พระพุทธชินราชอินโดจีน พิมพ์สังฆาฏิยาว ปีพ.ศ. ๒๔๘๕ ตอกโค๊ต +++องค์สวยยงาม หน้ายิ้ม เมตตา หูตากระพริบ +++บัตรรับรองพระแท้+++

เปิด สร้างโดย: Guarantree100Yrs  VIP   (2039)

 “ พระพุทธชินราช อินโดจีน ” ปีพ.ศ.2485 พิมพ์สังฆาฏิยาว ตอกโค๊ต(นิยม) ++พิมพ์สวยสมบูรณ์ หน้ายิ้มเมตตา จมูกโด่งๆ หูตากระพริบ ++บัตรรับรองพระแท้ฯ++


  ประวัติการจัดสร้าง   

พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปีพ.ศ.๒๔๘๕ ได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ณ วัด พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕

โดยที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมมากราบทูลขอพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้นำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์


พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้น ถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศ และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย

เกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก ๑๐๘ องค์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้


๑. สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์

๒. ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์

๓. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

๔. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

๕. หลวงปู่นาค วัดระฆัง

๖. หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู

๗. หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว

๘. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง

๙. หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง

๑๐. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว

๑๑. หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด

๑๒. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ

๑๓. หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

๑๔. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ

๑๕. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา

๑๖. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ

๑๗. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

๑๘. พระพุทธโฆษาจารย์ เจริญ วัดเทพศิรินทร์

๑๙. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่

๒๐. หลวงพ่อติสโส อ้วน วัดบรมนิวาส

๒๑. สมเด็จพระสังฆราช ชื่น วัดบวรนิเวศ

๒๒. พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์

๒๓. หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา

๒๔. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้

๒๕. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ

๒๖. หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค

๒๗. หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ

๒๘. หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้

๒๙. หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี

๓๐. หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง

๓๑. สมเด็จพระสังฆราช อยู่ วัดสระเกศ

๓๒. หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม

๓๓. หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม

๓๔. หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ

๓๕. หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน

๓๖. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน

๓๗. หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด

๓๘. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

๓๙. หลวงพ่อสอน วัดพลับ

๔๐. หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์

๔๑. หลวงพ่อบัว วัดอรุณ

๔๒. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ

๔๓. หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง

๔๔. หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน

๔๕. หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ

๔๖. หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ

๔๗. หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ

๔๘. หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ

๔๙. หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม

๕๐. หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์

๕๑. หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ

๕๒. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา

๕๓. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก

๕๔. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน

๕๕. หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ

๕๖. หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน

๕๗. หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส

๕๘. หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง

๕๙. หลวงปู่รอด วัดวังน้ำวน

๖๐. หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม

๖๑. หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม

๖๒. หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง

๖๓. หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก

๖๔. หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ

๖๕. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง

๖๖. หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ

๖๗. หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว

๖๘. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง

๖๙. หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า

๗๐. หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง

๗๑. หลวงพ่อเลียบ วัดเลา

๗๒. หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง

๗๓. หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า

๗๔. หลวงปู่เผือก วัดโมรี

๗๕. หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ

๗๖. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม

๗๗. หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม

๗๘. หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์

๗๙. หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว

๘๐. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง

๘๑. หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง

๘๒. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร

๘๓. หลวงพ่อศรี วัดพลับ

๘๔. พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ

๘๕. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก

๘๖. หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ

๘๗. หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา

๘๘. หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ

๘๙. หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม

๙๐. หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา

๙๑. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม

๙๒. หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์

๙๓. หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง

๙๔. หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม

๙๕. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง

๙๖. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง

๙๗. หลวงพ่อพรหมสร รอด วัดบ้านไพร

๙๘. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร

๙๙. หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ

๑๐๐. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด

๑๐๑. หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย

๑๐๒. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ

๑๐๓. หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ

๑๐๔. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง

๑๐๕. พระอธิการชัย วัดเปรมประชา

๑๐๖. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น

๑๐๗. หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ

๑๐๘. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ


(บางท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก ก็จะจารแผ่นทองเหลืองทองแดงมาร่วมพิธี)


เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกแล้ว ภายหลังก็ได้นำชุดพระที่ตอกโค๊ต มอบให้กับทหารที่ร่วมสงครามอินโดจีน ส่วนที่เหลือก็เก็บรักษาไว้และภายหลังจึงนำออกมาให้กับประชาชนทั่วไปได้บูชากัน …จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า พระที่ตอกโค๊ตและไม่ตอกโค๊ตล้วนจัดสร้างพร้อมกัน ผ่านพิธีเดียวกัน พุทธคุณจึงไม่ได้มีความแตกต่างผิดแผกจากกัน 


   (ขอแสดงความขอบคุณ ท่านผู้เรียบเรียงข้อมูล ออกเผยแผ่ มา ณ ทีนี้ครับ)  


เหลือเวลา

วันที่เริ่ม July 19, 2025 01:29:36
วันที่ปิดประมูล July 29, 2025 01:29:36
ราคาเปิด22499
เพิ่มครั้งละ100
ธนาคารไทยพาณิชย์ (ปากช่อง) ,

-

ผู้เสนอราคาล่าสุด

22499

ราคาล่าสุด


รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น