yaharo11

ข้อมูลสมาชิก – yaharo11

เริ่มเป็นสมาชิก: March 08, 2011 12:51:09 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 1483 รายการ , คำติ: 1 รายการ

ประวัติ Feedback



เขียนโดย :ทองก้อน เจ้าของรายการ December 15, 2015 13:15:42

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อชิน/5983641


ขอบคุณครับ


เขียนโดย :moonoy_7 ผู้ชนะประมูล December 13, 2015 04:45:48

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระปิดตาทุกสำนัก/5983655


ได้รับแล้วครับ พระสวยมาก ขอบคุณครับ


เขียนโดย :Bangsaii ผู้ชนะประมูล December 08, 2015 14:31:37

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระปิดตาทุกสำนัก/5973721


ครับ


เขียนโดย :sakda2523 ผู้ชนะประมูล December 08, 2015 09:47:48


ใด้รับพระใวจนน่าตกใจ ขอบคุณครับ


เขียนโดย :ชัช เมืองคอน ผู้ชนะประมูล December 01, 2015 02:01:38

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระสมเด็จทั่วไป/5850814


พระชุดวัดประสาทบุญญาวาส  กรุงเทพฯ  ปี ๒๕๐๖  มวลสารผสมผงวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหม จัดสร้างโดย "พระสมุห์อำพล"อดีตเจ้าอาวาสวัดประสาทฯ ในช่วงปี  ๒๕๐๕ -  ๒๕๐๙  มวลสารผสมผงวัดระฆังฯ  โดยท่านพยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายๆพระอาจารย์รวมทั้งชิ้นส่วนพระเครื่องแตก หักเก่าๆทั้งพระกรุและพระเกจิอาจารย์นับไม่ถ้วน โดยเฉพาะชิ้นส่วนแตกหักของ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่" ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐  มีจำนวนหลายลังทีเดียว ว่ากันว่า พระผงวัดประสาทฯ มีชิ้นส่วนแตกหักของพระสมเด็จบางขุนพรหมมีผสมอยู่มากกว่าสมเด็จบางขุนพรหม ๐๙   เสียอีก พระเกจิที่มาร่วมพิธีวัดประสาทฯ นั้นก็มีมากถึง ๒๐๐  กว่ารูป จนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมา พิธีในครั้งนั้นจัดว่าเป็นพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดนับแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นต้นมา   *** มวลสาระสำคัญที่ได้รับมอเพื่อการจัดสร้างพระมีดังนี้ *** 1.มวลสารในการจัดสร้างสุดยอด มีส่วนผสม - ผงสมเด็จบางขุนพรหม พระครูบริหารคณาวัตร รองเจ้าอาวาสมอบให้ - ผงพระหักสมเด็จพระพุฒาจารย์โต - ผงพระหักสมเด็จปิลันท์ ซึ่งพบในเจดีย์วัดเทพากร - ผงพระเครื่องของขวัญวัดปากน้ำ ลพ.สดมอบให้วัดประสาทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ - ผงพระหักกรุลำพูน - ผงพระกรุวัดพลับ - ผงหลวงพ่อโอภาสี เป็นต้น เกจิที่ร่วมพิธีปลุกเสก อาทิ  เช่น อาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ลพ.คล้าย วัดสวนขัน ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่ ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม ลพ.พรหม วัดช่องแค ลพ.ทบ วัดชนแดน ลป.ทิม วัดละหารไร่ ลป.เขียว วัดหรงมล ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก ลป.ดู่ วัดสะแก ลป.สี วัดสะแก ลพ.แพ วัดพิกุลทอง ลป.นาค วัดระฆังฯ ลป.หิน วัดระฆังฯ ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว  ฯลฯ


เขียนโดย :เกื้อหนุน เจ้าของรายการ November 20, 2015 08:30:05


ขอบคุณครับ (auto feedback)


เขียนโดย :tsiri ผู้ชนะประมูล November 16, 2015 01:40:04


เหรียญ เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5 รุ่นที่ระลึกงานฉลองครบรอบร้อยปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ปี 2513 เนื้อทองแดง พิธีดี พิธีใหญ่มาก เกจิอาจารย์แห่งยุคปลุกเสกมากมาย น่าบูชามาก หายากมาก วัตถุมงคล ฉลอง ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม อีกหนึ่ง ของดี ที่ถูกซ่อนเร้น เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ จัดทำเป็น ๒ ชนิด คือ ทองคำ ๒๐๙ เหรียญ และ ทองแดง ๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งแสน) เหรียญ ออกแบบโดยกรมศิลปากร และ กองกษาปณ์กรมธนารักษ์ เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ครึ่งพระองค์มีตัวอักษรล้อมรอบพระบรมรูปมีใจความว่า (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดราชบพิธฯ ๒๗ มกราคม ๒๔๑๒) ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏ คือบางเหรียญมีรอย แตกร้าว และเมื่อเหรียญรุ่นนี้ เนื้อกลับดำ แล้วจะมีลักษณะออกไปทาง เนื้อสำริด มิใช่ เนื้อทองแดง จึงตรงกับข้อมูลของช่างและทางวัดว่าเป็น เนื้อทองผสม ที่เจือ โลหะมงคล ที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองเป็น ปฐมฤกษ์ และเจือด้วย “โลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่าของวัดราชบพิธฯ” และ “แผ่นโลหะลงอักขระ” ของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักร ๑๐๘ รูป ส่วนด้านหลังเป็น “ตราวัดราชบพิธฯ” มี “พระเจดีย์” อยู่ตรงกลางแวดล้อมด้วย “พระอุโบสถ” และ “พระวิหาร” มีก้อนเมฆและสุมทุมพุ่มไม้ประกอบเป็นทิวทัศน์และมีอักษรล้อมรอบว่า “ที่ระลึกงานครบรอบร้อยปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๒๗ มกราคม ๒๕๑๒” ทั้งนี้ ก็เพราะเป็นรุ่นที่จัดสร้างขึ้นในโอกาสที่ “วัดราชบพิธฯ” ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนา เป็น “พระอารามที่ ๑” ในรัชกาลของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕” โดยพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๑๒ และ วันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ จึงมีอายุครบ ๑๐๐ ปี บริบูรณ์ ดังนั้นในศุภวาระมหามงคลดิถีพิเศษนี้ “ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)” สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๑) ครั้งยังทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” และทรงเป็น “เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ” ได้ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งขณะนั้น “จอมพลประภาส จารุเสถียร” (ครั้งครองยศพลเอก) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ อำนวยการจัดงานสมโภช จึงได้ตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธฯ โดยจัดสร้าง “ปูชนียวัตถุ” หลายชนิดเพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์และโดยที่ “วัดราชบพิธฯ” เป็นพระอารามที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาเป็น “วัดประจำรัชกาล” จึงได้กราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ “ตราสัญลักษณ์” พระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ประดิษฐานไว้ที่ปูชนียวัตถุที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษในครั้งนี้ วัตถุมงคล ‘ฉลอง 100 ปีวัดราชบพิธฯ’ อีกหนึ่ง ‘ของดี’ ที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” (วาสนมหาเถระ) ทรงเป็นประธานกรรมการดำเนินงานจัดทำของที่ระลึก โดยได้ปรึกษาหารือกับกรรมการท่านอื่น ๆ หลายครั้งเพื่อให้ปูชนียวัตถุที่สร้างในวาระอัน เป็นพิเศษครั้งนี้ “อุดมไปด้วย สิริมงคล” จึงได้จัดหาแผ่นทองถวาย “พระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ” ทั่วพระราชอาณาจักรลง “อักขระเลขยันต์” พร้อมปลุกเสกตามถนัดของแต่ละท่าน เพื่อนำมาหลอมหล่อเจือปนในปูชนียวัตถุที่จะสร้างขึ้น โดยมีรายนาม “พระอาจารย์” รูปสำคัญ ๆ ดังนี้ “หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเกษมเขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, พระอาจารย์นำแก้วจันทร์ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว, หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะ บำรุง ฯลฯ” และคณาจารย์รูปอื่นๆ จำนวน 108 รูป ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรตามรายนามข้างต้นก็ได้ “มรณภาพ” ไปแล้วได้ทำการลงอักขระในแผ่นยันต์ “108 แผ่น” เพื่อให้เป็นชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานในวัตถุมงคลชุดนี้โดยแต่ละ ท่านได้ “ตั้งใจ” ทำกันอย่างเต็มที่เพราะถือเป็น “งานใหญ่” ที่นานๆ จะมีขึ้นสักครั้งในยุคนั้นโดย “วัตถุมงคล” ทั้งหมด อันได้แก่ “พระพุทธอังดีรสจำลอง, พระพุทธ รูปบูชาศิลปะไทยประยุกต์แบบคุปตะ, พระกริ่งจุฬาลงกรณ์-พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์, พระหูยานจุฬาลงกรณ์ (จ.ป.ร.) พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ครึ่งพระองค์, เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ 5” และ “แหวนมงคล 9” ที่สร้างขึ้นในวาระ “อันเป็นพิเศษ” เดียวกันนี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือ ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี” กับ 2 วัน อนึ่งนับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ “วันที่ 29 มกราคม 2514” อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น. และในวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน” นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้วดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรม คุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กทม. เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 วัตถุมงคลชุด ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ มีเหรียญ ร.5 และพระหูยาน เป็นต้น พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม 2514 (ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีจุดเทียนชัย เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2514) การจัดสร้างเพื่อเป็นการ ฉลอง ๑๐๐ ปีวัดราชบพิธฯ โดยมีการสร้างโดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ เล่าว่า ได้ทำการเจือ โลหะ ที่ได้จาก พิธีเททอง ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯเททอง ผสมกับ ชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆ ของวัดราชบพิธฯ รวมกับ แผ่นยันต์ลงอักขระของพระเกจิ ผู้ทรงพุทธาคม จากทั่วประเทศ 108 รูป ในวัตถุมงคล โดยทั่วถึงกันอย่างพิถีพิถัน พิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน ณ.พระอุโบสถวัดราชบพิธ ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 โดยทางวัดได้อาราธนา พระเกจิ ผู้ทรงวิทยาคุณ ล้วนเเต่ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้น โดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในเเต่ละวัน ทั้ง 108 รูป อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงปู่เทศก์ เทศก์รังษี วัดหินหมากเป้ง หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด หลวงพ่อเทียม วัดกษัตริยาธิราข พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา หลวงปู่หิน วัดระฆัง หลวงพ่อทูรย์ วัดโพธิ์นิมิต หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว หลวงพ่อโชติ ระลึกชาติ หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยธำรงธรรมฯลฯ


เขียนโดย :เกื้อหนุน เจ้าของรายการ October 29, 2015 13:55:04


พิธีผูกพัทธสีมาปี17 สวยเดิมๆราคาแบ่งปันครับ พิมพ์นี้ค่อนข้างหายากครับ หลวงปู่ทิมปลุกเสกครับ เป็นพิมพ์ที่นิยมสุดครับ เวปเพื่อนบ้านเล่นกันหลายพันครับ ราคาวัดใจ แล้วแต่ท่านกำหนดราคาเองครับ หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วครับ เดชมงคลประกันแท้ตลอดชีพครับ 


เขียนโดย :เดชมงคล99 เจ้าของรายการ October 26, 2015 16:20:04

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุดภาคตะวันออก/5808967


แหวนนาคบาศก์ นวหรคุณ ของสำนักสงฆ์เขาน้ำซับ เส้นผ่าศูนย์กลาง แหวน 1.9 เซนติเมตร ครับ จัดสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ(ธาตุโลหะทั้ง 9 ชนิด หลอมรวมเป็นหนึ่ง)เพียงเนื้อเดียว ซึ่งเป็นเนื้อชนวนล้วนๆ แบบเดียวกันกับรูปหล่อหลวงปู่พิศดูหน้าตัก 1 นิ้ว และได้เททองหล่อในพิธีเดียวกัน ส่วนแหวนนาคบาศก์ นั้นเมื่อช่างได้ขัดแต่งแล้วเสร็จ ได้นำไปเข้าพิธีมากมายจริงๆ เท่าที่พอรวบรวมได้มีดังนี้ครับ.. 1.พิธีอธิษฐานจิตเป็นปฐมฤกษ์ โดยพระเดชพระคุณพระราชญาณวิสุทธิโสภณ(หลวงปู่ท่อน) วัดศรีอภัยวัน จ.เลย เมตตาอธิษฐานจิตให้ 6 วันเต็ม 2.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่เจ้าคุณเสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์ จ.อยุธยา 3.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่เช้า วัดห้วยลำใย จ.นครสวรรค์ 4.พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ และพิธีตักบาตรพระมหาอุปคุต ในวันเพ็ญพุธ ณ พระมหาเจดีย์ ที่วัดเทพธารทอง โดยพระเกจิครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณ อาทิ.. - หลวงพ่อมหาพร้อม วัดพลับบางกะจะ - หลวงพ่ออ่อง ถ้ำเขาวงกต - หลวงพ่อบุญส่ง วัดเขาน้ำตก - หลวงพ่อมนัส สำนักกรรมฐานฟื้นฟูจิต เขาแหลม - ฯลฯ และพระสวดพิธีธรรมอีก 9 รูป และช่วงบ่ายในวันเดียวกัน พระสงฆ์ได้ลงสวดพระปาฏิโมกข์ถวายอีกด้วยอีกสัมทับหนึ่ง โดยในงานพิธีพุทธาภิเษก ได้มีการบวงสรวงอัญเชิญบารมีธรรมขององค์พระมหาอุปคุต ท่านพ่อลี และองค์หลวงปู่พิศดูมาประสิทธิด้วย 5.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น จ.ลำปาง 6.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง จ.ลำพูน (อธิษฐานจิตพร้อมกับรูปหล่อพระมหาอุปคุต ปางปราบมาร) 7.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ 8.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่เพ็ง วัดโพธิ์ศรีละทาย จ.ศรีสะเกษ 9.พิธีอธิษฐานจิต เททองหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อกบ เขาสาริกา ณ วัดโอภาสี จ.ระยอง 10.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว (ต่อเนื่องจากวัดเททอง..) โดย หลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี เป็นเวลายาวนานกว่า 1 เดือน 11.พิธีบวงสรวง อัญเชิญบารมีองค์พระมหาอุปคุต และบารมีธรรมขององค์หลวงปู่พิศดู และสวดเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในวันเพ็ญพุธ ณ ลานพิธีริมหน้าผาอ่าวคุ้งกระเบน โดยท่านพระอาจารย์หนึ่ง พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล 12.พิธีไหว้ครูจักรวาล ของหลวงปู่หงษ์ ณ สุสานทุ่งมน จ.สุรินทร์ 13.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่สิงห์ วัดสีหะลำดวน จ.สุรินทร์ 14.พิธีทำบุญใหญ่ ถวายบูชาคุณองค์หลวงปู่พิศดู ธัมมะจารี และบวงสรวงอัญเชิญพญานาคราช เพื่อรักษาบุญพิธี โดยทางวัดได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ วัดเทพธารทอง จ.จันทบุรี 15.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง จ.ลำพูน 16.พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น จ.ลำปาง 17.พิธีพุทธาภิเษกสมโภชน์ใหญ่ เนื่องในวันเททองหล่อพระพุทธรูปทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ์ 4 ปาง ณ สำนักสงฆ์เขาน้ำซับ โดยพระเกจิครูบาอาจารย์กว่า 10 รูป อาทิ.. - หลวงพ่อสิริ วัดตาล จ.นนทบุรี - หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.อยุธยา - หลวงปู่ฉอ้อน วัดแหลมหิน จ.ปราจีนบุรี - หลวงปู่อั้น วัดโรงโค จ.อุทัยธานี - หลวงพ่ออ่อง ถ้ำเขาวงกต จ.จันทบุรี - หลวงปู่เจียง วัดเนินหย่อง จ.ระยอง - หลวงปู่บุญอุ้ม วัดป่าโนนแพง จ.นครพนม - หลวงปู่สวาท ว่าป่าโป่งจันทร์ จ.จันทบุรี - หลวงพ่อแจ่ม วัดเขาสำเภาทอง จ.ระยอง - ... ฯลฯ และพระสวดพิธีธรรมอีกรวมเกือบ 100 รูป  


เขียนโดย :phichan9 เจ้าของรายการ October 12, 2015 10:52:22

หน้าที่ :  29