เปิดวัดใจ...เหรียญหลวงพ่อพริ้ง ปี2521 เนื้อทองแดงรมดำ วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี พร้อมบัตรรับรอง

ปิด สร้างโดย: หนึ่งหยดน้ำ  VIP  (2650)(1)

ประวัติหลวงพ่อพริ้งวัดโบสถ์โกร่งธนู ลพบุรี
    พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง มณีธาโน)
    พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง มณีธาโน) วัดโบสถ์ ต.โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
    วัดโบสถ์ฯ ตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏชัดเจน จากการสันนิษฐานหรือประมาณกาลเอาว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา โดยประชาชนและพุทธมามกะ มีความพร้อมใจกันสร้างขึ้นด้วยความสามัคคีการที่สร้างวัดนี้ขึ้น ก็เพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจ และบำเพ็ญกุศล และ ตั้งชื่อวัดนี้ว่า 'วัดโบสถ์' ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เนื้อที่ของวัดมีประมาณทั้งสิ้น 20 ไร่ เศษและมีผู้ใจบุญได้ถวายที่ดินให้กับทางวัดอีกจำนวนหนึ่ง ระยะทางจากหัวเมืองลพบุรีถึงวัดโบสถ์โก่งธนูประมาณ15 กม.มาถึงวัดได้โดยเดินทางทางรถยนต์ เวลาฤดูน้ำก็เดินทางมาได้ทางลำน้ำโดยทางเรือ วัดโบสถ์เป็นวัดสังกัดมหานิกาย โบราณวัตถุมงคลของวัดมีพระเจดีย์ 3 องค์ หน้าพระอุโบสถเก่า 1 หลัง โบราณสถานมีอุโบสถ์หลังใหม่ 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง และมีกุฎิ 9 หลัง หอสวดมนต์ 1 หลัง หอฉัน 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง ศาลาเล็กๆ ที่ท่าน้ำ 2 หลัง มีห้องสุขา 8 ห้อง มีสถานีอนามัยชั้น 2 มีบ่อน้ำบาดาลและจัดตั้งประปาน้ำบาดาล มีโรงเรียนประชาบาล 1 หลัง มีเมรุเผาศพ 1 เมรุ และมีโรงเก็บศพ 1 หลัง
    ทำเนียบเจ้าอาวาส
    ตั้งแต่องค์แรกไม่ทราบประวัติ ได้สอบถามผู้ใหญ่สูงอายุที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่อาจจะทราบได้ เพิ่งมาจำได้ตอนที่พระอาจารย์สะอาดปกครองแล้ว ต่อจากพระอาจารย์สะอาดแล้ว ก็มีพระอาจารย์ฉิมจากอาจารย์ฉิม
    ก็ถึงอาจารย์อินปกครอง มีนายจันทร์ นายแก้ว เป็นไวยาวัจกรหรือมัคทายก ต่อจากปลัดหลำ
    ก็ถึงอาจารย์ฝอยปกครอง มีนายพึ่ง, นายจันทร์, นายจุ่น,นายเป๋า, นายดิษฐ์,นายเปีย,นายฮวบ เป็นไวยาวัจกร เมื่อพระอาจารย์ฝอยลาสิกขาแล้วการปกครองก็ถึงพระครูประสาทวรคุณหรือทุกคนเรียก
    ท่านว่า หลวงพ่อพริ้ง เมื่อพรรษา 5 ท่านเป็นคู่สวดและสมภารสืบแทนอาจารย์ฝอย นายเฉื่อย จันทร์อิน เป็นไวยาวัจกร
    ประวัติของพระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง มณีธาโน) อายุ84 พรรษา 64 วัดโบสถ์ ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อดีตดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลโก่งธนู สถานะและชาติกำเนิดของหลวงพ่อ
    นามเดิม ชื่อพริ้ง นามสกุล เพ็งเพชร์
    เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ปีชวด ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12
    ที่ บ้านคุ้งนามอญ ตำบลโก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
    บิดาชื่อนายดึก นามสกุล เพ็งเพ็ชร
    มารดาชื่อ นางแสง นามสกุล เพ็งเพ็ชร
    มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คนคือ
    1. หลวงพ่อพริ้ง เพ็งเพ็ชร
    2. นางผลบ ไข่หงส์
    3. นายกรู่ เพ็งรอด
    4. นายโหน่ง เพ็งรอด
    5. นายบ่าย เพ็งรอด
    6. นางสาวสาคร เพ็งรอด
    ตอนหลังหลวงพ่อพริ้งได้เปลี่ยนนามสกุลเป็นเพ็งรอด ตามน้องชายที่ชื่อนายกรู่ ซึ่งเป็นคนต้นคิดที่เปลี่ยน และได้ใช้ เพ็งรอด มาตลอด
    เยาว์วัย
    โยมบิดาได้นำไปฝากเรียนอักษรสมัยในสำนักของพระอาจารย์จาด วัดไก่เตี้ย อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อพริ้งได้ศึกษาอักษรสมัยทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ในสำนักของพระอาจารย์จนเป็นที่แตกฉานและเรียนได้เร็วกว่าศิษย์รุ่นเดียวกัน เมื่อเยาว์วัยหลวงพ่อมีร่างกายไม่แข็งแรง บอบบางและอ่อนแอ โยมบิดาจึงคิดว่าถ้าให้มาประกอบอาชีพ เช่นการทำนาคงจะไปไม่ไหว จึงให้หลวงพ่อพริ้งบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ปี ในสำนักของพระอาจารย์จาด
    เมื่อบรรพชาแล้วก็ศึกษา เล่าเรียนเวทย์มนต์จากพระอาจารย์จาดซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิที่สุดในยุคนั้น
    อุปสมบท
    หลวงพ่อพริ้งได้บรรพชาจนอายุครบ 20ปี ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2463 ณ พัทธสีมาวัดญาณเสน ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หลวงพ่อหลำเจ้าอาวาสวัดญาณเสนเป็นอุปัชฌายะ หลวงพ่อแสน วัดญาณเสนเป็นกรรมวาจารย์ หลวงพ่อฝอย วัดญาณเสน เป็นอนุสาวนาจารย์ได้ฉายาว่า'มณีธาโน'
    ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่กับพระอุปัชฌาย์วัดญาณเสนได้ปฏิบัติอุปัฏฐาก อุปัชฌาย์อันเป็นหน้าที่ของนะวะกะจนครบ 5 พรรษาในระหว่างจำพรรษาอยู่กับพระอุปัฌชาย์
    หลวงพ่อพริ้งมีความประสงค์จะเดินธุดงค์และพระภิกษุในสมัยนั้นเมื่อค้างพรรษาก็มักจะออกธุดงค์กันเมื่ออนุโมทนากฐินกันเรียบร้อยแล้วหลวงพ่อพริ้งและพระภิกษุอื่นรวม 7 รูปและหลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำการออกปฏิบัติกัมมัฏฐานธุดงค์วัตร
    หลวงพ่อพริ้งได้ไปกราบอาจารย์หลำเพื่อเดินธุดงค์หลวงพ่อหลำได้ทดสอบกรรมฐาน และสมาธิจิตของหลวงพ่อพริ้งจนเป็นที่แน่ชัดจึงอนุญาติให้หลวงพ่อพริ้งเดินธุดงค์ได้ตามความปรารถนาหลวงพ่อพริ้งได้เรียนและฝึกสมถะ ภาวนา และวิปัสสนา กรรมฐานจากพระอาจารย์หลำ ตลอด 5 พรรษา
    ชีวิตตำแหน่งและสมณศักดิ์ เมื่ออุปสมบทแล้ว 5 พรรษาได้ปกครองวัดและเป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ตำบลโก่งธนู
    เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นต้นมา
    เป็นเจ้าคณะตำบลโก่งธนูเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2480
    เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2482
    เป็นพระครูสัญญาบัตรเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2496 ชั้นตรี
    มีพระภิกษุจำนวน 28 รูป สามเณร 2 รูป ศิษย์วัด 30 คน การปกครองเป็นปกติด้วยดีเสมอมาไม่มีอธิกรณ์ใดๆ เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 68 ปี นับว่ามีอายุครบปกครอง ดีเสมอต้นเสมอปลายมาตลอดผลงาน การก่อสร้าง เมื่อท่านได้เข้ารับหน้าที่เจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. 2468 ท่านได้บำเพ็ญคุณงามความดีต่างๆ ได้ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแด่พระภิกษุสามเณรภายในวัด ซึ่งเป็นผลให้พระภิกษุสามเณรสอบนักธรรมได้หลายรูป ท่านได้มีเมตตาสั่งสอนเพื่อนสหธรรมิก ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาให้ตั้งอยู่ในความดี และให้ความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชน ที่จะประกอบการกุศล ด้วยคุณงามความดีที่พระเดชพระคุณได้บำเพ็ญมา
    ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาพระเดชพระคุณเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ 'พระครูประสาทวรคุณ' ท่านได้ก่อสร้างและซ่อมแซมถาวรวัตถุภายในวัดโบสถ์แห่งนี้เรื่อยมา โดยมิได้หยุดยั้ง ผลงานของท่านจะอวดและกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
    1. สร้างโบสถ์หลังใหม่
    2. สร้างโรงเรียน
    3. สร้างสถานีอนามัยชั้น 2
    4. สร้างศาลาท่าน้ำ
    5. ซ่อมโบสถ์และกำแพงแก้ว
    6. สร้างศาลาการเปรียญ
    7. สร้างฌาปนสถาน (เมรุ)
    8. สร้างกุฎิ
    9. สร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูลค่าในการก่อสร้างทั้งหมดนี้หลายล้านบาท
    คุณธรรม หลวงพ่อพริ้ง นับว่าเป็นเพชรน้ำเอกของเมืองละโว้ธานีองค์หนึ่ง พระเดชพระคุณท่านนับว่าเป็นพระเถระ ที่ทรงคุณธรรมหลายประการ ใครๆ ที่ได้มาเยี่ยมเยือนหรือสัมผัสพูดคุย มักจะประทับใจในอริยาบทและวัตรปฏิบัติตลอดจนอุปนิสัยใจคอ อันเยือกเย็นของพระคุณท่าน หลวงพ่อเป็นพระที่พูดน้อย มีลูกศิษย์ลูกหามาก เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของหมู่ชนทุกระดับชั้นยิ่งในแถวถิ่นโก่งธนูด้วยแล้วใครไม่รู้จักหลวงพ่อก็
    แสนจะเชยสิ้นดี เมื่อหลวงพ่อบวชแล้วก็หาโอกาสเดินธุดงค์วัตรไปในสถานที่ต่างๆหลายแห่ง บางแห่งต้องผจญกับสัตว์ร้ายนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นผีสางนางไม้หรือภัยนานาประการ หลวงพ่อได้ประสบพบอยู่เป็นประจำจนชินชา หลวงพ่อต้องการหาความวิเวก ขณะเดินธุดงค์ก็ได้พบกับพระอาจารย์ต่างๆ อยู่ไม่น้อย ต่างก็ถ้อยทีถ้อยอาศัย แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อเป็นการถ่ายทอดวิชาไสยศาสตร์เวทย์มนต์ ให้แก่กันและกัน และการที่หลวงพ่อมีวิริยะอุตสาหะอย่างล้นเหลือ หลวงพ่อได้ท่องบ่นตำราจากสมุดเก่าๆ และตำรับตำราต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์ต่างๆ ทั้งในจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียงบ้านเช่น อยุธยา, อ่างทอง, สิงห์บุรี,สระบุรี และที่อื่นๆ อีกด้ววยหลวงพ่อพริ้งได้พยายามศึกษาร่ำเรียนด้วยตนเองบ้าง จนเป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองวิชาน่าอัศจรรย์ยิ่งทีเดียวหลวงพ่อพริ้งมีพรสวรรค์อยู่ในตัว ท่านสามารถท่องบ่นหรือสวดมนต์เช้า-เย็น โดยไม่ต้องต่อจากพระในวัด เพียงแต่จดจำพระรุ่นพี่ๆ ในระยะแรกๆ ท่านท่องจำเจ็ดตำนาน สิบสองตำนานและสามารถท่องปฏิโมกข์ได้คล่องแคล่วสมบูรณ์ดีด้วยประการทั้งปวง นับว่าสติปัญญาของหลวงพ่อเป็นเลิศการเขียนการอ่านโดยมาก มักจะเรียกด้วยตนเองเสมอ ประกอบกับหลวงพ่อมีบารมีอันสูงส่ง อนาคตของหลวงพ่อจะต้องรุ่งเรืองในบวรพระพุทธศาสนาอย่างแน่แท้ถึงแม้ว่าหลวงพ่อจะเป็นพระหนุ่มในขณะนั้น แต่ก็เคร่งครัดในกฎระเบียบของพระธรรมวินัยในสมัยนั้น เรียนทั้งพระธรรมวินัย(พระปริยัติธรรม) และเรียนภาษาขอมรวมกันไปด้วยจากสำนักวัดไก่เตี้ยจนความรู้แตกฉาน ท่านได้รวบรวมตำรับตำราต่างๆ ไว้มากมาย เช่น ตำรายากลางบ้านตำราแพทย์แผนโบราณ ตำราเวทย์มนต์คาถา และตำราไวยาศาสตร์ ไวยเวท ไว้มากพอสมควรหลวงพ่อพริ้งเป็นพระเถรรูปหนึ่งที่ชาวลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียงเคารพนับถือท่านมาก หลวงพ่อได้มุ่งมั่นประกอบศาสนกิจ เพื่อบำรุงพุทธศาสนาโดยจิตมั่น เพื่อเจริญรอยตามเบื้องยุคลาบาทขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า หลววงพ่อจึงได้รับแต่งตั้ง ตามตำแหน่งต่างๆ ดังได้กล่าวข้างต้นการเผยแพร่ศาสนานั้นหลวงพ่อได้จัดอบรมให้มีการฟังธรรมฟังเทศน์ตามไตรมาส มีอุบาสกอุบาสิกาและประชาชนโดยทั่วไปเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนไม่น้อย การทำบุญกุศลหรืองานประเพณีต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับทางวัดแล้ว หลวงพ่อมีวิเทโศบายและอุบายให้คนทั้งหลายมาร่วมกันได้เป็นอันมาก หลวงพ่ออำนวยความสะดวกให้ในทุกกรณีเมื่อปี พ.ศ. 2504 หลวงพ่อได้มีอายุ 61 พรรษา บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อได้อ้อนวอนให้หลวงพ่อออกวัตถุมงคล เพื่อจะได้ให้ศิษยานุศิษย์และญาติโยมผู้ใกล้ชิดไว้เป็นที่ระลึก และเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ปลายปี พ.ศ.2504 ก็มีศิษย์อ้อนวอนท่านอีก 'สร้างเถอะหลวงพ่อ' หมายถึงสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อท่านทนต่อคำรบเร้าอ้อนวอนของบรรดาศิษย์ไม่ไหว ท่านจึงพูดว่า 'จะเอาอย่างไร ก็เอากัน' หลวงพ่อบุญช่วย เขมโก ผู้เป็นผู้ช่วยของหลวงพ่อหาโอกาสนี้มานาน แต่ไม่กล้าออก ความเห็น จึงนมัสการกับหลวงพ่อขึ้นว่า ควรจะทำเป็นเหรียญ ซึ่งจะถาวรต่อการใช้ไว้นานๆ ไม่เหมือนกับพระเนื้อผง อันอาจจะเสียหายและหักง่าย จากการเสนอแนะของหลวงพ่อบุญช่วย และบรรดาลูกศิษย์ของหลวงพ่อจึงได้ตกลง ออกแบบเป็นรูปเหรียญสี่เหลี่ยม ด้านหน้ามีรูปของหลวงพ่อครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นรูปพระพุทธ ใช้เนื้อทองแดงและทองแดงกะหลั่ยทอง ที่พื้นเหรียญ ออกไม่มากนัก ราคารุ่นนี้แพงเป็นพัน เพราะถือว่าเป็นเหรียญรุ่นแรก เหรียญนี้หลวงพ่อพริ้งได้นั่งปรกปลุกเสกเดี่ยวด้วยพุทธาคมอันเข้มขลัง นักเล่นเหรียญทั้งหลายมักจะเสาะหาเหรียญของหลวงพ่อรุ่นแรกนั้นเป็นจำนวนไม่น้อย ใครมีไว้ในครอบครองจงหวงแหน อย่าจำหน่ายจ่ายแจกเพราะเป็นของดี มีคนที่มีประสบการณ์มาแล้วจากเหรียญนี้ จากเหรียญรุ่นหนึ่งนี่เองทำให้หลวงพ่อพริ้งมีชื่อเสียงโด่งดัง จากเหรียญดังกล่าวแล้ว ยังมีแหวนรูปหลวงพ่อซึ่งเป็นแหวนลงยา มีทั้งแหวนทองคำ แหวนเงิน และอาปาก้า เป็นแหวนลงยา ปลุกเสกในคราวเดียวกัน และมีความนิยมไม่แพ้เหรียญ ลักษณะของแหวนด้านบนของหัวแหวนซึ่งมีรูปของหลวงพ่อ จะมีลักษณะคล้ายรูปโล่ มีตัวอักษรสองข้าง ข้างขวามีคำว่า 'หลวง' ข้างซ้ายมีความว่า 'พ่อพริ้ง' ปัจจุบันเริ่มหายากเหมือนกัน
    จำนวนการสร้างประมาณ 2,000 วง บรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างก็บูชาไว้ใช้คนละวงสองวง
    วัตถุมงคลรุ่นแรกหนักแน่นไปในทาง แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เพราะผู้ใช้ได้ประสบการณ์จากการใช้วัตถุมงคลของหลวงพ่อมากรายด้วยกัน
    หลังจากหลวงพ่อได้สร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกแล้ว ท่านก็ไม่คิดหรือจะออกของอีก ชั่วระยะไม่นานนักทั้งเหรียญและแหวนเริ่มหมด คณะกรรมการต่างปรึกษาหารือกันจะขออนุญาตสร้างวัตถุมงคล กรรมการปรึกษากันแล้ว จึงเรียนให้หลวงพ่อท่านทราบ หลวงพ่อก็ไม่ได้ตอบว่าอะไร 'จะให้สร้างหรือไม่ให้สร้างก็ไม่พูด' เพราะหลวงพ่อท่านเป็นพระรักสันโดษและมักน้อย กรรมการต่างก็พากันกลับโดยมิได้ปริปากต่อไปอีกกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2505 กรรมการชุดเดิมนั่นแหละ เห็นว่าความต้องการของบรรดาลูกศิษย์และประชาชนคนทั่วไป มีความเลื่อมใสศรัทธามาก ประกอบกับของที่ออกแต่ละครั้งไม่ทั่วถึงผู้ที่ใฝ่หาและความต้องการของประชาชน ศิษยานุศิษย์ และกรรมการจึงเรียกร้องอ้อนวอนให้หลวงพ่อออกของอีกสักรุ่นโดยบอกว่าวัตถุมงคลเมื่อปี 2504 ให้ได้บูชากันไปยังไม่ทั่วถึง คณะกรรมการได้กราบเรียนให้หลวงพ่อทราบ หลวงพ่อก็ตอบสนองตามอัธยาศัยของบรรดาศิษย์และกรรมการ เมื่อหลวงพ่อ อนุญาตต่างก็ดีอกดีใจไปตามๆ กัน และคณะกรรมการจึงติดต่อช่างหล่อพระท่ากระยางลพบุรีมาทำการหล่อรูปหล่อพิธีแบบโบราณ พร้อมรูปหล่อองค์ใหญ่ที่วัดจากคำบอกเล่าของยายกิมฮวย พุ่มขจร(ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่) เจ้าของโรงหล่อทองเหลืองท่ากระยางพระหล่อแบบโบราณรูปทรงไม่สวยเท่าไรและหล่อได้จำนวนน้อย กรรมการวัดจึงได้ลงไปกรุงเทพฯ มอบแบบตามที่ต้องการ สร้างวัตถุมงคลรุ่นปี พ.ศ. 2505 เมื่อสร้างเสร็จก็นำมาให้หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวจนครบไตรมาส(หนึ่งพรรษา) ลักษณะของรูปวัตถุ คือรูปของหลวงพ่อ(แบบเดียวกับหลวงปู่ทวดที่นิยมสร้างในปี 2505) เรียกว่ารุ่นหลังเตารีดมีทั้ง 2 แบบคือ แบบหนึ่งมีห่วง และแบบหนึ่งไม่มีห่วง แบบไม่มีห่วงหรือหูห้อย นักสะสมเรียกว่ารุ่น หายห่วง หรือหมดห่วง ครั้นเมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว ก็เปิดให้สาธุชนผู้เลื่อมใสเช่าบูชา นักสะสมบางคนต่างพากันสะสมและแสวงหากันเป็นจำนวนมากมีผู้ที่ไปถึงวัดไม่เว้นแต่ละวัน พระรุ่นหลังเตารีดของหลวงพ่อพริ้งครั้งนี้ เป็นแบบปั๊ม รมดำทำด้วยเนื้อทองผสม ทุกวันนี้เริ่มจะหายาก และราคาก็แพง และยังให้โรงงานสร้างรูปหล่อลอยองค์ขึ้นอีกในปี 2505 เรียกรุ่นที่มียันต์ที่ฐาน มีตัวอักษร ขอมอ่านว่า นะ มะ พะทะ ดินน้ำลมไฟ
    ปี พ.ศ. 2506 หลวงพ่อมิได้ออกของหรือวัตถุมงคลใดๆ เพราะภารกิจติดนินมต์ แต่มีทางวัดการจัดทำล๊อคเกต รูปต่าง ๆของหลวงพ่อ บรรดาสุจริตชนต่างพากันขอพรและขอบูชาวัตถุมงคลของหลวงพ่ออยู่เนืองนิจ วัตถุมงคลของ หลวงพ่อมีหลายชนิด ที่วัดยังมีเหลือยู่อีกมาก ทางวัดได้จัดจำหน่ายจ่ายแจกให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ไปเคารพกราบไหว้ท่าน บางอย่างก็หมดไปแล้วบางอย่างยังเหลืออีกมาก หลวงพ่อพริ้งท่านได้มีเมตตาจิตปลุกเสกหลายครั้งหลายหน จนกระทั่งจำ ไม่ได้ว่าแต่ละครั้งมีอะไรบ้าง ท่านเคยปรารถอยู่เสมอว่า ของของหลวงพ่อทุกชนิด ทุกอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะปลุกเสกเมื่อใด วัตถุต่างๆ ที่หลวงพ่อได้สร้างไว้ก็มีอาทิเช่น แหวน, เหรียญ, รูปหล่อ, ตะกรุด, ผ้ายันต์, นกคุ้ม ปลาตะเพียนเงินปลาตะเพียนทอง รูปหล่อลอยองค์ทั้งนั่งและยืน สมเด็จเนื้อผง 3 ชั้น (เล็ก-ใหญ่) พระสามพี่น้อง, ธงค้าขาย, และรูปล็อกเก็ต
    สำหรับปี 2507 ได้มีการจัดสร้างรูปหล่อลอยองค์ มีตั้งแต่ขนาด 2 ซม. สูง 33 ซม. ขัดสมาธิ สังฆาฏิจรดแท่น ที่แท่นมีชื่อของหลวงพ่อ ด้านหลังจะมีหมายเลข 1 ไทย ที่ด้านหลังบอก พ.ศ.2507 และเหรียญรูปไข่ ด้านหลัง ปี2507 ได้รับความนิยมมากแล้วก็ว่างเว้น
    ปี พ.ศ. 2508หลวงพ่อมิได้ออกของหรือวัตถุมงคลใดๆ เพราะภารกิจติดนินมต์ และงานล้นตัว หลวงพ่อท่านไม่ปฏิเสธ
    การนิมนต์ ท่านจะรับนิมนต์ไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่ว่ามีหรือจน หลวงพ่อเป็นพระเถระที่ไม่ถือตัวไม่ว่าใครจะนิมนต์ไปฉันหอ, ขึ้นบ้านใหม่, โกนจุก,งานบุญ,งานบ้าน,งานบวช,งานสวด,งานศพ ใครนิมนต์ไม่เคยขัดนอกจากป่วย วันหนึ่งหลวงพ่อท่านรับ นิมนต์ไปเป็นอุปัชฌาย์ เจ้าภาพนำเอารถมอเตอร์ไซด์รับท่านไปในเส้นทางที่แสนลำบาก บางครั้งต้องวิ่งกลางทุ่งนา บางครั้ง ต้องวิ่งบนคันนา บังเอิญรถมอเตอร์ไซด์ตกหล่นจากคันนา หลวงพ่อก็หล่นกลิ้นไปตามรถทั้งคนขับ เมื่อลุกขึ้นคนขับก็ถามว่า หลวงพ่อเป็นอะไรบ้างครับ ก็ได้รับคำตอบจากหลวงพ่อ ไม่เป็นอะไรหรอก หลวงพ่อไม่เคยบ่นหรือปริปากแต่ประการใด ทั้งที่เจ็บๆ เล็กๆ น้อยๆ ในเมื่อหลวงพ่อบอกว่าไม่เป็นอะไรคนขับก็ขับรถให้หลวงพ่อนั่งซ้อนท้ายไปจนถึงวัดที่บวชจนได้ นี่ก็แสดงว่า หลวงพ่อพริ้งท่านเปี่ยมล้นไปด้วย วิริยะคุณ เมตตาคุณ กิจนิมนต์ของหลวงพ่อไม่เคยว่างเว้น ไม่ว่างานพุทธาภิเษก เล็กหรือใหญ่ จะมีชื่อของหลวงพ่อเสมอๆ ลงโฆษณาติดใบปลิวเกือบทั้งพิธี
    นอกจากงานนิมนต์ดังที่กล่าวมาแล้ว งานในวัดของหลวงพ่อเองก็มีอยู่มากพอสมควรในยามว่างหลวงพ่อจะปลูกพืชผลไม้
    ทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น ในขณะนั้นรั้วของวัดยังไม่เรียบร้อย เมื่อปลูกพืชมีผลออกมา วัวควายของชาวบ้านมักจะเข้ามาขบเคี้ยว
    กัดกินทำให้พืชผลเสียหายอยู่เสมอ ทายกวัดก็ไม่กล้าไปว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงดังกล่าวก็เข้ามากัดกินของในวัดเสียหาย ทายก
    คนหนึ่งเห็นเข้าก็มาบอกกับหลวงพ่อให้ทราบ แทนที่หลวงพ่อจะโกรธแค้นท่านกลับสงบสติอารมณ์ แล้วท่านก็กล่าวขึ้นลอยๆ ว่า
    'มนุษย์เรานี้ไม่ค่อยมีความเกรงอกเกรงใจกันเลย สัตว์เป็นเดียรฉานอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถพูดได้เหมือนกัน
    เมื่อคนปล่อยมันออกมามันก็ต้องหากินของมันไปตามประสาสัตว์ คนเรากินข้าวก็น่าจะมีความนึกคิดอะไรเหมาะ
    อะไรไม่เหมาะ คนอย่างนี้คงไม่กินข้าวละมัง คงกินแกลบกินรำ'
    หลังจากที่หลวงพ่อพูดออกไปได้ไม่กี่ปี เจ้าของสัตว์ผู้มีฐานะมั่งคั่งก็ประสบหายนะ กล่าวคือค้าขายก็ขาดทุน ออกเงิน
    ให้เขากู้ก็ถูกโกง ทำอะไรก็ไม่เกิดมักผล ชีวิตในบั้นปลายสุดท้ายถึงกับซื้อเรือกระแชงล่องแกลบไปขายถึงกรุงเทพฯ ปัจจุบัน
    พ่อค้าคนนั้นสิ้นชีวิตไปแล้ว

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม September 11, 2020 04:28:32
วันที่ปิดประมูล September 12, 2020 07:10:03
ราคาเปิด10
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ (นครราชสีมา) ,

Sompote

ผู้เสนอราคาล่าสุด

230

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


ได้รับแล้วพระแล้ว ขอบคุณครับ


SompoteSeptember 27, 2020 01:28:49

ความคิดเห็นจากผู้ขาย


เลขพัสดุค่ะ EG776503228TH ขอบคุณค่ะ


หนึ่งหยดน้ำSeptember 21, 2020 03:11:54

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น