supanupongs

ข้อมูลสมาชิก – supanupongs

เริ่มเป็นสมาชิก: December 26, 2013 15:29:39 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 65 รายการ , คำติ: 0 รายการ

ประวัติ Feedback


  องค์นี้บล็อคเเท่งเทียน(นิยม) หายาก สุดยอดเหรียญประสบการณ์ สภาพน่ารัก คลาสสิคครับ สวยๆ หมื่นกว่า  พร้อมบัตรรับรองครับ


เขียนโดย :The Big เจ้าของรายการ November 29, 2016 01:33:24

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์/6922577


         หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศรีษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย            หลวงพ่อเกษม เขมโกสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. 2479 ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเก็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย                    หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ถึงแก่พิราลัย ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก


เขียนโดย :หมุนจนรวย เจ้าของรายการ October 25, 2016 10:53:54

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/6921914


สภาพสวย รับประกันตามกฎ จัดส่ง EMS ทุกรายการครับ


เขียนโดย :ทองสินธุ์พระเครื่อง เจ้าของรายการ October 20, 2016 06:26:47

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุดภาคเหนือ/6867675


ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร  วัดถ้ำผาปล่อง ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่  ๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย “พระญาณสิทธาจารย์” หรือ “หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร” มีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2452 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา เวลาประมาณ 21.00 นาฬิกา ณ บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายสาน และนางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 10 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 สกุล “วงศ์เข็มมา” เป็นสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่งของบ้านบัว ผู้เป็นต้นสกุลคือ ท่านขุนแก้ว และอิทปัญญา ผู้เป็นน้องชาย ตัวท่านขุนแก้วก็คือปู่ของหลวงปู่สิมนั่นเอง เท้าความในคืนที่หลวงปู่เกิด ประมาณเวลา 1 ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้มหลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่งแลดูเย็นตาเย็นใจอย่างบอกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต็อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ 3 ทุ่ม นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา ก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาด และจากนิมิตที่นางเล่าให้ฟัง นายสาน วงศ์เข็มมา ผู้เป็นบิดา จึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า “สิม” ซึ่งภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์ อันอาจบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นึ้ ก็ได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ บำเพ็ญสมณธรรม ใช้ชีวิตที่ขาวสะอาดหมดจดตลอดชั่วอายุขัยของท่าน หลวงปู่แว่น ธนปาโล เมื่อเริ่มเข้ารุ่นหนุ่ม อายุได้ 15-16 ปี ท่านมีความสนใจในดนตรีอยู่ไม่น้อย หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่า ตัวท่านเองเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่สิมเป็นหมอแคน สิ่งบันดาลใจให้หลวงปู่อยากออกบวชคือความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า “ตั้งแต่ยังเด็กแล้วเมื่อได้เห็นหรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช” มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในวัย ไม่ประมาทในความตาย เป็นเพราะหลวงปู่กำหนด “มรณํ เม ภวิสฺสติ” ของท่านมาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจวบจนสิ้นอายุขัยของท่าน หลวงปู่ก็ยังใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่เป็นประจำ เรียกว่าหลวงปู่เทศน์ครั้งใดมักจะมี “มรณํ เม ภวิสฺสติ” เป็นสัญญาณเตือนภัยจากพญามัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต  ๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา เมื่อท่านอายุได้ 17 ปี ได้ขออนุญาตโยมบิดา-โยมมารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ที่บ้านบัวนั้นเอง เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดหนองคายเพื่อมาเผยแผ่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชน โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิมจึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรมทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่ คือ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม  ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล  สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกตข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่น และได้บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น และได้ขอญัตติใหม่มาเป็นธรรมยุตติกนิกาย แต่โดยที่ขณะนั้นยังไม่มีโบสถ์ของวัดฝ่ายธรรมยุติในละแวกนั้น การประกอบพิธีกรรมจึงต้องจัดทำขึ้นที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ 2 ลำทำเป็นโป๊ะลอยคู่กัน เอาไม้พื้นปูตรึงเป็นพื้นแต่ไม่มีหลังคา สมมติเอาเป็นโบสถ์ โดยมีท่านพระอาจารย์มั่น เป็นประธาน และท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จากนั้นสามเณรสิมได้ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อสามเณรสิมอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “พุทฺธาจาโร”  พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย)  จากนั้นท่านก็ได้เดินทางติดตามพระอาจารย์ของท่าน คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) นี้เป็นวัดอยู่ในเขตป่าช้า (บริเวณโรงพยาบาลขอนแก่นในปัจจุบัน) ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักอบรมกรรมฐานแก่คณะศรัทธาญาติโยมชาวขอนแก่น ท่านพระอาจารย์สิงห์ ได้ออกอุบายสอนลูกศิษย์ของท่านให้ได้พิจารณาอสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาพระเณรไปขุดศพขึ้นมาพิจารณา หลวงปู่ได้เล่าประสบการณ์ที่ท่านได้อสุภกรรมฐานจากซากศพ และว่า “นี่แหละร่างกายนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงทรงสอนให้กำหนดเป็นอสุภกรรมฐาน อย่าไปเห็นว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย ให้เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่ากัน” “สมมติโลกว่าสวยว่างาม สมมติธรรมมันไม่สวยงาม อสุภํ มรณํ ทั้งนั้น ถึงมันจะยังไม่ตายตอนเด็กตอนหนุ่มก็เถอะ ไม่นานละ เดี๋ยวมันก็ทยอยตายไปทีละคน สองคน หมดไป สิ้นไป ไม่เหลือ” ในชีวิตสมณเพศ ท่านได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า “โสสานิ กังคะ” คือไปเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงควัตร และที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) นี้เอง ที่หลวงปูได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเวลานาน 3 - 4 ปี ทั้งได้มีโอกาสมักคุ้นกับพระกรรมฐานองค์สำคัญๆ หลายองค์ เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร และท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น หลวงปู่ขาว อนาลโย  ปี พ.ศ. 2479 (พรรษาที่ 8) เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนพระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโม ณ วัดจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา สมเด็จฯ ท่านได้แลเห็นจริยาวัตรของหลวงปู่สิมขณะทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้และเกิดชื่นชอบถูกใจ ถึงกับปรารถนาจะชวนหลวงปู่ไปอยู่ด้วยกับท่าน จึงเอ่ยปากขอตัวหลวงปู่สิมกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ว่า “พระองค์นี้มีลักษณะเป็นผู้มีบุญบารมี ผมจะขอตัวให้ไปอยู่ด้วยจะขัดข้องหรือเปล่า” ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านก็มิได้ขัดข้อง ด้วยเห็นเป็นวาสนาบารมีของหลวงปู่สิม ที่จะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่เยี่ยงท่านสมเด็จฯ นี้ ทั้งจะได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป หลวงปู่สิมจึงได้ร่วมเดินทางมากับสมเด็จฯ มาจำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักสมเด็จฯ ที่วัดบรมนิวาส ซึ่งทำให้หลวงปู่สิมได้รับความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยมากขึ้น หลวงปู่สิมอยู่รับใช้สมเด็จฯ ด้วยจริยาดีเยี่ยม พร้อมกันนั้นหลวงปู่ก็ได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระธุดงค์กรรมฐานให้แก่พระเณรจำนวนมากที่มารับการฝึกฝนอบรมจากหลวงปู่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)  ปี พ.ศ. 2480 ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ได้เรียนขออนุญาตต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แล้วเดินทางธุดงค์กลับถึงบ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อโปรดคณะศรัทธาญาติโยมที่บ้านเกิดตามคำอาราธนา และเมื่อหลวงปู่ปรารภที่จะให้มีวัดป่าธรรมยุตติกนิกายขึ้นเป็นวัดแรกในบ้านบัว คณะศรัทธาญาติโยมจึงต่างสนองตอบคำปรารภของหลวงปู่อย่างกระตือรือร้นและเต็มอกเต็มใจ โยมอาของท่านคือนางคำไพ ทุมกิจจะ ได้มีศรัทธาถวายที่ดินให้หลวงปู่ เพื่อจัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2480 สำนักสงฆ์แห่งนี้ปัจจุบันได้พัฒนาเป็น “วัดสันติสังฆาราม” พร้อมด้วยวัดและสำนักสงฆ์สาขาเกิดขึ้นอีก 9 แห่ง สำหรับวัดสันติสังฆาราม จังหวัดสกลนคร แห่งนี้ หลวงปู่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนแล้วเสร็จ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงร่วมพิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ในโอกาสเดียวกับงานอายุครบ 71 พรรษาของหลวงปู่ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม  สำหรับการปฏิบัติธุดงค์นั้น หลวงปู่สิมได้ออกเดินธุดงค์ไปในหลายจังหวัด อาทิเช่น วัดป่าสระคงคา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์, สำนักสงฆ์หมู่บ้านแม่ดอย (ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัด ชื่อว่า วัดป่าอาจารย์มั่น) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ณ ที่นี้หลวงปู่ได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากหลวงปู่มั่นจนการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก) เมื่อแยกจากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ไปทางอำเภอสันกำแพง เข้าพักที่วัดโรงธรรมสามัคคี ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงสำนักชั่วคราว ซึ่งวัดโรงธรรมสามัคคีแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่ที่พ่อแม่ครูอาจารย์หลายท่านเคยมาพำนักจำพรรษา อาทิเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นต้น หลวงปู่สิมได้พักจำพรรษาที่วัดโรงธรรมสามัคคีแห่งนี้ ติดต่อกันนานถึงห้าปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ถึงปี พ.ศ. 2487 จึงย้ายไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระหว่างนั้นหลวงปู่ได้รับรู้ความคับจิตคับใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลาย หลวงปู่ได้ปลุกปลอบใจของชาวบ้านที่กำลังสิ้นหวังให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นด้วยการหยั่งพระสัทธรรมลงสู่จิตของพวกเขา พระนพีสีพิศาลคุณ (พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต)  ในระหว่างออกพรรษา หลวงปู่สิมได้จาริกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียร ณ สถานที่วิเวกหลายแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ศิษย์อาวุโสชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งคือ เจ้าชื่น สิโรรส (วัย 96 ปี) โดยในปี พ.ศ. 2488 เจ้าชื่น สิโรรส ได้อพยพครอบครัวหลบภัยสงครามไปอยู่ที่ถ้ำผาผัวะ ขณะที่หลวงปู่ได้จาริกธุดงค์ไปจำพรรษา ณ ถ้ำผาผัวะ ท่านเปรียบเสมือนเป็นที่พึ่งอันสูงสุดที่มีความหมายมากสำหรับคนที่อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาดเนื่องจากภัยสงคราม ครั้นปลายปี พ.ศ. 2498 เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ เจ้าชื่น สิโรรส ซึ่งอพยพจากถ้ำผาผัวะกลับคืนตัวเมืองเชียงใหม่ ได้กราบอาราธนาหลวงปู่ให้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษาที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล (คิวริเปอร์) ซึ่งอยู่ที่ถนนดอยสุเทพตรงข้ามกับถนนไปสนามบินเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ณ ที่แห่งนี้เอง หลวงปู่สิมได้พบกับลูกศิษย์คนแรกที่ท่านอุปสมบทให้ ในระยะที่มาจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ คือ พระนพีสีพิศาลคุณ (พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต) ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของ “วัดสันติธรรม” ที่ได้ทำการก่อสร้างขึ้นในภายหลัง ปี พ.ศ. 2490 เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง มีข่าวว่าเจ้าของบ้านคือ แม่เลี้ยงดอกจันทร์ และลูกหลานที่อพยพหลบภัยสงครามไปจะกลับคืนถิ่นฐานเดิม หลวงปู่จึงปรารภเรื่องการสร้างวัด คำปรารภในครั้งนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ เกิดศรัทธาขึ้นมาอย่างแรงกล้าที่จะสร้างวัดถวายหลวงปู่ ด้วยพลังศรัทธานั้นเอง “วัดสันติธรรม” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธาของสานุศิษย์ ปี พ.ศ. 2497 โยมมารดาของหลวงปู่ถึงแก่กรรม ท่านจึงได้เดินทางจากเชียงใหม่ลงมาที่บ้านบัวอีกครั้งหนึ่ง ครั้นเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ไปจังหวัดนครพนมทันที เพื่อจำพรรษาที่ภูลังกา ช่วงปี พ.ศ. 2498 - 2403 หลวงปู่ได้กลับไปพำนักจำพรรษาที่วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ แต่ในจิตใจส่วนลึกของท่านนั้น ยังปรารภความสงบวิเวกของป่าเขาและโพรงถ้ำต่างๆ อยู่ จนกระทั่งต้นปี พ.ศ. 2503 ต่อมาได้มีพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ไปพบถ้ำปากเปียง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่จึงย้ายไปอยู่ภาวนาที่ถ้ำปากเปียงบ่อยครั้ง ด้วยเป็นที่สงบสงัดร่มรื่น ครั้นต่อมาในฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2503 ลุงติ๊บ คนบ้านถ้ำ ได้เป็นคนนำทางพาหลวงปู่ปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็กๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูงตามคำปรารภของหลวงปู่ที่ว่า “กิเลสจะได้เข้าหายาก” จนกระทั่งได้พบ “ถ้ำผาปล่อง” ซึ่งเป็นถ้ำที่ท่านคิดว่าจะเป็นบ้านสุดท้ายในการบำเพ็ญภาวนาในชีวิตของท่าน หลวงปู่ได้พักค้างคืนบนถ้ำผาปล่องหนึ่งคืน แล้วก็ลงไปพักที่ถ้ำปากเปียงต่อ ต่อจากนั้นท่านก็ได้แวะเวียนไปพักที่ถ้ำผาปล่องอีกเสมอ ท่านพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร  ในปี พ.ศ. 2504 ท่านพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร (ท่านเจ้าคุณพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) เจ้าอาวาสวัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นศิษย์ในสายพระกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่นกัน ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงลงมติขอให้หลวงปู่รับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส หลวงปู่จึงได้ช่วยอยู่ดูแลวัดอโศการาม ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาสจนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 และในปี พ.ศ. 2509 หลวงปู่ได้รับการขอร้องจากท่านเจ้าคุณพระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) ให้หลวงปู่ช่วยรับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส หลวงปู่สิมจึงจำใจต้องรับเป็นเจ้าอาวาสให้วัดป่าสุทธาวาส อยู่ 1 พรรษา โดยที่ใจจริงของท่านนั้นเบื่อหน่ายคิดอยากแต่จะออกธุดงค์อยู่เรื่อยไป หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  ในระหว่าง พ.ศ. 2506 - 2509 หลวงปู่ได้มีปัญหาอาพาธด้วยโรคไตมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2510 ด้วยปัญหาสุขภาพของหลวงปู่ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจวางภารกิจต่างๆ โดยลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทุกวัดที่ท่านดูแลอยู่ จากนั้นท่านก็มาพำนักจำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่อง ตลอดมา ในปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่ได้เดินทางไปมนัสการสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย และได้เดินทางไปอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2523 นอกจากนี้แล้วหลวงปู่ยังได้มีโอกาสเดินทางไปที่เมืองปีนังปีนัง ประเทศมาเลเซีย, กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตลอดถึงทวีปยุโรปและอเมริกาอีกด้วย หลวงปู่สิมท่านมีความขยันขันแข็งและตั้งใจมั่นตั้งแต่เด็ก ดังเช่นพระอาจารย์ศรีทอง (พระอุปัชฌาย์ เมื่อครั้งเป็นพระในสังกัดมหานิกาย) ได้เล่าว่า ครั้งเมื่อทางวัดมีการขุดสระ สามเณรสิมก็ไปช่วยขุดและขุดจนกระทั่งใครต่อใครเขาทิ้งงานไปหมด เนื่องจากขุดลงไปลึกถึงสิบเอ็ดสิบสองวาแล้วก็ยังไม่มีน้ำ เมื่ออุปัชฌาย์ถามว่า “จะขุดไปถึงไหนกัน” สามเณรสิมตอบว่า “ขุดไปจนสุดแผ่นดินนั่นแหละ” ปฏิปทาของหลวงปู่ที่แสดงถึงความมีเมตตาอย่างล้นเหลือต่อบรรดาลูกศิษย์ลูกหานั้น ท่านได้แสดงให้ปรากฏเห็นอยู่เนืองๆ หลวงปู่ปกครองพระเณรลูกวัดของท่านอย่างอบอุ่นใกล้ชิดเหมือนพ่อดูแลลูกๆ ภาพในอดีตที่ประทับใจลูกศิษย์ (คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์) ภาพหนึ่งก็คือ เวลาที่พระเณรอาพาธ หลวงปู่จะนั่งเฝ้าไข้อย่างสงบ ไม่ยอมห่าง จนกระทั่งผู้ป่วยอาการดีขึ้น ครั้งหนึ่งเณรน้อยนอนซมด้วยโรคพยาธิ ตัวเหลืองซูบซีดผอมเพราะฉันอาหารไม่ได้เลย “แม่ไล” ได้เอายาถ่ายพยาธิมาถวาย เณรน้อยก็ฉันไม่ได้ อาเจียนออกมา ทำให้แม่ไลโมโหมากจะบังคับให้ฉันให้ได้ แต่หลวงปู่ซึ่งนั่งเฝ้าอยู่อย่างใจเย็นได้ปลอบประโลมเณรน้อยของท่านขึ้นว่า “วันพรุ่งนี้เถอะเน้อ ไปบิณฑบาตได้กล้วยก่อน จะเอายาใส่ในกล้วยให้เณรน้อยฉัน” งานพัฒนาชุมชนที่นับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของหลวงปู่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงร่วมแรงร่วมใจกันทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส และผลงานก็ได้ก่อประโยชน์เป็นเอนกอนันต์แก่ชาวบ้านเกษตรกร ก็คือ งานสร้างฝายน้ำล้นลำน้ำอูน ที่ท่าวังหิน ซึ่งก็คือบริเวณสำนักสงฆ์เวฬุวันสันติวรญาณ ในปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2521 ภายหลังจำพรรษาที่วัดสันติสังฆาราม หลวงปู่ก็ได้รับอาราธนาจากชาวบ้านทั้ง 4 ตำบล ใน 2 เขตอำเภอ ให้มาเป็นประธานในการสร้างฝายน้ำล้นกั้นลำน้ำอูน งานสร้างฝายน้ำล้นชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของหลวงปู่เด่นชัดมาก ในเรื่องความเป็นผู้เอาใจใส่ และรับผิดชอบในภารกิจ เมื่อที่ประชุมปรึกษาหารือกันว่าเห็นควรจะเริ่มงานกันวันใหม่ หลวงปู่ก็ว่าให้เริ่มงานกันวันนี้เลย หลวงปู่เป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง อดทน พูดจริง ทำจริง ถือสัจจะมั่นคง เป็นผู้ไม่มากโวหาร ทุกวันหลวงปู่จะพาเริ่มงานตั้งแต่เวลาตี 4 ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น พอเวลา 10 โมงเช้าจึงพักฉันอาหาร หลังอาหารแล้วก็เริ่มทำงานกันต่อจนมืดค่ำ พอถึงเวลา 1 ทุ่ม หลวงปู่ก็จะนำพาทำวัตรสวดมนต์ และฟังเทศน์ เสร็จแล้วก็เริ่มทิ้งหินลงในคอกไม้ที่สร้างไว้ตลอดแนวฝาย กว่าจะได้จำวัดก็เวลา 4 ทุ่ม หรือบางวันหากงานติดพันจะได้จำวัดก็เป็นเวลาถึงตีหนึ่งตีสอง เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 จนฝายน้ำล้นสร้างสำเร็จ หลวงปู่จึงกลับไปจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง หลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ “พระครูสันติวรญาณ” ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2502 และได้รับพัดยศโดยเลื่อนจากสมณศักดิ์ที่ “พระครูสันติวรญาณ” เป็น “พระญาณสิทธาจารย์” ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 และในคืนวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2535 พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ฉลองสมณศักดิ์ถวายแด่หลวงปู่ ที่ถ้ำผาปล่อง หลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนา ต่อจนถึงเวลาประมาณ 21.30 นาฬิกา แล้วท่านก็นั่งพักดูบริเวณภายในถ้ำอีกประมาณ 20 นาที คล้ายกับจะเป็นการอำลา จนกระทั่งถึงเวลา 22.00 นาฬิกา ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พักด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณตีสาม สิริรวมอายุของหลวงปู่ 82 ปี 9 เดือน 19 วัน อายุพรรษา 63 พรรษา สรีระศพหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร 


เขียนโดย :เฮียตุ้ย เจ้าของรายการ September 27, 2016 17:02:00


***ทุกรายการไม่ถึง500บ.ส่งแบบลงทะเบียน*** ผู้ชนะประมูล กรุณาติดต่อ / แจ้งโอนเงินผ่านทาง inbox หรือ กล่องข้อความ เบอร์โทร 0880800081 ต้องการออกบัตรบอกให้ได้+พระแท้ไม่แพ้การตรวจสอบ ขอบคุณทุกท่านที่เข้าชมร่วมประมูลพระทั้งหมดได้ที่  >>> คลิกที่v <<<


เขียนโดย :tee2497 เจ้าของรายการ May 23, 2016 17:05:04


แบบนี้ สุดยอดคลาสสิค และหายาก ตัวจริง เลี่ยมพลาสติกเก่าๆเดิมๆจากวัดในยุคนั้นจากวัดบางระโหงแท้ๆ ขนาด 1 นิ้ว  พกพาสะดวก แท้ตัวจริง สภาพสวยเก่าแท้ เลี่ยมเดิมจากวัด เนื้อทองแดง เก่าจัด ถักเชือก ปิดทอง เดิมๆในสมัยหลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง แท้ ดูง่ายๆ จบๆครับ พกดอกเดียว ทั้งเหนียว ทั้งเมตตาครบเครื่อง เดิมๆ ตะกรุดดอกเล็ก หรือ ตะกรุดสาริกา นอกจากด้านเหนียวแล้วยังเน้นด้านเมตตาอีกด้วย หลวงปู่เหรียญ ท่านลงด้านเมตตาไว้ครับ ดอกนี้เป็นของเก่าจากวัดบางระโหง ทันหลวงปู่เหรียญ แท้ ตัวจริง แน่นอน ผมรับจากมือท่านรองเจ้าอาวาสวัดบางระโหงเลยครับ คนนนท์ทราบกันดี ดอกเล็กๆ แต่เล็กดี รสโต ไม่แพ้สำนักไหนแน่นอน เจอที่อื่นเห็นขายกันพันกว่า ผมจัดให้แท้ๆ สวยๆ เลี่ยมพลาสติกเก่าแบบโบราณ เดิมๆจากวัดในยุคนั้น ตามรูป หายากครับ  ได้เท่าไหร่เท่านั้น ส่งจริง รับประกันแท้ ตัวจริงแน่นอน nungfino การันตี


เขียนโดย :nungfino เจ้าของรายการ May 03, 2016 15:15:05


...เป็นอีกหนึ่งเกจิเมืองไทยที่น่าเลื่อมใสมากๆครับ...   อรหันต์ 7 แผ่นดิน ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 9      รับประกันพระแท้ทุกวินาทีครับ...ฝันว่าเก๊เอามาคืนครับ   ปล.โอนแล้วช่วยแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ  


เขียนโดย :เหน่งบางคู้13 เจ้าของรายการ December 16, 2015 13:26:27

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อผง-เนื้อว่าน/5869345


พระผงขวัญวัดเกาะจันทร์พิมพ์เล็ก ไม่ผ่านการใช้มา หลังยันต์ปั๊มนิยม สวยเดิมๆ รับประกันพระแท้ตามกฎ วัดเกาะจันทร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดราษฎร์ ชาวบ้านช่วยกันสร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2415 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ทางวัดปากน้ำได้ส่งหลวงปู่อินทร์และแม่ชีเพียร ศิษย์ของหลวงพ่อสดมาช่วยสอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่พระเณรและชาวบ้านซึ่งก็มีพระเณรและชาวบ้านเข้ามารับการอบรมอย่างคับคั่ง หลวงปู่ อินทร์นี้นอกจากจะเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสดแล้ว การสร้างพระวัดปากน้ำทุกครั้ง หลวงปู่อินทร์ก็มีส่วนร่วมอธิษฐานจิตพระผงของขวัญวัดปากน้ำด้วยทุกครั้ง ต่อ มาเมื่อถึงปี พ.ศ. 2497 พระครูเมือง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส วัดเกาะจันทร์ ได้ปรารภกับหลวงปู่อินทร์ว่า อยากจะให้หลวงปู่อินทร์ช่วยสร้างพระเครื่องเนื้อผงแบบพระของวัดปากน้ำบ้าง เพื่อไว้แจกให้แก่ผู้ที่มาทำบุญกับวัด หลวงปู่อินทร์จึงรับปาก และเข้ามาหาหลวงพ่อสดและแจ้งให้หลวงพ่อสดทราบ จากนั้นจึงขอผงวิเศษจากหลวงพ่อสด ซึ่งหลวงพ่อสดท่านก็ได้มอบผงวิเศษให้หลวงปู่อินทร์ไปสร้างพระ เมื่อสร้างพระเสร็จแล้วก็ได้นำมาให้หลวงพ่อสด ท่านช่วยอธิษฐานจิตให้อีก ครั้ง หลังจากนั้นหลวงปู่อินทร์จึงนำพระทั้งหมดกลับมาทำพิธีอธิษฐานจิตด้วย วิชาธรรมกายอีกครั้งที่วัดเกาะจันทร์ และเริ่มแจกให้แก่ญาติโยมในปี พ.ศ. 2497 นั่นเอง พระผงของวัดเกาะจันทร์ จึงเป็นพระเครื่องสายเดียวกับพระ ของวัดปากน้ำ ที่สำคัญหลวงพ่อสดท่านได้มอบผงมาให้สร้าง อีกทั้งท่านก็ได้อธิษฐานจิตด้วยวิชาธรรมกายให้อีกด้วย และผู้สร้างก็เป็นศิษย์เอกของวัดปากน้ำที่ได้ร่วมสร้างและร่วมอธิษฐานจิตพระวัด ปากน้ำรุ่น 1 และรุ่น 3 อย่างใกล้ชิด พระผงของวัดเกาะจันทร์จึงมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระผงของวัดปากน้ำ เนื้อ ของพระเป็นพระเนื้อผงสีขาวนวล เนื้อฟูฟ่าม มีความละเอียดมาก ตามพื้นผิวเมื่อส่องแว่นขยายดูจะเห็นเป็นขุยๆ คล้ายขนมโก๋ และจะเห็นมวล สารจำพวกเกสรดอกไม้เป็นจุดสีน้ำตาลลอยอยู่บ้าง บางองค์มากบางองค์น้อยสุดแล้วแต่ส่วนผสมแต่ละครั้ง พุทธคุณเด่นทาง ด้านแคล้วคลาด โภคทรัพย์ มีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างๆ ทางด้านแคล้วคลาดมากมาย ในตอนแรกๆ ก็ไม่ค่อยมีผู้รู้มากนักว่าพระผงของวัดเกาะจันทร์เป็นพระสายเดียวกับพระวัด ปากน้ำและหลวงพ่อสดท่านอธิษฐานจิตให้ แต่ต่อมาเมื่อมีประสบการณ์มากเข้าและรู้ว่าเป็นพระที่สร้างทันและเกี่ยวพัน กับหลวงพ่อสด ผู้คนจึงเริ่มให้ความสนใจ สนนราคาในปัจจุบันก็ยังไม่แพงนักถ้าเทียบกับพระผงวัดปากน้ำรุ่น 1 และรุ่น 3 ถ้าหาพระวัดปากน้ำรุ่น 1 และรุ่น 3 ไม่ได้ก็หาพระผงของวัดเกาะจันทร์นี้ใช้แทนกันได้..


เขียนโดย :โจ สิบทิศ เจ้าของรายการ November 09, 2015 09:47:13

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/5780385


 พระมงคลมหาลาภ ปี 2499 พิมพ์สมาธิเล็ก เนื้อดินเผา จำนวนการสร้างน้อย หายากครับวัดสัมพันะวงศ์สร้าง ให้วัดสารนาถฯ จ.ระยอง องค์นี้ สภาพสวย ผิวเดิมครับ ช่วงนี้พระพุทโธน้อย ราคาบูชาค่อนข้างสูง ให้พระมงคลมหาลาภองค์นี้แทนได้ครับเพราะคุณแม่ท่านดได้อธิฐานจิตเหมือนกัน พุทธคุณไม่ต่างกันครับ ขนาดองค์พระ กว้าง 1.2 ซ.ม. สูง 1.8 ซ.ม. เมตตาสูงมาก โชคลาภดีเยี่ยม ***พระ เครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อ.แกลง จ.ระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ 5-31 มีนาคม 2499 ***   พระ รุ่นนี้ ปลุกเสกโดยคุณแม่บุญเรือน วัดอาวุธ และ คณาจารย์หลายท่านเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวง พ่อเงินวัดดอนยายหอม เป็นต้น ****ทั้ง นี้ ได้รับการปลุกเสก ซ้ำที่วัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยองอีกครั้ง โดยนิมนต์พระสายระยอง และสายกรรมฐานเช่น หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง หลวง ปู่ทิม วัดละหารไร่ หลวงพ่อลี วัดป่าคลองกุ้ง อาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม โดย ทั้งหมดเพื่อจัดสร้างและสมโภชน์พระพุทโธภาสชิน ราชจอมมุนี ในขณะที่แม่ชีบุญเรือน เป็นประธาน จัด สร้างและคุมงานเอง  พระมงคลมหาลาภ พ.ศ.2499 ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อ.แกลง จ.ระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ 5-31 มีนาคม 2499นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพื่อได้เคารพบูชาแนบแน่น สมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ พละ แลลาภยศ สรรญเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่ที่จะให้เข้าถึงอิฐผลนั้นๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์ เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆมีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้7สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ 375 ที่มีเบญจา มีเศวตฉัตร 9 ชั้น สูง 6 ศอก 8 ต้น บายศรีเงิน-บายศรีทอง 9 ชั้น สูง 6 ศอก อย่างละ 8 ต้น บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเสกมีพระเกจิที่มีชื่อเสียงเช่น พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระมหารัชชมังคลาจารย์ พระมงคลเทพมุนนี จนฺทสโร (สด มีแก้วน้อย) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระครูวินัยธรเฟื้อง (ญาณปปทีโป) หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ (ช่วยทำพิธีและประสานงานด้วย) พระสอาด อภิวัฑฒโน วัดสัมพันธวงศ์ พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน พระชอบ สัมจารี วัดอาวุธวิธกสิตาราม ธนบุรี เป็นต้น พร้อมด้วยบันจุเทพมนต์พรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชะลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็น องค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเสกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว 7 ชั้น ผ้าเขียว 7 ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่ จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ที่ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี 40 ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถึงผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้ 1.ผงขอจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่น วัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ และวัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำเลผงจากพระของเก่าบ้าง 2.ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ 108 อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ 108 อย่าง 3.ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ 7 ท่าและจากสระน้ำ 7 สระ 4.ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานและสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข 1-5 นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อนแล้วเอามาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีด้วย 5.ผงที่ได้จากดินสังเวยชนียสถาน 4 แห่งในอินเดียคือ 5.1 ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึงเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า 5.2 ดินที่มหาโพธิ์ พุทธคยาที่ตรัสรู้ 5.3 ดินที่สารนาถ มฤคทายวัน เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมจักร 5.4 ดินที่กุสินารา ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน 6.ดินจากสถานที่สำคัญ 9 แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จ เสวยวิมุตติสุข 7 แห่ง บริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลิน เป็นต้น แลดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่บนเขา คิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ดินที่ที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.2497 ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงแลบูชา สังเวชนียสถาน 7.ผงปูนหินขาว ราชบุรี 8.ผงปูนซีเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง และน้ำอ้อยเป็นต้น ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยมาก แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่องใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้ นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้ พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูปพระพุทธมงคลมหาลาภบ้าง สมเด็จบ้าง ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเสกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภ เสร็จแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามสมควรเพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่สารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ พระมหารัชชมังคลาจารย์ ( เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับพระมงคลมหาลาภ เป็นพระนาคปรกสี่เหลี่ยม เนื้อผงขาว (และส่วนผสมดังกล่าวแล้ว) ด้านหลังเป็นยันต์เฑาะดอกบัว อะอุมะ พิมพ์ใหญ่กลางเล็ก จำนวน 84,000 องค์ ซึ่ง “พระรัชชมงคลมุนี” (พระมหารัชชมังคลาจารย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ได้มอบให้ “พระชอบ สัมมาจารี” วัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพฯ สร้าง เพื่อนำมาแจกในงานสมโภชพระประธาน โดยส่ง “ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณต่าง ๆ เป็นแท่ง ๆ ประทับตรา “วัดสัมพันธวงศ์” ให้นำมาผสม โดยเรียก “พระนาคปรก” นี้ว่า “พระมงคลมหาลาภ” ซึ่งมีชื่อของท่านคือ “พระรัชชมงคลมุนี” อยู่ในชื่อพระด้วย ในพิธีนี้แม่ชีบุญเรืยนได้อธิษฐานจิตร่วมอยู่ในพิธีด ้วยหลวงพ่อลี วัดอโศกการาม จ.สมุทรปราการ องค์ประสานงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ ได้บอกศิษย์ว่า “พระผงนี้ดีมาก มีรังสี สีขาว และเหลืองกระจายออกสว่างไสว” นอกนั้น ท่านยังได้ขอพระผงมงคลมหาลาภที่ชำรุดประมาณ 1 บาตรพระ นำไปบดใส่ “พระใบโพธิ์เนื้อดิน พ.ศ. 2500”ของท่านด้วย ขนาดขององค์พระ พิมพ์ใหญ่ ฐานกว้างประมาณ 2.5-3.8 ซม. หนา 0.5 ซม. พิมพ์เล็ก ฐานกว้างประมาณ 2.2-2.5 ซม. หนา 0.5 ซม. ด้านหลัง มีตราวัดสัมพันธวงศ์ “เฑาะรัศมีดอกบัว อ.อุ.ม. ประทับลงในเนื้อเป็นตรารูปไข่ ขนาดของ ความหนาไม่แน่นอน หนาบ้าง บางเฉียบบ้าง แล้วแต่ขนาด พระพิมพ์นี้ คนระยอง คนจันทบุรี คนตราด อีกทั้งชาวประมงแถบภาคตะวันออก ห้อยองค์เดียวรู้ถึงพุทธคุณเป็นอย่างดีโดยเฉพาะช่วงที่มีใต้ฝุ่นเข้า แหลมตะลุมพุก ผู้ที่แขวนพระองค์นี้ลอยอย่างปาฏิหาริย์ จึงเป็นที่แสวงหากันมาก ข้อมูลจากคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณ พระราชรัชมงคลโกวิท พระราชรัชมงคลโกวิท เจ้าอาวาสวัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยอง องค์ปัจจุบัน เล่าว่า พิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต กว่าร้อยรูป มี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์ลี วัดอโศการามเป็นต้น ทำพิธีนั่งปรกพุทธาภิเษกพระประธาน และพระเครื่องต่าง ๆ มีพระมงคลมหาลาภ พระพุทโธน้อย เป็นต้น โดยทำพิธี 18 วัน 18 คืน ท่านเล่าต่ออีกว่า ในชีวิตที่ท่านเกิดมา ยังไม่เคยเห็นพิธีพุทธาภิเษกที่ไหนใหญ่โตเท่าครั้งนี้อีกเลย


เขียนโดย :ย่าทุม_พระเครื่อง เจ้าของรายการ October 11, 2015 10:53:56


ปี 2517 พระครูวิศิษฏ์ สมโพธิ์ ได้ขออนุญาติจัดสร้างพระอีก 1 รุ่น คือพระปิดตามนะมิ หรือปิดตามหาลาภ พิมพ์ขัดสมาธิเพชร และพระรอดหลังยันต์ และพระพิมพ์กลีบบัว สูตรการจัดสร้างเหมือนปิดตามัดข้ามต้มปี 2516 พร้อมนำไปให้หลวงปู่สีเมตตาอธิษฐานจิตให้ พระชุดนี้มีขนาดเล็กเหมาะกับเด็กและสตรี หนักไปทางเมตตา มหานิยม มหาลาภ ประสบการณ์มากมายเรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว พระมีร่องรอยบ้าง ราคาเบาสุดๆ เคาะเดียวครับ


เขียนโดย :วิจิตรศิลป์ เจ้าของรายการ September 10, 2015 12:47:09

หน้าที่ :  2