เหรียญเสมา 25 พุทธศตวรรษ ปี 2500 เนื้ออัลปาก้า บัตรรับรองดีดีพระ

ปิด สร้างโดย: 555AMULETS  VIP  (2085)

เหรียญเสมา 25 พุทธศตวรรษ ปี 2500 เนื้ออัลปาก้า บัตรรับรองดีดีพระ Read more

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม July 24, 2022 18:04:06
วันที่ปิดประมูล July 26, 2022 15:00:30
ราคาเปิด300
เพิ่มครั้งละ50
ธนาคารกสิกรไทย (สาขาขนส่งแปดริ้ว) ,

leo2012

ผู้เสนอราคาล่าสุด

450

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ขาย


ยอดเยี่ยมครับ


555AMULETSAugust 07, 2022 15:31:34

ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


ขอขอบคุณครับ


leo2012August 02, 2022 18:09:32

รายละเอียดเพิ่มเติม


เหรียญเสมา 25พุทธศตวรรษ เนื้ออัลปาก้า ปี2500 (มีบัตรรับรอง)

พระเครื่องที่มีการจัดสร้างขึ้นในเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้วบรรดานักนิยมพระเครื่องทุกท่านต่างยอมรับและยกให้ “พระ 25 พุทธศตวรรษ”คือที่สุดของพิธีกรรม เป็นการสร้างและปลุกเสกพระที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองไทยเพื่อเฉลิมฉลองในวาระ “กึ่งพุทธกาล”ของศาสนาพุทธนั่นเอง โดยประธานฝ่ายสงฆ์ของพิธีกรรมในครั้งนั้น คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศมหาวิหาร ประธานฝ่ายฆราวาสได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ประธานฝ่ายจัดสร้างพระพิมพ์คือ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และรองประธานฝ่ายจัดสร้างได้แก่ พลตำรวจตรี เนื่อง อาขุบุตร และเป็นกรรมการจัดจำหน่ายวัตถุมงคลในครั้งนี้ให้สาธุชนและผู้มีเกียรติทั้งหลายเช่าไปบูชาสักการะ
ในการทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในครั้งนั้น ได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำพิธีถึง 2 ครั้ง โดยในครั้งแรกเป็นการนำวัตถุที่จะใช้สร้างพระมาทำพิธีพุทธาภิเษกก่อนครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2500 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ โดยมีพระคณาจารย์มาทำพิธีครบ 108 องค์ และต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2500พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จฯและทรงกดพิมพ์พระจำนวน 30 องค์ กับพระทองคำ 4 องค์ เป็นปฐมฤกษ์ หลังจากนั้นได้ทำการสร้างพระโดยตั้งโรงงานผลิตภายในบริเวณวัดสุทัศน์ ใช้ระยะเวลาสร้างประมาณ 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีมหาพุทธธาภิเษกอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 - 4 พฤษภาคม โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณชุดเดิมอาราธนาปลุกเสก 108 องค์ รวมเวลาของพิธีมหาพุทธาภิเษก 2 ครั้ง 6 วัน 6 คืน และวัตถุมงคลทั้งหมดได้ออกให้เช่าบูชาที่ท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500
จำนวนการสร้างพระ 25 พุทธศตวรรษ
--เนื้อทองคำ 2,500 องค์ ราคาบูชา 2,500 บาท ถ้าสมทบทุนสร้างพุทธมณฑลบริจาคเหรียญละ 10,000 บาท
--เนื้อนาก 30 องค์ สมทบทุนสร้างพุทธมณฑลบริจาคเหรียญละ 5,000 บาท
--เนื้อเงิน 300 องค์ สมทบทุนสร้างพุทธมณฑลบริจาคเหรียญละ 1,000 บาท
--เนื้อชินดีบุก 2,421,250 องค์ ราคาบูชา 10 บาท
--เนื้อดินเผา 2,421,250 องค์ ราคาบูชา 10 บาท
--เหรียญเสมา 2,000,000 องค์ (มีเนื้อ ทองคำ นาก เงิน และอัลปาก้า) ราคาบูชาเหรียญอัลปาก้า 10 บาท
--พระบูชาพิมพ์พุทธลีลา ขนาดจำลอง สูง 71 ซม. เพื่อนำไปประจำจังหวัดต่างๆ 71 จังหวัด กับอีก 400 อำเภอ
--พิมพ์พิเศษ ไม่ทราบจำนวน จัดสร้างโดยคณะกรรมการท่านหนึ่ง นำเข้าพิธีพร้อมกัน แต่แจกให้คณะกรรมการที่ช่วยในการจัดงาน และนำไปสมนาคุณผู้ที่เช่าพระบูชา เนื้อดิน หรือ เนื้อชิน ที่เช่าพระเกิน 100 องค์ และถวายพระอาจารย์ ที่มาปลุกเสกด้วยรูปละ 1 องค์ โดยบรรจุในกล่องหุ้มสักหลาดสีเหลือง ภายในกล่องมีสองชั้นชั้นล่างบรรจุพระเนื้อชิน 2 แถวๆละ 6 องค์ เป็นพิมพ์ธรรมดา 11 องค์ พิมพ์พิเศษ 1 องค์
ชั้นบนบรรจุพิมพ์เนื้อดิน สีต่างๆกัน 13 องค์ ด้านในฝากล่องพิมพ์ข้อความว่า" พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ถวายพระอาจารย์เป็นที่ระลึก" กล่องชุดนี้มี 108 ชุด เท่ากับพระอาจารย์ที่นิมนต์มาทำพิธีมหาพุทธาภิเษกในวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2500
จากสาเหตุที่สร้างพระจำนวนมากเป็นหลัก "ล้าน "องค์ ในขณะที่ประชากรในสมัย พ.ศ.2500 ยังมีไม่ถึง 20 ล้านคน ทำให้มีพระเหลือมาก ให้บูชาอย่างไรก็ไม่หมด มีการจัดส่งไปตามหน่วยงานราชการตามต่างจังหวัดเพื่อช่วยกันจำหน่าย แต่ก็ยังไม่หมดอยู่ดี และมีการเชิญชวนให้วัดตามต่างจังหวัดนำพระรุ่นนี้ไปบรรจุกรุในวัดอีกด้วย จนระยะเวลาผ่านไปนานเลยจำต้องส่งพระกลับคืนส่วนกลางโดยนำเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย ต่อมาก็ได้มีการย้ายพระชุดนี้มาเก็บรักษาไว้ที่พุทธมณฑล จ.นครปฐมและยังคงมีการจัดจำหน่ายอยู่จนถึงทุกวันนี้ครับ

รายนามพระอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
1. พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ กทม.
2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
3. พระครูญาณาภิรัต วัดสุทัศน์ กทม.
4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร วัดสุทัศน์ กทม.
5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดสุทัศน์ กทม.
6. พระครูพิศาลสรกิจ วัดสุทัศน์ กทม.
7. พระมหาสวน วัดสุทัศน์ กทม.
8. พระมหาอำนวย วัดสุทัศน์ กทม.
9. พระปลัดสุพจน์ วัดสุทัศน์ กทม.
10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ วัดชนะสงคราม กทม.
11. พระสุธรรมธีรคุณ (วงษ์) วัดสระเกศ กทม.
12. พระอาจารย์สา วัดราชนัดดาราม กทม.
13. พระปลัดแพง วัดมหาธาตุ กทม.
15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
16. พระครูฐาปนกิจประสาท วัดพระเชตุพน กทม.
17. พระอินทรสมาจารย์ วัดพระเชตุพน กทม.
18. พระครูวินัยธร (เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
19. พระครูภักดิ์ วัดบึงทองหลาง กทม.
20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ วัดดอนหวาย กทม.
21. พระอาจารย์มี วัดสวนพลู กทม.
22. พระอาจารย์เหมือน วัดโรงหีบ กทม.
23. พระหลวงวิจิตร วัดสะพานสูง กทม.
24. พระอาจารย์หุ่น วัดบางขวด กทม.
25. พระราชโมลี วัดระฆัง กทม.
26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม กทม.
27. พระครูโสภณกัลญานุวัตร (เส่ง) วัดกัลญาณมิตร กทม.
28. พระครูภาวนาภิรัต (ผล) วัดหนัง กทม.
29. พระครูทิวากรคุณ (กลีบ) วัดตลิ่งชัน กทม.
30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กทม.
31. พระครูญาณสิทธิ์ วัดราชสิทธาราม กทม.
32. พระอาจารย์มา วัดราชสิทธาราม กทม.
33. พระอาจารย์หวน วัดพิกุล กทม.
34. พระมหาธีรวัฒน์ วัดปากน้ำ กทม.
35. พระอาจารย์จ้าย วัดปากน้ำ กทม.
36. พระอาจารย์อินทร์ วัดปากน้ำ กทม.
37. พระครูกิจจาภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม กทม.
38. พระครูวินัยสังวร วัดประยุรวงศาวาส กทม.
39. พระสุขุมธรรมาจารย์ วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
40. พระครูพรหมวินิต วัดหงษ์รัตนาราม กทม.
41. พระอาจารย์อิน วัดสุวรรณอุบาสิการ กทม.
42. พระครูวิริยกิจ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
43. พระปรีชานนทมุนี (ช่วง) วัดโมลี นนทบุรี
44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) วัดศรีรัตนาราม นนทบุรี
45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) วัดบางจาก นนทบุรี
46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากะเหรี่ยง ราชบุรี
47. พระอาจารย์แทน วัดธรรมเสน ราชบุรี,
48. พระครูบิน วัดแก้ว ราชบุรี
49. พระอินท์เขมาจารย์ วัดช่องลม ราชบุรี
50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ (เงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
52. พระอาจารย์สำเนียง วัดเวฬุวัน นครปฐม
53. พระอาจารย์เต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
54. พระอาจารย์แปลก วัดสระบัว ปทุมธานี
55. พระครูปลัดทุ่ง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี
56. พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน) วัดโบสถ์ ปทุมธานี
57. พระครูโสภณสมาจารย์ (เหรียญ) วัดหนองบัว กาญจนบุรี
58. พระครูวิสุทธิรังษี วัดเหนือ กาญจนบุรี
59. พระมุจลินท์โมฬี (ดำ) วัดมุจลินท์ ปัตตานี
60. พระครูรอด วัดประดู่ นครศรีธรรมราช
61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) วัดอโศการาม สมุทรปราการ
63. พระอาจารย์บุตร วัดใหม่บางปลากด สมุทรปราการ
64. พระอาจารย์แสวง วัดกลางสวน สมุทรปราการ
65. พระครูศิริสรคุณ (แดง) วัดท้ายหาด สมุทรสงคราม
66. พระครูสมุทรสุนทร วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม
67. พระสุทธิสารวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
68. พระอาจารย์อ๊วง วัดบางคณที สมุทรสงคราม
69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ (ฮะ) วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
71. พระครูลักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
72. พระอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) วัดสังโฆ สุพรรณบุรี
74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) วัดวรจันทร์ สุพรรณบุรี
75. พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ (เฮี้ยง) วัดอรัญญิการาม ชลบุรี
77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ วัดเสม็ด ชลบุรี
78. พระครูธรรมธร (หลาย) วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี
79. พระอาจารย์บุญมี วัดโพธิ์สัมพันธ์ ชลบุรี
80. พระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร สิงห์บุรี
81. พระครูศรีพรหมโศภิต (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
82. พระชัยนาทมุนี วัดบรมธาตุ ชัยนาท
83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) วัดชากหมาก ระยอง
84. พระอาจารย์เมือง วัดท่าแพ ลำปาง
85. พระครูอุทัยธรรมธารี วัดท้าวอู่ทอง ปราจีนบุรี
86. พระครูวิมลศีลาจารย์ วัดศรีประจันตคาม ปราจีนบุรี
87. พระครูสุนทรธรรมประกาศ วัดโพธิ์ปากพลี นครนายก
88. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
89. พระครูสวรรควิริยกิจ วัดสวรรคนิเวศ แพร่
90. พระครูจันทร์ (หลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง นครสวรรค์
91. พระครูศีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติการาม อยุธยา
92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อยุธยา
94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อยุธยา
95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อยุธยา
96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อยุธยา
100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อยุธยา
101. พระสุวรรณมุนี วัดมหาธาตุ เพชรบุรี
102. พระครูสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ เพชรบุรี
104. พระครูทม (หลวงพ่อทม) วัดสว่างอรุณ เพชรบูรณ์
105. พระสวรรควรนายก วัดสวรรคาราม สุโขทัย
106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี สุโขทัย
107. พระครูปี้ วัดด่านลานหอย สุโขทัย
108. พระครูวิบูลย์สมุทรกิจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
อนึ่งเหรียญทรงเสมานั้นได้มีการปลุกเสกแยกต่างหากจากพระเนื้อชินและเนื้อดินเผาโดยมีการปลุกเสกกันที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเมื่อวันที่ ๕-๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๐
คงไม่ต้องสงสัยครับว่าพระฉลอง 25 พุทธศตวรรษนี้คือสุดยอดของพระที่ดีทั้งเจตนา และพิธีกรรม ซึ่งนักสะสมพระทุกท่านยอมรับและนำมาติดตัวบูชาในอกเสื้อเพื่อพึ่งพุทธคุณ ซึ่งปัจจุบันมีของปลอมออกมาให้เห็นหลายฝีมือในแทบทุกเนื้อ จะซื้อหาควรต้องระวังไว้ด้วยครับ เวลานี้ยังจัดว่าเป็นของดีที่ราคายังไม่แพง ถ้ามีโอกาสก็ลองไปที่พุทธมณฑลซึ่งยังคงมีพระรุ่นนี้จำหน่ายอยู่ซึ่งเป็นเนื้อชินดีบุก เนื้อดิน และเหรียญอัลปาก้า และที่สำคัญเป็นของแท้ที่สร้างในยุคนั้นและเหลืออีกไม่มากครับ

555AMULETS – July 24, 2022 18:06:33


ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น