ขุนแผนบ่วงสื่อเฮงขุนพันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธีปี๒๕๔๑ ขุนแผนบ่วงสื่อเฮงขุนพันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธีปี๒๕๔๑ : พระองค์ครู เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช อดีตนายตำรวจชื่อดังของวงการตำรวจไทย เป็นคนสุดท้ายของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานทินนาม ซึ่งพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ในวันที่ 5 เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2549 เมื่อครั้งที่ยังเป็นตำรวจท่านมีชื่อเสียงเป็นอันมากในการปราบโจรร้ายในภูมิภาคต่างๆ ของไทย ในภาคกลางเช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร ที่พัทลุง ปราบ เสือสังหรือเสือพุ่ม ที่นราธิวาส ปราบผู้ร้ายทางการเมือง ในปี พ.ศ.2481 หัวหน้าโจรชื่อ “อะเวสะดอตาเละ” จนท่านได้ฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า “รายอกะจิ” ซึ่งแปลว่า อัศวินพริกขี้หนู นอจจากนี้แล้วจากผลงานที่ท่านสามารถปราบโจร เสือร้ายต่างๆ ได้มากมาย จึงได้รับฉายา ดังต่อไปนี้ นายพลตำรวจหนังเหนียวผู้จับเสือมือเปล่า นายพลตำรวจหนวดเขี้ยว ขุนพันธ์ฯ ดาบแดง (เชื่อกันว่าเป็นดาบที่ตกทอดมาจากพระยาพิชัยดาบหัก ฝักดาบมีถุงผ้าสีแดงห่อหุ้ม ตัวดาบมีความคมกล้า) รายอกะจิ (อัศวินพริกขี้หนู) ฯลฯ และจอมขมังเวท ในยุคจตุคามรามเทพฟีเวอร์ ขุนพันธรักษ์ราชเดชมีส่วนร่วมในการจัดสร้างจตุคามรามเทพอีกหลายรุ่นด้วยกัน อาทิ รุ่นพุทธาคมขุนพันธ์เขาอ้อ พ.ศ.๒๕๔๔ รุ่นพุทธาคมเขาอ้อ พ.ศ.๒๕๔๕ รุ่นบูรณะเจดีย์ราย พ.ศ.๒๕๔๕ พระปิดตาพังพกาฬ วัดมะม่วงขาว พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้ประพิธีบวงสรวงวัตถุมงคล รุ่น “บ่วงซื่อเฮง” เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว มีความหมายว่า “เฮงหมื่นครั้ง หรือเฮงตลอดไป” ในการสร้างครั้งนั้นคุณเล็ก สุพรรณ ผู้เป็นศิษย์คนสนิทของท่านขุนพันธ์และเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างได้กราบขออนุญาตท่านขุนพันธ์ให้ทำพิธีเทวาภิเษกขึ้นที่บ้านของท่านขุนพันธ์ พิธีจัดขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืนครบถ้วนตามฤกษ์แห่งสุริยันจันทรา นอกจากนั้นยังได้นำวัตถุมงคลชุดนี้เข้าพิธีอีกครั้งที่ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ในปี ๒๕๔๔ เมื่อพิธีเสร็จสิ้นวัตถุมงคลส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังประเทศมาเลเซียแจกจ่ายให้ผู้เคารพศรัทธาในองค์จตุคาม เหลือบางส่วนเก็บรักษาอยู่ในไทย และได้มีการแจกจ่ายออกไปบ้างแต่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งงานพระราชทานเพลิงศพท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชจึงได้มีการนำออกเผยแพร่เกิดเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น วัตถุมงคล รุ่น “บ่วงซื่อเฮง” ประกอบด้วย จตุคามรามเทพ เหรียญยี่กอฮอง และขุนแผน สร้างจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์จำนวนมาก โดยท่านขุนพันธ์ได้มอบมวลสารที่ใช้ในการสร้างรุ่นปี ๒๕๓๐ เป็นส่วนผสมด้วย ด้านหลัง มีภาษาจีน อ่านว่า บ่วงซื่อเฮง (เฮงหมื่นเรื่อง) และอักษรไทย คำว่า ก - ข เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ นักพนัน และนักเสี่ยงโชค ทั้งชาวไทย จีน ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ ต่างนิยมชื่นชอบกันอย่างมาก ด้วยเหตุที่ชื่อรุ่นบ่วงซื่อเฮง เป็นมหามงคล แปลว่า เฮงหมื่นเรื่อง นายมนัส พันธุ์กลาง หรือเจ้าของฉายา "ฉี หมื่นเฮง" เจ้าของร้านหมื่นเฮง ร่วมกับ "ลี หมื่นเฮง" ทั้งนี้เขาจะเหมาตัดพระแท้พระใหม่หรือเก่า โดยเฉพาะเหรียญเทพเจ้าต่างๆ ถ้าเข้าตาและชอบก็จะเช่าตัดเก็บไว้บูชา ได้เช่าเก็บไว้จำนวนมากขนิดที่เรียกว่า "ล้นตู้" โดยไม่คิดว่า เหรียญยี่กอฮอง และขุนแผน รุ่น “บ่วงซื่อเฮง” จะได้รับความนิยม
วัดใจเคาะเดียวพร้อมบัตรดีดี พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ ตามภาพครับ
พระสมเด็จด้านหลังพระสิวลี หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท ปี2515 พิมพ์ใหญ่(เอวใหญ่) เนื้อผงนํ้ามัน มีบัตรดีดีครับ *พระสมเด็จหลังพระสีวลี หลวงพ่อกวย ชัยนาท (1) มุมพระเก่า อภิญญา พระเครื่องดี-ราคาเบา-น่าเก็บ มีอยู่หลายรุ่นมาก แต่ที่ไม่อยากให้นักสะสมเมินเฉย วัตถุมงคลของ 'หลวงพ่อกวย' วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด ถึงจะมีอยู่จำนวนมากมายหลายพิมพ์ หรือบางพิมพ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ใช่ของท่าน ต้องใช้วิธีฟังหูไว้หู มั่นใจภูมิรู้ ดูตลาดแวดล้อมว่าเซียนส่วนใหญ่เขาเล่นกันหรือไม่ และสิ่งสำคัญเชื่อสายตาตัวเองเป็นดีที่สุด อย่าง 'พระสมเด็จฐานสามชั้นหลังพระ สีวลี' เป็นพระที่หลวงพ่อกวยสร้างเอง ผสมเนื้อ และกดพิมพ์ สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ.2514-2515 กดพิมพ์เองที่วัดบ้านแค เป็นการกดแบบทำเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน ได้จำนวนมากพอควร และหลวงพ่อกวยปลุกเสกเองทั้งหมด พระทั้งหมดแตกกรุออกมาเมื่อปี พ.ศ.2539 แต่ยังไม่เผยแพร่มากนัก เพราะพระไปตกอยู่ในมือนักขุดกรุ ที่ให้เช่าเข้ารังใหญ่ทั้งหมด เพิ่งจะมีการนำพระออกจากรัง พระสมเด็จพิมพ์ ฐาน 3 ชั้น หลังเป็นพระสีวลี ซึ่งท่านลบ ถม ทำผง เอง และได้กดเป็นพระสมเด็จหลังพระสีวลีขึ้น พระพิมพ์นี้ท่านปลุกเสกให้เป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้นยังมีผงพระสมเด็จของแท้ผสมด้วย และผ่านการปลุกเสกจากหลวงพ่อกวย หลายวาระด้วยกัน 'หลวงพ่อกวย ชุติน ธโร' อดีตเจ้าอาวาสวัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมรุ่นเก่าอีกรูปหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคกลาง ชาติภูมิ หลวงพ่อกวย เดิมชื่อ กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2448 ณ หมู่บ้านบ้านแค หมู่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายตุ้ย และนางต่วน เดชมา ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องของบิดามารดา ในช่วงวัยเยาว์มารดาได้นำมาฝากไว้กับหลวงปู่ขวด ณ วัดบ้านแค เพื่อให้เรียนหนังสือ ครั้นเมื่อครบอายุบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2467 ณ วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มี พระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เเละพระอาจารย์หริ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ชุตินธโร เมื่อมาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านแค ตอนนั้นหลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระกวยหัดเทศน์เวสสันดรชาดก หลังจากนั้นได้ไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน เพื่อเรียนวิชารักษาโรคระบาด หรือโรคห่าเเละโรคไข้ทรพิษ พ.ศ.2472 ได้เดินทางไปเรียนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม ตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลังกับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี พ.ศ.2477 ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เพื่อเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ ในขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม ได้มีพระภิกษุชื่อ แจ่ม เดินทางท่องเที่ยว ไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ จึงได้มาชักชวนพระกวยให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้ พระภิกษุกวยจึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า 'ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้แก่ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือประชาชนเท่านั้น' ก่อนอัญเชิญตำรานั้นมาเก็บไว้ ครั้งหนึ่ง ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำแหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่นๆ ศิษย์ร่วมรุ่นของหลวงพ่อที่เป็นที่รู้จักกัน คือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย ต่อมาเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพ่อกลับมาอยู่วัดบ้านแค หลวงพ่อได้สักให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดสักกันทั้งกลางวันกลางคืน ในช่วงนั้น ข้าวยากหมากเเพง โจรร้ายเต็มบ้านเมือง โดยเฉพาะเเถบภาคกลางตอนล่าง นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี เป็นเเหล่งกบดานของโจรเสือร้ายหลายกลุ่ม ชาวบ้านเเคได้อาศัยบารมี หลวงพ่อกวย เพื่อคุ้มครองครอบครัวเเละทรัพย์สินของมีค่าต่างๆ ก็จะเอามาฝากหลวงพ่อที่วัด จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ที่บ้านเเค เล่าว่า พวกโจรเสือไม่มีใครกล้ามาลองดีกับหลวงพ่อกวย มีอยู่รายหนึ่งเป็นเสือมาจากอ่างทอง พาสมุนล้อมวัดบ้านเเคตอนกลางคืน เห็นว่าวัวควายของชาวบ้านที่ลานวัดมีเยอะมาก เเต่ก็โดนตะพดหลวงพ่อจนต้องรีบพาสมุนกลับเเละก็ไม่มาเเถวบ้านเเคอีกเลย เขาว่าในสมัยนั้น เมื่อโจรเสือเดินผ่านวัดหลวงพ่อ ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง หลวงพ่อกวยไม่ชอบการก่อสร้าง ชอบความเป็นอยู่สมถะ แม้กุฏิของหลวงพ่อก็เป็นไม้ทรงไทยโบราณ แต่การก่อสร้างนั้นหลวงพ่อยกหน้าที่ให้กรรมการวัด แม้การก่อสร้างก็ให้กรรมการวัดและชาวบ้านทำ ดังนั้น วัดบ้านแคจึงมีแต่กุฏิเก่าๆ ลำดับสมณศักดิ์ วันที่ 5 ธันวาคม 2511 หลวงพ่อกวยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ในปีพ.ศ.2521 หลวงพ่อกวยได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา 30 ปี แพทย์ได้ให้สารอาหารประเภทโปรตีนกับหลวงพ่อ เป็นเวลาถึง 1 เดือน ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อยู่โรงพยาบาลได้ไม่นาน ท่านก็กลับวัด เมื่อกลับวัดหลวงพ่อก็ยังฉันอาหารเพียงวันละ 1 ครั้ง เช่นเดิม อีกทั้งยังคงคร่ำเคร่งในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคล หลวงพ่อกวยมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522 สิริอายุ 74 พรรษา 54 ปัจจุบัน วัดโฆสิตาราม เเละบรรดาศิษย์หลวงพ่อกวย ได้ยึดถือเอาวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญประจำปี เพื่ออุทิศและรำลึกถึงหลวงพ่อกวย หากนักสะสมท่านใด อยากได้พระสมเด็จแท้ๆ ของหลวงพ่อกวย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหน่อเนื้อเชื้อสมเด็จ ไว้บูชาสักองค์สององค์หรืออยากหาพระหลวงพ่อกวยแท้ๆ ที่ราคาไม่แพงนัก เก็บรักษาไว้ให้ลูกหลาน เพราะต่อไป จะหาพระแท้ ที่หลวงพ่อกวยปลุกเสกไว้จริง และเสกเป็นเวลายาวนานอย่างนี้ยากขึ้นทุกที หรือท่านอยากจะได้พระสมเด็จที่มีพุทธคุณสูง อำนวยความเจริญ รุ่งเรืองแก่ผู้บูชา ทำให้ค้าขายขึ้น ประกอบกิจการงานใดๆ ก็เจริญรุ่งเรือง เป็นเมตตา มหาลาภ แก่คนทั่วไป อยากจะแนะนำให้ท่านรีบหาพระสมเด็จของหลวงพ่อกวย พิมพ์หลังพระสีวลี ไว้บูชากัน จุดสังเกตในพระสมเด็จพิมพ์นี้ของหลวงพ่อกวย เผื่อท่านไปพบเจอที่ไหน จะได้ดูได้ว่าเป็นพระรุ่นที่หลวงพ่อทำหรือไม่ คือ เนื้อพระส่วนใหญ่ จะเป็นเนื้อผงผสมน้ำมันตั้งอิ้ว ที่เป็นเนื้อผงใบลานจัดๆ และเนื้อผงอิทธิเจนั้นมีน้อย ซึ่งผ่านมาถึงปัจจุบันตกหลายสิบปีแล้ว พระจึงแห้งผาก แลดูแกร่ง และบางองค์ก็ปรากฏคราบกรุให้เห็น พิมพ์ทรง คมชัด เนื้อแกร่ง เก่า ได้อายุ หลายองค์ มีรอยเนื้อปลิ้น เนื้อเกิน ของการกดพระให้เห็น จึงตัดปัญหาเรื่องของเก๊ ของปลอม ของทำเสริมออกไปได้ เนื่องจากเป็นการกดพิมพ์คันโยก พระส่วนใหญ่ จะมีเนื้อเกิน เนื้อล้น ไม่ด้านหน้าพระ ก็ด้านหลังพระ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่แรงกดพระ ทั้งพระพิมพ์เอวเล็กและเอวใหญ่ องค์พระด้านหน้า บริเวณข้อพระหัตถ์ข้างซ้ายมือองค์พระ จะปรากฏเส้นปลายจีวร ในพิมพ์ ที่เซียนพระสายหลวงพ่อกวย เรียกว่า มีกำไล ทุกองค์ และเห็นชัดเจน ในองค์ที่สวย สภาพเดิม คล้ายเป็นอุบายธรรม ที่หลวงพ่อกวยท่านแสดงให้เห็นว่า ท่านปลุกเสกพระพิมพ์นี้ ให้มีพุทธคุณด้านโภคทรัพย์สูง ทำมาหากินดี มากที่สุด มีกำไร ไม่มีขาดทุน และพระสีวลีด้านหลัง ทั้งพิมพ์เอวเล็กและเอวใหญ่ จะมีขอบสองขอบ และอักขระ นะชาลิติ ปรากฏอยู่สี่มุม เป็นพระที่หลวงพ่อกวยสร้างโดยแท้ อ้างอิงจาก : ข่าวสด พระองค์นี้เป็น พระสมเด็จด้านหลังพระสิวลี หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท ปี2515 พิมพ์ใหญ่(เอวใหญ่) เนื้อผงนํ้ามัน มีบัตรดีดีครับ ***ขออนุญาตใช้ภาพของท่านเจ้าของเดิมนะครับ*** ++++ <<เริ่มที่20บาทครับ>> ++++
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ชีวประวัติ หลวงพ่อแพ กำเนิดใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปี มะเส็ง ณ ต.สวนกล้วย อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี บิดาของหลวงพ่อชื่อ นายเทียน มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้อง ร่วมสายโลหิต 4 คน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง แต่เมื่อท่านได้อายุ 8 เดือน มารดาก็เสียชีวิต หลังจากที่มารดา ท่านจากไปแล้ว นายบุญ ขำวิบูลย์ ผู้เป็นอา และ นางเพียร ภรรยา จึงได้ได้ขอหลวงพ่อมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม การศึกษา เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี พ่อแม่บุญธรรม ได้นำท่านไปฝาก กับ สมภารพันธ์ เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ท่านได้ศึกษาจนพอรู้หนังสือบ้าง ประมาณ 3 เดือน สมภารจึง ให้พระอาจารย์ ป้อม จันทสุวัณโณ ซึ่งเป้นพระลูกวัดใ ที่มีความรู้ทางภาษาไทยและ ขอมอย่างแตกฉาน ทำให้หลวงพ่อมีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ ทางด้าน ภาษา คัมภีร์พระธรรม พระสูตร พระมาลัย และเขียนจารึกอักษรขอมได้อย่างงดงาม ปี พ.ศ.2461 เพื่อนของบิดาบุญธรรมของท่าน มีความประสงค์ ให้ส่งหลวงพ่อมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เพื่อ มาศึกษา ต่อ และ มาอยู่เป็นเพื่อนกับลูกชายของตนที่วัดชนะสงคราม บิดามารดาของหลวงพ่อจึงได้บอกกล่าวความให้ท่านทราบ ท่านจึงรับปากว่าจะไปเรียนต่อตามความประสงค์ เมื่อมาอยู่วัดชนะสงคราม หลวงพ่อจึงได้เรียน สูตรสนธิ (อัตโถ อักขระสัญญโต ฯ) กับพระอาจารย์สม อยู่ 1 ปี ต่อมาท่านเห็นว่าบาลีไวยากรณ์ง่ายกว่า จึงได้เปลี่ยนไปเรียน บาลีฯ ที่วัดมหาธาตุฯ ต่อมาปี พ.ศ. 2463 ท่านมีอายุได้ 16 ปี ได้เดินทางกลับ จ.สิงห์บุรี เพื่อเยี่ยม บิดาผู้ให้กำเนิดและบิดามารดาบุญธรรม ๆของท่านเห็นว่าท่านโตแล้ว จึงได้ร่วมบรรพชาเป็นสามเณร ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2463 โดยมี พระอธิการพันธ์ เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้น ท่านก็เดินทางกลับมายังวัดชนะสงคราม อยู่กับ พระอาจารย์เทศ คณะ10 ต่อมาไม่นานทางบ้านก็ส่งข่าวมาบอกว่า โยมเทียน บิดาผู้ให้กำเนิดถึงแก่กรรม จึงเดินทางกลับไปสิงห์บุรี เพื่อ จัดการศพบิดา แล้วกลับมา อยู่ที่คณะ 10 เช่นเดิม ปี พ.ศ.2466 หลวงพ่อสอบนักธรรมตรีได้ (ในสมัยนั้นผู้เข้าสอบ ต้องอายุ 19 ปีจึงจะมีสิทธิ์ เข้าสอบได้) ปี พ.ศ.2468 สามารถสอบเปรียญธรรม 3 ประโยค ได้ตั้งแต่เป็นสามเณร นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก จากนั้นหลวงพ่อได้ไปเล่าเรียนที่ วัดมหาธาตุฯ โดยเป็นศิษย์ ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ปี พ.ศ. 2469 ท่านอายุ ได้ 21 ปี จึงอุปสมบท อย่างสมเกียรติสามเณรเปรียญ ซึ่งในสมันนั้น หาได้ไม่มากนัก เมื่อวันที่ 21 เมษายน ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งภายหลังอุปสมบทแล้วหลวงพ่อได้กลับมาอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และในปีเดียวกันหลวงพ่อนักธรรมชั้นโทได้ ปี พ.ศ. 2470 หลวงพ่อสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคได้ แต่หลังจากนี้ไม่นานหลวงพ่อ ก็จำเป็น ต้องหยุดศึกษา เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสายตาเนื่องจาก จะเห็นได้ว่า ท่านได้มีวิริยะ อุตสาหะในการศึกษาตั้งแต่เด็ก โดยถือว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อปฏิบัติธรรมให้ได้ถูกต้อง ทำให้หลวงพ่อคร่ำเคร่ง ในการอ่านหนังสือ ในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ เพราะในสมัยนั้นไฟฟ้ายังไม่มีใช้ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน หรือตะเกียง นัยน์ตา ซึ่งได้ตรากตรำจากการดูหนังสือมากเกินไป เกิดอาการตาอักเสบแดง ปวดแสบ นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ จึงแนะนำให้ท่านหยุด ใช้สายตา มิฉะนั้นนัยน์ตาอาจจะพิการ จึงเป็นที่เสียดายเป็นอย่างยิ่งของท่านเพราะหลวงพ่อ ตั้งใจไวมุ่งมั่นในการศึกษามาก ระหว่าง ปี พ.ศ.2471-2472 ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนบาลี โดยสอนตามคณะต่างๆ ของวัดชนะสงคราม รับเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ปี พ.ศ. 2474 เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ชาวบ้านพิกุลทองและจำปาทองได้ร่วมกันปรึกษา ที่จะขอให้ท่านมารับเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ขณะนั้นหลวงพ่อได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบิดาและญาติพี่น้อง ซึ่งท่านได้พักที่วัดพิกุลทอง ท่านจึงเห็นว่า เป็นวัดพิกุลทองบ้านเกิดเมืองนอน ตอนนี้ เสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งสร้างมา ตั้งแต่ พ.ศ.2440 และขณะนั้นท่านได้หยุดพักรักษานัยน์ตา ประสงค์จะพักผ่อนหาความสงบ คิดว่าเมื่อตาหายดีแล้ว ก็จะศึกษาบาลีลันักธรรมต่อตามความตั้งใจเดิม จึงรับปากว่าจะมาอยู่วัดพิกุลทอง ในระหว่างที่ยังว่างเจ้าอาวาสอยู่ปี พ.ศ. 2482 คณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลถอนสมอ และในปีเดียวกันหลวงพ่อพิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก พระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรมแต่ล่ะครั้ง ต่างกลัวไม้หลังคากระเบื้องหล่นถูกศีรษะ ไม่มีจิตเป็นสมาธิ จึงเริ่มคิดที่จะปฏิสังขรพระอุโบสถ เริ่มเรียนจิตศาสตร์ เมื่อท่านอายุประมาณ 24-25ปี สมัยยังศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านได้เริ่มสนใจในทางปฏิบัติ เพื่อหา ความสงบทางใจ จึงเข้าอบรมและปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสำนัก พระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์ท่าเตียน) ได้ความรู้ในแถวทางปฏิบัติมาพอสมควร และยังได้ศึกษาจากท่านอาจารย์พระครูใบฎีกา เกลี้ยง วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นพระฐานานุกรม และศิษย์ ผู้ใกล้ชิด สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ (ซึ่งทางเชี่ยวชาญ ทางด้าน สร้าง-ลบผง พุทธคุณ พระครูใบฎีกา เกลี้ยงท่านได้เมตตาสั่งสอนอบรมและมอบตำราเกี่ยวกับจิตศาสตร์วิทยาคมให้ ต่อมาทราบว่าในท้องที่ อำเภอบางระจันมีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมอยู่รูปหนึ่ง มีคนนับถือและเกรงกลัวมาก เพราะวาจาศักดิ์สิทธิ์ ชื่อหลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ หลวงพ่อจึงได้เดินทาง ไปฝากตัวเป็นศิษย์จนมี ความสามารถและเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อศรี เป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อเล่าว่า หลวงพ่อศรี เมตตาสอนวิทยาคมให้อย่างไม่ ปิดบังอำพราง และในขณะที่ก่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อศรีท่านก็แนะนำให้ หลวงพ่อแพ สร้างแหวน และทุกครั้งที่พลวงพ่อแพท่านได้สร้างเสร็จ ท่าจะนำไปถวายหลวงพ่อศรีปลุกเสก (หลวงพ่อแพ ท่านถามหลวงพ่อศรีว่าสร้างแล้วคนนิยมกันไหม หลวงพ่อศรี ท่าน บอกว่านิยมมาก ให้สร้างมากๆ ท่านจะสนับสนุน) ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อศรีนี้เอง ทำให้หลวงพ่อได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ได้สำเร็จ ในเวลา 2 ปีเศษ หล่อสมเด็จทองเหลือง เมื่อหลวงพ่อมีบารมีมากขึ้นตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด วิหาร ถาวรวัตถุต่างๆมากมายหลายวัด และ เมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 ทางวัด แถบ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ก้อได้นิมนต์ท่านร่วมงาน หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัด ที่หอสวดมนต์ โดยมีคนหลายนอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่คงเข้าใจว่าเป็นเงิน ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่าม มีเพียงของเล็กๆน้อยๆ แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้ และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก ญาติโยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้นพระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่าได้นำไปขายให้บุคคลไม่ทราบชื่อ ไม่สามารถติดตามคืนได้หลวงพ่อเล่าว่าท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจาก อาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อนด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เป็นอย่างยิ่ง ทำให้หลวงพ่อ อธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จ ขึ้นใช้เอง และแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา ในปี 2494 ประมาณเดือน 6 โดยนำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้ โบสถ์หลังเก่า ได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธี นำมาหล่อเช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก ตะบันหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2484 หลวงพ่อได้รับ สมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตรตำแหน่ง พระครูผู้จัดการทางประปริยัติธรรมและพระธรรมวินัย ที่ พระครูศรีพรหมโสภิต ในปี พ.ศ. 2486 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง ในปี พ.ศ. 2506 ได้รับตำแหน่ง ให้รักษาการเจ้าคณะอำเภอท่าช้าง และ ปี พ.ศ.2509 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอท่าช้าง ไปประเทศอินเดีย ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่คับคั่ง ไปด้วยศิษยานุศิษย์ เกือบจะเต็มศาลา การเปรียญ วันนั้นหลวงพ่อได้กล่าวออกมาด้วยความปิติต่อชุมชนว่า การเดินทางไปอินเดียครั้งนี้ เสมือนกับ บุตรไปเยี่ยมภูมิประเทศบิดา เพื่อเป็นการถวายสักการะ เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณ ในเมื่อมีโอกาสก็ควรจะกระทำ การเดินทางในครั้งนี้จะประกอบกิจเป็นกรณีพิเศษ 2อย่างคือ ประการที่หนึ่ง เพื่อตั้งใจนมัสการสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 ตำบลอันได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่ปฐมเทศนา และ สถานที่ปรินิพพาน ซึ่งนับว่าเป็นมหากุศลพิเศษ ประการที่สอง เพื่อเดินทางไปสร้าง พระสมเด็จรุ่นพิเศษ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อมวลสารประกอบด้วยผงวิทยาคม ที่(ได้ลบผง)สะสมไว้แล้ว จะผสมดินที่พระพุทธเจ้าของเรา ประสูติ ตรัสรู้ และปฐมเทศนาด้วย เวลา 14.00น. หลวงพ่อเข้าสู่พระอุโบสถ นมัสการพระประธานแล้ว ไปนมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ณ วิหารสมเด็จของวัด แล้วเดินทางเข้ากรุงเทพ พักที่วัดชนะสงคราม คณะ 10 หนึ่งคืน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ถึง ประเทศอินเดีย จากนั้นเที่ยวชมสถานที่ต่างๆของอินเดีย และเดินทางสู่ พุทธคยาในตอนค่ำ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ เวลาเช้า ได้เดินทางไป นมัสการต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ ตรัสรู้ พหลวงพ่อและคณะได้นมัสการด้วยความเคารพอย่างสูงแล้ว ได้เริ่มผสมผงเพิ่อพิมพ์ สมเด็จปรกโพธิ์เป็นปฐมฤกษ์ หลวงพ่อท่านได้นั่งสมาธิจิตรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย เสกพิมพ์พระปรกโพธิ์ แล้วจึงกดพิมพ์ ด้วยจิตที่มุ่งส่งกระแสจิตเพื่อบรรจุในองค์พระ ณ ควงไม้โพธิ์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ว่าพิมพ์ปรกโพธิ์ที่สร้างขึ้น มีมงคลฤกษ์ ณ สถานที่ตรัสรู้ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ก่อให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้นำไปบูชา เวลา 11.00 เดินทางกลับมาที่วัดไทยพุทธคยา เพื่อฉันภัตตาหารเพล พักผ่อนพอสมควรแล้ว ตอนบ่าย หลวงพ่อได้เดินทางไปที่ ณ ควงต้นศรีมหาโพธิ์อีกครั้งหนึ่งเพื่อนมัสการ เป็นคำรบสองและปลุกเสกพิมพ์พระ และผงที่ผสมในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์โดยประสงค์เพื่อจะนำกลับมาเพื่อเป็นชนวนผสม สร้างพระให้พอเพียงแก่ผู้มีจิตศรัทธาในตัวหลวงพ่อ จะได้นำไปบูชาสักการะและติดตัว เพื่อคุ้มครองทุกหนทุกแห่ง และหลังจากนั้นหลวงพ่อได้เดินทางไปยัง สถานที่ปฐมเทศนา ปรินิพพาน และประสูติ ตามลำดับ และยังได้เดินทางไปตามสถานที่สำคัญต่างๆอีกมากมาย ท่านได้เดินทางกลับประเทศไทย ในวันที่ 9 มี.ค. 2514 ใช้เวลาเดินทางรวม 13 วัน บูรณะค่ายบางระจัน ค่ายบางระจันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประจักษ์ แก่ประชาชนท้องถิ่นและผู้ไปเที่ยวชมมากต่อมาก โดยเฉพาะก้อนอิฐ ซึ่งแต่ละก้อนจะประทับดอกจันทร์ไว้ ชาวบ้านเกรงกลัวเป็นอย่างยิ่งและต้นไม้แดง ซึ่งมีมากบริเวณค่าย ไม่มีใครสามารถตัดได้ แม้แต่กิ่งแห้งเหี่ยวหักตกลงมา ชาวบ้านหรือแม้กระทั่งพระในวัด นำไปเป็นฟืนหุงต้มยังวิบัติ และสิ่งสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ อีกอย่างหนึ่งก็คือสระน้ำหน้าวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ สมัยก่อนมีปลาชุมคลักอยู่ก้นบ่อ ผู้ใดจับไปกินจะเกิดอาเพศต่างๆ แม้น้ำในบ่อเคยมีคนนำไปเติมหม้อน้ำรถ หม้อน้ำก็ยังระเบิด ชาวบ้านบางระจันจึงพร้อมใจยอมรับกันว่า มีแต่หลวงพ่อเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำในการบูรณะครั้งนี้ โดยแต่เดิมท่านก็ได้ดูแลมาตั้งแต่ พ.ส.2488 จนในปีพ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติ แต่งตั้งให้ท่านเป็นกรรมการฟื้นฟูและบูรณะค่ายบางระจัน และปลูกต้นโพธิ์ อีก 8 ต้น รวมกับ ต้นเก่าที่มีอยู่แล้ว อันเป็นสัญลักษณ์ของวักโพธิ์เก้าต้น ไปศรีลังกา วันที่ 21 พฤษภาคม 2515 หลวงพ่อท่านได้เดินทางไปกับคณะพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เพื่อไปร่วมประชุมและสังเกตการณ์ โดยมีพุทธศาสนิกชนจากหลายประเทศเข้าร่วมประชุม ณ ประเทศศรีลังกา ซึ่งการเดินทางครั้งนี้หลวงพ่อแพท่านได้ประทับพิมพ์พระสมเด็จฐานสิงห์เป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2515 ณ วัดศรีมหาโพธิ์ สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ หลวงพ่อแพ ท่านได้ตัดสินใจสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ในวันเพ็ญเดือน 3 ตรงกับวันมาฆบูชา เพื่อให้ เพียงพอสำหรับ พระภิกษุและสามเณรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และในวันสำคัญในศาสนา ประชาชน จะได้มีโอกาสเข้าร่วม บำเพ็ญกุศลในพระอุโบสถได้มากขึ้นด้วย แต่อุปสรรคสำคัญก็คือ การหาเงินปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งท่านต้องใช้งบจำนวนมาก ซึ่งท่านได้เตรียมพระสมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งท่านได้ตั้งใจสร้างล่วงหน้าไว้ ณ ประเทศอินเดีย เพื่อมอบให้แก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถ จึงได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2515 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปีเศษ เป็นพระอุโบสถที่หลังใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดที่มีอยู่ในภูมิภาค เป็นปูชนียสถานที่มีการแกะสลัก ลวดลายประตูหน้าต่าง อย่างวิจิตรงดงามตระการตา เป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมของผู้พบเห็น อีกทั้งยังสร้างพระใหญ่ปางประทานพรใหญ่ที่สุดในประเทศ หน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ใช้ งบประมาณก่อสร้างประมาณ 20 ล้านบาท ด้านการศึกษาท่านได้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำการเปิดสอนแผนกธรรมและภาษาบาลีขึ้นในวัดพิกุลทองตั้งแต่ ปี2475 อีกทั้งหลวงพ่อยังได้พัฒนาและการก่อสร้างศาสนสถาน วัดอื่นๆอย่างมากมาย รวมทั้งเป็นองค์อุปถัมภ์หาทุนก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี เช่นล่าสุดท่านได้หาทุนก่อสร้างอาคาร “หลวงพ่อแพ เขมังกโร 94 ปี สูง 9 ชั้น งบก่อสร้าง 120 ล้านบาท เป็นพระราชาคณะ ในปี พ.ศ.2521 ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระสุนทรธรรมภาณี ในปี พ.ศ. 2525 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ในปี พ.ศ. 2530 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระราชสิงหคณาจารย์” ในปี พ.ศ. 2535 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระเทพสิงหบุราจารย์” ในปี พ.ศ. 2539 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชครบ 50 ปี (พระราชพิธีกาจญนาภิเษก) ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระสมณศักดิ์ พระสงฆ์ 59 รูป หลวงพ่อแพก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระธรรมมุนี” ในระยะหลัง หลวงพ่อได้งดรับกิจนิมนต์ โดยคำแนะนำจากผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวเองได้ รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และโรคชรา จนเมื่อ วันที่24 ส.ค. 41 ทางคณะแพทย์ไดเห็นสมควรนำหลวงพ่อเข้าพักรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากตรวจพบว่าหลวงพ่อ เป็นโรคปอดอักเสบ ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนอาการดีขึ้น ต่อมาในวันที่ 7 ก.ย.41 ท่านอาการทรุดลง จนกระทั่งเวลา 01.30 น. ของวันที่ 8 ก.ย. 41 ท่านได้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ทางคณะแพทย์ได้ทำการช่วยจนหลวงพ่อฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ และทางได้ถวายดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น จนกระทั่งวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 เวลา 12.36 น. หลวงพ่อท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ ห้อง 901 ชั้น 9 อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร โรงพยาบาลสิงห์บุรี สิริอายุ 94 ปี 73 พรรษา
สมบูรณ์ไม่หักไม่ซ่อม ..รับประกันพระแท้ทุกสนาม
พระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงปู่ยิ้ม ปัจจุบันนี้มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นท่านได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้กี่พิมพ์ทรงกันแน่ นอก จากพระงบน้ำอ้อยที่ดังไปทั่วสารทิศแล้ว จนพระเนื้อดินพิมพ์งบน้ำอ้อยใครๆเห็นที่ใหนก็ต้องบอกว่าเป็นของหลวงปู่ยิ้ม ไปเสียทั้งหมด มีเพียงไม่กี่คนในละแวกคุ้งน้ำเจ้าเจ็ดที่เก็บรวบรวมพระเนื้อดินหลวงปู่ยิ้ม ไว้ได้ครบทุกพิมพ์ ซึ่งความนิยมของผู้สะสมที่มีไม่มากนี้ อาจทำให้มรดกทางศิลปพระเครื่องใน อดีตของหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน นั้นสูญหายไปได้บางพิมพ์และอาจมีการนำพระพิมพ์อื่นๆซึ่งไม่ใช่ของหลวงปู่ ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน ถูกยัดให้เป็นพระเครื่องหลวง ปู่ยิ้มได้โดยนักเล่นพระบางกลุ่ม ในการสร้างพระเนื้อดินเผา ของหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดในนั้น บันทึกไว้ว่าได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เจตนาเพื่อเป็นการสืบทอดและต่ออายุพระศาสนา ความตั้งใจของท่านนั้นจะสร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดัง ที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงมีพระของหลวงปู่ยิ้มจำนวนมากมาย และหลากหลายพิมพ์แตกต่างกันออกไป ตามแต่จะหาช่างทำพิมพ์พระมาแกะพิมพ์พระให้ได้ การทำพิมพ์พระนั้น จะได้ช่างชาวบ้าน ในละแวกบ้านเจ้าเจ็ด และละแวกใกล้เคียงเช่น บ้านหนองลำเจียก มาแกะพิมพ์ให้ การแกะแม่พิมพ์ แกะจากหินลับมีด ( ลักษณะหินลับมีด โกนของพระ ) โดยมีลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้แกะให้ และให้พระ, เณร, ลูกศิษย์ ใกล้ชิด และเด็กวัดฯ ช่วยกันผสม กดพิมพ์- แกะพิมพ์ และเผาตามพิธีการของท่าน ซึ่งกล่าวกัน ว่าท่าน ได้แรงบัลดาลใจมาจาก การสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา พระกรุ สมัยต่างๆ และจากพระโบราณจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของ ท่านบางพิมพ์สร้างล้อพิมพ์ของวัดบางนมโค, มี บางท่านเล่าว่าพระพิมพ์ทรงสัตว์ของหลวงปู่ยิ้มนั้นช่าง ที่แกะแม่พิมพ์ของวัดเจ้าเจ็ดได้ขอต่อวิชา จากช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดบางนมโค โดยค่าครูสำหรับการต่อวิชาแกะแม่พิมพ์เป็นเงิน ๑บาทในสมัยนั้นฯ การแกะพิมพ์พระแต่ละ พิมพ์เป็นฝีมือช่างชาวบ้าน ซึ่งมีฝีมือและความสวยงามทางพุทธศิลป์ที่แตกต่างออกไปตามความชำนาญของช่างใน ยุคนั้น นับ ได้ว่าชาวบ้านยุคนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในการ ถ่ายทอด ความสวยงามทางพุทธศิลป์ ไว้ให้รุ่นลูกหลาน ได้เชยชมอย่างสวยงามและลงตัวเป็นอย่างดี ซึ่งพิมพ์พระของหลวงปู่ยิ้มจะมีลักษณะเป็นฝา หลังจากแกะพิมพ์พระได้แล้ว หลวงปู่จะให้ชาวบ้านนำดินขุยปู และดินนวล ในทุ่งนาที่ขุดลงไปลึกเพื่อให้ได้ดินที่ละเอียดโดยมีข้าวก้นบาตร และเถ้าขี้ธูปที่บูชาพระประธานในโบสถ์ ผง วิเศษที่ท่านลบ และสรรพสิ่งอันเป็นมงคลที่ท่านรวบ รวมมา และท่านได้ใช้มูลดินของกรุงศรีอยุธยา ท่านยังสร้างพระพิมพ์เนื้อดินซึ่งเกิดจากแม่ธาตุทั้งสี่ มาประชุมหรือผสมรวมกัน คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ นำ บดและนวด และนำมากดใส่ลงในแม่พิมพ์พระที่มีลักษณะเป็นฝา และได้นำด้านหลังที่มีเนื้อดินไปวางโปะลงบนแผ่นไม้กระดานที่ได้เตรียมไว้ แล้วจึงถอดพิมพ์พระออกมาที่ละองค์ หลังจากนั้นก็จะทำการใช้ มีดบาง เปลือกหอยกาบ หรือช้อน ตามแต่จะหาได้ นำมาตัดแต่งตามตามขอบขององค์พระโดยรอบให้มีลักษณะสวยงาม บางองค์ก็ไม่ได้ตัดออกก็จะพบเนื้อดินเกินออกมา ซึ่งในการสร้างสมัยนั้นได้สร้างจำนวนมากและพระเครื่องยุค นั้นก็มิได้มีค่า มากมายอะไรการทำจึงทำแบบไม่ค่อยพิถีพิถันมากนักแต่จะทำให้ได้จำนวนมากๆ ไว้ก่อนดังนั้นของสวยๆจึงมีน้อยนัก หลังจากตกแต่งพระแล้วก็จะยกไม้กระดานที่เรียงรายวางพระเนื้อดินเหนียวอยู่ นั้น ไปตากแดดให้แห้งสนิทเสียแล้วจึงค่อยแกะออกจากไม้กระดาน ซึ่งด้านหลังพระของหลวงปู่ยิ้มจึงมีรอยเสี้ยนไม้กระดานเป็นที่สังเกตให้เห็น ได้ แล้วจึงนำมาใส่ไว้ในบาตรพอประมาณ จึงนำไปสุมไฟด้วยแกลบจนเนื้อดินพระแข็งสุกแดงได้ที่แล้วจึงลาไฟออกมารวบรวม ไว้ แล้วทำพิธีปลุกเสกในพระอุโบสถ หลวงปู่ยิ้มจะทำบายศรีราชวัตร ฉัตรธง ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว อาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสาวกทุกพระองค์ ตลอดจนพระพรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย โดย หลวงปู่ยิ้ม ได้ปลุกเสกเดี่ยวครบไตรมาส แล้วจึงนำบรรจุลงกรุเจดีย์รอบๆวัด และเก็บไว้บนหลังคาโบสถ์ บางส่วนที่เหลือก็แจกจ่ายให้กับชาวบ้านในละแวกคุ้งน้ำบ้านเจ้าเจ็ดและละแวก ใกล้เคียงนำไปติดตัวบูชาเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจให้ประพฤติดีละเว้นความชั่ว ทั้งปวง หรือใครมากราบไหว้หลวงปู่ก็เมตตาแจกให้ทุกคนไป พระที่หลวงปู่นำไปใส่กรุไว้นั้น หากหลวงปู่ทำวัตรเช้าแล้วหลวงปู่จะออกมาจากโบสถ์และจะเดินไปยืนสวดพระคาถา ที่หน้าเจดีย์ใหญ่น้อยที่ได้บรรจุพระของหลวงปู่ไว้ทุกครั้งเสมือนได้ว่าหลวง ปู่ได้ทำการปลุกเสกทุกวันหลังจากหลวงปู่ทำวัตรเช้าเสร็จ วิธีสังเกตพระเนื้อดินเผาหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน พระหลวงเนื้อดินเผาหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดในนั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลากหลายพิมพ์ จำแนกออกได้ดังนี้ ๑. พระงบน้ำอ้อย พิมพ์ใหญ่ พระพุทธเจ้า ๑๐ พระองค์ ขนาด ๓.๕-๔.๐ มิลลิเมตร (มี เส้น และไม่มีเส้น) ๒. พระ งบน้ำอ้อย พิมพ์กลาง พระพุทธเจ้า ๑๐ พระองค์ พิมพ์มีเส้น และไม่มีเส้น ขนาด ๒.๘-๓.๒ มิลลิเมตร ๓. พระงบน้ำอ้อย พิมพ์เล็ก พระพุทธเจ้า ๑๐ พระองค์ และพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ขนาด ๒.๕-๒.๘มิลลิเมตร ๔. พระพุทธชินราช พิมพ์ใหญ่ปีกกว้าง ๕. พระ พุทธชินราชเล็ก ๖. พระ พุทธชินราช ๕ เหลี่ยม ๗. พระ สมเด็จ พิมพ์ขัดสมาธิเพชร มี ๒ พิมพ์ ๘. พระ สมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ ๗ ชั้น ๙. พระ สมเด็จพิมพ์ติดแผง (สมเด็จแผง) ๒ พิมพ์ ๑๐. พระ สมเด็จพิมพ์ฐานเลข ๗ ๑๑. พระ โคนสมอ ๑๒. พระ ขุนแผนพิมพ์ใหญ่ ๑๓. พระ ขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว ๑๔. พระ ชินราชใบพุทรา ปางสะดุ้งมาร ๑๕. พระ ร่วง พิมพ์ใหญ่ กลาง และพิมพ์เล็ก ๑๖. พระ ลีลาข้างจุด ๑๗. พระ พิมพ์หลวงพ่อโต ๑๘. พระ กลีบบัว ๑๙. พระ นางพญาฐานบัว พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ๒๐. พระนางพญาแขนอ่อน ๒๑. พระ พิมพ์หยดน้ำ ๒๒. พระ พิมพ์ขี่ลิง พิมพ์ขี่ลิงใหญ่ พิมพ์ขี่ลิงหันขาว และหันซ้าย ๒๓. นางกวัก ๒๔. สมเด็จปรกโพธิ์ ๕ ชั้น สีขององค์พระ พระ หลวงปู่ยิ้มนั้นเป็นพระเนื้อดินเผา สีขององค์พระพื้นๆ ก็คือสีอิฐ หรือสีหม้อใหม่ แต่จะพบสีซีดอ่อนได้เนื่องจากพระได้ถูกนำไปเก็บไว้บนกรุใต้หลังคาโบสถ์ทำให้ ได้รับความร้อนสูงจึงทำให้สีออกซีดจางไป เป็นสีชมพูอ่อนๆหรือสีน้ำตาลอ่อนๆ หากพบในกรุใต้ฐานเจดีย์ก็จะมีสีออกไปทางน้ำตาลเข้มขึ้นได้ เนื้อขององค์พระ เนื้อ ขององค์พระนั้นเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งดินนั้นได้จากดินขุยปูตามทุ่งนา และดินที่ขุดมาจากทุ่งนาเป็นเนื้อดินละเอียดมาก แต่ก็มีเม็ดกรวดเม็ดทราย เม็ดเล็กเม็ดใหญ่ปนอยู่บ้าง หรืออาจมีเศษเปลือกหอย เศษไม้ปะปนก็มีบ้างเป็นบางองค์ แต่พระหลวงปู่ยิ้ม นั้นเนื้อต้องแห้งและแกร่งมากเนื่องจากความเก่าและอายุมากหลายสิบปี บางองค์หากเผาแล้วจะมีเนื้อแร่ถูกเผาไหม้ติดอยู่ที่องค์พระ (แร่หมัดไฟ) ลักษณะพิมพ์ทรงสัณฐานขององค์พระ พระ เนื้อดินหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน มีลักษณะรูปพรรณสัณฐานแบ่งเป็นหลายพิมพ์ ซึ่งถ่ายทอดออกมาตามพุทธประวัติ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากแต่พระทั้งหมดใช้กรรมวิธีเดียวกันในการสร้างลักษณะจึงคล้ายๆกัน โดยสังเกตทางด้านหลังขององค์พระจะมีรอยเสี้ยนไม้กระดาน ซึ่งเกิดจากการถอดพิมพ์พระโดยการวางด้านหลังของพิมพ์พระซึ่งเป็นเนื้อดิน เหนียวกดลงไปบนไม้กระดานและจึงถอดพิมพ์พระออกมา และตากแดดจนแห้ง ด้านหลังจึงเป็นรอยเสี้ยนไม้กระดานทุกองค์ ชัดเจนบ้างไม่ชัดเจนบ้างนั้นก็สุดจะแล้วแต่ ส่วน ขอบขององค์พระมักเห็นเนื้อดินเกินออกมาจากพิมพ์พระเกิดเนื่อง จากการกดพิมพ์ลงไปที่แผ่นไม่กระดานทำให้เนื้อดินเหนียวส่วนที่ล้นเกินออกมา แต่จะพบเห็นได้ว่ามีการใช้ของมีคมตัดแต่งส่วนที่เกินออกมา เช่น ช้อน เปลือกหอยกาบ มีด หรือตอกไม้ไผ่ จึงแลดูเป็นเหลี่ยมๆ ก็มีให้เห็นได้เกือบทุกองค์ ตอนนี้เรา ก็มาชมภาพพระเครื่องหลวงปู่ยิ้มที่ผมได้นำมาให้ชมกันได้แล้วครับ 1.พระขุนแผนใบพุทราปางสะดุ้งกลับหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 2.พระพิมพ์ขี่ลิงหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 3.พระโคนสมอหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 4.นางกวักหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 5.พระพิมพ์ลีลาข้างจุดหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 6.พระนางพญากลีบบัวหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 7.พระนางพญาหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 8.พระสมเด็จขัดสมาธิเพชรหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 9.พระสมเด็จแผงหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 10.พระสมเด็จฐานเลข7หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 11.พระชินราชห้าเหลี่ยมหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 12.พระชินราชเนื้อดินหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 13.พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 14.พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้วหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 15.พระร่วงเนื้อดินหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด 16.พระงบน้ำอ้อยหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด พระเครื่องหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด
พร้อมเลี่ยมทองยกซุ้มหัวสิงห์สวยๆครับ ยินดีส่งออกบัตรครับ
พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) ประวัติ หลวงพ่อคูณ เกิดในชื่อและนามสกุลทางโลกคือ คูณ ฉัตร์พลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายคนโตของบุญ (บิดา) และทองขาว (มารดา) ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาสามคนคือ 1. พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) 2. คำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์ (เป็นหญิง) 3. ทองหล่อ เพ็ญจันทร์ (เป็นหญิง) โยมบิดามารดาของหลวงพ่อคูณ เสียชีวิตลงขณะที่ลูกทั้งสามยังเด็ก เด็กชายคูณกับน้องสาวทั้งสอง จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่เด็กชายคูณมีอายุราว 6-7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ, พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม นอกจากนี้พระอาจารย์ทั้งสาม ยังอบรมสั่งสอนคาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้ด้วย เด็กชายคูณจึงมีความรู้ในวิชาไสยศาสตร์มาแต่บัดนั้น อุปสมบท คูณ ฉัตร์พลกรัง อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ปีวอก อุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า ปริสุทฺโธ หลังจากนั้น หลวงพ่อคูณฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระอย่างเคร่งครัด ทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คน และลูกศิษย์เป็นอย่างมาก หลวงพ่อคูณอยู่ปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้เป็นเพื่อนกัน ต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ เวลาล่วงเลยมานานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริก ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป ระยะแรกหลวงพ่อคูณธุดงค์จาริก อยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกไกลออกไป กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา และอุปาทานทั้งปวง หลังจากที่พิจารณา เห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางกลับสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตแดนทางจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับสู่ถิ่นเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำริให้ก่อสร้างวัด ให้เป็นถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างพระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2496 นอกจากนั้น หลวงพ่อคูณยังดำริให้สร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค ทั้งจัดสร้างโรงเรียนวัดบ้านไร่ เพื่อการศึกษาของเยาวชนละแวกนี้อีกด้วย สมณศักดิ์ · 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 : เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณวิทยาคมเถร · 10 มิถุนายน พ.ศ. 2539 : เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชวิทยาคม อุดมกิจจานุกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[ · 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 : เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระเทพวิทยาคม อุดมธรรมสุนทร ปสาทกรวรกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี มรณภาพ เมื่อเวลาประมาณ 05:45 น. ของวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พนักงานพยาบาลที่ดูแลหลวงพ่อคูณอยู่ที่วัดบ้านไร่ พบว่าหลวงพ่อมีอาการหมดสติไม่รู้สึกตัว จึงรีบแจ้งให้แพทย์จากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และโรงพยาบาลด่านขุนทดมาวินิจฉัยโดยด่วน ซึ่งคณะแพทย์ตรวจประเมินว่า หลวงพ่อคูณหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น จึงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง อยู่เป็นเวลา 1 ชั่วโมง กระทั่งอาการทรงตัว จึงใส่เครื่องช่วยหายใจ พร้อมทั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจ จากนั้นเมื่อเวลา 08:30 น. จึงรีบส่งเข้ารักษาต่อ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาโดยด่วน พบว่ามีลมรั่วเข้าภายในปอดฝั่งซ้าย และมีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ จึงให้หลวงพ่อพักรักษาตัว ภายในหอผู้ป่วยวิกฤต (ไอซียู) โดยจัดคณะแพทย์และพยาบาล เฝ้าระวังดูแลอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสัญญาณชีพของหลวงพ่อยังไม่คงที่ จากนั้นคณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช เข้าร่วมทำการวินิจฉัยและรักษา กับคณะแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาด้วย ต่อมาเวลา 20:00 น. คณะแพทย์รายงานผลการตรวจรักษาหลวงพ่อว่า สัญญาณชีพยังไม่คงที่ ต้องใช้ยากระตุ้นหัวใจ และเครื่องช่วยหายใจ ขณะเดียวกัน มีเลือดออกในทางเดินอาหารจำนวนมาก ร่วมกับมีภาวะไตหยุดทำงาน เป็นผลให้ไม่มีปัสสาวะออกจากร่างกาย ทั้งนี้ภาวะผิดปกติที่แทรกซ้อนขึ้นทั้งหมด เกิดจากปอดและหัวใจ หยุดทำงานเป็นเวลานาน และรุ่งขึ้น (วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม) เมื่อเวลา 10:00 น. คณะแพทย์ผู้รักษารายงานว่า มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นผลให้มีเลือดออกในช่องทรวงอก จึงทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น คณะแพทย์จึงทำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง สำหรับภาวะไตหยุดทำงาน คณะแพทย์ใช้เครื่องไตเทียมทำการฟอกเลือด จนกระทั่งเวลา 11:45 นาฬิกา คณะแพทย์ออกประกาศแจ้งว่า พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) มีอาการโดยรวมทรุดลง จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพลงขณะทำการรักษา ภายในห้องอายุรกรรมผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71 ซึ่งในการแถลงข่าวโดยคณะแพทย์ผู้รักษา เมื่อเวลา 12:15 น. น.พ.พินิศจัย นาคพันธุ์ แพทย์อายุรกรรมหัวใจชำนาญการ ผู้รักษาประจำของหลวงพ่อคูณ ในสถานะหัวหน้าคณะแพทย์กล่าวว่า สาเหตุแห่งการมรณภาพ เนื่องจากการหายใจหยุดลง เพราะมีลมรั่วเข้าไปภายในปอด หรือที่เรียกว่าปอดแตก เป็นเหตุให้หัวใจหยุดเต้น เนื่องจากคณะแพทย์ต้องช่วยปั๊มหัวใจ เป็นเวลานานถึง 1 ชั่วโมง ทั้งที่หากสมองขาดออกซิเจนเพียง 4 นาที ก็เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว หลังจากนำหลวงพ่อมายังโรงพยาบาล ก็พยายามช่วยกันเต็มที่ เมื่อเวลาประมาณ 05:40 น. ยังต้องปั๊มหัวใจเพิ่มถึงสองรอบ แต่ด้วยความที่หลวงพ่อ อยู่ในภาวะที่ไม่รับรู้ใดๆ นับแต่หมดสติที่วัดบ้านไร่แล้ว เมื่อการหายใจหยุดลง และหัวใจหยุดเต้นเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้อวัยวะอื่นๆ วิกฤตลงตามไปด้วย คือเข้าสู่ภาวะสมองตายตั้งแต่แรก ต่อมาแพทย์พยายามยื้อหัวใจ และต่อมาปอด จนมาถึงไต แต่แล้วในที่สุด อวัยวะสำคัญก็ล้มเหลวลงทั้งหมด หลวงพ่อจึงถึงแก่มรณภาพดังกล่าว จากนั้นมีการเปิดเผยพินัยกรรม ซึ่งหลวงพ่อคูณทำไว้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2543 มีใจความสำคัญระบุให้มอบสังขาร แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่มรณภาพ แล้วให้ทางมหาวิทยาลัยมอบให้แก่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้นำไปศึกษาค้นคว้า ตามวัตถุประสงค์ของภาควิชา สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา และการสวดพระอภิธรรม ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีขึ้นที่คณะเป็นเวลา 7 วัน ส่วนการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล เมื่อสิ้นสุดการศึกษาค้นคว้า ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ให้จัดอย่างเรียบง่าย ละเว้นการพิธีสมโภชใดๆ ทั้งห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ โกศ และพระราชพิธี อื่นๆ เป็นกรณีพิเศษหรือเป็นการเฉพาะ โดยให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีเช่นเดียวกับที่จัดให้แก่ อาจารย์ใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ประจำปี ร่วมกับอาจารย์ใหญ่ท่านอื่น แล้วเผาที่ฌาปนสถานวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (หรือวัดแห่งอื่น) และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำอัฐิ เถ้าถ่าน และเศษอังคารทั้งหมด ไปลอยที่แม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม โดยมีสักขีพยานประกอบด้วย รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ขณะนั้น), ญาติ, ไวยาวัจกรวัดบ้านไร่ (ขณะนั้น) และนิติกรชำนาญการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ร่วมกันประชุมและลงมติให้ดำเนินการ ตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าวทุกประการ โดยไม่มีการนำไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านไร่เสียก่อน ดังที่มีลูกศิษย์จำนวนหนึ่งร้องขอแต่อย่างใด ซึ่งมีการเคลื่อนสังขารของหลวงพ่อคูณ ออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เมื่อเวลา 20:00 น. โดยไปถึงศาลา 25 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อเวลาประมาณ 22:00 น. เพื่อบรรจุสังขารลงในโลงแก้ว จากนั้นรุ่งขึ้น (วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม) เวลาประมาณ 14:00 น. คณะลูกศิษย์พากันจัดริ้วกระบวน เพื่อเคลื่อนสังขารหลวงพ่อคูณ ไปยังศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษกภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นเอง เพื่อตั้งสังขารบำเพ็ญกุศลและสวดพระอภิธรรม เป็นเวลา 7 วัน ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 17 ถึงวันเสาร์ที่23 พฤษภาคม ระหว่างเวลา 06:00-22:00 น. สำหรับสาเหตุที่ต้องเคลื่อนสังขารอีกครั้ง เนื่องจากศูนย์ประชุมดังกล่าว เป็นสถานที่กว้างขวางสะดวกสบาย สามารถรองรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งเดินทางมาสักการะสังขารอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พวงมาลา 12 พวง โดยมอบหมายให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งพระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเป็นกรณีพิเศษ
พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ เมตตาแคล้วคลาด พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ นี้เป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณเด่นมากทาง เมตตามหานิยม และ แคล้วคลาด นับว่าเป็นของดีที่น่าสะสมเป็นอย่างมาก วัดลิงขบ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดบวรมงคล” เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งธนบุรี วัดนี้เป็นสถานที่ให้กำเนิด พระเนื้อดินเผาพิมพ์กลีบบัว หรือ หยดน้ำ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธปฎิมากรปางนั่งขัดสมาธิเพชรริมขอบพระมีเส้นรัศมีอยู่โดยรอบองค์พระ พระเกศแหลมพระพักตร์กลมปนรี พระกรรณเรียวยาวลงมาจรดบ่า พระอุระกว้างแล้วสอบลงมาที่พระอุทรวงแขนหักเป็นมุมป้านประสานสมาธิที่หน้าตัก พระกลีบบัววัดลิงขบส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินที่มีความละเอียดด้านล่างมีลักษณะเว้าเป็นแอ่ง และปรากฏลายนิ้วมือกดของผู้กดพิมพ์ ใต้ฐานจะปรากฎไม้เสียบตอนเอาพระออกจากแม่พิมพ์ พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ มีอายุการสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ประมาณสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จำนวนพระที่ขึ้นจากกรุมากมายหลายหมื่นองค์ พระกลีบบัววัดลิงขบได้เปิดกรุเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลังจากที่มีคนร้ายได้ลักลอบเข้าไปขุดเจดีย์เพื่อเอาของมีค่าในเจดีย์ออกไป พระสุมงคลมุนี (ผิว) เจ้าอาวาสขณะนั้นได้หารือกับกรรมการศาสนา เห็นควรเปิดกรุอย่างเป็นทางการ การเปิดกรุมีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๐๙ โดยพบพระกลับบัวจำนวนมากประมาณ ๘๐,๐๐๐ องค์ พร้อมพระพิมพ์สมัยอยุธยาตามประวัติผู้สร้างเจดีย์และพระกลีบบัวบรรจุในพระเจดีย์คือ จางวางโต ซึ่งรับราชการอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เมื่อราวปี พ.ศ.๒๔๑๐ ขณะนั้น พระสุเมธา จารย์(ศรี) เป็นเจ้าอาวาส ที่สำคัญคือ ได้นิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาเป็นประธานในพิธี ทำการเจริญพระพุทธมนต์ก่อนการบรรจุด้วย
พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ เมตตาแคล้วคลาด พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ นี้เป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณเด่นมากทาง เมตตามหานิยม และ แคล้วคลาด นับว่าเป็นของดีที่น่าสะสมเป็นอย่างมาก วัดลิงขบ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดบวรมงคล” เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งธนบุรี วัดนี้เป็นสถานที่ให้กำเนิด พระเนื้อดินเผาพิมพ์กลีบบัว หรือ หยดน้ำ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธปฎิมากรปางนั่งขัดสมาธิเพชรริมขอบพระมีเส้นรัศมีอยู่โดยรอบองค์พระ พระเกศแหลมพระพักตร์กลมปนรี พระกรรณเรียวยาวลงมาจรดบ่า พระอุระกว้างแล้วสอบลงมาที่พระอุทรวงแขนหักเป็นมุมป้านประสานสมาธิที่หน้าตัก พระกลีบบัววัดลิงขบส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินที่มีความละเอียดด้านล่างมีลักษณะเว้าเป็นแอ่ง และปรากฏลายนิ้วมือกดของผู้กดพิมพ์ ใต้ฐานจะปรากฎไม้เสียบตอนเอาพระออกจากแม่พิมพ์ พระกลีบบัว กรุวัดลิงขบ มีอายุการสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ประมาณสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จำนวนพระที่ขึ้นจากกรุมากมายหลายหมื่นองค์ พระกลีบบัววัดลิงขบได้เปิดกรุเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลังจากที่มีคนร้ายได้ลักลอบเข้าไปขุดเจดีย์เพื่อเอาของมีค่าในเจดีย์ออกไป พระสุมงคลมุนี (ผิว) เจ้าอาวาสขณะนั้นได้หารือกับกรรมการศาสนา เห็นควรเปิดกรุอย่างเป็นทางการ การเปิดกรุมีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๐๙ โดยพบพระกลับบัวจำนวนมากประมาณ ๘๐,๐๐๐ องค์ พร้อมพระพิมพ์สมัยอยุธยาตามประวัติผู้สร้างเจดีย์และพระกลีบบัวบรรจุในพระเจดีย์คือ จางวางโต ซึ่งรับราชการอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เมื่อราวปี พ.ศ.๒๔๑๐ ขณะนั้น พระสุเมธา จารย์(ศรี) เป็นเจ้าอาวาส ที่สำคัญคือ ได้นิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาเป็นประธานในพิธี ทำการเจริญพระพุทธมนต์ก่อนการบรรจุด้วย