@@@ ถูกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว @@@ ชูชกมหาลาภ รุ่นทบเงินคูณพันล้าน ปี 2551 เนื้อทองเหลืองรมดำ (หลวงพ่อคูณ หลวงปู่ขุ้ย ปลุกเสก)

ปิด สร้างโดย: พันธุ์ทิพย์  VIP   (3249)

หลวงพ่อคูณ

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

วัดบ้านไร่ ตำบล กุดพิมาน อำเภอ ด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา


ประวัติ

         หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม.6 ต.กุดพิมาน อ.อ่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ  บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชือ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (บางตำราว่าวันที่ ๔ ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เป็นบุตรชายคนหัวปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ

๑ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ 
๒ นายคำมั่ง แจ้งแสงใส 
๓ นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์

         มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี ๓ นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า...

         เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขอำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไปและเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย "ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง"

 

การศึกษา

         เนื่องด้วยบุรพกรรมและสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง ๓ คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ ๖-๗ ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ สถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน มิได้มีโรงเรียนทำการสอนเช่นในสมัยปัจจุบัน นอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้ง ๓ ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย

 

อุปสมบท

         หลวงพ่อคูณ อุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๘๗ (หนังสือบางแห่งว่า ปี ๒๔๘๖) ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ หลวงพ่อคูณ ได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ

         หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา  (บางตำรากล่าวว่าเมื่อบรรพชาแล้วได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อคง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดถนนหักใหญ่ก่อน แล้ว หลวงพ่อคงจึงนำไปฝากกับหลวงพ่อแดง)

         หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก

หลวงพ่อคูณ ตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์ ที่ตรัสไว้ว่า... " เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาคิยา" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ

๑ สมถะ ความสงบระงับแห่งจิตที่ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง

๒ วิปัสสนา ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมเบื้องสูงอันสุขุมลุ่มลึก ในทางพุทธศาสนาและจงเดินตามหนทางนั้นเถิด...

         หลวงพ่อคูณ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้ เป็นเพื่อนกันต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ

         หลวงพ่อคง พุทธฺสโร เป็นพระอาจารย์ผู้ทรงคุณทั้งทางธรรม และทางไสยเวทย์ และได้อบรมสั่งสอนให้กับ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ด้วยความรักใคร่มิได้ปิดบังอำพราง โดยการให้การศึกษาพระธรรมควบคู่กับการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน น้นเรื่องการมี "สติ" ระลึกรู้ พิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทัน ในอารมณ์นั้น เช่น เมื่อเกิดอารมณ์ "หลง" ท่านให้พิจารณาว่า...

"อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นความทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม จึงมิใช่ของเราและของเขา”

และท่านจึงให้แนวทางพิจารณา 5 ประการ คือ

พิจารณาว่า ความเกิดเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเกิดนี้ได้
พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความแก่นี้ได้
พิจารณาว่า ความเจ็บเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเจ็บนี้ได้
พิจารณาว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความตายนี้ได้
พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นเรื่องธรรมดา เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรากระทำความดี จักได้ดี เรากระทำความชั่ว จักได้ชั่ว"

         ส่วนพระกัมฏฐานนั้น หลวงพ่อคงได้สอนให้ใช้หมวดอนุสติ โดยดึงเอาวิธีกำหนด “ความตาย” เป็นอารมณ์ เรียกว่า “มรณัสสติ” เพื่อให้ เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงในในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ประมาทในความโลภ ความโกรธ และความหลง กำหนดลมหายใจเข้าออกทำจิตให้เกิด สัมมาสมาธิ เรียกว่า “อานาปานสติ”

         เวลาล่วงเลยนานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรก ๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศเขมร มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง

 

สู่มาตุภูมิ

         หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณ จึงออกเดินทางจากประเทศเขมรสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ.๒๔๙๖ โดยชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จแล้ว ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก โดยอาศัยโคเทียมเกวียนบ้าง ใช้แรงงานคนลากจูง บนทางที่แสนทุรกันดาร เนื่องจากถนนทางเกวียนนั้นเป็นดินทรายเสียส่วนใหญ่ เมื่อต้องรับน้ำหนักมากก็มักทำให้ล้อเกวียนจมลงในทราย การชักจูงไม้แต่ละเที่ยวจึงต้องใช้เวลาถึง 3-4 วัน

         แต่กระนั้น หลวงพ่อคูณ ก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากสร้างพระอุโบสถแล้ว หลวงพ่อยังสร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ยังความสะดวกสบาย และความเจริญในบ้านไร่ยิ่งนัก แม้ปัจจุบันจะไม่ได้เห็นสิ่งดังกล่าว เนื่องจากหลวงพ่อได้เปลี่ยนสิ่งก่อสร้างดังกล่าวทั้งหมด มาเป็นปูนเป็นอิฐให้สวยงามและทนทานยิ่งขึ้น

         นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่อุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย นอกเหนือจากนั้น หลวงพ่อคูณ ยังได้สร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ตลอดจนบริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ

 

สร้างวัตถุมงคล

         หลวงพ่อคูณ สร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่บวชแล้ว ๗ พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคล ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ.๒๔๙๓

         “ใครขอ กูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน” เป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ เมื่อมีผู้ถามว่า หลวงพ่อแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ “กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม….”

         “ถ้ามีใจอยู่กับ “พุทโธ” ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง… ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก”



ชีวประวัติ หลวงปู่ขุ้ย ฐิตธัมโม วัดซับตะเคียน

          พระอธิการวิชัยรัตน์ ฐิตธัมโม (ผู้มีธรรมเป็นฐาน หรือ ผู้มีจิตใจตั้งมั่นในธรรม) หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักดีในนาม “หลวงปู่ขุ้ย ฐิตธัมโม” เป็นพระเกจิอาจารย์ศิษย์เอกสืบสายวิทยาคม จากพระครูวิชิตพัชราจารย์ หรือ หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก อ.เมืองเพชรบูรณ์ อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งจังหวัดเพชรบูรณ์ หลวงปู่ขุ้ย เป็นพระภิกษุที่มีใจใผ่ปฎิบัติธรรมและรักษาวินัยอย่างเคร่งครัดในพระวินัยเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันหลวงปู่ขุ้ย (ปี2550) สิริอายุ 87 ปี 65 พรรษา ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดซับตะเคียน ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ อัตโนประวัติ ถือกำเนิดในสกุล “ท่อนทอง” เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2454 ที่บ้านท่ามะทัน ต.ท่าอิบุญ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โยมบิดา-มารดา ชื่อนายทองดี และนางทองสุข ท่อนทอง
ช่วงวัยเยาว์เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่บ้านเกิด พอได้อายุ 12 ปี บิดาถึงแก่กรรมจึงบรรพชาบวชหน้าไฟ พ.ศ.2466 ให้โยมบิดา แต่ด้วยความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า แม้จะเสร็จงานศพบิดาจึงไม่ยินยอมลาสึกขา ขออนุญาตโยมมารดา บวชเรียนต่อไป
ต่อมาได้ทราบถึงกิตติศัพท์ของหลวงพ่อทบ วัดพระพุทธบาทชนแดน อ.ชนแดน เป็นพระเกจิอาจารย์ีที่มีประชาชนเคารพนับถือ จึงเกิดศรัทธา เดินทางจากบ้านเกิดไปยัง อ.ชนแดน เพื่อฝากต้วเป็นลูกศิษย์อยู่รับใช้อุปัฎฐาก ตักน้ำ เถกระโถนน้ำหมาก ล้างบาตร ปัดกราดเสนาสนะ ฯลฯ
ด้วยความเมตตาจากหลวงพ่อทบ จึงไดุ้ถ่ายทอดสรรพวิชาคาถา การทำตะกรุดโทน ลงเลขยันต์คาถาผ้ายันต์และได้ศึกษาปฎิบัติวิชากัมมัฎฐานและกำหนดจิต มีความรู้แก่กล้าตามลำดับ สามารถเสกข้าวสารให้ไก่กิน และศึกษาเรียนรู้ในการจัดสร้างพระกริ่ง พระรูปหล่อ ตามประเพณีโบราณ ผลสัมฤทธิ์ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สามเณรขุ้ยมีความชำนาญอย่างยิ่ง
ครั้นเมื่ออายุได้ 22 ปี จึงเข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดศรีมงคล อ.หล่อสัก เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2476 โดยมีพระมหาหยวก เจ้าคณะอำเภอหล่มสัก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคำปัน เป็นพระกรรมวาจารย์และพระอธิการวันดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า “ฐิตธัมโม” มีความหมายว่า “ผู้มีจิตใจตั้งมั่นในธรรม”
ภายหลังอุปสมบท อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ 2 พรรษา จึงได้กราบลา เดินทางไปจำพรรษายังวัดชนแดน เพื่อศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมและปฏิบัติกัมมัฏฐาน จากหลวงพ่อทบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปฏิบัติธรรมแก่กล้าท่านได้กราบลาหลวงพ่อทบออกเดินทางธุดงวัตรไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
พ.ศ. 2486 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าอีบุญ ปกครองพระสงฆ์-สามเณร ได้ระยะหนึ่งเกิดความเบื่อหน่ายจึงได้ขอลาออก และออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ อาทิ แขวงจำปาสัก ประเทศเขมร
ตลอดระยะเวลาในการธุดงควัตร ท่านได้สนทนาธรรมกับพระสายวัดป่าหลายรูป และศึกษาไสยเวทจากอาจารย์เขมรและลาวหลายรูป
พ.ศ. 2517 หลวงปู่ขุ้ย ได้เดินธุดงควัตรตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มุ่งหน้าขึ้นทิศตะวันออก ในที่สุดหลวงปู่ได้เดินทางมายังบ้านท่าด้วง ได้เล็งเห็นความเจริญที่จะเกิดขึ้นแก่หมู่บ้านนี้ในอนาคตประกอบกับมีป่าไม้ แหล่งน้ำไหลผ่าน ท่านจึงได้หยุดธุดงค์ และชักชวนชาวบ้านสร้างวัดขึ้นที่หมู่บ้านซับตะเคียน
บ้านซับตะเคียนเป็นบ้านป่าดงดิบเต็มไปด้วย เสือ ช้าง และสัตว์มีเขี้ยวพิษนานาชนิด เต็มไปด้วยไข้ป่า อยู่ห่างจาก อ.หนองไผ่ กว่า 40 ก.ม. ถ้าจะเดินทางมายังที่ตั้งตัวจังหวัด ต้องใช้เวลาเป็นแรมเดือนเมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ไม่สบาย หลวงปู่ขุ้ยได้เข้าป่าหาสมุนไพร มารักษาชาวบ้านด้วยตนเอง แทนยาจากในเมือง
เมื่อคราวเกิดโรคห่าระบาด หลวงปู่ได้นำยาสมุนไพรรักษาชาวบ้านจนหายป่วย เรื่องยาสมุนไพรเป็นที่ขึ้นชื่อมากแม้ถึงทุกวันนี้ ยังมีชาวบ้านที่เจ็บป่วยไปให้ท่านทำการรักษาอยู่ประจำ หลวงปู่ขุ้ยจำพรรษาชักชวนชาวบ้านเข้าวัดฟังธรรม รักษาศีล จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้าน รวมทั้งได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดซับตะเคียนแห่งนี้
ด้านวัตถุมงคล หลวงปู่ขุ้ยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อทบ บรรดาศิษยานุศิษย์ที่รู้ในกิตติศัพท์ด้านวิทยาอาคมของท่าน จึงได้ขอร้องให้ท่านจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำเงินมาจัดสร้างเสนาสนะ ศาลา และอุโบสถ(กำลังจะสร้าง) ฯลฯ
หลวงปู่ขุ้ยได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาหลายรุ่น เป็นที่เชื่อถึอในความศักดิ์สิทธิ์ ในด้านเมตตามหานิยม และแคว้นคลาด จึงมีผู้ศรัทธาเลื่อมใส ไปขอบูชามากมายจนชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปในหลายจังหวัด
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงคือ ตะกรุดโทน ตะกรุด 9 ชั้น รูปหล่อลอยองค์ อีกหลายรุ่น วัตถุมงคลที่สร้างขึ้น มีผู้มาขอบูชาหมดในเวลาไม่นาน และผู้ที่เช่าหาวัตถุมงคลของท่าน ต่างมีประสบการณ์แคล้วคลาดต่างๆ มากมาย
ในด้านการเผยแผ่ธรรม หลวงปู่ขุ้ยเป็นพระที่ทันสมัย ใช้ธรรมะสั่งสอนชาวบ้าน ให้รู้จักทำมาหากินด้วยความสุจริต มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร มิให้ลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุข ใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอเพียง ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หลวงปู่ขุ้ย ได้สั่งสอนให้ชาวบ้านได้เจริญภาวนาสมาธิ ให้ยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตาม ศีล 5 ศีล 8 หรืออุโบสถศีล อย่างเคร่งครัด ให้เป็นคนคิดดี ทำดี พูดดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน
หลวงปู่ขุ้ย ถือเป็นผู้นำทางคุณธรรมศีลธรรม ของชาวบ้านซับตะเคียนอย่างแท้จริงด้วยความที่เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ไม่สะสม และยึดติดในอดิเรกลาภ ชาวบ้านทั้งอำเภอ ต่างจังหวัด จึงให้ความเคารพศรัทธา ด้วยกุศลจิตอย่างแท้จริง แม้ล่วงวัย 87 ปี แต่หลวงปู่ขุ้ยยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงไปกิจนิมนต์ไกลๆ ได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย
หลวงปู่บอกว่า ที่ท่านอายุยืน มิเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเพราะว่า ท่านทำสมาธิ เจริญภาวนาและทำจิตใจให้ผ่องใสตลอดเวลา ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ส่วนมากจะฉันอาหารประเภทผัก ผลไม้เป็นประจำ
หลวงปู่ขุ้ยเป็นพระสายปฏิบัติและเป็นศิษย์รูปสุดท้ายของหลวงพ่อทบ วัดของท่านอยู่ติดเทือกเขาเพชรบูรณ์ เขตแดนติดต่อ อ.หนองบัวแดง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ถ้าไม่มีกิจนิมนต์ที่ใด ส่วนมากท่านจะอยู่ที่วัดเป็นประจำ นับเป็นพระที่ดีอีกรูปหนึ่งของเมืองมะขามหวาน…ครับ
พระอธิการวิชัยรัตน์ (หลวงปู่ขุ้ย) ฐิตธัมโม

ชื่อเดิม วิชัยรัตน์(ขุ้ย)ท่อนทอง เกิดเมื่อวันพุธ ที่ 20 พฤษภาคม 2454 บ้านท่าอีบุญ ต.ท่าอีบุญ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 12 ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 22 ปี ณ วัดศรีมงคล ต.หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เดินทางมาจำพรรษาและสร้างวัดซับตะเคียน ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่จ.เพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2517 อาพาธด้วยโรคปอดติดเชื้อ เข้ารักษาอาการที่โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ละสังขารอย่างสงบใน วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2554 เวลา 15.07 น.ตรงกับวันแรม 12 ค่ำ เดือน 9 สิริอายุรวม 100 ปี 3 เดือน 6 วัน เก็บสรีระสังขารของท่านอย่างถาวรให้ลูกหลานได้กราบไหว้สักการะ ณ วัดซับตะเคียน 100 วัน ทำพิธีเผา(หลอก) เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 1 และเคลื่อนย้ายสรีระสังขารบรรจุโลงแก้วไว้ภายในมหาเจดีย์พระธาตุอรหันต์108 เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ตรงกับแรม 15 ค่ำ เดือน 6 (เรียบเรียงโดยดามส์ ซับตะเคียนและเน็ด นาป่า แก้ไขบางส่วนจากหนังสือวัตถุมงคลและพระคาถาของวัดซับตะเคียน) 

หลวงปู่วิชัยรัตน์ (ขุ้ย ) ฐิตธัมโม 

          หลวงปู่วิชัยรัตน์ (ขุ้ย) ฐิตธัมโม เจ้าอาวาสวัดซับตะเคีียน “อริยะสงฆ์แห่งลุ่มลำน้ำกงเทพเจ้าแห่งขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ท่าด้วง ณ วัดซับตะเคียน” ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อทบและได้รับการถ่ายทอดวิชาทุกอย่างจากหลวงพ่อทบ ในบรรดานักปฎิบัติธรรมแล้วท่านเป็นพระยอดนักปฎิบัติ ชอบสันโดษ เป็นพระนักปฎิบัติวิปัสสนาชั้นเยี่ยม จนได้รับการขนานนามว่า “อริยะสงฆ์แห่งลุ่มลำน้ำกงเทพเจ้าแห่งขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ท่าด้วง ณ วัดซับตะเคียน”นับตั้งแต่หลวงปู่เข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์ หลวงปู่ท่านก็ออกธุดงค์มาโดยตลอด จาริกไปยัีงสถานที่ต่างๆ มากมาย ชาิติภูมิของหลวงปู่นั้น ชื่อเดิมนายวิชัยรัตน์ นามสกุล ท่อนทอง มีพี่น้องหลายคน วิทยฐานะจบการศึกษา ป.4  ในสมัยที่เป็นนักเรียนมีความเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและได้คะแนนสูงที่สุดในชั้นเรียนสมัยที่โรงเรียนยัีงเป็นโรงเรียนวัด บิดาชื่อนายทองดี ท่อนทอง มารดาชื่อนางทองสุข ท่อนทอง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ มีฐานะยากจน หลวงปู่เกิดเมื่อวัีนพุํธที่  20 พฤษภาคม 2454 ปีระกา (บ้างก็ว่าท่านเกิดปีมะแม ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ อายุท่านก็จะเป็นพรรษา) ราวปลายสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรัชสมัยที่มีการปลี่ยนแปลงอย่างมากในยุคนี้ ณ บ้านท่ามะทัีน ต.ท่าอิบุญ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ในครอบครัวเกษตรกรที่ยากจนมาก หลวงปู่ท่านมีนิสัยเป็นคนเรียบร้อยถ่อมตนไม่โอ้อวด ขยันขันแข็งในการทำงาน ซื่อตรง สมถะ ไม่เคยคตโกงผู้ใด ไม่เลือกชั้นวรรณะ บวชสามเณรครั้งแรก พ.ศ.2466 เมื่ออายุได้ 12 ปี เพื่อจูงศพบิดาจากนั้นก็เล่าเรียนพระธรรมวินัย โดยเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทบ หรือ พระครูวิชิตพัชราจารย์ ณ วัดชนแดน อีก 6 พรรษา หลัีงจากนั้นเมื่ออายุ 22 ปี วันที่ 4 มีนาคม 2476 ก็อุปสมบทเป็นพระ ณ วัดศรีมงคล ต.หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โดยพระมหาหยวกเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคำปันเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการวันดีเป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาใหม่ว่า ฐิตธัมโม หมายความว่า “ผู้มีธรรมอันมั่นคง” อุปสมบทเป็นพระอุปัฎฐาก (กระทำในสิ่งที่พระอาจารย์ทำ หรือหยิบจักไม่ได้) หลวงปู่ท่านเป็นคนหัวไว ฉลาด  ศึกษาวิชาความรู้ต่างๆ กับหลวงพ่อทบ หรือพระครูวิชิตพัชราจารย์อีกครั้ง โดยการเล่าเรียนวิชาอาคม เวทย์มนต์คาถา จนแก่กล้าชำนาญ คาถาเสกข้าวเปลือก ข้าวสาร ให้ไก่กิน ยังไม่ดัง ฯลฯ จนหมดจากนั้นก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้างบุ่ง ต.ท่ามะทัน ซึ่งเป็นวัดในหมู่บ้านของท่านเรียนวิชานะโมตาบอด (วิชาคงกระพันชาตรี ยิง ฟัน ไม่เข้า) วิชาเขาควายแล้วลองวิชาโดยเขาศีรษะของท่านไปโหม่งชนกับต้นมะม่วงแก่ เปลือกหนา ต้นใหญ่ขนาดหลายคนโอบปรากฎว่ามะม่วงต้นนั้นเปลือกแตกกระจาย แต่ศีรษะท่านไม่มีรอยถลอก ฟกซ้ำ หรือแตกแม้แต่นิดเดียว แต่ทำให้ศีรษะของหลวงปู่ท่านบุบ ยุบ บริเวณข้างขมับ ซ้าย-ขวา ด้านบน ทั้งสองข้างมาตราบจนถึงในปัจจุบันนี้ เรื่องเล่าของหลวงปู่ก็ยังไม่หมด มีอยู่ในครั้งหนึ่งปี 2487 ที่หลวงปู่ท่านฝึกกรรมฐานอย่างหนัก ท่านอดข้าว อดน้ำ 9 วัน 9 คืน เพราะอยากทดสอบกำลังใจกรรมของเวทนาที่เกิดขึ้น จนร่างกายท่านซูบผอม จนกระทั่งธาตุท่านเสีย (เจ็บป่วย) ถึงเกือบมรณภาพ ที่วัดบ้านบุ่ง ต.ท่ามะทัน สมัยตอนที่เรียนวิชากับหลวงพ่อทบ ช่วงอายุำได้ 23 พรรษา เพื่อจะให้บรรลุถึง แก่นแ่ห่งพระธรรม แบบองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวล่าต่อมาท่านก็บรรลุกฎแห่งธรรม สามารถนั่้งสมาธิถอดจิตไปไหนมาไหนได้ แต่ก็ยังใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายสอนธรรมแก่ชาวบ้านอยู่เช่นแต่ก่อนเดิมจากคำบอกเล่าของลูกศิษย์ท่านทราบว่่า นอกจากท่านจะเป็นผู้ทรงวิทยาคุณทางเวทย์มนต์  คาถา ไสยเวทย์ อย่างมากมายมหาศาลแล้วท่านยังมีความจำเป็นเลิศ สามารถอ่านเขียนได้ทั้งภาษาไทย เขมร  บาลี อย่างช่ำชอง หาพระองค์ใดรุ่นท่านในสมัยนั้นเทียบเสมอไ้ด้ยาก มากระทั่งในปี 2507 อายุได้ 43 พรรษาหลวงปู่ได้เลื่อนสมณะศักดิ์เป็นเจ้าคณะตำบลท่า่ิอิบุญ โดยจำพรรษา ณ วัดบ้านบุ่ง ต.ท่าอิบุญ อ.หล่่มสัก จ.เพชรบูรณ์ แต่ด้วยความที่หลวงปู่เป็นพระชอบสมถะ ชอบสันโดษไม่ชอบความวุ่นวายชอบการปฎิบัติภาวนามากกว่าการบริหารการจัดการ ไ่ม่ยึดติดกับยศฐาบรรดาศักดิ์ มักน้อย ไม่นิยมสะสมเงินทอง หากมีก็จะเอามาสร้างวัดวาอารามทั้งหมด จวบจนกระทั่งปี พ. ศ. 2517 หลวงปู่ได้เดินธุดงค์มายัง ตำบลวังท่าดี และตำบลท่าด้วง ในสมัยนั้นยังเป็นป่าดงดิบลึก ต้องข้ามภูเขา ผ่านแม่น้ำ ห้วย หนองคลองบึง แต่ป่าเขียวชอุ่มชุ่มชื้น อากาศเย็นสบาย ธารน้ำใส  สวยงาม เต็มไปด้วยฝูงปลาผลไม้นานาพันธุ์หลวงปู่เมื่อท่านเห็นความสงบเงียบ ร่มรื่น อากาศสดชื่นบริสุทธิ์ จึงคิดว่าสถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่ ปฎิบัติธรรมภาวนาได้เป็นอย่างดี เหมือนกับว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในป่านั้นดลบันดาลใจท่านมาแสวงบุญอยู่ที่นี้ หลวงปู่เมื่อคิดแล้ว ดำริว่า ท่านจะมาสร้างวัดที่นี่เืพื่อสั่งสอนธรรมะให้แก่ชาวบ้านตำบลแห่งเทือกเขา ท่าด้วง หมู่ที่ 1 บ้านซับตะเคียนแห่งนี้ หลวงปู่จึงได้ปฎิบัติตามวาจาที่ดำริไว้ ท่านได้ลาออกจากการเป็นเจ้าคณะตำบลท่าิอิบุญทันที รวมอายุการเ็ป็นเจ้าคณะตำบลท่าอิบุญของท่านได้ 10 พรรษา แล้วย้ายมาสร้างวัดซับตะเคียน เมื่อปี พ.ศ. 2517 ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี่นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เมื่อครั้นหลวงปู่มาอยู่แต่เดิมแรกนั้น พื้นที่บริเวณนั้นเป็นป่าสวยงามก็จริงอยู่แต่แอบแฝงไปด้วยมวลสิงสาลาสัตว์ โขลงพญาช้าง โขลงพญาเสือกินคนชุกชุม สัตว์ที่มีพิษดุร้ายพญางูใหญ่สูงเท่าต้นมะพร้าวมากมายไปด้วย โรคภัย ไข้เจ็บ อันตรายนานานับประการ โดยเฉพาะโรคไข้มาลาเรีย ไ้ข้ป่า ที่มีการระบาดมากในสมัยครั้งกระนั้น  อีกทั้งการเดินทางก็ต้องเดินด้วยเท้าอย่างเดียวเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าไปถึงสถานที่ได้ อาจคงจะเป็นเพราะหลวงปู่ท่านมีบุญบารมีสูงส่ง อีกทั้งต้วของท่านหลวงปู่มีอาคมแก่กล้า รู้เรื่องการปรุงยาสมุนไพรเป็นเลิศ และยาวิเศษ หลวงปู่ท่านกล่าวว่าเป็นยาวิเศษที่สุด ที่ดีที่สุดในโลก ทำให้ท่านแคล้วคลาดในสิ่งทุกข์ยากต่างๆ นานา ได้ทุกๆ กรณี คือ ธรรมะโอสถ นั้นเอง หลวงปู่ท่านใช้การดำรงชีวิตเหมือนแบบชาวป่า ชาวเขา ทั่วไป อีกทั้งชาวบ้านก็ยังเ็ป็นชาวบ้านท้องถิ่นดั้งเดิมในพื้นที่ไม่รู้หนังสือ ไม่รู้สภาพบ้านเมือง อาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่มีน้ำใจต่อกันไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ภาษาที่ใช้ยังคงใช้ภาษาท่าด้วง หรือภาษาชาวบ้านอยู่แบบเดิม พูดจากันไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าพระคืออะำไร ทำบุญคืออะำไร ศาสนาคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรแต่เนื่องด้วยที่หลวงปู่ท่านมีความวิริยะ อุตสาหะ ตั้งใจจริง เป็นทุนเดิม ที่้ต้องการสืบทอดเจตนารมณ์ตามหลักพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริยาวัตรประจำวันท่านก็ดูงดงามมีสง่า ท่านจึงสามารถลงมาโปรดสัตว์ สอนธรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาให้แก่ชาวบ้านที่ไม่มีความรู้จักคำว่า ธรรมะคืออะไร เหล่านั้นได้ซึมซับแห่งพระธรรม ที่ละัเล็กที่ละน้อยจนกระทั่งชาวบ้านได้รับรู้ เข้าใจนำไปยึดถือปฎิบัติจนเป็นวัฒนธรรมประเพณีนิยมแห่งดินแดนลุ่มลำน้ำกงและขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ท่่าด้วง ตราบจนถึงปัจจุบัน

ทุกวันนี้เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า  ถ้าหากผู้ใดที่มาเยี่ยมเยือนอำเภอหลองไผ่แล้วไม่ได้มากราบไหว้  หลวงปู่วิชัยรัตน์ (ขุ้ย)  ฐิตธมฺโม” อริยะสงฆ์แห่งลุ่มลำน้ำกงเทพเจ้าแห่งขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ท่าด้วง ณ วัดซับตะเคียน”  ละก็เหมือนจะมาไม่ถึงอำเภอหนองไผ่เลยทีเดียว  วัดซับตะเคียนนั้น  เป็นเพียงแค่วัดเล็กๆ  วัดหนึ่งที่มีเกจิอาจารย์อย่างหลวงปู่ขุ้ย  ฐิตธมฺโม  อริยะสงฆ์แห่งลุ่มน้ำกงเทพเจ้าขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ดินแดนท่าด้วง  ใครๆ ต่างก็เรียกชื่อท่านติดปากว่า  หลวงปู่ขุ้ย  เพราะว่าท่านเป็นพระใจดีมีความเป็นกันเอง  ไม่ถือตัวหรือโอ้อวดบุญญาบารมีทำให้ท่านเป็นพระเกจิ  ที่ชาวอำเภอหนองไผ่เคารพรักและศรัทธามากที่สุด  ชาวอำเภอหนองไผ่  อำเภอใกล้เคียงต่างเลื่อมใสมาฝากตัวเป็นศิษย์ท่านก็มากมาย  มีทั้งนัการเมืองชื่อดัง  ข้าราชการ  พ่อค้า  ประชาชน  บริษัทห้างร้าน  ทั้งในและต่างจัีงหวัดทั่วประเทศเลย  ตอนนี้ศิษย์ท่านมีเกือบทั่วโลกก็ว่าได้  แม้แต่ในกรุงเทพฯ  ศิษย์ท่านก็มีมาก  มาเยี่ยมท่านบ่อยครั้งเพื่อให้ท่านปลุกเสกวัตถุมงคลบ้าง  รดน้ำมนต์บ้าง  ปัดเป่าต่างๆ  ในทุกวันนี้ที่วัดซับตะเคียนนั้นมีผู้เลื่อมใสศรััทธามากราบไหว้บูชาหลวงปู่ท่านวันหนึ่งประมาณ 300 – 500 คนต่อวัน  หรือมากกว่านั้น  หลายครั้งทำให้ท่านถึงกับอาพาธเลยทีเดียว  แต่ถึงกระนั้นท่านก็ยังปฏิบัติอยู่อย่างนั้นไม่เคยว่างเว้นแม้แต่สักวันเดียว  ด้วยเพราะท่านเป็นพระเกจินักบุญที่มีแต่ให้  นายนิธิภัทร  เสนาะดนตรี  นายอำเภอหนองไผ่  คนปัจจุบันท่านก็เป็นศิษย์หลวงปู่ท่าน  เช่นกัน  ประสบการณ์ที่หลวงปู่ออกเดินธุดงค์นั้นมีมากมายจะเล่าไปก็ไม่มีวันจะเล่าได้หมด  เพราะท่านธุดงค์ไปหลายที่  เช่น  พม่า  ลาว  เขมร ท กัมพูชา  เอาเป็นว่ามาที่วัดแล้วเรียนถามท่านด้วยตนเองจะดีกว่าหลวงปู่ขุ้ยท่านเป็นคนหัวสมัยใหม่ทันสมัยใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการตัดสินใจใช้เหตุและผลพิจารณาเสมอ  ท่านจะไม่ส่งเสริมเรื่องที่ไม่มีเหตุผลแต่ท่านจะใช้กุศสโลบายและอุบายปัญญาในการสอนลูกศิษย์สม่ำเสมอ  ต้องเรียนรู้กับท่านอย่างใกล้ชิดจึงจะเข้าถึงท่าน  ก็คงจะมีแต่ลูกศิษย์ท่านเท่านั้นที่เข้าใจกุศสโลบายของท่านได้ดีกว่าใครๆ  ด้านวัตถุมงคลนั้นท่านไม่ได้มีวัตถุมงคลสิ่งอื่นใดเลย  นอกจากชานหมากอันวิเศษของท่านเท่านั้น  อื่นๆ  นั้นท่านไม่ได้สร้างขึ้นทั้งสิ้น  แต่เรื่องประสบการณ์ชานหมากของท่านมีเรื่องเล่ามากมาย  ขอยกมาเล่าให้รับทราบดังนี้  ในครั้งนั้นมีผ้าป่ามาจากกรุงเทพฯ กับจ.ชลบุรี มาถวายผ้าป่าที่วัดหลวงปู่  หลังจากที่หลวงปู่ให้ศีลให้พรเสร็จแล้วก็มีโยมท่านหนึ่งขอวัตถุมงคลจากท่าน  แต่เนื่องจากวัดซับตะเคียนเป็นวัดเล็กๆ  จึงไม่มีวัตถุมงคลที่ทำขึ้นสักชิ้นเดียวที่จะมอบให้  หลวงปู่ท่านเป็นเกจิที่ฉลาดหลักแหลมเช่นเดียวกับอาจารย์ของท่านคือ  พระครูวิชิตพัชราจารย์ (หลวงพ่อทบ)  จึงนำชานหมากที่ปั้นกลมๆ  จำนวนหนึ่งกับผ้าจีวรเช็คน้ำหมากของหลวงปู่ให้ลูกศิษย์ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ  แล้วปลุกเสกโดยหลวงปู่  จากนั้นก็บอกโยมให้นำไปแบ่งปันกันให้ทั่วถึง  และนำไปอัดกรอบพระใส่สายสร้อยคล้องคอบูชา  หรือฝากให้ญาติพี่น้องห้อยคอเป็นวัตถุมงคลก็ได้  จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหมดทั้งปวง  หนึ่งในบรรดาคนที่ได้มาวันนั้นมีหญิงวัยกลางคนท่านหนึ่งซึ่งเดินทางไปทำงานยังประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วเกิดป่วยไข้  เพราะการปรับตัวเข้ากับอากาศที่นั่นยังไม่ได้  จึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา  เพื่อจะทำการรักษาตัว  ได้เกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดมหัศจรรย์อย่างยิ่งเกิดขึ้น  เมื่อหมอที่นั่นพยายามเท่าไรก็ฉีดยาไม่ได้เนื่องจากแทงเข็มไม่เข้า  โดยหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมเกิดจากอะไร  จึงพาไปยังห้องเอ็กซเรย์เพื่อตรวจเช็ค  แต่ก็ำไม่พบอะไรนอกจากสร้อยคอที่เป็นลูกอมชานหมากหลวงปู่อยู่ในคอ  ฝรั่งงงถามผู้หญิงวัยกลางคนชาวไทยที่ไม่สบายว่ามีอะไรดี  ถึงฉีดยาไม่ได้  ผู้ป่วยที่เป็นหญิงวัยกลางคนชาวไทยก็งงเช่นกัน  พอนึกขึ้นได้จึงลองสร้อยคอลูกอมชานหมากหลวงปู่ออกแล้วทดลองฉีดยาใหม่  คราวนี้ฉีดได้เป็นปกติ  และนับจากวันนั้นมาก็ได้มีประสบการณ์ที่แคล้วคลาดหลายครั้ง  จึงโทรศัพท์มาคุยบอกกับญาติที่เมืองไทยว่าได้เกิดเรื่องประหลาดอย่างนี้เกิดขึ้นกับตนอยากมานมัสการหลวงปู่ที่วัดอีกครั้ง  หลังจากนี้นเมื่อกลับมาพักผ่อนในประเทศไทยช่วงฮอลิเดย์  จึงนำผ้าป่ามาถวายถึงวัดด้วยรถตู้  และรถทัวร์คันใหญ่หลายคันเพื่อกราบไหว้หลวงปู่ขุ้ย  ก่อนกลับหญิงวัยกลางคนท่านนั้นก็ขอชานหมากที่หลวงปู่ปลุกเสกให้กลับไปแจญาติพี่น้องกันถ้วนหน้า  จากนั้นต่อมาลูกศิษย์หลวงปู่เมื่อเห็นถึงบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ทำวัตถุมงคลแล้วให้หลวงปู่ปลุกเสกขึ้นหลายรุ่นด้วยกัน  แต่ที่นิยมที่สุดตอนนี้เป็นรูปหล่อหลวงปู่ขุ้ย  รุ่นแรกซึ่งมีด้วยกัน 2 เนื้อคือ  เนื้อทองเหลืองสร้าง 500 องค์  และเนื้ออาปาก้าสร้างเพียง 86 องค์  สร้างขึ้นเนื่องในงานไหว้ครูวันที่ 16 พฤษภาคม 2548  ปลุกเสกโดยหลวงปู่ขุ้ย  เพื่อนำไปแจกในงานไหว้ครูที่วัดบ้านเนินพัฒนา  หมู่ที่ 7  ต.กองทูล  อ.หนองไผ่  จ.เพชรบูรณ์  เป็นการแจกให้ฟรีแล้วแต่ญาติโยมจะบริจาค …เมื่อปลุกเสกเสร็จได้มีลูกศิษย์เป็นวัยรุ่น หมู่ที่ 4  ต.กองทูล  อ.หนองไผ่  จ.เพชรบูรณ์  ได้ลองของทันทีโดยนำปืนลูกซองสั้น (อีโบ๊ะ)  เล็งปากกะบอกปืนไปยังรูปหล่อรุ่นแรกเนื้อทองเหลืองและเนื้ออาปาก้า  แค่ยิงครั้งแรกเท่่านั้นปากกระบอกปืนก็แตกเป็นเสี่ยงๆ  ท่ามกลางความงุนงงของแต่ละคนที่ได้ลองของในวันนั้น ….มีอีกหลายประสบการณ์ที่เกิดขึ้น  แต่จะนำประสบการณ์ที่มีคนได้ทดลองเร็วๆ นี้คือ  เมื่อวันพุธ 7 มีนาคา พ.ศ. 2550  พนักงานขับรถของหน่วยงานแห่งหนึ่งในอำเภอหนองไผ่  ได้ทดลองกับรูปหล่อหลวงปู่ขุ้ย  เนื้ออาปาก้ารุ่นแรก  โดยนำปืน .38  ลูกโม่ที่ได้ซื้อมาใหม่เอี่ยม  มาทำการทดสอบโดยลั่นไกยิงจำนวน 4 นัดแต่ไม่แตก  ลูกปืนไม่ออก  ไม่มีเสียงดัง  พอยิงขึ้นฟ้านัดที่ 5  เท่านั้น  ดังเปรี้ยงท่านกลางความงงสงสัยกันแบบนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาคุยกันแต่ก็หาสาเหตุไม่พบ  อีกทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งในอำเภอหนองไผ่ได้ประสบอุบัติเหตุรถตกเขา  รถพังยับ  แต่ร่างกายท่านผู้อำนวยการโ่รงเรียนท่านนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่รอยแมวข่วน…

สาธารณสุข อ.หนองไผ่  ดำเนินการสร้างเหรียญในเสมาหลวงปู่ขุ้ย (รุ่นสิงหนาท)  เนื้อเงิน ,  เนื้้อทองแดง ,  กะไหล่เงิน  และเนื้อทองแดงแจกทานทอดกฐินเมื่อวันที่  22  ต.ค. 2549 (ณ วัดเขาถ้ำศรีทรงธรรม)  หลวงพ่อสุนทร  ปริสุทฺโธ  ดำเนินการสร้างรูปหล่อเหมือน (พิมพ์กวักทรัพย์ – กวักโชคลาภ)  ออกให้เช่าบูชาเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2549  (วัตถุประสงค์เพื่อสร้างกุฏิ)  รูปหล่อเหมือนรุ่น 2  (พิมพ์กวักทรัพย์ – กวักโชคลาภ)  นายนิธิภัทร  เสนาะดนตรี  นายอำเภอหนองไผ่สร้างถวายเหรียญรูปเหมือนล้อแม็กซ์ (ครึ่งองค์)  เนื้อนวโลหะ  เนื้ออัลปาก้า  เนื้อทองเหลืองเหรียญล้อแม็กซ์  รุ่น 2 รูปหล่อเหมือนเต็มองค์  รุ่น 1  (ออกวัดลำพาด)  พระอาจารย์ภพ  วัดลำพาด  ต.วังท่าดี  อ.หนองไผ่  สร้างเหรียญหัวแหวนรูปไข่เพชรกลับลงยาสีธงชาติ  คณะศิษย์นำโดยกำนันประสิทธิ์  ชื่นสำนวน  สร้างรูปหล่อหัวไม้ขีด  รุ่น 2  (ออกวัดลำพาด)  รูปหล่อเหมือนห่มดอง  เนื้อนวะ  เนื้ออัลปาก้า  เนื้อทองเหลือง  แหวนหลวงปู่ขุ้ย  ในวันที่ 7 เม.ย. 2550  มีพิธีพุทธาภิเษก  เสาร์ 5  วัตถุมงคล 5 ชนิด  ครั้งยิ่งใหญ่ของลูกศิษย์  มีแขกผู้มีเกียรติทั้งข้าราชการ  พ่อค้าและ ประชาชน…


เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม February 04, 2021 15:00:06
วันที่ปิดประมูล February 05, 2021 15:04:59
ราคาเปิด10
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ (ฟิวเจอร์) ,

ployneena

ผู้เสนอราคาล่าสุด

700

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


+1 Auto Feedback


ployneenaMarch 05, 2021 15:10:00

ความคิดเห็นจากผู้ขาย


EF 2399 8990 4TH ขอขอบพระคุณท่านที่มาอุดหนุนคะ เช็คเลข 17.00 น.นะคะ


พันธุ์ทิพย์February 08, 2021 04:42:30

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น