าพระอุโบสถ, ดินหน้าพระอารามสำคัญของแต่ละจังหวัด และดินจากบริเวณที่ประดิษฐานพระประธานพุทธมณฑล รวมทั้งดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล (ประสูติ-ตรัสรู้-ปฐมเทศนา-ปรินิพพาน) จากประเทศอินเดีย โดยมีผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ 108 รูป ผงพระเครื่องที่ชำรุด เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง, พระรอด, นางพญา, ผงสุพรรณ, ซุ้มกอ, กำแพงลีลาเม็ดขนุน, ขุนแผนบ้านกร่าง ฯลฯ รวมทั้ง ผงตะไบพระกริ่งนวโลหะ ของ สมเด็จพระสังฆราชแพ, เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ดังกล่าวข้างต้น 

         เนื่องจากการสร้างพระ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินผสมผง ตั้งโรงงานสร้างขึ้นในบริเวณวัดสุทัศน์ พระเนื้อดินผสมผงก็สร้างด้วยจำนวนมากเท่ากับเนื้อชิน คือ 2,421,250 องค์ ซึ่งพอสร้างเสร็จและนำเข้าเตาเผาก็จะปรากฏเป็นสีที่แตกต่างกัน เช่น ดำ, น้ำตาลไหม้, เทา, เขียว, ขาวนวล, พิกุลแห้ง, หม้อใหม่, ครีม, ชมพู รวมทั้ง เนื้อสองสี (ที่เรียกว่า เนื้อผ่าน) และหากตั้งข้อสังเกตจะเห็นได้ว่าสีขององค์พระจะคล้ายกับพระที่สร้างในยุคโบราณ ทั้ง พระรอด, พระคง, พระเปิม และ พระบาง รวมทั้งพระเนื้อดินเผาสกุล นางกำแพง, ผงสุพรรณ และพระกรุของเมือง อยุธยา เป็นต้น 

         ประธานฝ่ายสงฆ์ของพิธีกรรม คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศมหาวิหาร ประธานฝ่ายฆราวาส จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานฝ่ายจัดสร้างพระพิมพ์ รองประธานฝ่ายจัดสร้างได้แก่ พลตำรวจตรี เนื่อง อาขุบุตร ท่านได้เป็นกรรมการจัดจำหน่ายให้สาธุชนและผู้มีเกียรติทั้งหลายเช่าบูชาไปสักการะ หรือนำติดตัวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายได้อีกด้วย

         พิธีกรรม การทำพิธีพุทธาภิเษกปลุกเสกพระเครื่อง ได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาทำพิธีถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกนำสิ่งของที่จะสร้างมาทำพิธีพุทธาภิเษกปลุกเสกเสียก่อนครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2500 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ มีพระคณาจารย์มาทำพิธีครบ 108 องค์ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณาเททอง หล่อพระทองคำ แล้วทรงพิมพ์พระเนื้อดินและชนิดเนื้อชินเป็นปฐมฤกษ์ แต่วันนั้นได้สร้างในบริเวณวัดสุทัศน์เป็นเวลาถึง 3 เดือนเศษจึงแล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2500 ได้ทำพระเครื่องทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวแล้ว เข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งเป็นระยะเวลา 3 วัน 3 คืน รวมเวลาทำพิธีพุทธาภิเษก 2 ครั้ง 6 วัน 6 คืน มีพระเกจิอาจารย์ที่ทางการ ร่วมอาราธนามาปลุกเสก 108 องค์

รายนามพระอาจารย์ปลุกเสกพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งได้สร้างเสร็จสิ้นแล้ว ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวรารามมหาวิหาร เมื่อวันที่ 2-3 และ 4 พฤษภาคม 2500 รวม 3 วัน มีดังนี้คือ

1. พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ กทม.
2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
3. พระครูญาณาภิรัต วัดสุทัศน์ กทม.
4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดสุทัศน์ กทม.
6. พระครูพิศาลสรกิจ วัดสุทัศน์ กทม.
7. พระมหาสวน วัดสุทัศน์ กทม.
8. พระมหาอำนวย วัดสุทัศน์ กทม.
9. พระปลัดสุพจน์ วัดสุทัศน์ กทม.
10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ วัดชนะสงคราม กทม.
11. พระสุธรรมธีรคุณ (วงษ์) วัดสระเกศ กทม.
12. พระอาจารย์สา วัดราชนัดดาราม กทม.
13. พระปลัดแพง วัดมหาธาตุ กทม.
15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
16. พระครูฐาปนกิจประสาท วัดพระเชตุพน กทม.
17. พระอินทรสมาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
18. พระครูวินัยธร (เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
19. พระครูภักดิ์ วัดบึงทองหลาง กทม.
20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ วัดดอนหวาย กทม.
21. พระอาจารย์มี วัดสวนพลู กทม.
22. พระอาจารย์เหมือน วัดโรงหีบ กทม.
23. พระหลวงวิจิตร วัดสะพานสูง กทม.
24. พระอาจารย์หุ่น วัดบางขวด กทม.
25. พระราชโมลี วัดระฆัง กทม.
26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม กทม.
27. พระครูโสภณกัลญานุวัตร (เส่ง) วัดกัลญาณมิตร กทม.
28. พระครูภาวนาภิรัต (ผล) วัดหนัง กทม.
29. พระครูทิวากรคุณ (กลีบ) วัดตลิ่งชัน กทม.
30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กทม.
31. พระครูญาณสิทธิ์ วัดราชสิทธาราม กทม.
32. พระอาจารย์มา วัดราชสิทธาราม กทม.
33. พระอาจารย์หวน วัดพิกุล กทม.
34. พระมหาธีรวัฒน์ วัดปากน้ำ กทม.
35. พระอาจารย์จ้าย วัดปากน้ำ กทม.
36. พระอาจารย์อินทร์ วัดปากน้ำ กทม.
37. พระครูกิจจาภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม กทม.
38. พระครูวินัยสังวร วัดประยุรวงศาวาส กทม.
39. พระสุขุมธรรมาจารย์ วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
40. พระครูพรหมวินิต วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
41. พระอาจารย์อิน วัดสุวรรณอุบาสิการ กทม.
42. พระครูวิริยกิจ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
43. พระปรีชานนทมุนี (ช่วง) วัดโมลี นนทบุรี
44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) วัดศรีรัตนาราม นนทบุรี
45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) วัดบางจาก นนทบุรี
46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากะเหรี่ยง ราชบุรี
47. พระอาจารย์แทน วัดธรรมเสน ราชบุรี,
48. พระครูบิน วัดแก้ว ราชบุรี
49. พระอินท์เขมาจารย์ วัดช่องลม ราชบุรี
50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
52. พระอาจารย์สำเนียง วัดเวฬุวัน นครปฐม
53. พระอาจารย์เต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
54. พระอาจารย์แปลก วัดสระบัว ปทุมธานี
55. พระครูปลัดทุ่ง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี
56. พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน) วัดโบสถ์ ปทุมธานี
57. พระครูโสภณสมาจารย์ (เหรียญ) วัดหนองบัว กาญจนบุรี
58. พระครูวิสุทธิรังษี วัดเหนือ กาญจนบุรี
59. พระมุจลินท์โมฬี (ดำ) วัดมุจลินท์ ปัตตานี
60. พระครูรอด วัดประดู่ นครศรีธรรมราช
61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) วัดอโศการาม สมุทรปราการ
63. พระอาจารย์บุตร วัดใหม่บางปลากด สมุทรปราการ
64. พระอาจารย์แสวง วัดกลางสวน สมุทรปราการ
65. พระครูศิริสรคุณ (แดง) วัดท้ายหาด สมุทรสงคราม
66. พระครูสมุทรสุนทร วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม
67. พระสุทธิสารวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
68. พระอาจารย์อ๊วง วัดบางคณที สมุทรสงคราม
69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ (ฮะ) วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
71. พระครูลักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
72. พระอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) วัดสังโฆ สุพรรณบุรี
74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) วัดวรจันทร์ สุพรรณบุรี
75. พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ (เฮี้ยง) วัดอรัญญิการาม ชลบุรี
77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ วัดเสม็ด ชลบุรี
78. พระครูธรรมธร (หลาย) วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี
79. พระอาจารย์บุญมี วัดโพธิ์สัมพันธ์ ชลบุรี
80. พระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร สิงห์บุรี
81. พระครูศรีพรหมโศภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
82. พระชัยนาทมุนี วัดบรมธาตุ ชัยนาท
83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) วัดชากหมาก ระยอง
84. พระอาจารย์เมือง วัดท่าแพ ลำปาง
85. พระครูอุทัยธรรมธารี วัดท้าวอู่ทอง ปราจีนบุรี
86. พระครูวิมลศีลาจารย์ วัดศรีประจันตคาม ปราจีนบุรี
87. พระครูสุนทรธรรมประกาศ วัดโพธิ์ปากพลี นครนายก
88. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
89. พระครูสวรรควิริยกิจ วัดสวรรคนิเวศ แพร่
90. พระครูจันทร์ (หลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง นครสวรรค์
91. พระครูศีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติการาม อยุธยา
92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อยุธยา
94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อยุธยา
95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อยุธยา
96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อยุธยา
100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อยุธยา
101. พระสุวรรณมุนี วัดมหาธาตุ เพชรบุรี
102. พระครูสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ เพชรบุรี
104. พระครูทม (หลวงพ่อทม) วัดสว่างอรุณ เพชรบูรณ์
105. พระสวรรควรนายก วัดสวรรคาราม สุโขทัย
106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี สุโขทัย
107. พระครูบี้ วัดกิ่งลานหอย สุโขทัย
108. พระครูวิบูลย์สมุทรกิจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม



#รับประกันพระแท้ตามหลักสากลค่ะ

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม October 17, 2019 08:14:38
วันที่ปิดประมูล October 18, 2019 17:26:32
ราคาเปิด140
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคาร กสิกรไทย (สาขาแฮปปี้แลนด์) ,

ปลายทาง

ผู้เสนอราคาล่าสุด

490

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ขาย


จัดส่งเรียบร้อยนะคะ ขอบคุณค่ะ


น้ำส้มOctober 20, 2019 14:04:04

ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


ได้รีบพระแล้ว ขอบคุณครับ


ปลายทางOctober 24, 2019 14:55:48

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น