จัดสร้างขึ้นที่วัดโคกเขมา ขณะนั้นหลวงพ่อเปิ่นได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดโคกเขมาเนื้อที่จัดสร้าง
1.เนื้อเงินยวง (ไม่มีระบุจำนวนการสร้าง) 2.เนื้อตะกั่ว (ไม่มีระบุจำนวนการสร้าง) 3.เนื้อทองแดง (ไม่มีระบุจำนวนการสร้าง)
ด้านหลังจะมี 2 แบบ คือแบบหลังเรียบ กับหลังตัวหนังสือ
หลวงพ่อเปิ่นเมื่อครั้งอยู่วัดโคกเขมาในส่วนของประวัติหลวงพ่อเปิ่นช่วงที่เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาจากการสัมภาษณ์พระสมุห์ไพรวัน คุณวนฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา นั้น ได้ข้อมูลคร่าวๆ ว่า หลวงพ่อเปิ่นท่านย้ายมาจำพรรษาพร้อมกับได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโคกเขมา เมื่อปลายพรรษา พ.ศ.๒๕๐๗ และที่วัดโคกเขมานี้เอง คือสถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นการสักยันต์ และพิธีไหว้ครูที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกกลางลานวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ นอกจากการสักยันต์ของหลวงพ่อเปิ่นที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดโคกเขมาแล้ว "วัตถุมงคล" ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อเปิ่นเริ่มสร้างไว้ครั้งแรกที่วัดโคกเขมาเช่นกัน อาทิเช่น เหรียญเสมารุ่นแรกของหลวงพ่อเปิ่น (เหรียญพระอธิการเปิ่น) ที่บางท่านเข้าใจว่าสร้างในปี ๒๕๐๖ ความจริงแล้วเหรียญรุ่นแรกนี้สร้างเมื่อปี "พ.ศ.๒๕๐๘" โดยสังเกตได้จากประวัติหลวงพ่อเปิ่นที่ท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาเมื่อปี ๒๕๐๗ ประกอบกับตำแหน่ง "พระอธิการ" ที่มีระบุในเหรียญ จะใช้สำหรับเรียกเจ้าอาวาสวัดทั่วไปที่ไม่มีสมณศักดิ์อยู่แล้ว ดังนั้นที่กล่าวกันว่าเหรียญพระอธิการรุ่นแรกหลวงพ่อเปิ่น สร้างเมื่อปี ๒๕๐๖ จึงเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้พยานบุคคลอีก ๒ ท่าน คือทิดเลี้ยง (อดีตเคยอุปสมบทอยู่กับหลวงพ่อเปิ่นที่วัดโคกเขมา) และอาจารย์หวั่น (อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาต่อจากหลวงพ่อเปิ่น) ก็ต่างให้รายละเอียดตรงกันว่า เหรียญรุ่นแรกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ ส่วนเหรียญพิมพ์เหรียญรุ่นแรกเนื้อเงินยวงและเนื้อตะกั่ว ทิดเลี้ยงเป็นผู้เทตะกั่วหล่อเหรียญด้วยตนเอง โดยโลหะที่นำมาเทหล่อเหรียญนั้น ที่เรียกว่าเป็นเงินยวงความจริงเป็นโลหะจากกรุบางขโมย ที่หลวงพ่อเปิ่นท่านได้รับถวายมา ส่วนเนื้อตะกั่วก็ได้มาจากพระแก้บนเนื้อตะกั่วในอุโบสถ (กรรมวิธีการสร้างไม่ขออธิบาย ณ ที่นี้) ส่วนปี พ.ศ. ที่ทำออกมานั้นอยู่ในราว พ.ศ.๒๕๐๘ - พ.ศ.๒๕๑๗ เพราะมีการสร้างเรื่อยมาตลอด แต่ก็ได้รับการอธิษฐานจิตปลุกเสกจากหลวงพ่อเปิ่นเหมือนกันหมด สมัยนั้นหลวงพ่อเปิ่นท่านสั่งให้ทำแจกญาติโยมที่มาร่วมทำบุญที่วัดเสียส่วนใหญ่ (มาจากหนังสือประวัติวัดในจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีประวัติวัดโคกเขมา รวมอยู่ด้วย)ในหนังสือกล่าวไว้มีแค่ 2 เนื้อ คือเนื้อตะกั่ว กับเนื้อเงินยวงจำนวนการสร้างน่าจะไม่มาก ส่วนเนื้อทองแดงน่าจะสร้างภายหลัง
ก็เลยจะเจอแต่เนื้อทองแดงเป็นส่วนใหญ่
องค์นี้ผมเคยส่งออกบัตรประมาณปี56 แต่ทางเวปไม่รับตรวจสอบ เนื่องจากไม่มีข้อมูลพิมพ์นี้ ส่วนใบส่งออกตรวจหาไม่เจอแล้วครับพอดีตอนนั้นย้ายบ้านใหม่เลยไม่รู้ว่าไปเก็บไว้ไหน ส่วนองค์นี้เป็นเนื้อตะกั่วครับ องค์นี้ได้มาจากคนเก่าแก่ในพื้นที่เป็นญาติของพ่อตาเขาเป็นคนแถวบางพระใกล้วัดหลวงพ่อเปิ่น ได้มานานมากไม่ต่ำกว่า30ปีเห็นจะได้ แต่เจ้าของเดิมเสียชีวิตไปแล้วถ้ามีชีวิตอยู่อายุก็เกือบ 100ปีแล้วครับ เนื้อตะกั่วกับเนื้อเงินยวงสร้างไม่มากครับ แต่เนื้อเงินยวงจะสร้างน้อยและหายากกว่า ไม่ค่อยได้พบเห็น คนเขาก็เลยไม่ค่อยได้เล่นเนื้อพวกนี้เพราะว่าพระมีจำนวนหมุนเวียนน้อย ไม่ค่อยได้เจอถ้าเจอส่วนมากจะเก็บกันมากกว่า จะเจอแต่เนื้อทองแดงและเล่นกันเป็นส่วนมากเพราะมีหมุนเวียนมากกว่า ผมได้มาแต่เหรียญเปล่าๆแล้วเอาไปเลี่ยมกรอบเงินทีหลังเลี่ยมมาเป็นสิบๆปีแล้วกรอบเงินอาจจะมีดำคล้ำไปบ้างเพราะตอนเลี่ยมใหม่ๆผมก็ใส่อยู่พักนึงแล้วก็เก็บยาวมาครับ ถูกใจท่านใดเชิญครับ พิจารณาให้ชอบก่อนร่วมประมูล จะได้ไม่เสียเวลาทั้ง 2 ฝ่าย ผมหาประวัติรุ่นนี้มาให้แล้วครับ
- อ่านกันสักนิดก่อนร่วมประมูลกันนะครับ
- เงื่อนไขตาม กฎกติกา ของเวป
- ราคาพระไม่ถึง 500 ส่งลงทะเบียน (ems เพิ่ม 40 บาท)
- ราคาพระ 500 ขึ้นไป ส่ง ems ให้ ฟรีทุกรายการ
- ค่อยๆ พิจารณาให้ชอบก่อนร่วมประมูล ไม่ต้องรีบร้อน
- รับคืนในกรณีพระไม่แท้ หรือแตก ชำรุด เสียหาย ไม่ตรงตามรูป
- เมื่อชนะประมูลแล้วไม่เอา แจ้งยกเลิกได้ภายใน 24 ช.ม.
- แต่ถ้าในกรณีที่ได้รับพระแล้ว ไม่ถูกใจหรือไม่พอใจ จะขอใช้กฎรับประกัน 24 ช.ม. ขอผ่านไปก่อนนะครับไม่ต้องร่วมประมูล จะได้ไม่ต้อมมาเสียเวลาด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
- ยังมีรายการอื่นๆ อีกมากมายสนใจคลิ๊ก VIP ครับ