@@@ ถูกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว @@@ เหรียญนั่งพานหลวงพ่อเปิ่น ปี2538 เนื้อทองแดง วัดบางพระ จ.นครปฐม พร้อมบัตรรับรอง

ปิด สร้างโดย: พันธุ์ทิพย์  VIP   (3249)

มูลค่า-พุทธคุณ-ประวัติ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเปิ่น หากเอามานับรวมกันทั้งที่ท่านสร้าง และปลุกเสกแล้ว ปัจจุบันมีออกมามากมายหลายรุ่นหลายคณะสร้าง จนจำกันไม่หวาดไม่ไหวว่าเป็นของใครต่อของใครกันบ้าง ทั้งนี้เพราะหลวงพ่อเปิ่น ท่านมีเมตตาต่อทุกคนไม่เลือกหน้า ใครมาขอจัดสร้างในนามท่าน หลวงพ่อก็อนุญาต ด้วยเหตุนี้การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเปิ่นจึงไม่อาจนับรุ่นได้ ที่นับได้ก็เห็นมีเพียงแต่ว่า วัตถุมงคลแบบนี้ ชนิดนี้สร้างครั้งแรกเมื่อไร ที่ไหน ปีใด เท่านั้น ซึ่งเราสามารถแบ่งแยกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
          ๑. คณะศิษย์สร้างถวายโดยขออนุญาตหลวงพ่อสร้างขึ้น เนื่องในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง จากนั้นก็นำมาให้ท่านปลุกเสก แล้วขอแบ่งจำนวนหนึ่งเพื่อไปแจกให้ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง บางคณะจัดสร้างขึ้นเป็นการส่วนตัว โดยไม่ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่บางคณะสร้างถวายเพื่อหารายได้ไปบำรุงสาธารณประโยชน์ ก็อาจมีการโฆษณาเผยแพร่
          ๒. สร้างนอกวัด มีทั้งที่วัดอื่นขออนุญาตสร้างขึ้นเองในนามหลวงพ่อ แล้วนำมาให้ท่านปลุกเสกเพื่อนำไปหารายได้ และที่ไม่ได้ขออนุญาตหลวงพ่อเลยก็มี รวมทั้งบุคคลที่ทำเลียนแบบขึ้นมา
          ๓. วัดบางพระจัดสร้างขึ้นเอง วัตถุมงคลเฉพาะที่วัดบางพระจัดสร้างขึ้นนั้น ถ้าจะว่าไปแล้วมีอยู่ไม่กี่รุ่น หรือคิดเป็นสัดส่วนกับวัตถุมงคลในนามของหลวงพ่อเปิ่นทั้งหมด มีแค่ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
          วัตถุมงคลวัดบางพระไปโผล่ที่วัดนก
            เนื่องจากมีผู้ขออนุญาตหลวงพ่อเปิ่น สร้างวัตถุมงคลในนามของท่านมากมายหลายคณะ จนเป็นที่สับสนของนักสะสมพระเครื่อง ที่ต้องการวัตถุมงคลที่หลวงพ่อสร้างขึ้นเอง หรืออีกนัยหนึ่งวัตถุมงคลของทางวัดบางพระโดยตรง
          อย่างไรก็ตาม นักสะสมพระเครื่องหลายต่อหลายราย ต่างตั้งข้อสงสัยขึ้นมาว่า เหตุใดวัตถุมงคลของวัดบางพระ จึงมีให้เช่าบูชาที่วัดนก ซึ่งตั้งอยู่ในซอยพณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ ๑๓กรุงเทพฯ แทบทุกรุ่น ทุกพิมพ์ก็ว่าได้ ไม่นับส่วนที่วัดนกจัดสร้างขึ้นเองในนามหลวงพ่อเปิ่น ซึ่งมีอยู่แค่ ๓ พิมพ์ คือ พระสมเด็จเนื้อผงขาโต๊ะ พิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็ก และพระพิมพ์นางพญาเนื้อผง
          เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านพระครูสุจิตตาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนกองค์ปัจจุบัน ได้กรุณาชี้แจงว่า ท่านได้รู้จักชอบพอกับหลวงพ่อเปิ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้มีการไปมาหาสู่กันเป็นประจำ เวลาที่วัดนกมีงาน หลวงพ่อเปิ่นก็จะมาร่วมด้วย และถึงคราวที่วัดบางพระจัดงาน ท่านเจ้าอาวาสวัดนกก็จะไปช่วยเสมอมิได้ขาด เป็นความผูกพันต่อกันฉันญาติธรรมมานานปี
          ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ เมื่อทางวัดบางพระจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมา ท่านเจ้าอาวาสวัดนกจึงช่วยรับนำวัตถุมงคลดังกล่าวส่วนหนึ่งมาให้เช่าบูชาที่วัด สำหรับท่านที่ไม่มีเวลาเดินทางไปที่วัดบางพระ ซึ่งอยู่ถึงนครชัยศรี เป็นการช่วยเผยแพร่วัตถุมงคลของหลวงพ่อเปิ่นทางหนึ่ง และเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ต้องการเช่าบูชาที่อยู่ในกรุงเทพฯ
          วัตถุมงคลที่หลวงพ่อเปิ่นสร้างเอง และสร้างที่วัดบางพระนั้น หลังจากทำขึ้นได้เท่าจำนวนที่ต้องการแล้ว แม่พิมพ์หรือบล็อคต่าง ๆ จะถูกทำลายหมด เพื่อไม่ให้มีการทำเพิ่มขึ้นมาอีกในภายหลัง อันเป็นเจตนารมณ์ของหลวงพ่อเปิ่นเอง ท่านสั่งกำชับไว้ว่า เมื่อหมดแล้วก็ให้หมดไป ถ้าจะทำอีกก็ทำรุ่นใหม่ไปเลยโดยมีเป้าหมายในการสร้างที่ชัดเจน เช่น เพื่อหาทุนสร้างถาวรวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น
          วัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงพ่อเปิ่น จัดสร้างขึ้นที่วัดโคกเขมา (โคก-ขะ-เหมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เมื่อท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสที่นั่น เพื่อหาเงินในการสร้าง และทำนุบำรุงถาวรวัตถุภายในวัด มีด้วยกัน ๓ รูปแบบ คือ สมเด็จสามชั้นรูปเหมือนลอยองค์ ขนาดห้อยคอ และ เหรียญเสมา เป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ด้านหน้า ใต้องค์หลวงพ่อเขียนว่า พระอธิการเปิ่นด้านหลังมีอักขระขอมเรียงกัน ๖ แถวในแนวนอน
          วัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อมากที่สุด จัดสร้างขึ้นที่วัดบางพระ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จะถือเป็นรุ่นแรกของวัดบางพระก็เป็นได้ วงการเรียกว่า รุ่นพิเศษหลังเสือหมอบลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ด้านล่างหลวงพ่อเขียนว่า หลวงพ่อเปิ่นมีคำว่า รุ่น-พิเศษอยู่ตรงข้อศอกขวา และซ้ายด้านละหนึ่งคำ ด้านหลังบนสุดมีตัวอุณาโลมอักษรของ ยอดอุณาโลมเกือบชนขอบ แล้วตามด้วยอักขระขอมเรียงกัน ๕ แถว แนวนอน ใต้อักขระของเป็นรูปเสือหมอบพิมพ์นูน ด้านล่างเสือหมอบเขียนเลข ๒๕๑๙ อันเป็นปีที่สร้าง
          พระผงของขวัญ ๕ เสาร์พระเครื่องที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด
          วงการพระเครื่องจะต้องจารึกไว้เป็นประวัติการณ์ว่า พระผงของขวัญ ๕ เสาร์ ของหลวงพ่อเปิ่นซึ่งสร้างขึ้นที่วัดบางพระเมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๓๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนั่งเสือ รุ่น ๕ เสาร์ ที่สร้างขึ้นจำนวนถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ ได้หมดไปจากวัดในเวลาอันรวดเร็ว ๘๐ เปอร์เซ็นต์ อยู่ในครอบครองของประชาชนทั่วไป อีก ๒๐ เปอร์เซ็นต์ อยู่ตามศูนย์พระเครื่อง หรือ วัดต่าง ๆ
          เหตุที่วัตถุมงคลรุ่นนี้โด่งดังพลิกประวัติศาสตร์วงการพระเครื่อง พอจะจับเค้าได้ดังนี้
          ๑. พระชุดนี้จัดสร้างขึ้นที่วัดบางพระ โดยหลวงพ่อเปิ่นเป็นประธานในการจัดสร้าง และกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ และมีพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนลูกศิษย์วัดบางพระ ช่วยในการสร้างจนได้ครบตามจำนวน ประชาชนที่ไปกราบนมัสการหลวงพ่อเปิ่น ต่างก็เห็นเป็นประจักษ์พยาน
          ๒. พระผงของขวัญ ๕ เสาร์ หลวงพ่อเปิ่นได้ประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยวทุกวันเสาร์ของเดือน ๕ รวมทั้งหมด ๕ ครั้ง คือ
          ครั้งที่ ๑ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๓๔ ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕
          ครั้งที่ ๒ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๔ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕
          ครั้งที่ ๓ เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕
          ครั้งที่ ๔ เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๓๔ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๕
          ครั้งที่ ๕ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๓๔ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๕
          ๓. วัตถุประสงค์การสร้าง ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพื่อหารายได้นำไปสมทบทุนสร้างตึกอาคารเรียนให้กับโรงเรียนวัดบางพระ งบประมาณก่อสร้าง ๑๔ ล้านบาท ฉะนั้นผู้ที่เช่าบูชาพระผงของขวัญ ๕ เสาร์ชุดนี้ ย่อมได้อานิสงส์ผลบุญ และได้บำเพ็ญบารมีร่วมกับหลวงพ่อเปิ่นด้วย
          ๔. ผู้ที่เคยมีวัตถุมงคลชุดต่าง ๆ ของหลวงพ่อเปิ่นหลายต่อหลายราย เจอประสบการณ์อภินิหารในรูปแบบต่าง ๆ และบอกกล่าวกันต่อ ๆ ไป จากปากต่อปาก ทำให้มีผู้ต้องการวัตถุมงคลของหลวงพ่อเปิ่นไว้บูชาทั้งรุ่นอื่น ๆ และรุ่น ๕ เสาร์นี้ด้วย
          ๕. วัตถุมงคลรุ่น ๕ เสาร์นี้ หลวงพ่อเปิ่นท่านมีเจตนาที่แน่วแน่ว่า เมื่อหมดแล้วจะไม่มีการทำเสริมขึ้นมาอีกเป็นอันขาด
          วัตถุมงคล ๕ เสาร์ รุ่นสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดบางพระชุดนี้ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๒ พิมพ์ ดังนี้ คือ ๑. พระสมเด็จพิมพ์นิยม ๒. พระสมเด็จหลังเสือ ๓. พระผงรูปเหมือนหลังหมู ๔. พระผงรูปเหมือนนั่งซุ้ม ๕. พระผงรูปเหมือนหลังหมูเนื้อยา ๖. พระผงนั่งเสือ ๕ เสาร์ ตะกรุดทองคำ เนื้อยา ๗. พระผงนั่งเสือ ๕ เสาร์ เนื้อยาจินดามณี ๘. พระผงนั่งเสือ ๕ เสาร์ ตะกรุดทองคำ ๙. พระผงนั่งเสือ ๕ เสาร์ พิมพ์ยันต์กลับ ๑๐พระผงนั่งเสือ ๕ เสาร์ ประจุพลอย ๑๑พระผงนั่งเสือ ๕ เสาร์ ประจุตะกรุดทองคำ (หลังบล็อคแตก) ๑๒พระผงนั่งเสือ ๕ เสาร์ ผงพุทธคุณ
          ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อเปิ่นชุดนี้ เป็นที่นิยมกันมาก และเล่นหาในราคาค่อนข้างสูง
  
เหรียญหล่อโบราณวัตถุมงคลชุด ๕ เสาร์
          ซึ่งเป็นที่เลื่องลือ และมาแรงที่สุด ทำให้พระชุดดังกล่าวหมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว แสดงถึงพลังศรัทธาของประชาชนที่มีต่อหลวงพ่อเปิ่น และมีเสียงร่ำร้องอยากให้หลวงพ่อสร้างชุดใหม่ขึ้นมาอีก
          จากการตรวจดูมหามงคลฤกษ์แล้วเห็นว่า วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๓๔ เวลา ๑๓.๓๙ น. เป็นวันและเวลาที่เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับประกอบพิธีกรรมสร้างวัตถุมงคลเหรียญหล่อแบบโบราณขึ้น ซึ่งพิธีกรรมประกอบด้วยการบูชาฤกษ์ตามตำรับโบราณ อุปกรณ์การสร้างทั้งหมดต้องยกมาทำที่วัด ช่างที่จะมาทำการหล่อจะต้องมากินนอนที่วัดจนกระทั่งเสร็จพิธี
          เหรียญหล่อโบราณรุ่นสร้างหอสวดมนต์นี้เป็น พิมพ์นั่งเสือมี อยู่ด้วยกัน ๓ เนื้อ คือ เนื้อทองคำ สร้างจำนวน ๓๐๐ เหรียญ เนื้อเงิน สร้างจำนวน ๕,๙๙๙ เหรียญ และเนื้อระฆังเก่า สร้างจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ เหรียญ
          สำหรับเนื้อระฆังเก่านั้น หลวงพ่อเปิ่นท่านได้เก็บสะสมระฆังเก่า อายุหลายร้อยปีไว้ และนำมาหล่อหลอมสร้างเป็นพระเครื่องขึ้น ซึ่งปรมาจารย์ในอดีตก็นิยมสร้างพระเครื่องจากเนื้อระฆังเก่า เพราะถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมาแต่โบราณกาล
          เนื่องจากวงการพระเครื่องในปัจจุบันนี้ นิยมเล่นหาวัตถุมงคลที่มีโค๊ด หรือ  รหัสลับเฉพาะ ที่ทางวัดจัดทำขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันได้อย่างหนึ่งว่า เป็นของแท้ที่มิใช่ทำปลอมแปลง หรือสร้างเสริมขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อเปิ่นจึงกำหนดให้ทุกเหรียญหล่อโบราณนั่งเสือรุ่นนี้ต้องมีโค๊ด นอกจากนี้ท่านยังได้ จารเพื่อให้สมบูรณ์แบบ และเพิ่มความเข้มขลังขึ้นอีกด้วย
..สุดยอดอิทธิมงคลวัตถุ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ เหรียญหล่อโบราณ รุ่น สร้างหอสวดมนต์ ดำเนินการสร้างโดย หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
คนโบราณมีกรรมวิธีสร้างพระตามขั้นตอนต่างๆอย่างมหัศจรรย์ ลงมือทำที่วัดจนเสร็จทุกรายการ เครื่องรางของขลังสมัยเก่าจึงมีอิทธิผล ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าลดขั้นตอนการสร้างลงมากมาย หลวงพ่อเปิ่นสร้างเหรียญหล่อโบราณนั่งเสือรุ่นนี้ นำพิธีกรรมโบราณมาสร้างทุกขั้นตอนสมบูรณ์แบบที่สุด
วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2534 เวลา 13.34 น. มหามงคลฤกษ์ เป็นวันแรกที่เริ่มพิธีกรรมการสร้างแบบโบราณโดย
1.มหาฤกษ์และบูชาฤกษ์ตามตำราโบราณ
2.ยกเครื่องมืออุปกรณ์ในการสร้างทั้งหมดมาที่วัดบางพระ
3.นำช่างที่ชำนาญการจัดสร้างมากินอยู่หลับนอนที่วัดจนเสร็จทุกรายการ เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 26 กค. 2534
4.ใช้โลหะระฆังเก่า


เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!

วันที่เริ่ม May 15, 2019 08:41:33
วันที่ปิดประมูล May 16, 2019 09:00:20
ราคาเปิด10
เพิ่มครั้งละ10
ธนาคารกรุงเทพ (ฟิวเจอร์) ,

Siamchaiyo

ผู้เสนอราคาล่าสุด

230

ราคาล่าสุด


ความคิดเห็นจากผู้ซื้อ


+1 Auto Feedback


SiamchaiyoJune 16, 2019 09:17:00

ความคิดเห็นจากผู้ขาย


เลขพัสดุค่ะ EF238290679TH ขอบคุณค่ะ


พันธุ์ทิพย์May 21, 2019 06:53:08

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความเห็นจากเพื่อนสมาชิก

ประวัติการประมูล

ประวัติการเสนอราคา

ชื่อสมาชิก/วันที่เสนอราคา เสนอ

ประวัติการเสนอราคา

เหลือเวลา
รายการปิดแล้ว!


ต้องการเข้าร่วมประมูล !

ท่านต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น