พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ซุ้มปรกโพธิ์ บัวเล็บช้าง กรุงเทพมหานคร เนื้อดินดิบ พระกรุอายุร่วมสองร้อยกว่าปี สร้างในสมัยรัชการที่ ๑ โดยพระอนุชาธิราช สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท หลังจากชนะศึก"สงครามเก้าทัพ"จึงสร้างพระพิมพ์บรรจุกรุ เพื่อเป็นการสืบต่อพุทธศาสนา พระกรุนี้ได้แตกกรุออกมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ สืบเนื่องจากพระลูกวัดได้ไปสำรวจพบร่องรอยการลับลอบขุดเจดีย์องค์เล็ก ทางคณะสงฆ์และคณะกรรมการวัด จึงประชุมและได้เห็นควรให้มีการขุดค้นอย่างเป็นทางการทั้งเจดีย์องค์เล็กและ เจดีย์องค์ใหญ่ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ชนะสงคราม มาคอยอำนวยความสะดวกระหว่างการขุดผลจากการขุดค้นได้พบพระเครื่องพระบูชา ตลอดจนข้าวของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่กรมศิลป์ ฯ แจ้งว่า เป็นพระพิมพ์ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นผู้สร้างบรรจุเอาไว้ หลังจากชนะศึก"สงครามเก้าทัพ" เพื่อเป็นการสืบต่อพุทธศาสนา นับเป็น เป็นพระกรุที่ถูกจัดเข้าในรายการประกวดพระแทบทุกงาน มีความนิยมในอันดับต้นของพระดีราคาเยาวชน สร้างโดยเนื้อผงใบลานผสมดินดิบ มีพุทธลักษณะสวยงามมาก ตามศิลป์ของช่างหลวง ในด้านพุทธคุณนั้นเรียกว่าครอบจักรวาล เป็นพระกรุเก่าอายุ ประมาณ ๒๐๐กว่าปี ชื่อวัดเป็นมงคลนาม ประวัติชัดเจน พุทธคุณ และ ประสบการณ์ ยอดเยี่ยม เป็นที่ยอมรับในพุทธคุณ และ รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการ โดยเฉพาะเรื่องประสบการณ์นั้นโดดเด่นมาก จึงทำให้ผู้ที่นิยมในพุทธพระเครื่องหลายต่อหลายท่านอาราธนา พระวัดชนะสงครามนี้ ขึ้นคอได้อย่างมั่นใจ หายากน่าเก้บน่าใช้
วัดชัยชนะสงคราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหารตั้งอยู่จดถนนจักรพงศ์ ตำบลชนะสงคราม อำเภอพระนคร กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดเล็กๆ มีมาก่อนสร้างกรุงเทพฯ ในสมัยนั้นบริเวณรอบๆ วัดยังเป็นท้องทุ่งนาค่อนข้างกว้างใหญ่ เรียกกันในสมัยนั้นว่า "วัดกลางนา" ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เรื่องราวของวัดนี้เริ่มมีหลักฐานขึ้น คือเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราช ปรารภว่าพระราชาคณะฝ่ายรามัญยังหาตัวมิได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดหาพระมหาเถระฝ่ายรามัญ ซึ่งรู้พระวินัยปริยัติได้ ๓ รูป ทรงตั้งเป็นพระมหาสุเมธาจารย์ รูปหนึ่ง พระไตรสรณธัช รูปหนึ่ง พระสุเมธน้อย รูปหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ทรงสร้างวัดกลางนาขึ้นใหม่และทรงโปรดให้พระสงฆ์รามัญมาอยู่ที่วัดกลางนาและ ให้พระสุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาส พระไตรสรณธัชนั้นมีพระบรมราชโองการให้ไปอยู่วัดบางหลวง เป็นเจ้าคณะรามัญในแขวงนนทบุรี สามโคก พระสุเมธน้อยนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองวัดบางยี่เรือใน หลังจากนั้นต่อมาชาวบ้านก็เรียกวัดกลางนา ว่า "วัดตองปุ" สันนิษฐานว่าจะเรียกกันตามอย่างในสมัยอยุธยา ซึ่งในสมัยอยุธยามีวัดตองปุ ที่เป็นวัดพระสงฆ์รามัญ ต่อมาเมื่อสยามทำศึกและได้ประชุมพลก่อนออกสงคราม ณ ที่วัดแห่งนี้ และได้รับชัยชนะกลับมาจึงพระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ว่า วัดชัยชนะสงคราม การขุดพบพระเนื้อดินดิบ กรุวัดชนะสงคราม กทม. นั้น เหตุที่พบพระกรุนี้ พระมหาเฉลิมชัย วัดชนะสงคราม ได้บันทึกคำบอกเล่าของพระวิมลกิจจารักษ์ (ศิริ อตฺตาราโม) ไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น คือ พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) ได้สั่งให้ไปดูสถานที่บริเวณหมู่เจดีย์น้อยใหญ่ ใกล้ศาลาชี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ร.ร.วัดชนะสงคราม) เพราะมีผู้มาแจ้งว่า มีคนร้ายลักขุดและพังทำลายพระเจดีย์ ท่านเจ้าอาวาสสั่งว่า หากพบว่ามีรอยขุดค้นจำพระเจดีย์เสียหาย พอที่จะขุดเอาได้ ก็ให้จัดการไปตามที่เห็นสมควร พระวิมลกิจจารักษ์ ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระครูพิศิษฐ์วิหารการ จึงพร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณรได้ไปตรวจดูสถานที่ พบว่าพระเจดีย์ถูกทุบขุดคุ้ยพังทำลายหลายแห่ง พวงมิจฉาชีพลักล้วงเอาของมีค่าที่บรรจุไว้ไปเกือบหมดสิ้น พระที่พวกเหล่าร้ายทิ้งหลงเหลืออยู่บ้าง มีพระกรุแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ พระโคนสมอแบบอยุธยา พระทรงเทริด (พระงั่ง) ฯลฯ ยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานในที่นั้นยังไม่ถูกคนร้ายขุดคุ้ยทำลาย แต่เจดีย์องค์นี้ยอดหักแตกร้าวตลอดจากยอดลงมาถึงคอระฆัง บริเวณฐานก็ผุกกร่อนหลายแห่ง พิจารณาแล้วหากปล่อยไว้คนร้ายคงขุดทำลายเสียหายได้โดยง่าย ของมีค่าหากบรรจุไว้อาจถูกคนร้ายเอาไปเป็นสมบัติของมัน จึงพร้อมใจกันขุด โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจชนะสงครามซึ่งได้รับแจ้งให้มาดูสถานที่คอยอำนวยความสะดวก กันไม่ให้คนภายนอกมาวุ่นวายกับการขุดพระเจดีย์ ผลปรากฏว่าขุดโดยไม่ต้องออกแรงมากมายนัก องค์พระเจดีย์ผุปูนหมดอายุร่วนหมดแล้ว ภายในองค์เจดีย์สร้างเป็นโพรงกลางองค์ถึงคอระฆัง ในนั้นบรรจุพระเครื่องดัเป็นจำนวนมากเก็บลง ใส่ปี๊บประมาณ ๘ ปี๊บ พบหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้คือ ไม้แกะสลักเป็นรูปพระสงฆ์ห่มดองคาดประคตอก นั่งสมาธิ ลงรัก ปิดทอง ใต้ฐานรูปแกะสลักนี้บรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษาขอมเลอะเลือนผุกร่อนอ่านได้ไม่ชัดเจน พระทองคำแบบพระวัดตะไกรหน้าครุฑบ้างเล็กน้อย เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรผู้ถูกเชิญมาดู ว่าเป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นลงข่าวเกรียวกราวติดต่อกันอยู่หลายวันและสันนิษฐานว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างแล้วบรรจุไว้ ผู้เขียนได้พยายามสืบเสาะถามจากพระเถระและท่านผู้รู้อีกหลายท่านประกอบกับรูปทรงองค์พระเจดีย์ ตลอดกระทั่งหมู่เจดีย์ในบริเวณนั้น เห็นว่าเจดีย์ต่างๆ เป็นทรงแบบสมัยอยุธยา ความเก่าแก่ของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างก็อยู่ในยุคเดียวกัน ทั้งวัดนี้เดิมก็เป็นวัดเล็กๆ ซึ่งเรียกกันว่า วัดกลางนา สร้างมาก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ฉะนั้นพระกรุวัดชนะสงครามชุดนี้ต้องสร้างและบรรจุไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๑ อย่างแน่นอน (ขอบพระคุณข้อมูลบางส่วน ที่คัดลอกจาก : คมชัดลึก ไลฟ์สไตล์ พระเครือง : ๑๗ ก.ค. ๒๕๕๕ )
ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น