ภานุ

ข้อมูลสมาชิก – ภานุ

เริ่มเป็นสมาชิก: March 25, 2009 08:50:45 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 66 รายการ , คำติ: 1 รายการ

ประวัติ Feedback


 ไม่เก็บตอนนี้ไม่ได้แล้ว  !  ราคาตามทุน ... มาถูกขายถูก มาแพงขายแพง พระหายากครับ  เหรียญ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" หลัง ภปร. ปี 2523 พิมพ์ใหญ่ ( จับกระแสความแรงหน่อยคร๊าบบบบ ) เหรียญ นี้เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่น่าสะสม เพราะออกแบบสวยงาม จัดสร้างพิธีดี เป็นพระมีอนาคตอีกองค์หนึ่ง ซึ่งติดในทำเนียบเหรียญที่น่าจับตามอง ปี 2555 และราคากำลังแรงอยู่ในขณะนี้ ตอนนี้เริ่มมีการแบ่งแยกบล็อคกันแล้วด้วย ตามศูนย์พระตอนนี้ไปถามเหรียญละไม่ต่ำกว่าพันบาท องค์นี้สภาพเดิม ๆ มีโค๊ตด้วย และยังได้ ความแท้ ดูง่าย ไปเป็นของแถมอีกต่างหาก มั่นใจได้ 100% ครับ ... บุญยวีร์ ... รับประกัน ให้ด้วย พระหายากแล้วนะครับ ไม่ได้มีมาลงให้บ่อย ๆ อีกไม่นานราคานี้จะไม่มีให้เห็นครับ ฉะนั้น ต้อง เคาะ ! สถานเดียวครับ ถึงจะได้ไปบูชา ใครมือไวใจถึง คนนั้นได้ไปเป็นเจ้าของครับ รายการนี้พระจัดส่งตรงตามภาพครับ 


เขียนโดย :บุญยวีร์ เจ้าของรายการ November 29, 2016 22:26:24



เขียนโดย :Chimo81 เจ้าของรายการ November 08, 2016 14:47:44



เขียนโดย :Chimo81 เจ้าของรายการ November 08, 2016 14:47:26


เหรียญลายเซ็น หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง หลังตรา ภปร. รุ่นอนุสรณ์ครบรอบ ๗๕ ปี ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เนื้ออัลปาก้า สภาพสวยมาก หายากมาก  รุ่นนี้ออกแบบแกะพิมพ์ได้สวยงาม หลวงพ่อท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกให้เต็มที่ทรงความศักดิ์สิทธิ์และเปี่ยมไปด้วยมหาพุทธานุภาพเป็นอย่างยิ่ง พระสวยพระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมาก  หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ในแผ่นดินลำปางนั้น จะมีตนบุญมาเกิด " คำกล่าวที่ชาวเหนือและชาวล้านนาได้เฝ้ารอ " ตนบุญ " ที่ครูบาศรีวิชัย ท่านเอ่ยถึงไว้ล่วงหน้าหลายสิบปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๕  ได้มีตระกูลที่สืบเชื้อสายเจ้า ของทางเหนือครอบครัวหนึ่งคือตระกูล ณ ลำปาง หรือเขลางค์นครในอดีต ได้ให้กำเนิดทารกเพศชาย ซึ่งเป็นลูกคนแรกของครอบครัว ในขณะนั้นยังไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าทารกเพศชายผู้นั้นก็คือ " ตนบุญ " ที่ครูบาศรีวิชัยได้กล่าวทำนายไว้นั่นเอง หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พระผู้ทรงอภิญญาบารมี ตนบุญแห่งล้านนาไทย ท่านได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาส เดินทางมุ่งหน้าสู่สุสานป่าช้า สถานที่ที่ท่านใช้ปฏิบัติธรรมตลอดอายุขัยของท่าน หลวงพ่อเป็นพระอริยะสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติและปฏิปทาที่ควรแก่การกราบไหว้สักการะบูชาเป็นอย่างยิ่ง วัตถุมงคลที่ท่านอธิษฐานจิตล้วนแล้วแต่ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความบริสุทธิ์แห่งมหาพุทธานุภาพ ซึ่งสร้างประสบการณ์มากมายให้กับผู้ที่ใช้บูชา วัตถุมงคลของท่านจึงเป็นของดีที่เป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนทั่วไป หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นโดยแท้จริง อันจริยาวัตรของท่านหลายอย่างยังคงเป็นคำกล่าวขวัญกันอยู่ อย่างเช่น การขบฉันของท่าน ท่านก็ฉันแต่น้อย สองสามวันท่านจะฉันเพียงมื้อเดียวโดยท่านฉันรวม คือของคาวและของหวานเทรวมกัน บางครั้งท่านยังฉันข้าวบูดอีก ท่านนั่งบริกรรมกลางแดดในฤดูร้อนจนผิวหนังไหม้ ท่านนั่งบริกรรมท่ามกลางสายฝนในหน้าฝน ท่านนั่งบริกรรมท่ามกลางอากาศหนาวเย็นของภาคเหนือ ตลอด ๓ เดือนเต็ม (นั่งบริกรรมกลางแจ้งโดยไม่เข้าร่มเลย) เคยมีผู้สอบถามหลวงพ่อถึงสาเหตุที่ท่านนั่งบริกรรมกลางแจ้ง ท่านก็ตอบว่า " เพื่อให้รู้เหตุของทุกข์ จะได้รู้จักการหลุดพ้นทุกข์ " และที่น่าแปลกอีกอย่างก็คือ ระยะเวลาใน ๑ ปี หลวงพ่อจะอาบน้ำเพียงครั้งเดียว และนับจากปี ๒๕๑๔ เป็นต้นมาท่านก็มิได้อาบน้ำอีกเลย แต่ท่านกลับไม่มีกลิ่นตัว ไม่มีเหงื่อ แม้ว่าท่านจะออกนั่งภาวนาตากแดดก็ตามที เท่าที่ดูแล้วหลวงพ่อท่านกลับมีผิวพรรณผ่องใส ซึ่งท่านคงต้องเป็นผู้ตอบเองว่า เพราะอะไร และเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง วัตถุมงคลที่ผ่านการอธิฐานจิตจากท่านจึงมีอานุภาพสูง แม้ว่าหลวงพ่อท่านจะละสังขารไปแล้วก็ตามที หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง สุสานไตรลักษณ์  ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ตามทางสายลำปาง - แจ้ห่ม ประมาณ 1 กิโลเมตร ไปเส้นทางเดียวกับวัดเจดีย์ซาวหลัง แต่ถึงก่อนประมาณ 500 เมตร เมื่อไปถึงจะพบรูปปั้นหลวงพ่อเกษมขนาดใหญ่ที่สังเกตเห็นได้จากถนน ภายในบริเวณมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษม เขมโก เกจิอาจารย์ ซึ่งมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก นั่งขัดสมาธิขนาดเท่ารูปจริง เพื่อให้ประชาชนเคารพสักการะ ส่วนกุฏิของหลวงพ่อเกษมอยู่ด้านข้างมณฑป  ประตูม้า ถนนลำปาง-แจ้ห่ม ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง (รับประกันแท้ ยินดีคืนเงินเต็มภายใน 10 วัน) รับประกันความแท้  รับประกันตามกฎระเบียบครับ...... รับประกันความพอใจครับ  ถ้าพระมีปัญหายินดีคืนเงินเต็มครับ โดยไม่ถามเหตุผลให้รำคาญใจ 


เขียนโดย :Diamond เจ้าของรายการ November 08, 2016 04:35:35


เหรียญยืนถือไม้เท้า หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี 2519 หลังตรา ภปร. เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวยมาก หายากมาก รุ่นนี้ลงหนังสือรวมเล่มวัตถุมงคลท่านด้วย เหรียญนี้เป็นเหรียญพระเถราจารย์เหรียญแรกของประเทศไทย ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่านฯ โปรดให้พระปรมาภิไธยย่อ  ภปร.  ประทับหลังเหรียญ พร้อมมหาพิชัยมงกุฎ ยิ่งเน้นมากขึ้นกับข้อความว่า พระราชศรัทธา  ที่หลังเหรียญเช่นกัน  มีพระราชประสงค์สร้างแจก  ประชาชน ข้าราชการ พ่อค้า ดังนั้นนักนิยมพระเครื่องจึงไม่ควรพลาดเหรียญนี้ควรมีเก็บไว้ เป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและตัวเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาให้จัดสร้างเพื่อพระราชทานแก่ทหารและตำรวจชายแดน สร้างเป็นเนื้อทองแดงชนิดเดียว 99,999 เหรียญ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ พระคุณเจ้า หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอริยสงฆ์ที่เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง จากพุทธศาสนิกชนทุกเทศทุกวัย ทั้งในและ ต่างประเทศ แม้ หลวงปู่จะได้ลาขันธ์ไป ตั้งแต่คืนวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 แต่ความทรงจำในกระแสเมตตา ปฎิปทาสัมมาปฎิบัติ จริยาวัตรที่งดงาม พร้อมกับธัมโมวาทอันล้ำค่า ของหลวงปู่ ก็ยังส่องสว่างอยู่กลางใจของพวกเราชาวพุทธทุกผู้ทุกนาม หลวงปู่แหวน จำพรรษา วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง และ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ สมัยที่ท่านพำนักที่วัดดอยแม่ปั๋ง มีสาธุชน ไปนมัสการท่านมากมายมหาศาล เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสอย่างสูง มรณะภาพ วันที่ 2 ก.ค. 2528 ณ โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดเชียงใหม่ สิริรวมอายุ 98 ปี ประวัติ หลวงปู่ แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญาณ หรือ ยาน รามศิริ เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 จังหวัดเลย เมื่อหลวงปู่อายุประมาณ 5 ขวบ พอจำความได้บ้างว่า ก่อนที่มารดาจะเสียชีวิต ได้เรียกไปสั่งเสียว่า "ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏก็ตาม แม่ก็ไม่ยินดี และแม่จะยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่จนตายในผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีเมียนะลูกนะ" อนึ่ง ยายของหลวงปู่ได้ฝันว่า เห็นหลานชายไปนั่งไปนอนอยู่ในดงขมิ้นจนเนื้อตัวเหลืองอร่ามน่าชม จึงได้มาร้องขอให้บวชเช่นเดียวกัน ด้วยคำพูดของแม่ในครั้งนั้น เป็นเหมือนพรสวรรค์คอยเตือนสติอยู่ตลอดเวลา มันเป็นคำสั่งที่ก้องอยู่ในความทรงจำมิรู้เลือน จนในที่สุดท่านก็ได้บวชตามความประสงค์ของมารดาและใช้ชีวิตอยู่ในผ้าเหลืองจน ตลอดอายุขัย ท่านเคยอยู่บนดอยสูงกับชาวเขาเกือบทุกเผ่า อยู่ในป่าเขาภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ส่วนภาคเหนือตอนล่าง เช่น แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ท่านเคยจาริกไปครั้งคราว จึงนับได้ว่า วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นสถานที่ซึ่ง หลวงปู่อยู่จำพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จวบจนมรณภาพ หลวงปู่แหวน มีโรคประจำตัวคือ เป็นแผลเรื้อรังที่ก้นกบยาวประมาณ 1 ซม. มีอาการคัน ถ้าอักเสบก็จะเจ็บปวดมาก และอีกโรคหนึ่งคือ เป็นต้อกระจกนัยน์ตาด้านซ้าย เป็นต้อหินนัยน์ตาด้านขวา หมอได้เข้าไปรักษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2518 ซึ่งรักษาแล้วสุขภาพก็ยังแข็งแรงตามวัย แต่ต่อมาปี 2519 ร่างกายเริ่มซูบผอม อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย ขาทั้ง 2 เป็นตะคริวบ่อย ต่อมา 2520 สุขภาพทรุด ค่อนข้างซูบเหนื่อยอ่อน เวียนศีรษะถึงกับเซล้มลง และประสบอุบัติเหตุขณะครองผ้าจีวรในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นวันที่ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมา ส่งผลให้เจ็บบั้นเอวและกระดูดสันหลัง ลุกไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ รักษาอยู่เดือนหนึ่ง ก็หายเป็นปกติ แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้ว จึงมีอาการอาพาธมาโดยตลอด คณะแพทย์ก็คอยให้การรักษาด้วยดีเช่นกัน จนกระทั่งใน วันอังคารที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ. 2528 เวลา 21.53 น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึง หลวงปู่ท่านได้ละร่างอันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ 98 ปี (รับประกันแท้ ยินดีคืนเงินเต็มภายใน 10 วัน) รับประกันความแท้  รับประกันตามกฎระเบียบครับ...... รับประกันความพอใจครับ  ถ้าพระมีปัญหายินดีคืนเงินเต็มครับ โดยไม่ถามเหตุผลให้รำคาญใจ 


เขียนโดย :Diamond เจ้าของรายการ November 08, 2016 04:35:28


เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง หลังตรา ภปร. รุ่นพิเศษ ปี 2523 พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงรมน้ำตาล ตอกโค๊ต นะ สภาพสวยมาก หายากมาก  รุ่นนี้ออกแบบแกะพิมพ์ได้สวยงาม หลวงพ่อท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกให้เต็มที่ทรงความศักดิ์สิทธิ์และเปี่ยมไปด้วยมหาพุทธานุภาพเป็นอย่างยิ่ง พระสวยพระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมาก  หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ในแผ่นดินลำปางนั้น จะมีตนบุญมาเกิด " คำกล่าวที่ชาวเหนือและชาวล้านนาได้เฝ้ารอ " ตนบุญ " ที่ครูบาศรีวิชัย ท่านเอ่ยถึงไว้ล่วงหน้าหลายสิบปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้มีกระกูลที่สืบเชื้อสายเจ้า ของทางเหนือครอบครัวหนึ่งคือตระกูล ณ ลำปาง หรือเขลางค์นครในอดีต ได้ให้กำเนิดทารกเพศชาย ซึ่งเป็นลูกคนแรกของครอบครัว ในขณะนั้นยังไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าทารกเพศชายผู้นั้นก็คือ " ตนบุญ " ที่ครูบาศรีวิชัยได้กล่าวทำนายไว้นั่นเอง หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พระผู้ทรงอภิญญาบารมี ตนบุญแห่งลานนาไทย ท่านได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาส เดินทางมุ่งหน้าสู่สุสานป่าช้า สถานที่ที่ท่านใช้ปฏิบัติธรรมตลอดอายุขัยของท่าน หลวงพ่อเป็นพระอริยะสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติและปฏิปทาที่ควรแก่การกราบไหว้สักการะบูชาเป็นอย่างยิ่ง วัตถุมงคลที่ท่านอธิษฐานจิตล้วนแล้วแต่ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความบริสุทธิ์แห่งมหาพุทธานุภาพ ซึ่งสร้างประสบการณ์มากมายให้กับผู้ที่ใช้บูชา วัตถุมงคลของท่านจึงเป็นของดีที่เป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนทั่วไป หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นโดยแท้จริง อันจริยาวัตรของท่านหลายอย่างยังคงเป็นคำกล่าวขวัญกันอยู่ อย่างเช่น การขบฉันของท่าน ท่านก็ฉันแต่น้อย สองสามวันท่านจะฉันเพียงมื้อเดียวโดยท่านฉันรวม คือของคาวและของหวานเทรวมกัน บางครั้งท่านยังฉันข้าวบูดอีก ท่านนั่งบริกรรมกลางแดดในฤดูร้อนจนผิวหนังไหม้ ท่านนั่งบริกรรมท่ามกลางสายฝนในหน้าฝน ท่านนั่งบริกรรมท่ามกลางอากาศหนาวเย็นของภาคเหนือ ตลอด ๓ เดือนเต็ม (นั่งบริกรรมกลางแจ้งโดยไม่เข้าร่มเลย) เคยมีผู้สอบถามหลวงพ่อถึงสาเหตุที่ท่านนั่งบริกรรมกลางแจ้ง ท่านก็ตอบว่า " เพื่อให้รู้เหตุของทุกข์ จะได้รู้จักการหลุดพ้นทุกข์ " และที่น่าแปลกอีกอย่างก็คือ ระยะเวลาใน ๑ ปี หลวงพ่อจะอาบน้ำเพียงครั้งเดียว และนับจากปี ๒๕๑๔ เป็นต้นมาท่านก็มิได้อาบน้ำอีกเลย แต่ท่านกลับไม่มีกลิ่นตัว ไม่มีเหงื่อ แม้ว่าท่านจะออกนั่งภาวนาตากแดดก็ตามที เท่าที่ดูแล้วหลวงพ่อท่านกลับมีผิวพรรณผ่องใส ซึ่งท่านคงต้องเป็นผู้ตอบเองว่า เพราะอะไร และเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง วัตถุมงคลที่ผ่านการอธิฐานจิตจากท่านจึงมีอานุภาพสูง แม้ว่าหลวงพ่อท่านจะละสังขารไปแล้วก็ตามที หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง สุสานไตรลักษณ์  ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ตามทางสายลำปาง - แจ้ห่ม ประมาณ 1 กิโลเมตร ไปเส้นทางเดียวกับวัดเจดีย์ซาวหลัง แต่ถึงก่อนประมาณ 500 เมตร เมื่อไปถึงจะพบรูปปั้นหลวงพ่อเกษมขนาดใหญ่ที่สังเกตเห็นได้จากถนน ภายในบริเวณมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษม เขมโก เกจิอาจารย์ ซึ่งมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก นั่งขัดสมาธิขนาดเท่ารูปจริง เพื่อให้ประชาชนเคารพสักการะ ส่วนกุฏิของหลวงพ่อเกษมอยู่ด้านข้างมณฑป  ประตูม้า ถนนลำปาง-แจ้ห่ม ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง (รับประกันแท้ ยินดีคืนเงินเต็มภายใน 10 วัน) รับประกันความแท้  รับประกันตามกฎระเบียบครับ...... รับประกันความพอใจครับ  ถ้าพระมีปัญหายินดีคืนเงินเต็มครับ โดยไม่ถามเหตุผลให้รำคาญใจ 


เขียนโดย :Diamond เจ้าของรายการ November 08, 2016 04:35:21


สนใจข้อมูลเพิ่ม โทร 089 6164246 (โอนเข้าธนาคารออมสินค่ะ)


เขียนโดย :Aura_pan เจ้าของรายการ November 03, 2016 10:15:29


เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร ปี 29 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สร้างปีพ.ศ. 2529 วงการเล่นหาเป็นเหรียญรุ่นสองรูปเหมือนของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชท่าน  ได้ รับพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบมาจากเหรียญรุ่นแรก(พ.ศ. 2528)ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาออกแบบ,จัดสร้างถวาย ด้วยพระองค์เอง และได้พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อภปร.มาประดิษฐานไว้ที่ด้าน หลังอีกด้วย นับเป็นสิริมงคลคู่อันประเสริฐสุด ยากจะหาเหรียญรูปเหมือนพระคณาจารย์ใดเสมอเหมือนได้  จะแตกต่างกัน ก็เพียงแต่เปลี่ยนประโยคหลังเหรียญ "3 ตุลาคม 2528" ในรุ่นแรกมาเป็น "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย"เท่านั้น แต่ส่วนอื่น ล้วนมีความเหมือนกันในทุกประการ อนึ่ง เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร ฯรุ่นร.พ.จุฬาฯ นี้ ในสายตาของคนทั่วไปอาจจะเห็นว่า มีศักดิ์ศรีและความนิยมอาจจะไม่เท่ากับเหรียญรุ่นแรก  ด้วยความยึดมั่นที่ว่า เป็น"รุ่น 2"  แต่ หากจะมองเจาะลึกให้ถึงก้นบึ้งกันจริงๆ จะพบว่า เหรียญรุ่น 2 นี้ มีความพิเศษสุดยิ่งกว่า ซึ่งแม้เหรียญรุ่นแรกก็ไม่อาจจะบดบังรัศมีความดีเลิศได้อย่างสนิทในหลายๆ ประการ  กล่าวคือ             1. เหรียญรุ่น 1 รุ่น 2 ล้วนได้มาจากต้นแบบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างเหมือนๆกัน             2.เหรียญรุ่นแรก ปลุกเสกที่วัดบวรนิเวศวิหารเพียงครั้งเดียว ส่วนเหรียญรุ่น 2 (ร.พ.จุฬาลงกรณ์) เข้าพิธีมากกว่าและใหญ่กว่า ด้วยได้เข้าร่วมพิธีกริ่งปวเรศ2 ปี 2530 อันโด่งดังทั้งที่วัดบวรนิเวศวิหาร (2 วาระ)และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)อีกด้วย             3.เหรียญ รุ่นแรก ปลุกเสกที่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นการภายใน ส่วนเหรียญรุ่น 2 ปลุกเสกเป็นมหาพิธีใหญ่ มีเจ้านายชั้นสูงเสด็จประกอบพิธีถึง 2 วาระ (ในขณะที่เหรียญรุ่นแรกไม่มีเสด็จฯ) กล่าวคือ             3.1 พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ ๑  ในคืนวันเสาร์ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี  สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต โดยมีพระคณาจารย์สำคัญร่วมนั่งปรกด้วยดังนี้             ๑.พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ๒.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน กรุงเทพมหานคร                     ๓.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังค์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี ๔.พระครูอาคมวิสุทธิ (คง) วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี             ๕.พระครูญาณวรกิจ (กล้วย) วัดหมูคุด จ.จันทบุรี ๖.พระรัตนคุณากร (แช่ม) วัดบ่อพุ จ.จันทบุรี             ๗.พระครูสันติวรณาญ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ ๘.พระครูเมธีธรรมสาธก (หนู) วัดสุนทรพิชิตาราม จ.นครนายก ๙.หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม     ๑๐.พระอาจารย์นก วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์ ๑๑.พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ๑๑.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี ๑๒.พระครูมงคลธรรมสุนทร วัดบางนา จ.ปทุมธานี ๑๓.พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี ๑๔.พระอาจารย์ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๑๕.พระวิสุทธาจารคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๑๖.พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๗.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด ๑๘.พระครูอนุรักษ์วรคุณ (สง่า) วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี ๑๙.พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆศิตาราม จ.สมุทรสงคราม ๒๐.พระครูอาทรธรรนิเทศก์ (ทองอยู่) วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร ๒๒. พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม ๒๓. พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี ๒๔. พระครูสรกิจพิจารณ์ (ผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี ๒๕. พระครูสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม             ๒๖. หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม ๒๗.พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม     ๒๘. หลวงพ่อพลู วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ๒๙. พระครูนนทสิทธิการ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย จ.นนทบุรี              ๓๐. พระครูปริยัติคุณาธาร วัดชนะสงคราม ๓๑. พระครูวิจิตธรรมานุวัตร วัดหนองกระบอก จ.ระยอง      ๓๒.พระวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ๓๓. พระญาณสมโพธิ (ขวัญ) วัดอรุณราชวราราม             ๓๔. พระปริยัติมุนี (ชูศักดิ์) วัดหงส์รัตนาราม ๓๕. พระครูมงคลญาณสุนทร (ผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส  ๓๖. พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร             3.2 พิธี พุทธาภิเษกครั้งที่ ๒ พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ-พฤหัสบดีที่ ๒๑-๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี             3.3 พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ ๓ วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิษฐานจิต และมีพระอัจฉริยคณาจารย์สำคัญจากทั่งประเทศร่วมนั่งปรกเจริญจิตภาวนาอันมี ๑ . สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ                        ๒. พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร ๓. พระมงคลราชมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ              ๔. พระโพธิสังวรเถร วัดโพธินิมิตร กรุงเทพ  ๕. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพ            ๖. พระครูสุนทรธรรมวัตร วัดสุทัศนเทพวราราม ๗. พระสุนทรธรรมภาณี วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี                        ๘. พระอุดมสังวรเถร วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี ๙. พระภาวนาพิศาลเถร วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ๑๐.พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา ๑๑.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร วัดประชาคมวนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด ๑๒.พระสุธรรมยานเถร วัดจันทาราม จังหวัดอุทัยธานี           ๑๓.พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จันทบุรี ๑๔.พระสังวรสมาธิวัตร วัดเภตราสุขารมณ์ ระยอง    ๑๕.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ ๑๖. พระราชพุทธิรังษี วัดเครือวัลย์ ชลบุรี                  ๑๗.พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี ๑๘.พระครูประสิทธิ์ภาวนาคุณ วัดนิคมประชาสรรค์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ ก็เมื่อได้ทราบความนัยเบื้องลึกเห็นเพียงนี้ ยังจะมีผู้ใดกล้าปฏิเสธหรือมองข้ามเหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช รุ่นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พ.ศ. 2529 อยู่อีกหรือไม่   ((ราคาพระไม่ถึง 2000 บาท หากต้องการบัตร กรุณาส่งออกบัตรเอง นะครับ  รับประกันแท้ให้ครับ ไม่แท้คืนเต็ม)) ((โอนแล้ว กรุณาแจ้งทาง Mailboox ของเวป นะครับ เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่งครับ))   ((เบอร์มือถือ 088-765-1779 ที่อยู่ Email  -  [email protected]))


เขียนโดย :เพชร เขลางค์ เจ้าของรายการ October 31, 2016 13:22:39


เหรียญหลวงปุ่แหวน สุจิญโณ หลัง ภปร. สร้างตึกพยาบาล ปี 21  


เขียนโดย :PARKER เจ้าของรายการ October 31, 2016 06:19:45


  @ พระพุทธชินราช รุ่นปฏิสังขรณ์ หลัง  ภปร. ปี 2530 @   (เสมาเนื้อทองแดงรมดำ หลังภปร.สภาพสวย เดิม ๆ )   พ.ศ. 2530 สมัย พล.ท.รวมศักดิ์ ไชบโกมินทร์ เป็นแม่ทัพภาคที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้บูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา มีพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหาร พระพุทธชินราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เป็นผู้แทนพระองค์ ทรงเททองหล่อพระพุทธชินราช ภปร.ปฏิสังขรณ์ เมื่อ 7 พ.ค.2530 และ โปรดเกล้าฯให้นายประกอบ หุตสิงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ใน พิธีมหาพุทธาภิเษกเมื่อ 10 ส.ค.2531  


เขียนโดย :บารมี๑๕ เจ้าของรายการ October 30, 2016 19:12:26

หน้าที่ :  1