พระพุทธนราวันตบพิต ภปร. ปี 2542 เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในหลวง ร.9
ประการสำคัญที่สุดได้พระราชทานมวลสารส่วนพระองค์ โดยเฉพาะเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศาของพระองค์) ให้นำมาผสมในเนื้อพระ เพื่อให้พสกนิกรได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ตลอดไป
เป็นพระประทับยืนยกพระหัตถ์สองข้างบนพื้นที่ทำเป็นรูป
ประดิษฐานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา
เนื้อหามวลสาร นอกจากเส้นพระเจ้า ผงจิตรลดา และ มวลสารส่วนพระองค์ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังพระราชทานมวลสารมหามงคลอีกประการหนึ่งคือ พระจีวรที่พระองค์ครองคราวเสด็จออกผนวช เมื่อปี พ.ศ.2499
นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้รวบรวมมวลสารจากพระธาตุสำคัญทุกปีเกิด จากวัดสำคัญ 143 วัดทั่วประเทศ
สถานที่สำคัญอันได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ในอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ก็ได้ทรงพระราชทานมวลสารพุทธมงคลสำคัญมาร่วมสร้างพระพิมพ์พระพุทธนราวันตบพิธ อีกจำนวนมาก
สำหรับการผสมมวลสารมหามงคลพระราชทานนั้น อาจารย์อนันต์ สวัสดิ์สวนีย์ ซึ่งเป็นนายช่างแห่งกองช่างสิบหมู่ กรมศิลปกร ได้นำมวลสารมหามงคลทั้ง 3 ประการ มาซอยและย่อยให้เป็นผงละเอียดยิบ เพื่อจะได้ผสมมวลสารอย่างอื่นอย่างทั่วถึง เพราะฉะนั้นประชาชนทุกท่านมีสิทธิ์ได้รับมวลสารมหามงคลอย่างถ้วนทั่วกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกรู สมัยดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2542 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงมอบให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์และจุดเทียนชัย
มีพระเถระและพระคณาจารย์ รวม 72 รูปทั่วประเทศ อาทิ
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน เลย
หลวงพ่อพวง สุวีโร วัดป่าปูลู สกลนคร
หลวงพ่อบุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น
หลวงปู่หงส์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม ราชบุรี
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ
ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ พระอีกรุ่นที่ พิธีดี มวลสารดี อนาคตดีแน่นอน