พระนาคปรกนางตรา หลวงพ่อชู วัดมุมป้อม จ.นครศรีธรรมราช ปี2500 หลวงพ่อชู ได้นำเอาพระเก่าต่าง ๆ ที่ชำรุดมาผสมสร้าง จัดว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณดี น่าบูชา จัดว่าเป็นของดีที่แนะนำ หลวงพ่อชู ท่านเป็นพระเกจิแห่งวัดมุมป้อม นครศรีธรรมราช ท่านเป็นพระ สายหลวงพ่อชูเฒ่า หลวงพ่อหนูจันทร์ หลวงพ่อจับ ท่านมาจากสายลุ่มน้ำ แต่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดมุมป้อม ซึ่งอยู่ในอ.เมือง มานานแล้วครับ และที่สำคัญบางท่านอาจยังไม่ทราบว่า พิธีปลุกเสก ณ อุโบสถ เหรียญอาจารย์นำ "ภปร" วัดดอนศาลา มีเกจิอาจารย์มาร่วมพิธีมากมายซึ่งรวมถึงอาจารย์ชู วัดมุมป้อมด้วยครับ รายนามผู้ปลุกเสกมีดังนี้ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง จ.นครศรีธรรมราช พ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด จ.ตรัง พ่อท่านมุม วัดนาสัก จ.ชุมพร หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง จ.พัทลุง หลวงพ่อรอด วัดประดู่ฯ จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อผอม วัดหญ้าปล้อง จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อชู วัดมุมป้อม จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน จ.พัทลุง หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง จ.พัทลุง หลวงพ่อศรีเงิน วัดดอนศาลา จ.พัทลุง พระครูกาชาด วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
พระนาคปรกนางตรา หลวงพ่อชู วัดมุมป้อม จ.นครศรีธรรมราช ปี2500 หลวงพ่อชู ได้นำเอาพระเก่าต่าง ๆ ที่ชำรุดมาผสมสร้าง จัดว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณดี น่าบูชา จัดว่าเป็นของดีที่แนะนำ หลวงพ่อชู ท่านเป็นพระเกจิแห่งวัดมุมป้อม นครศรีธรรมราช ท่านเป็นพระ สายหลวงพ่อชูเฒ่า หลวงพ่อหนูจันทร์ หลวงพ่อจับ ท่านมาจากสายลุ่มน้ำ แต่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดมุมป้อม ซึ่งอยู่ในอ.เมือง มานานแล้วครับ และที่สำคัญบางท่านอาจยังไม่ทราบว่า พิธีปลุกเสก ณ อุโบสถ เหรียญอาจารย์นำ "ภปร" วัดดอนศาลา มีเกจิอาจารย์มาร่วมพิธีมากมายซึ่งรวมถึงอาจารย์ชู วัดมุมป้อมด้วยครับ รายนามผู้ปลุกเสกมีดังนี้ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง จ.นครศรีธรรมราช พ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด จ.ตรัง พ่อท่านมุม วัดนาสัก จ.ชุมพร หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง จ.พัทลุง หลวงพ่อรอด วัดประดู่ฯ จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อผอม วัดหญ้าปล้อง จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อชู วัดมุมป้อม จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน จ.พัทลุง หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง จ.พัทลุง หลวงพ่อศรีเงิน วัดดอนศาลา จ.พัทลุง พระครูกาชาด วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
เหรียญหล่อหยอดน้ำ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี รุ่นเสาร์5 ปี2536 เนื้อทองเหลือง พร้อมบัตรรับประกันพระแท้
รูปหล่อพระพุทธชินราชอินโดจีน (ย้อนยุค) เสาร์ ๕ ปี 2553 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก พิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่ในวิหารพระพุทธชินราช เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2553ซึ่งเป็นฤกษ์ดีปีขาลเสาร์ 5 100 ปีมีหนเดียว ตอกโค้ต 3 โค้ด 1. โค้ตธรรมจักร 2. โค้ตอกเลา 3. โค้ตเสาร์ ๕ ด้วย ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นอมตะของพระพุทธชินราช จึงมีการจัดสร้างวัตถุมงคลแทนองค์ท่านขึ้นจำนวนหลายรุ่น ทั้งที่ออกโดยตรงที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) และวัดอื่นๆ รวมไปถึงหน่วยงาน องค์กรมากมายที่เลื่อมใสศรัทธา ซึ่งหลายๆ รุ่นได้รับความนิยม มีมูลค่าในการสะสมบูชาสูง ล่าสุดทางวัดใหญ่โดยพระธรรมเสนานุวัตร เจ้าอาวาส และรองเจ้าคณะภาค 5 ได้จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชินราช-พระเหลือ รุ่นเสาร์ห้า (เหลือกินเหลือใช้) ปี 53 เพื่อนำรายได้ก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช และบูรณปฏิสังขรณ์โบราณวัตถุภายในวัด โดยประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกไป เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มี.ค.53 (เสาร์ห้า) เวลา 13.09 น. ภายในวิหารพระพุทธชินราช โดยมีพระธรรมเสนานุวัตร เจ้าอาวาส และรองเจ้าคณะภาค 5 เป็นประธานจุด และดับเทียนชัย พระอาจารย์ไพรินทร์ เป็นเจ้าพิธี และร่วมปลุกเสกกับพระเกจิอาจารย์ดังภาคเหนือตอนล่างหลายรูป อาทิ หลวงพ่ออั้น วัดธรรมโฆษก (โรงโค) จ.อุทัยธานี พระราชรัตนาภรณ์ (แวว) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา ครูบาสายทอง วัดท่าไม้แดง จ.ตาก เป็นต้น วัตถุ มงคลชุดนี้ ทางวัดจัดสร้างโดยตรง รายได้เข้าวัดชัดเจน เน้นส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามนโยบายของ "พระธรรมเสนานุวัตร" เจ้าอาวาสนักพัฒนาที่สร้างสรรค์วัดใหญ่จนใหญ่โตงดงาม มีสะสมกันหรือยังครับ
**ดูข้อมูลเพิ่มเติมตามลิ้งค์นี้เลยค่ะ (เพื่อพิจารณาในการตัดสินใจ) http://www2.g-pra.com/webboard/show.php?Category=real_amulets&No=447540 มีพระอีกหลายรายการน่าสนใจ กดเลย -----> <----- มีพระอีกหลายรายการน่าสนใจ กดเลย -----> <----- มีพระอีกหลายรายการน่าสนใจ กดเลย -----> <----- มีพระอีกหลายรายการน่าสนใจ กดเลย -----> <-----
เหรียญยี่กอฮง เนื้อทองเเดง ตอกโค้ดราหูข้างซ้าย ของเหรียญ พิธีบ่วงสื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) ท่านขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ปลุกเสกเดี่ยว ปี 41 เทพเจ้าแห่งการพนัน และ โชคลาภ บทสวดท่อง นะโม 3 จบ "นะโมเม เทวานัง ธูปะทีปะจะบุปผัง สักการะวันทานัง อุ เย อะ เย ทะ นัง สุ กะ ริ กา มิ ข้าแต่พ่อปู่ยี่กอฮง ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ผู้บันดาลโชคลาภ ขอให้ท่านประทานพรโชคลาภความร่ำรวย ทั้งหลาย ให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ เหรียญยี่กอฮง ก็เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ นักพนัน และ นักเสี่ยงโชค ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น คนไทย , มาเลเซีย , สิงค์โปร ฯลฯ ต่างนิยมชื่นชอบกันมาก ด้านหลังมีภาษาจีน อ่านว่า บ่วงสื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) และ อักษรไทยนำโชค ก - ข องค์จริงตามรูปรับประกันตามกฏ 2 dd-pra
เหรียญยี่กอฮง เนื้อทองเเดง ตอกโค้ดราหูข้างซ้าย ของเหรียญ พิธีบ่วงสื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) ท่านขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ปลุกเสกเดี่ยว ปี 41 เทพเจ้าแห่งการพนัน และ โชคลาภ บทสวดท่อง นะโม 3 จบ "นะโมเม เทวานัง ธูปะทีปะจะบุปผัง สักการะวันทานัง อุ เย อะ เย ทะ นัง สุ กะ ริ กา มิ ข้าแต่พ่อปู่ยี่กอฮง ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ผู้บันดาลโชคลาภ ขอให้ท่านประทานพรโชคลาภความร่ำรวย ทั้งหลาย ให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ เหรียญยี่กอฮง ก็เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ นักพนัน และ นักเสี่ยงโชค ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น คนไทย , มาเลเซีย , สิงค์โปร ฯลฯ ต่างนิยมชื่นชอบกันมาก ด้านหลังมีภาษาจีน อ่านว่า บ่วงสื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) และ อักษรไทยนำโชค ก - ข องค์จริงตามรูปรับประกันตามกฏ 5 dd-pra
หลวงพ่อทวด รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ ๕๖ พระสิริจริยาลังการ(ชรัช ปธ ๖) รุ่นแรก วัดตานีนรสโมสร ปัตตานี เนื้ออัลปาก้า(ยันต์ทะลุ)
เหรียญยี่กอฮง เนื้อทองเเดง ตอกโค้ดราหูข้างซ้าย ของเหรียญ พิธีบ่วงสื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) ท่านขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ปลุกเสกเดี่ยว ปี 41 เทพเจ้าแห่งการพนัน และ โชคลาภ ก็เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ นักพนัน และ นักเสี่ยงโชค ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น คนไทย , มาเลเซีย , สิงค์โปร ฯลฯ ต่างนิยมชื่นชอบกันมาก ด้านหลังมีภาษาจีน อ่านว่า บ่วงสื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) และ อักษรไทยนำโชค ก - ข ประกันตามกฏ 4 dd-pra
พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาล(วัดสามัคคีธรรม) พระ กรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาลหรือวัดสามัคคีธรรม ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เป็นพระที่พบบรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธานในพระอุโบสถของวัด มีการขุดเจาะพระออกมาเมื่อปี 2543 เมื่อครั้งทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระที่พบออกมามีจำนวนประมาณ สี่หมื่นองค์ เป็นพระเนื้อดินเผาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้างประมาณ1.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.5 เซนติเมตร ความหนาบางของพระไม่แน่นอน ด้านหน้าเป็นรูปพระปางสมาธิมีเส้นซุ้มล้อมรอบ(คล้ายกับพระพิมพ์ประภามณฑลของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ายุคต้น ๆ ) ประทับอยู่บนฐานเขียงชั้นเดียวเบื้องล่างเป็นรูปสัตว์มีอยู่สองชนิดคือ ทรงเสือและทรงสิงห์ ด้านบนขององค์พระมีรูเจาะและอุดผงพุทธคุณปิดด้วยซีเมนต์อีกชั้นหนึ่งคล้าย กับพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน บางองค์จะมีการทาชาดแดงทับก่อนปิดด้วยซีเมนต์อีกชั้นหนึ่งก็มี ด้านหลังและขอบด้านข้างส่วนใหญ่จะมีรอยปาด รอยตัดเข้ารูป หรือบางองค์ด้านหลังก็มีรอยนิ้วมือของผู้กดพิมพ์ปรากฏอยู่ ส่วนผงที่อุดรูผงนั้นเป็นผงที่ได้จากการเขียนยันต์และบริกรรมคาถากำกับแต่ละ บทที่มีพุทานุภาพอันทรงประโยชน์เช่นยันต์เกราะเพชร แล้วลบออก แล้วเขียนซ้ำใหม่แบบนี้หลายๆครั้งจนได้ผงวิเศษออกมาโดยหลวงพ่อปานแห่ง วัดบางนมโค นอก จากพิมพ์ทรงเสือและสิงห์แล้วยังพบพระพิมพ์ สมเด็จคะแนนด้านหน้าเป็นรูปพระประธาน ด้านหลังเรียบ ด้านบนเจาะรูอุดผงซึ่งเป็นพระคะแนนนับจำนวน และพระพิมพ์รูปนางกวักสร้างจากเนื้อผงพุทธคุณล้วน ๆ แต่มีจำนวนไม่มากนัก พระ ครูกิตติพิพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม (ดงตาล) ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เปิดเผยว่า ขณะที่ทางวัดดงตาลได้บูรณะซ่อมอุโบสถเก่า แบบก่ออิฐถือปูน เครื่องบนหลังคา เป็นไม้สัก ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้ทรุดโทรม ไปตาม กาลเวลา จึงได้ซ่อมใหม่โดยการสกัดเจาะฐานหลังชุกชีปูนปั้นเป็นช่อง เพื่อยกองค์ พระประธานประจำอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะลงรักปิดทอง ปางสมาธิ หน้าตัก ๒ ศอกให้สูงขึ้นกว่าพระพุทธรูปองค์รอง ที่ประดิษฐานอยู่ที่หน้าพระประธานบนฐานเดี่ยว เพื่อให้พระประธานเด่นเป็นสง่ากลางอุโบสถ ระหว่างที่บูรณะอยู่นี้ ได้พบพระพิมพ์สี่เหลี่ยม เนื้อดินประทับสิงห์ และเสือ ตกลง มาจากโพรง ใต้ฐานบัวพระประธาน จำนวนหนึ่ง คณะกรรมการวัด จึงยุติการเจาะฐาน แล้วตรวจสอบนับจำนวนพระที่พบ จึงทราบจากคำบอกเล่าของ นายตี๋ ชิงช่วง อายุ ๗๕ ปี อดีตผู้ใหญ่บ้าน และผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านอีกหลายท่านว่า วัดดงตาล เดิมเป็นวัดร้าง มาบูรณะขึ้นใหม่ประมาณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาหมอผาด เกษตรง เจ้าของร้านขายยาพระอาทิตย์เวชโอสถ บางลำพู กรุงเทพฯ ได้มาเป็นผู้นำในการสร้าง อุโบสถและหล่อ พระประธานขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๗ แล้วหมอผาดซึ่งมีความรู้ทางวิชาอาคม ในการหุงน้ำมันมนต์ และปรุงยาโบราณ มีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นอย่างดียิ่ง บางข้อมูลก็ว่าหมอผาดได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน จึงได้ขอให้หลวงพ่อปาน ช่วยสร้างพระเครื่องสำหรับบรรจุกรุในอุโบสถตามธรรมเนียม แห่งการสร้าง อุโบสถมาแต่โบราณ ซึ่งหลวงพ่อปานมีเมตตาสร้างเป็นพระพิมพ์ ประทับสิงห์และเสือซึ่งมีความแตกต่างจากบรรดาสัตว์ ๖ ประเภท(ทรงไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่นและนก)ที่หลวงพ่อปานท่านสร้างที่วัดบางนมโคก็เนื่องจากหมอผาดท่านเกิดปี ขาล สัญญลักษณ์คือเสือ ซึ่งเป็นสัตว์ที่แสดงถึงพลังอำนาจเป็นที่น่าเกรงขาม ส่วนทรงสิงห์คงเป็นด้วยอุปเท่ห์ด้านความมีอำนาจวาสนา ความเป็นผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ เป็นเจ้าป่าเจ้าแห่งสัตว์ทั้งปวง ลักษณะ ของพระเป็นเนื้อดินเผาขนาดเล็ก ตัดขอบ เจาะบรรจุผงวิเศษ และปลุกเสกมอบให้หมอผาด นำใส่กล่องไม้ ลงเรือล่องมาตามแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา มาขึ้นที่คลองหลังวัดดงตาล ต่อมาหมอผาด ได้บวชเป็นพระภิกษุ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก เพราะหมอผาดเป็นพระหมอที่เก่ง ในการรักษาโรคกระดูก โรคเส้น ฯลฯ ด้วยน้ำมนต์และมีดโต้ศักดิ์สิทธิ์สำหรับรักษาโรคประจำตัว พระผาด จึงได้ฉายาว่า หลวงพ่อผาด มีดโต้ เมื่อท่านสร้างอุโบสถวัดดงตาลแล้วเสร็จ จึงได้นำพระพิมพ์ประทับหลังสิงห์และเสือ บรรจุไว้บนฐานชุกชี แล้วอัญเชิญพระประธาน ซึ่งหล่อด้วยโลหะขึ้นประดิษฐานครอบไว้ จึงก่ออิฐถือปูนเป็นบัวคว่ำบัวหงายเปิดไว้ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๔ ภายหลัง หลวงพ่อผาด วีรุตตโม ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ และมรณภาพ เมื่อปี ๒๕๐๐ ชาวดงตาล และทายาทห้างขายยาพระอาทิตย์เวชโอสถ และพระจันทร์เวชโอสถ จึงได้หล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริง พร้อมมีดโต้ประจำตัว ไว้สักการบูชาประจำวัดดงตาล เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาถึงปัจจุบัน ประวัติ โดยละเอียดของหลวงพ่อผาดนั้น ไม่ได้มีการบันทึกไว้ชัดเจนนักเนื่องจากท่านเป็นพระที่สมถะ และวัดดงตาลก็เป็นเพียงวัดเล็กๆในจังหวัดลพบุรี ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็นพระมีเมตตาสูงเป็นพระหมอที่มีความรู้ความสามารถมาก มีวิชาอาคมแก่กล้า ท่านเป็นพระเกจิ ที่มีวิชาความรู้ด้านแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าท่านสามารถรักษาคนง่อยเปลี้ยเสียขาให้กลับมาเดินเหินได้เป็นปกติ เลยทีเดียว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยเมื่อท่านสำเร็จวิชาที่วัดบางนมโค แล้วต่อมาจึงมาร่ำเรียนที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อสำเร็จวิชาจึงกลับมายังวัดดงตาลวัดบ้านเกิดเพื่อพัฒนาให้มีความเจริญสม ฐานะแก่ศาสนสถาน เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม บอกด้วยว่า นับเป็นเวลาเกือบ ๗๐ ปี ที่พระเครื่องชุดนี้ได้บรรจุอยู่ในองค์พระประธาน ในอุโบสถวัดดงตาล ซึ่งพระสงฆ์ได้ทำวัตรสวดมนต์ และทำสังฆกรรมในอุโบสถมาเป็นเวลาอันยาวนาน พระกรุหลวงพ่อผาดชุดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นก็เมื่อครั้งที่ทางวัด มีการบูรณะอุโบสถวัดดงตาลในปี๒๕๔๓ซึ่งใช้งบประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ทางวัดดงตาลจึงนำพระเครื่องที่ขุดเจาะได้มอบให้แก่เจ้าภาพผู้ร่วมทอดผ้าป่า สมทบทุนบูรณะอุโบสถและเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้บูชาในราคาเริ่มต้นองค์ละ ๕oo บาท และจะนำพระพิมพ์ส่วนที่เหลือจากการมอบให้เจ้าภาพผ้าป่าและเปิดให้เช่าบูชา แล้ว บรรจุกรุใต้ฐานพระประธานเป็นพุทธบูชาอีกครั้งหนึ่งหลังจากทำการบูรณะ ปฏิสังขรณ์เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งในครั้งนั้นเมื่อเรื่องราวการเปิดให้ร่วมกันทำบุญและเช่าบูชา พระหลวงพ่อผาดแพร่กระจายออกไปได้มีผู้สนใจจัดตั้งกองผ้าป่าและร่วมเช่าพระ ที่วัดเป็นจำนวนมากทำให้ได้เงินปัจจัยเพื่อบูรณะโบสถ์ครั้งนั้นสูงถึง ๔,๕oo,ooo บาท จนทำให้สามารถบูรณะพระอุโบสถสำเร็สเสร็จสิ้นลงได้อย่างรวดเร็วและยังเหลือ เงินอีกจำนวนหนึ่งไปสร้างเป็นมณฑปได้อีกหนึ่งหลัง ทั้ง นี้ด้วยความศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อผาด และความต้องการพระเครื่องที่สร้างโดยหลวงพ่อปานโดยแท้ พระเครื่องชุดหลวงพ่อผาดได้ดำเนินการจัดสร้างและปลุกเสกขึ้นที่วัดบางนมโค อยุธยาโดยหลวงพ่อปานซึ่งคาดว่าน่าจะมีจำนวนสร้างประมาณ ๘๔,ooo องค์โดยถือเอาตามตามจำนวนพระธรรมขันธ์ ลักษณะของเนื้อดินเป็นดินขุยปูมีเม็ดแร่กระจายอยู่ทั้งองค์ เหมือนกับพระเครื่องของหลวงพ่อปานพิมพ์อื่นๆไม่มีผิดเพี้ยน เพียงแต่น่าจะมีความแตกต่างในกรรมวิธีการเผาเท่านั้นโดยจะสังเกตได้ว่าพระ ของหลวงพ่อปานส่วนใหญ่จะมีวรรณะเป็นสีดินหม้อใหม่หรือสีแดงดินเผา เนื่องมาจากการเผาพระนั้นใชปี๊ปสังกะสีทำการบรรจุพระพิมพ์แล้วสุมไฟเผา ด้วยลักษณะของโลหะสังกะสีที่นำความร้อนได้ดี ความร้อนจึงแพร่กะจายไปทั่วปี๊ปทำให้พระที่เผาสุกในเวลาใกล้เคียงกัน สีจึงออกมาใกล้เคียงกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วน พระชุดหลวงพ่อผาดจะมีความแตกต่างกันคือมี วรรณะของสีพระหลากหลายมีทั้งสีขาวนวล สีพิกุล สีแดงอิฐ สีเขียว สีเทาและดำ ซึ่งสันนิษฐานว่าเมื่อกดพระพิมพ์เสร็จแล้วคงจะนำไปบรรจุลงในไหหรือโอ่งดิน เผาแล้วนำไปสุมไฟเช่นเดียวกับการเผาพระสกุลลำพูนแบบโบราณกาล ด้วยลักษณะของภาชนะดินเผาซึ่งนำความร้อนได้ช้าและส่วนล่างที่ถูกไฟสุมพระจะ สุกก่อนพระจะมีวรรณะออกดำ ส่วนด้านบนพระจะสุกทีหลังจึงมีวรรณะออกขาวนวล ถ้า จะพูดกันถึงพุทธคุณในพระเครื่องหลวงพ่อผาด วัดดงตาล เป็นที่กล่าวขานกันมานานแล้วว่าไม่แตกต่างจากพระเครื่องของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคแต่อย่างใดคือ เด่นมากในด้านเมตตามหานิยมและค้าขายเป็นเลิศอีกทั้งยังใช้พระเครื่องของท่าน ทำน้ำมนต์ รักษาโรคได้สารพัดทีเดียวเพราะท่านเองก็เป็นพระหมอที่มีวิชาติดตัวเป็นที่ โด่งดังมากทีเดียวบางท่านที่เคยบูชามาแล้ว กล่าวกันว่ายังเด่นในด้านมหาอำนาจอีกด้วย ซึ่งอาจเป็นด้วยอุปเท่ห์แห่งพิมพ์พระทรงสัตว์ที่เป็นเสือและสิงห์ก็เป็นได้ คุณลุงอำพร มีสัตย์ อายุ ๕๙ ปีหนึ่งในกรรมการวัดซึ่งร่วมในการเปิดกรุพระในปี๒๕๔๓เล่าว่า คนในพื้นที่ซึ่งได้รับพระซึ่งหลวงพ่อผาดท่านแจกจ่ายให้กับญาติโยมที่มาช่วย งานในพิธีชักโบสถ์ (วางเสาลงตอหม้อของโบสถ์)ของวัดดงตาลเมื่อปี๒๔๗o และได้นำมาบูชาติดตัวกันล้วนแต่พูดเป็นเสียงเดียวกันและเชื่อมั่นในพุทธคุณ ด้านเมตตามหานิยม ค้าขายและโชคลาภ และเป็นที่เคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่งของคนในพื้นที่มาช้านาน