mac_act

ข้อมูลสมาชิก – mac_act

เริ่มเป็นสมาชิก: October 22, 2011 05:17:11 , สถานะ: ปกติ , ตั้งประมูล: 4 รายการ , รายการที่ยังไม่ปิด: 0 รายการ , คำชม: 203 รายการ , คำติ: 1 รายการ

ประวัติ Feedback


เครดิตเยี่ยมมาก..RP099235070TH


เขียนโดย :ดาวเหนือ เจ้าของรายการ October 27, 2017 13:19:20

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อชิน/5096872318337024


+1 Auto Feedback


เขียนโดย :thomas_fc เจ้าของรายการ August 04, 2017 20:10:00

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/6077673465970688


เครดิตยอดเยี่ยม โอนเงินรวดเร็ว การันตีสมาชิกคุณภาพครับ


เขียนโดย :chonchit เจ้าของรายการ June 14, 2017 05:26:05


สมาชิก VIP ขอบคุณมากครับ เลขที่จัดส่ง RX 1110 1774 7 TH


เขียนโดย :คนคลองสาม เจ้าของรายการ June 03, 2017 03:20:27

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุดภาคอีสาน/7268477



เขียนโดย :ทองก้อน เจ้าของรายการ March 07, 2017 08:20:01


ขอบคุณมากค่ะ จัดส่งให้แล้ว RL 4324 2160 1 TH


เขียนโดย :ทองก้อน เจ้าของรายการ March 07, 2017 08:19:41

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อดิน/7104505


***วัดใจแดงแรก 110 บาท เอาของสวยมาวัดใจครับ***พระโคนสมอ กรุวังหน้า พิมพ์นั่งห้อยพระบาท เนื้อดินลงรักปิดทองเดิมๆในกรุ สภาพสวยสมบูรณ์มากครับ    พระแท้ดูง่ายมากครับ รับประกันพระแท้ครับ "พระโคนสมอ " นั้นส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผา มีขนาดใหญ่ และเป็นพระที่มีการลงรักปิดทองเกือบทั้งหมด พุทธลักษณะโดยรวมเป็นพระที่ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ฐานแบบย่อมุม ตามแบบศิลปะอยุธยายุคปลาย พิมพ์ที่พบเห็นบ่อย ๆ มักเป็นพระประทับนั่ง มีทั้งพิมพ์สมาธิและพิมพ์ประทับนั่งห้อยพระบาท ซึ่งเป็นพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุดในจำนวนพิมพ์ต่าง ๆ ของพระโคนสมอชุดเล็ก เพราะนอกเหนือจากพระพิมพ์ประจำวันแล้วยังมีบางพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่พุทธศิลป์งดงามอลังการเป็นพิเศษที่มักเรียกกันว่า "พระท้าวชมพู" หรือหากจะเรียกให้ถูกต้อง ต้องเรียกขานกันตามพุทธประวัติที่นักสะสมรุ่นปู่ท่านเรียกขานกันว่าเป็นปาง " ทรมานพญาชมพู " ซึ่งเป็นพระยืนปางประทานพร ทรงเครื่องขัดติยราชประดับมงกุฎ สวยงามมาก  ส่วนพระโคนสมอกรุวังหน้านั้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายคาบเกี่ยวกับรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเรียกตามสถานที่ ๆ พบ คือวังหน้า หรือชื่อเป็นทางการคือ พระราชวังบวรสถานมงคล ที่ได้สร้างวัดไว้ในวังตามแบบราชประเพณีตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และโปรดพระราชทานนามว่า “ วัดบวรสถานสุทธาวาส “แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๕ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เป็นผู้บูรณะโดยโปรดถอนวิสุงคามสีมาส่วนของวัดบวรฯ เพื่อสร้างโรงเรียนนาฏดุริยางศาสตร์ หรือโรงเรียนนาฏศิลป์ในปัจจุบัน พร้อมกันกับวัดพระแก้วในคราวเดียวกันเพื่อจัดงานฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๑๕๐ ปี ขณะทำการปรับรื้อได้พบพระเครื่องจำนวนมากใต้ฐานชุกชี ภายในบริเวณวัดบวรฯ มีทั้งเนื้อดิน ชินเงิน ตะกั่วสนิมแดง และผง เมื่อแรกพบคนงานได้นำมากองไว้ที่โคนต้นสมอพิเภกภายในบริเวณนั้น จึงเรียกกันต่อมาว่าพระโคนสมอ และภายหลังมีผู้พบอีกหลายครั้ง และ กรุ ตามวัดสำคัญ ๆ ต่าง ๆ รวมถึงวัดรั้วเหล็ก หรือ วัดประยุรวงศาวาส ต่อมาก็ได้พบพระแบบเดียวกันนี้อีกตามกรุต่างๆ ในกทม.และอยุธยา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากพุทธศิลป์แล้วสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อเสียกรุงศรี ฯ ครั้งที่ 2 หลังจากเริ่มสร้างกรุงเทพฯ นั้นก็ได้มีการชะลอพระพุทธรูปจากโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดที่เป็นวัดร้างเข้ามาประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ ในกทม. พระพุทธรูปจากอยุธยาเองก็ถูกนำเข้ามาไว้ในกรุง หลายองค์ประจำอยู่ตามวัดต่างๆ ในกทม. นอกจากพระพุทธรูปที่ได้นำเข้ามาไว้ในกรุงแล้วก็ยังได้นำพระเครื่องที่พบตามกรุในอยุธยาเข้ามาบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ ด้วย และพระโคนสมอก็ได้ถูกนำเข้ามาบรรจุไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในครั้งนั้นด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายคือ ไม่มีบันทึกไว้ว่า พระทั้งหมดนั้นได้นำมาจากที่วัดใดในอยุธยา องค์นี้เป็นพระโคนสมอ พิมพ์ห้อยพระบาท ซึ่งถือเป็นพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุด  มีรักทองเก่าให้เห็นอย่างสมบูรณ์ ว่ากันว่า ที่พระพิมพ์นี้ทั้งเนื้อดินเผาและชินเงินของกรุวังหน้านี้ มีผู้นำไปห้อยบูชาแล้วเกิดประสบการณ์กันมากทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และมหาอุด   


เขียนโดย :BOY.LS เจ้าของรายการ December 28, 2016 10:34:17

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระชุดภาคตะวันออก/7093994


วัดเก๋งจีน ระยองเป็นวัดที่สร้างในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันได้กลายเป็นวัดร้างซึ่งก็คือบริเวณโรงพยาบาลประจำจังหวัดระยองในปัจจุบันนี้นั่นเอง ผู้สร้างคือพระอุปัฌชาย์ก๋งเจ้าอาวาสวัดเก๋งจีนในสมัยนั้น ท่านเป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐานและยังเป็นอาจารย์ใหญ่ภาคตะวันออกสายเมืองระยอง มีความเชื่อกันว่าท่านน่าจะเป็นอาจารย์และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้กับหลวงพ่อโตวัดเขาบ่อทอง หลวงพ่ออ่ำวัดหนองกระบอก หลวงพ่อทาบวัดกระบกขี้ผึ้ง หลวงพ่อวงศ์วัดบ้านค่าย และหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ พระกรุวัดเก๋งจีนแตกกรุออกมาประมาณปี 2515 เป็นพระเนื้อชินปนตะกั่วเพียงเนื้อเดียว ด้านหลังจะเรียบ พระเกือกทั้งหมดจะลงรักปิดทอง มีพิมพ์ต่างๆมากมายนับไม่ถ้วนนับได้ร่วม 100 แม่พิมพ์ ดังนั้นพระที่แตกออกมาจากกรุวัดเก๋งจีนจึงมีจำนวนมาก แต่ส่วนมากพระจะชำรุดงอและไม่ค่อยสวย พิมพ์นิยมคือพิมพ์มารวิชัยฐานผ้าทิพย์ พิมพ์สมาธิฐานสองชั้น พิมพ์โมคคัลลาร์ และพิมพ์พิเศษที่หายากพิมพ์ต่าง ๆ เช่น พิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์พระประจำวัน พิมพ์นาคปรกและพิมพ์พระประธานฐานผ้าทิพย์ ฯ


เขียนโดย :ping เจ้าของรายการ December 19, 2016 16:31:01

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อผง-เนื้อว่าน/6967097


หลวงพ่อเเฉ่ง  พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีตแห่งวัดบางพัง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพระนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากัมมัฏฐานในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้คงแก่เรียน จนทำให้ชื่อเสียงระบือไกล อัตโนประวัติ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2428 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย บรรพชาเมื่ออายุ 12 ปี และเข้าพิธีอุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมจากพระเกจิชื่อดังหลายรูปและได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชา อาทิ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (คลองด่าน) หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, หลวงปู่ฉาย วัดพนัญเชิง คณาจารย์สายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่าง เป็นต้น หลวงพ่อแฉ่งให้ความเคารพนับถือหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา มากเป็นพิเศษ ในฐานะลูกศิษย์และสหายธรรมรุ่นน้อง จึงได้รับอิทธิพลในการจัดสร้างพระพิมพ์ทรงสัตว์ต่างๆ มาจากหลวงพ่อปานด้วย สมัยหลวงพ่อแฉ่งยังมีชีวิตอยู่ วัดบางพังในอดีตคึกคักกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง แต่ละวันมีผู้คนมากหน้าหลายตาเดินทางมาจากถิ่นต่างๆ มาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงพ่อแฉ่ง บ้างมาขอรับวัตถุมงคล บ้างมารักษาโรค ด้วยทุกคนเชื่อมั่นว่าหลวงพ่อแฉ่งช่วยได้ วัดศรีรัตนารามหรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันทั่วไปว่า 'วัดบางพัง' ตั้งอยู่เลขที่ 39 บ้านคลองบางพัง ซอยสวัสดี หมู่ที่ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี สังกัดมหานิกาย เป็นวัดโบราณสร้างครั้งสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ.2305 ไม่ทราบนามผู้สร้างชัดเจน ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดบางพัง ตามท้องที่ที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี สาเหตุที่ชื่อวัดบางพังนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า เพราะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยากัดเซาะพื้นดินริมตลิ่งแถบบริเวณนั้นพังมากเป็นบริเวณกว้างมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว จึงได้เรียกกันว่าตลิ่งพังแล้ว และกลายมาเป็นบางพังในที่สุด วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ วัดบางพังซึ่งอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา เกือบไม่รอดจากการถูกน้ำท่วม แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคณะสงฆ์และชาวบ้าน รวมทั้งนายกเทศบาล ที่ระดมกันมาสร้างคันดิน และเสริมคันคอนกรีต ทำให้สามารถต้านทานระดับน้ำไม่ให้เข้ามาท่วมวัดได้ หลวงพ่อแฉ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังผู้ทรงพุทธาคมรูปหนึ่งในอดีต ได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลดังๆ เช่น พิธีที่วัดราชบพิธ พ.ศ.2481 พิธีพุทธาภิเษกพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ในการพุทธาภิเษกพระกริ่งในเจ้าคุณศรีฯ วัดสุทัศน์ จะต้องนิมนต์พระหลวงพ่อแฉ่งร่วมปลุกเสกทุกครั้ง วัตถุมงคลหลวงพ่อแฉ่งมีมากมาย ทั้งพระเนื้อผงพิมพ์ทรงสัตว์ต่างๆ มีหลายประเภททั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์สามเหรียญ เนื้อผง พระรอด ตะกรุด ผ้ายันต์ธง ทรายเสก พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระประจำวัน นางกวัก พระพุทธกวัก สามเหลี่ยม พระสีวลีชนิดบูชา-คล้องคอ เนื้อหามีทั้ง ดิน ผงน้ำมัน ผงพุทธคุณ แต่ที่ได้รับความนิยมมากๆ คือ ชนิดผงน้ำมัน เพราะเนื้อหาดูง่าย เนื้อจัด หนึกนุ่ม ส่องแล้วสบายตา ราคาสบายใจไม่แพงมาก แรงจูงใจในการจัดสร้าง บรรดา ศิษย์และผู้ใกล้ชิดที่ศรัทธาพร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อสร้างอิทธิวัตถุ เพื่อเป็นของที่ระลึกและคุ้มครองป้องกันภัย ประกอบกับในระยะนั้นสงครามมีท่าทีเกิดขึ้น ผู้คนเริ่มเสาะแสวงหาวัตถุมงคลไว้คุ้มกัน ตัว และเพื่อตอบแทนชาวบ้านที่มาร่วมทำบุญบริจาคทรัพย์สมทบทุนสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด หลวงพ่อแฉ่งได้สร้างวัตถุมงคลในปี พ.ศ.2484 แจกให้ศิษย์และชาวบ้านที่ศรัทธา หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2500 สิริอายุ 72 พรรษา 52 สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัด มกุฏกษัตริยาราม โปรดให้เคลื่อนสรีระไปพระราชทานเพลิง เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2501 ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ   พระคาถา หลวงพ่อแฉ่ง ตั้งนะโม 3 จบ นะชาลีติ ประสิทธิลาภา ประสันนะ จิตตาสะหาโหนตุ ปิยังมะมะ สัพเพ ทิสาสะมา ตะตา กาละโภชะนา อาคันฉันติ ปิยะยะ ให้ท่านภาวนา คาถานี้ทุกครั้ง เมื่อออกไปหาลาภ ท่านกล่าวว่าจะมีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยลาภผล อันมากมาย มหาศาล ท่านกล่าวอีกกว่าอย่ากลัวความจนเลย หมั่นภาวนา จะบังเกิดผล   หายากมากพิมพ์นี้ เนื้อผงพุทธคุณ พร้อมบัตรรับรอง สวยเดิมมากครับ


เขียนโดย :X-MEN เจ้าของรายการ November 12, 2016 07:13:03

อ้างอิงถึงรายการ : /auction/พระเนื้อผง-เนื้อว่าน/6934159


ประวัิติ หลวงพ่อหม่น วัดคลองสิบสอง ปทุทธานี “หลวงพ่อหม่น” ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดพระยาปลา ตั้งอยู่เลขที่ 15 ถนนประชาสำราญ หมู่ 3 แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อหม่น” พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ถิ่นกำเนิดท่านเป็นชาวอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ทางบ้านมีอาชีพทำนา โยมพ่อโยมแม่ไม่มีใครทราบชื่อ ท่านมีพี่น้องหลายคนจากคำบอกเล่าทราบว่ามีพี่สาวชื่อนางเกตุ นางคำ มีน้องชายชื่อนายเม่น และจะมีใครอีกบ้างไม่ทราบแน่ชัด  ครอบครัวโยมพ่อโยมแม่อพยพมาปักหลักทำมาหากินทำนาที่เขตหนองจอกเมื่อท่านยังเล็กๆ อยู่ โดยมาอยู่ที่บ้านนาหม่อนไม่ไกลจากวัดพระยาปลาเท่าไรนัก ประวัติชีวิตของ “หลวงพ่อหม่น” ไม่มีใครทราบแน่ชัดซึ่งท่านเองก็ไม่เคยเล่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับครอบครัวของท่านให้ใครทราบเลย ทราบแต่เพียงคร่าวๆ ว่าท่านจบการศึกษาประถมปีที่ 4 แล้วก็ออกจากโรงเรียนอยู่ช่วยทางบ้านทำนา จนกระทั่งแต่งงานเป็นฝั่งเป็นฝา ภรรยาไม่ทราบชื่อมีลูกด้วยกัน 2 คน เป็นผู้ชายชื่อเขียว และผู้หญิงชื่อชง  “หลวงพ่อหม่น” ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แบบไม่ได้ตั้งใจ กล่าวคือมีเพื่อนบ้านคนหนึ่งอยู่ละแวกวัดพระยาปลาตั้งใจจะบวชเต็มที่ ไปขอฤกษ์กำหนดพิธีอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ทางบ้านก็จัดงานกันอย่างเอิกเกริก กลางคืนเตรียมทำขวัญนาค กะว่าพรุ่งนี้เช้าทำการอุปสมบทแล้วอยู่ๆ ผู้เป็นนาคก็เกิดเสียชีวิตกระทันหัน เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเช่นนั้น ทางบ้านนาคก็เกิดความสับสนอลหม่าน เสียงส่วนใหญ่ไม่อยากให้ล้มเลิกงานบวช ไหนๆ ก็จัดงานแล้วจึงตกลงกันหาคนบวชมาเป็นนาคแทนเสียเลย อีกประการหนึ่งก็จะเป็นการอุทิศให้กับผู้ตายด้วย เจ้าภาพงานบวชรู้จักกับหลวงพ่อหม่นอยู่แล้ว ทราบว่าท่านเองก็ยังไม่ได้บวช จึงมาขอร้องให้ท่านเป็นนาคบวชแทนผู้ตาย เพื่อไม่ให้พิธีการที่เตรียมไว้เสียไป ซึ่งหลวงพ่อหม่นเองก็ตกลงยอมโกนหัวเข้าสู่พิธีทำขวัญนาค และอุปสมบทในวันรุ่งขึ้น ขณะที่ท่านบวชนั้นภรรยาของท่านเสียชีวิตไปไม่นาน ท่านได้ฝากลูกสองคนไว้กับพี่ๆ น้องๆ ให้ช่วยกันดูแลเลี้ยงแทนด้วย ซึ่งทางบ้านทุกคนก็เต็มใจด้วยดี  ในครั้งนั้นไม่มีใครคาดคิดเลยว่า “นายหม่น” ผู้ที่ยอมโกนหัวบวชเป็นพระแทนนาคผู้เสียชีวิตกระทันหัน จะลาการใช้ชีวิตทางโลกตราบชั่วอายุขัยของท่านเลยเป็น การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อย่างถาวร เมื่อตอนท่านบวชอายุเท่าไหร่ แม้แต่พระอุปัชฌาย์ตลอดจนฉายาที่ท่านได้รับก็ไม่มีใครทราบ “หลวงพ่อหม่น” หลังจากที่บวชเป็นพระ ก็เกิดความร่มเย็นในบวรพุทธศาสนา จำพรรษาอยู่ตลอดไม่ยอมสึก ครั้นพอออกพรรษาท่านก็ออกธุดงควัตรปลีกวิเวกแสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต และความหลุดพ้นจากกามกิเลสทั้งหลายทั้งปวง พอเข้าพรรษาบางปีก็กลับมาจำพรรษาที่วัดพระยาปลา บางปีก็ธุดงค์จากถิ่นไปไกลๆ จำพรรษาที่อื่น ส่วนใหญ่เล่ากันว่าท่านจะธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา บางครั้งก็จะธุดงค์องค์เดียว ในช่วงระหว่างที่ธุดงค์บำเพ็ญศีลภาวนา อย่างเคร่งครัดนั้น หากท่านพบพระอาจารย์ท่านใดก็จะขอร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆ ซึ่งพระเกจิอาจารย์ส่วนใหญ่จะไปได้วิชาอาคมจากการเดินธุดงค์นั่นเอง จะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างธุดงค์ก็ว่าได้ คือหากพบกันระหว่างทางจะแวะทักทายโอภาปราศัยแลกเปลี่ยนวิชาอาคมซึ่งกันและกัน แล้วก็นำมาปฏิบัติฝึกฝนสร้างสมบารมีให้แก่กล้าขึ้น  “หลวงพ่อหม่น” ท่านเดินธุดงค์ไปทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน บางครั้งก็เข้าไปถึงประเทศเขมร พบพระอาจารย์ระหว่างทางที่ไหนก็ขอเรียนวิชานำติดตัวกลับมา สำหรับวิชาการทำ “พระหนัง” นั้น ทราบว่าพระอาจารย์ที่สอนท่านทำก็คือ “หลวงพ่อเนียม” ที่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระยาปลานี่เอง ซึ่งไม่ทราบว่า “หลวงพ่อเนียม” เป็นใครมาจากไหนอีกเช่นกัน ทราบแต่เพียงว่า “หลวงพ่อเนียม” องค์นี้เก่งในเรื่องการทำพระหนังยิ่งนัก และพระหนังของท่านก็เลื่องลือในเรื่องของความอยู่ยงคงกระพัน จัดเป็นปรมาจารย์พระหนังมีวิชาอาคมแก่กล้า ท่านมาเป็นสมภารอยู่วัดพระยาปลาได้ 2 ปี แล้วก็ลาจากวัดไป ไม่ทราบว่าท่าน หายไปไหน จนกระทั่ง “หลวงพ่อหม่น” ก้าวเข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดแทน  อัน “วัดพระยาปลา” นั้น ชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่เรียกกันติดปากว่า “วัดคลองสิบสอง” ชื่อจริงตามภาษาราชการคือ “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2443 โดยมี “นางผึ้ง” หรือสมัยนั้นเรียกกันว่า “อำแดงผึ้ง” เศรษฐีนีย่านหนองจอกอุทิศที่ดินบริเวณคลอง 12 จำนวน 10 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวาให้เป็นที่สร้างวัดขึ้นมา  อำแดงผึ้ง(อำแดง คือ คำนำหน้าชื่อผู้หญิงสามัญ) มีที่ดินย่านหนองจอกประมาณ 500 กว่าไร่ หลังอุทิศที่ดินบริเวณปากบึงใหญ่ให้สร้างเป็นวัด ต้องเกณฑ์คนขุดดินขึ้นมาถมที่ให้เป็นโคกเพื่อปลูกสร้างเสนาสนะต่างๆ กุฏิสงฆ์บางส่วนก็ยังอยู่ในน้ำ บางส่วนก็อยู่บนบก เมื่อสร้างวัดเสร็จก็ตั้งชื่อว่า “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” โอนที่ดินให้เป็นสมบัติของวัดอย่างถูกต้องเมื่อปี พ.ศ.2465 ปรากฏหลักฐานตามโฉนดที่ดินของวัด เล่ากันว่าแรกเริ่มตั้งวัดก็ใช้ชื่อเรียกขานวัดว่า “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” แต่ต่อๆ มาชื่อเรียกขานก็เปลี่ยนไป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากบริเวณที่ตั้งวัดนั้นเป็นปากบึงมีปลาชุกชุมมาก ขณะที่ชาวบ้านมาช่วยกันขุดดินถมดินที่ให้เป็นโคกเพื่อสร้างวัดนั้น มีคนไปเจอปลาดุกเผือกตัวใหญ่มากผู้คนเห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาด เพราะปลาดุกเผือกตัวใหญ่ยักษ์หาไม่ง่ายนัก จึงถือเอาเหตุการณ์นั้นเรียกเป็นนามวัดแบบรู้ๆ กันว่า “วัดพระยาปลา” คือปลาดุกเผือกตัวใหญ่  กับอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาเรียบร้อยแล้ว ชื่อวัดกำหนดเรียกว่า “วัดนารีประดิษฐ์” ในปี พ.ศ.2450 สมัยที่ “หลวงพ่อหม่น” เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ครั้งนั้น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส” เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็น “สมเด็จพระสังฆราช” ได้ทรงเสด็จไปรเวทไปตามลำน้ำต่างๆ ค่ำไหนพักที่นั่น บังเอิญไปพักที่วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ พอวันรุ่งขึ้นชาวบ้านก็จัดทำอาหารไปถวาย อาหารที่ถวายส่วนใหญ่มีปลาเป็นหลัก เช่น แกงปลา ปลาทอด ปลานั้นล้วนแต่ตัวใหญ่ๆ ทั้งสิ้น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส” ท่านดำรัสว่า “แหมวัดนี้มีปลาใหญ่ๆ น่าจะชื่อวัดพระยาปลา” ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงพากันเรียก “วัดพระยาปลา” มาตลอดจนติดปากจนพักหลังๆ แทบจะไม่มีใครรู้จักชื่อ “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” กันเลย  “วัดพระยาปลา” หรือวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์นั้นสมัยก่อนเคยขึ้นไปอยู่กับจังหวัดฉะเชิงเทราราวปี พ.ศ.2470 ต่อมา พ.ศ.2472 ก็โอนกลับมาขึ้นอยู่กับกรุงเทพฯ ตามเดิม เมื่อตอนที่สร้างวัดเสร็จใหม่ๆ “อำแดงผึ้ง” พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้ไปนิมนต์ “พระอาจารย์ทองสุข” แห่งวัดแสนเกษม คลอง 13 หนองจอก มาเป็นเจ้าอาวาสถือว่าเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด “พระอาจารย์ทองสุข” อยู่ได้ไม่นานก็ออกจากวัดไปไม่ทราบว่าไปไหน “อำแดงผึ้ง” พร้อมกับชาวบ้านไปนิมนต์ “หลวง- พ่อเนียม” จากกรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 แล้วหลวงพ่อเนียมก็หายจากวัดไปอีกรูปหนึ่ง ขณะที่หลวงพ่อเนียมมาเป็นสมภารอยู่ที่วัดพระยาปลานั้น หลวงพ่อหม่นท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระยาปลาแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาการ ทำพระหนังจากหลวงพ่อเนียมด้วย ครั้นเมื่อหลวงพ่อเนียมจากไปชาวบ้านก็นิมนต์ยก หลวงพ่อหม่น ให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดพระยาปลา เป็นรูปที่ 3  “หลวงพ่อหม่น” ภายหลังได้เป็นสมภารปกครองวัด กิจธุดงค์ท่านก็ละเว้นลง เพราะมีภาระกิจทางคันถธุระมากขึ้น และท่านก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ในเวลาต่อมา หลวงพ่อหม่นปกครองวัดพระยาปลา เมื่อปี พ.ศ.2448-2473 เจ้าอาวาสปกครองวัดพระยาปลาต่อๆ มามีรูปที่4 พระใบฎีกาบุญเหลือ พ.ศ.2473-2479, รูปที่5 พระอธิการเชื้อ พ.ศ.2479-2481, รูปที่6 พระอธิการฉัตร พ.ศ.2481-2486, รูปที่7 พระอาจารย์วัน พ.ศ.2486, รูปที่ 8 พระอาจารย์แป้น พ.ศ.2486-2517, รูปที่9 พระครูประดิษฐ์วรธรรม (หลวงพ่อเหว่า กตฺปุญโญ), รูปที่ 10 พระอธิการทองอยู่ ทนฺตกาโย พ.ศ.2541-2543  หลังจากที่หลวงพ่อหม่นเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็อยู่ทำนุบำรุงวัดก่อสร้างบูรณะเสนาสนะต่างๆ ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ในยุคของท่านชาวบ้านย่านคลอง 12 หนองจอก มีนบุรี และลำลูกกาให้ความเคารพศรัทธาท่านมาก ต่างยกย่องว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมแก่กล้ายิ่งนัก ยุคของท่านย่านนั้นไม่มีใครมีชื่อเสียงโด่งดังเท่า “หลวงพ่อหม่น” เลย  “หลวงพ่อหม่น” จัดสร้างพระหนังขึ้นมาเพื่อหารายได้สร้างวัด เล่ากันว่าครั้งแรกของการทำพระเป็นการลองวิชาที่ได้รับถ่ายทอดมาจาก “หลวงพ่อเนียม” พระอาจารย์ของท่าน ประกอบกับท่านเองก็มีวิชาอาคมแก่กล้าบำเพ็ญเพียรภาวนานั่งวิปัสสนากรรมฐานมาตลอด พระหนังที่ท่านทำครั้งแรก ท่านใช้หนัง หน้าผากกระบือเผือก หรือควายเผือกนั่นเอง นำมาทำเป็นพระ และควายเผือกที่จะเอาหนังมาทำพระนั้น ถือเคล็ดลงไปอีกว่าจะต้องเป็นควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายเท่านั้น ควายตายอย่าง อื่นใช้ไม่ได้ และเมื่อได้ควายเผือกถูกฟ้าผ่าตายมาแล้ว ก็จะต้องใช้หนังที่หน้าผากควาย หรือตรง “กบาลควาย” เท่านั้น เป็นข้อจำกัดในการทำพระหนังให้สุดยอด เปี่ยมด้วยพุทธคุณตรงตำรับตำราโดยแท้  เมื่อท่านทำพระหนังออกมา ก็นำมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้านและลูกศิษย์ ใหม่ๆ ก็ไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก หลวงพ่อท่านจะแจกให้ลูกหลานเด็กๆ คล้องคอกัน ท่านบอกว่าเอาไว้ป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอ ซึ่งต่อมามีผู้เห็นพุทธคุณอิทธิปาฏิหาริย์ในพระหนังมากขึ้นก็ไปขอพระหนังจากท่าน พระหนังหมดท่านก็ทำออกมาใหม่ พระหนังหลวงพ่อหม่นแสดงอิทธิฤทธิ์ให้ผู้คนประจักษ์มากขึ้นในเรื่องของคงกระพันชาตรี ป้องกันงูพิษขบกัดวิเศษยิ่ง เมื่อพระหนังมีชื่อเสียงได้รับความนิยมมาก แต่การทำมีข้อจำกัด นั่นก็คือต้องเอาหนังจากกบาลควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายเท่านั้น ทำให้การทำพระออกแจกจ่ายไม่ทันกับความต้องการ ระยะหลังท่านจึงลดข้อจำกัดลง โดยใช้เพียงหนังควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายทั้งตัวเอามาทำเป็นพระหนัง ทำให้มีพระหนัง ออกมาให้ผู้ศรัทธามากขึ้น  สำหรับควายที่ถูกฟ้าผ่าตายนั้น สมัยก่อนหาไม่ยากยิ่งย่านทุ่งหนองจอกด้วยแล้ว พื้นที่ทั้งหมดเป็นท้องนามีต้นตาลสูงขึ้นทั่วๆ ไป เวลาหน้าฝนมักเกิดฟ้าผ่าควายตายเป็นประจำ ควายถูกฟ้าผ่าตายจึงมีมากแต่ควายเผือกถูกฟ้าผ่าตายนี่ซิมีน้อยมาก ถ้าที่ไหนควายเผือกถูกฟ้าผ่าตาย ชาวบ้านมักจะรีบมาบอกกล่าวหลวงพ่อหม่น ซึ่งท่านก็จะรับซื้อไว้ แล้วให้ชาวบ้านแล่เอาหนังควายไปให้ท่านเพื่อจัดสร้างพระ วิธีการทำพระหนังของหลวงพ่อหม่น เมื่อท่านได้หนังควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายมาแล้ว ขั้นตอนแรกท่านก็เอาหนังมาแช่น้ำให้นิ่ม ต่อจากนั้นก็นำแบบพิมพ์ที่ทำเป็นบล็อครูปองค์พระขอบเป็นใบมีดโกน นำมากดทับแผ่นหนังใช้ไม้ไผ่ตอกปั๊มให้หนังเป็นร่องลึกตามแบบขอบ ใบมีดโกนจะตัดหนังเป็นสี่เหลี่ยมองค์พระตรงกลางจะได้รูปร่องลึกเป็นองค์พระประทับติดกับหนัง  จากนั้นก็เอาองค์พระหนังไปตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเป็นอันขาด ถ้าโดนแดดหนังจะหดตัวแทบมองไม่เห็นร่องรอยองค์พระเลย ต้องผึ่งลมให้แห้งสนิทเป็นอันใช้ได้ ลักษณะของพระหนังรูปทรงเป็นพระสมเด็จนั่งสมาธิขัดเพชร มีอักขระขอมกำกับอยู่ด้านข้างองค์พระทั้งสองด้าน พระชานุ(เข่า) โต ด้านหลังเรียบ รุ่นแรกนั้นลงอักขระขอมด้านหน้าว่า “ตะ” ด้านหลังลงว่า “โจ” ส่วนรุ่นหลังๆ จะเรียบไม่มีอักขระ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ที่ใช้กดซึ่งทำออกมาแต่ละชุดจะไม่เหมือนกัน บางองค์หลวงพ่อก็ลงจารอักขระขอม บางองค์ก็ไม่ได้ลงจาร พระหนังหลวงพ่อหม่นในปัจจุบันจะหาองค์สวยๆ ไม่ได้เลย เหตุเพราะว่ากาลเวลา ทำให้องค์พระหนังเกิดการหดตัว พระหนังบางองค์มององค์พระลบเลือนบางองค์แทบไม่เห็นองค์พระเลย ให้สังเกตจากความแห้งเก่าของหนังเท่านั้น  หลังจากทำพระหนังเสร็จหลวงพ่อหม่นจะปลุกเสกเดี่ยว แล้วก็นำออกแจกจ่ายกันช่วงเข้าพรรษา เมื่อได้หนังมาท่านก็จะให้ลูกศิษย์ช่วยทำ พอออกพรรษาปีไหนไปธุดงค์ท่านก็จะนำพระติดตัวไปแจกจ่ายชาวบ้านไปทั่ว จนกระทั่งพระหนังหลวงพ่อหม่นมีผู้ได้รับประสบการณ์มากมายจนชื่อเสียงโด่งดังระบือลือลั่น พุทธคุณพระสมเด็จพระหนังควายเผือก หลวงพ่อหม่นนั้นมีชื่อเสียงมากในเรื่องของการ “ป้องกัน” และ “คงกระพันชาตรี” เรื่องการป้องกันนั้นไม่ว่าจะป้องกันจากสัตว์ร้ายขบกัดแล้วยังป้องกันคุณไสยต่างๆ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย  มีชาวบ้านย่านคลอง 12 ห้อยพระหนังหลวงพ่อหม่นเข้าป่าลึก กลับออกมาผู้ที่ไม่มีพระหนังห้อยคอเป็นไข้มาลาเรียทุกคน พระหนังหลวงพ่อหม่นชาวบ้านให้ความเลื่อมใสมาก เวลาลงนาเกี่ยวข้าวมักพกพาห้อยคอไปด้วยจะแคล้วคลาดจากการถูกงูกัดทุกราย แม้เด็กเล็กๆ ก็ไม่มีใครโดนงูกัดเลย ถ้าห้อยพระหนังหลวงพ่อหม่นติดตัวไว้ ลูกเล็กเด็กแดงห้อยพระหนังแล้วจะ เลี้ยงง่ายไม่เจ็บไม่ไข้ได้ป่วย พระหนังเอามาแช่น้ำอาราธนาอธิษฐานจิตถึงหลวงพ่อหม่นแล้วดื่ม น้ำเข้าไปจะช่วยรักษาไข้จับสั่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ มีผู้ยืนยันมากับตัวเอง  พุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันก็เป็นเลิศ มีคนโดนฟันเต็มๆ มีดไม่ระคายผิวเล่นเอาตะลึงทั้งงานวัด นักเลงย่านลำลูกกามีเรื่องทะเลาะวิวาทกันในงานวัด อีกพวกหนึ่งชักปืนจ่อยิงคู่อริระยะเผาขน นกสับไกปืนแต่กระสุนไม่ลั่น สับซ้ำหลายครั้งก็ไม่ได้ผล พอยกยิงขึ้นฟ้าปืนลั่นสนั่นงาน เล่นเอาบรรดาหนุ่มฉกรรจ์สมัยนั้นต้องหาพระหนังมาเป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภัยให้กับตนเอง ชื่อเสียงของหลวงพ่อหม่นจึงดังกระฉ่อนมาก พระหนังหลวงพ่อหม่นในภายหลัง พระอธิการแป้น เจ้าอาวาสรุ่นต่อมาทำอีกรุ่น ลักษณะพระจะคมชัดกว่าพระของหลวงพ่อหม่น องค์พระจะเคลือบแล็คเกอร์ป้องกันการหดตัว ซึ่งยังพอหาดูกันได้แถวละแวกวัดพระยาปลา หลวงพ่อหม่นมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ. 2473 อายุประมาณ 80 กว่าปี หลังจากท่านมรณะภาพลง วัดพระยาปลาก็ชำรุดทรุดโทรม วัดมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งเมื่อสมัยพระครูประดิษฐ์วรธรรม หรือ “หลวงพ่อเหว่า” เป็นเจ้าอาวาส ยุคนี้มีการจัดสร้างพระเครื่องทั้งพระเนื้อผง และเหรียญออกมาแล้วแต่เป็นชุดของ “หลวงพ่อเหว่า”  หลวงพ่อหม่น ผู้สร้างตำนานพระหนังควายเผือกแห่งท้องทุ่งหนองจอกจนลือลั่น แม้ปัจจุบันท่านจะละสังขารไปนานแล้วก็ตาม แต่เมื่อเอ่ยถึงพระหนังทุกคนต้องยกให้ว่า พระหนังของหลวงพ่อหม่นนั้นเป็นสุดยอดวัตถุมงคล แห่งทุ่งหนองจอกอย่างแท้จริง........   รับประกันตามกฎทุกประการครับ   ปล.ผู้ชนะการประมูลเมื่อโอนแล้วรบกวนแจ้งใน mailbox ให้ทราบด้วยนะครับ เพื่อการจัดส่งที่รวดเร็ว ขอบพระคุณมากครับ


เขียนโดย :เหน่งบางคู้13 เจ้าของรายการ October 27, 2016 03:13:58

หน้าที่ :  7