pu1965

ข้อมูลสมาชิก – pu1965

เริ่มเป็นสมาชิก: October 30, 2012 09:45:37 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 0 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 638 รายการ , คำติ: 0 รายการ

ประวัติ Feedback

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระบูชา-รูปถ่าย/7401313


ขอขอบพระคุณที่อุดหนุนครับ


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ April 28, 2017 12:22:58

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/หลวงพ่อคูณ-ปี-2512-2539/7401233


ขอขอบพระคุณที่อุดหนุนครับ


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ April 28, 2017 12:22:47

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุดภาคอีสาน/6756636


ตะกรุดทองคำแท้ๆ มีสร้างน้อยครับเชิญสายตรงครับ น่าเก็บสวยแท้อย่างนี้ครับ ราคาต่ำกว่าออกจากวัดแน่นอนครับ จากวัดก็สามพันต้นๆแล้วครับ


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ September 02, 2016 00:24:27


หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว เกจิชื่อดังผู้มีประกาศิตเขี้ยวแก้วกลางเพดานปาก จนเป็นที่มาของฉายาดังกล่าว ได้เมตตาสร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นนี้ในคราวที่ก่อตั้งกิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ (ปัจจุบันเป็นอำเภอแล้ว) จังหวัดสระแก้ว เมื่อ ปี 2541 จึงเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่าเหรียญสร้างกิ่ง ออกที่วัดเขาแหลมโดยตรง หลวงปู่ปลุกเสกเดี่ยวและอนุญาตให้กรรมการนำเหรีญรุ่นนี้ไปให้เกจิชื่อดัง ปลุกเสกเพิ่ม 2 ครั้ง คือ หลวงปู่พรหมา เขมจาโร แห่งสำนักสงฆ์สวนหินผานางคอย อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ทำพิธีกรรมปลุกเสก เมื่อคืนวันที่ 9 สิงหาคม 2541 และหลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย (พระวิสุทธิญาณเถระ) แห่งวัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี ปลุกเสกอีกครั้ง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2541 ต่อมามีผู้นำปืนมาทดลองยิง ปรากฎว่ายิงไม่ออก จนปืนแตกเสียหายจึงเป็นที่มาของการเรียกเหรียญรุ่นนี้อีกชื่อว่า เหรียญปืนแตก พุทธคุณและประสบการณ์จึงไม่ต้องบรรยายมาก ขอนำเหรียญสวยๆ แท้ๆ เดิมๆ จากวัดเขาแหลมมานำเสนอแก่ลูกศิษย์หลวงปู่ครับ


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ March 14, 2016 01:46:44

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระบูชา-รูปถ่าย/6264489


พ่อเฒ่าในบัว แห่งวัดวังม่วง พระ...นักพัฒนา  พ่อเฒ่าในบัว หรือชื่อเดิมพระครูพั่ว เป็นเจ้าอาวาสวัดวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 เป็นพระที่ชาวบ้านในละแวกอำเภอฉวางให้ความเคารพ และเมื่อท่านมรณภาพชาวบ้าน ก็ได้สร้างรูปสลักไว้บูชาในเจดีย์จนปัจจุบัน  พระครูพั่วเดิมเป็นชาวหลังสวน จังหวัดชุมพร เข้ามารับซื้อหมากจากฉวางไปขายที่บ้านดอน ในขณะนั้นท่านได้เดินทางมาพักที่บ้านทุ่งพลีบริเวณวัดวังม่วงเดิม และท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดวังม่วงและจำพรรษาอยู่หลายพรรษาจนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งก่อนที่พระครูพั่วจะมาจำพรรษา วัดวังม่วงได้เป็นวัดร้างมานาน 12-13 ปี แม้ว่าจะรับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว ดังนั้น จึงทำให้ชาวบ้านอยากได้เจ้าอาวาสมาเป็นเสาหลักของวัดและของชุมชน ซึ่งเมื่อพระครูพั่ว เมื่อเข้ามาเป็นเจ้าอาวาส ก็ได้ทำการพัฒนาวัดวังม่วงในหลายๆเรื่องด้วยกัน อาทิ ท่านได้ย้ายวัดจากฝั่งบ้านทุ่งพลีทั้งหมดมาไว้ฝั่งเดียวกันที่วัดวังม่วง แต่ยังมีสภาพวัดนอก วัดใน เพราะมีร่องรอยเดิมของแม่น้ำอยู่กลางวัดที่เกิดจากป่าเตย ป่าคล้า ป่าคลุ้ม ซึ่งมีสะพานทอดข้ามถึงกัน และในปี พ.ศ.2365 ท่านได้จัดให้มีการทอดกฐินเป็นครั้งแรกที่เป็นรูปแบบชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีแต่ไม่มีรูปแบบ  ปี 2370 พระครูพั่ว ได้เริ่มสร้างโบสถ์ถาวรตรงบริเวณหน้าเจดีย์พ่อเฒ่าในบัวปัจจุบัน เป็นอาคารไม้ยกพื้นทั้งหลัง ด้วยการไปโค่นและชัดลากไม้ตำเสามาจากควนเถียก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุตครึ่ง 8 ต้น ปักลงดิน ยกพื้นสูง ประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร ด้านในตรงกลางยกพื้นปูไม้กระดานขัดมันหลังคาชั้นเดียวทรงไทย มุงด้วยกระเบื้องดินเผาสีแดง ประตูหน้าต่างแกะสลักไม้งามระยับ การต่อไม้แบบโบราณ คือ ลิ้นสลักไม้ทั้งหมด ไม่ตอกตะปู เป็นปติมากรรมชั้นเยี่ยมของวัดที่ใช้อ้างในการเป็นพระอารามหลวงได้สบายๆ และเล่ากันว่า ในตอนที่ไปตัดไม้ตำเสานั้น พระครูพั่วได้ลิงป่ามา 4 ตัว และนำมาเลี้ยงที่วัด จนออกลูกมา 2 ตัว เป็น 6 ตัว ซึ่งหลังจากที่ท่านได้มรณภาพ พ่อหลวงทอง(พระวัดวังม่วง) ได้ให้ช่างปั้นลิง 6 ตัว ไว้รอบเจดีย์พ่อเฒ่าในบัวหรือพระครูพั่ว และได้แกะสลักไม้ขนุนลงรักปิดทองเป็นรูปพ่อเฒ่าในบัวไว้พร้อมกับพระบรมสารีริกธาตุไว้ในเจดีย์ของพ่อเฒ่าในบัว ซึ่งเจดีย์ดังกล่าวเป็นความคิดริเริ่มของท่านเอง สำหรับเป็นปูชนียสถานคู่โบสถสลักไม้ แต่ต่อมาพระธาตุได้หายไป จึงได้สลักพระพุทธรูปเหมือนพ่อเฒ่าในบัวไปประดิษฐานแทน  พระครูเป็นพระนักพัฒนาและเป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเคารพบูชา หลังจากที่ท่านมรณภาพและได้สร้างรูปเหมือนไว้ ชาวบ้านก็ได้ให้ความเคารพบูชาและกลายเป็นพระที่มีการนำไปสร้างเป็นเหรียญบูชาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวตลอดจนถึงปัจจุบัน


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ March 14, 2016 01:46:36


เนื้อจัดส่องมัน ยุคต้นๆของท่าน เนื้อพระจะเห็นมวลสารเดิมๆของสมเด็จวัดระฆังที่นำมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างพระสมเด็จของท่านอยู่ทั่วองค์พระ เพราะพระสมเด็จของหลวงปู่ที่สร้างได้รับการกล่าวขวัญมาเป็นสมเด็จที่มีมวลสารเดิมของสมเด็จโต มากที่สุดครับ     ยอดประมูลต่ำ กว่า 100.- ส่งแบบติดแสตมป์(ไม่สามารถติดตามให้ได้หากท่านไม่ได้รับหากเพิ่มค่าส่งอีก 20.- ส่งแบบลงทะเบียนครับ หากยอดเกิน 500.- ส่งแบบ EMS ฟรี)


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ March 14, 2016 01:46:27

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/หลวงพ่อทวด-วัดอื่นๆ/6242793


เนื้อทองแดงรมดำ   ยอดประมูลต่ำกว่า 100.- ส่งแบบติดแสตมป์(ไม่สามารถติดตามให้ได้หากท่านไม่ได้รับหากเพิ่มค่าส่งอีก 20.- ส่งแบบลงทะเบียนครับ หากยอดเกิน 500.- ส่งแบบ EMS ฟรี)


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ March 14, 2016 01:46:19

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/เครื่องราง-ล็อกเก็ต/6242854


ยอดประมูลต่ำกว่า 100.- ส่งแบบติดแสตมป์(ไม่สามารถติดตามให้ได้หากท่านไม่ได้รับหากเพิ่มค่าส่งอีก 20.- ส่งแบบลงทะเบียนครับ หากยอดเกิน 500.- ส่งแบบ EMS ฟรี)


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ March 14, 2016 01:46:13

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุดภาคใต้/6027631


เนื้อจัดสุดๆ ดูง่าย พิธีเยี่ยม พระทำจากเนื้อว่านยา 108 ชนิด ผงเลขยันต์ตำราวัดเขาอ้อ 108 ดวง เป็นพิมพ์ขุนแผน ด้านหลังมีรูปดาบฟ้าฟื้น (นักเล่นนิยมเรียกว่าขุนแผนดาบไขว้) จัดสร้างพร้อมกันกับพระรูปเหมือนอาจารย์ทองเฒ่า และ ปิดตานอโม พิธีแรกที่วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง พระอาจารย์ รวม 108 อาจารย์ เชิญวิญญาณอาจารย์สมภารนอโมและวิญญาณอาจารย์เฒ่า เข้าประทับทรงปลุกเศก เกิดเป็นตัวต่อจำนวน 1,000 ตัว มาปิดรอบปริมณฑลพิธี มีความอัศจรรย์อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน พิธีวันที่ 12 มีนาคม 2510 ปลุกเศกอยู่ 33 วัน แล้วเก็บไว้ไปเข้าพิธีที่วัดถ้ำเขาเงินในปีต่อมา เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2511 เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้ว พิมพ์นี้ได้จัดถวายหลวงพ่อแดง วัดเขาถล่ม อ.ชุมได้สร้างพระพิมพ์นี้เพื่อนำไปออกช่วยที่วัดเขาถล่ม จังหวัดชุมพร พระรุ่นนี้บางองค์จะมีรู หรือบางองค์ที่เป็นพระคะแนนจะติดเหล็กไหลที่ด้านหลังอีกด้วย กล่าวถึงพิธีพุทธาภิเศกที่วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ ปี 2511 เป็นพิธีใหญ่ที่รวมศิษย์สายเขาอ้อร่วมกันปลุกเสก ขุนพันธ์ฯเป็นประธานจัดสร้าง อ.ชุมและหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ร่วมกันสร้างเพื่อแจกจ่ายทหาร ตำรวจ ประชาชนที่ศรัทธา พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง, พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ, หลวงปู่หมุน วัดเขาแดงตะวันออก จ.พัทลุง, พระครูปลัดพวง วัดประสาทนิกร หลังสวน จ.ชุมพร, หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน หลังสวน จ.ชุมพร, อาจารย์ชุม ไชยคีรี เขาไชยสน จ.พัทลุง ปลุกเสกตามตำรับไสยเวทย์ของเขาอ้อ จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่าใช้บูชาดีเด่นในทุกทาง *มูลเหตุที่สร้างพระขุนแผนพิมพ์นี้ว่ากันว่าหลวงปู่คงตอนประทับทรงได้สั่งให้สร้างพระพิมพ์นี้ลักษณะนี้ขึ้นครับ และพิืมพ์นี้ยังเป็นต้นแบบของพระผงบารมี คงไชยชุม ที่สร้างขึ้นในปี 12-13 ด้วยพระส่วนที่เหลือยังนำไปเสกเพิ่มเติมร่วมกับพิธีที่วัดบ้านสวน ดังนั้นบางท่านได้รับจากวัดบ้านสวนก็มีเช่นกันไม่ใช่เรื่องแปลก ***** พลังครบทุกทาง เด่นด้านมหาอำนาจ เจริญรุ่งเรือง เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ราคาขยับตาม ปี 2497 แต่หายากกว่าครับ *****  


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ December 29, 2015 11:44:23


วัดเจริญศรีมณีผล เดิมชื่อวัดบางจากหรือวัดใหม่บางจาก ตั้งอยู่ที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เำพชรบุรี ตำบลที่ตั้งเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมถึง มีต้นจากขึ้นมาก จึงได้ชื่อว่า ตำบลบางจาก ชาวบ้านในละแวก ได้ผลพลอยไ้้ด้จากต้นจากที่ขึ้นมากมาย โดยนำผลจากมาเชื่อมทำเป็นขนมหวาน ใบจากนำมาทำเป็นหลังคาบ้านหรือนำมาห่อขนม หลวงพ่อเยิ้ม เดิมชื่อ เยิ้ม นามสกุล แสงจันทร์ เกิดวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ตรงกับ วันขึ้น 3ค่ำ เดือน 8 มีพี่น้องร่วมอุทร 8คน บิดาชื่อ วาด มารดา ชื่อ จีน ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ ต.หนองจอก อ.ห้วยยาง จ.เพชรบุรี ในภายหลังได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่ ต.บางจาก เมื่ออายุครบบวช ท่านได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางทะลุ ต.หาดเจ้าสำราญ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2472  พระอธิการอิ่น วัดบางทะลุ เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแพ วัดสมุทรโคดม เพชรบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการวัน วัดหนองศาลา เพชรบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้รับฉายาทางพุทธศาสนาว่า สุวัณณปัญโญ ตำแหน่งทางพุทธศาสนา วันที่ 2 ก.ค. 2480 ดำรงค์ตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดใหม่บางจาก วันที่ 27 ก.ค. 2482 ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดใหม่บางจาก วันที่ 18 ธ.ค. 2492 ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหัวสะพาน วันที่ 4 พ.ค. 2502 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ วันที่ 5 ธ.ค. 2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ราชทินนาม พระครูปัญญาวุฒิชัย มรณภาพ วันที่ 15 ก.พ. 2537 เวลา 19.40 น. ด้วยโรคชราภาพ ที่วัดใหม่บางจาก สิริรวมอายุ 84 ปี 6 เดือน 15 วัน อยู่ในเพศบรรพชิต 64 พรรษา ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ และชาวบ้าน ต.บางจาก ทิ้งไว้แต่คุณงามความดี และถาวรวัตถุที่ท่านสร้างไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ ท่านเป็นเกจิอาจารย์ ในยุคหลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ


เขียนโดย :chancharoen08 เจ้าของรายการ December 29, 2015 11:44:14

หน้าที่ :  1