(ผู้ชนะประมูลเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ในการจัดส่งลูกค้าสามารถแจ้งการโอนที่ กล่องข้อความได้เลย*โอนเงินก่อนเที่ยง ส่งพระให้บ่ายโมงของทุกวันหากเลยวันยก ยอดส่งในวันถัดไป* ขอบคุณค่ะ*)
เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์โต เนื้อทองเหลือง วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง เหรียญนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2495 พิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ มีพระเกจิอาจารย์ดัง ๆ เข้าร่วมปลุกเสกมากมาย เหรียญมีประสพการณ์ดี ห่วงเชื่อมเก่ายังอยู่ สภาพพอใช้ พระผ่านการตรวจสอบความแท้จากทางเวปเรียบร้อยแล้ว มาพร้อมบัตรรับรองสวย ๆ ของเวป
เนื้อทองแดง
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.อยุธยา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทย เมื่อมีพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญ จะต้องนิมนต์หลวงพ่อจง ไปร่วมปลุกเสก ด้วยทุกครั้ง!!! 4 สุดยอดพระคณาจารย์ จาด จง คง อี๋ ในยุคสงครามอินโดจีน ซึ่งพระเกจิอาจารย์ แต่ละองค์ ต่างก็มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 1 ใน 4 สุดยอดพระคณาจารย์ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านโด่งดังมาก ยุคอินโดจีน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้มาก ทั้งพระพระเหรียญ ตะกรุด เสื้อยันต์ ฯลฯ แจกจ่ายให้กับนายทหาร ที่ร่วมรบในสงครามอินโดจีน ต่างก็มีประสบการณ์เล่าขานกันมาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น หลวงพ่อจง ท่านได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 – ปี 2507 วัตถุมงคลของหลวงพ่อจง แบ่งแยกเป็นรุ่นมาตรฐานได้ดังนี้ 1.เหรียญหยดน้ำ ปี พ.ศ. 2484 มีเนื้อเงินลงยา หลังยันต์ และ เนื้อทองแดง หลังที่ระลึกในการสร้างหอสวดมนต์ 2.เหรียญเสมา หลังยันต์ห้า ปี พ.ศ. 2484 จัดสร้างเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว 3.เหรียญเสมาหน้าใหญ่ ปี พ.ศ. 2485 พิมพ์ พ.ศ. โค้ง จัดสร้างเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว 4.เหรียญเสมาหน้าใหญ่ ปี พ.ศ. 2485 พิมพ์ พ.ศ. ตรง จัดสร้างเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว 5.เหรียญเสมา หน้าเล็ก ปี พ.ศ. 2485 มีเนื้อเงินลงยา และ เนื้อทองแดง 6.เหรียญหยดน้ำ หลังยันต์ห้า ประมาณปี พ.ศ. 2485 จัดสร้างเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว 7.เหรียญหยดน้ำ หลังยันต์ บล็อกหน้า “ ย ” การันต์ สร้างประมาณปี พ.ศ. 2485 จัดสร้างเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว 8.เหรียญหยดน้ำ หลังยันต์ บล็อกหน้า “ ย ” ไม่มีการันต์ สร้างประมาณปี พ.ศ. 2485 จัดสร้างเนื้ออัลปาก้า และ เนื้อทองแดง 9.เหรียญเงินลงถม และ เนื้อเงินลงยา พิมพ์ต่างๆ ปี พ.ศ. 2485-2495 10.เหรียญฉลุ หน้าแปะ อัลปาก้า ประมาณ ปี พ.ศ. 2486 มีเนื้อเงิน อัลปาก้า และ ฝาบาตร 11.เหรียญเสมาหลังสิงห์ ฉลองอายุครบ 6 รอบ ปี พ.ศ. 2487 มี 2 พิมพ์ จัดสร้างเนื้ออัลปก้า และเนื้อทองแดง 12.เหรียญข้าวหลามตัด หลังยันต์ ปี พ.ศ. 2490 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้ออัลปาก้า 13.เหรียญรูปไข่เล็ก ปี พ.ศ. 2490 มีเนื้อเงิน และเนื้อ ฝาบาตร 14.เหรียญปีนักษัตร เนื้อเงินลงยา และเนื้อเงินลงถม ปี พ.ศ. 2484-2500 15.เหรียญหยดน้ำ ออกวัดบัวแก้วเกสร ปี พ.ศ. 2490 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อทองแดง 16.เหรียญกลมลงยา นะปัดตลอด ปี พ.ศ. 2491 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อฝาบาตร 17.เหรียญฉลองอายุครบ 7 รอบ ปี พ.ศ. 2499 พิมพ์หลังหนังสือ จัดสร้างเนื้อเงิน และ เนื้อทองแดง 18.เหรียญฉลองอายุครบ 7 รอบ ปี พ.ศ. 2499 พิมพ์หลังสิงห์ จัดสร้างเนื้ออัลปาก้า และ เนื้อทองแดง 19.เหรียญกลม หลังพระปิดตา ปี พ.ศ. 2499 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้ออัลปาก้า 20.เหรียญกลม หลังปลาตะเพียน ปี พ.ศ. 2499 จัดสร้างเนื้อเงิน และ เนื้ออัลปาก้า 21.เหรียญใบโพธิ์ หลังกันภัย ปี พ.ศ. 2499 จัดสร้างเนื้อทองฝาบาตรเพียงเนื้อเดียว 22.เหรียญครอบแก้ว ปี พ.ศ. 2500 มี 2 พิมพ์ คือ หลังพุทธกวัก และ เมตตามหานิยม เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อทองแดง 23.เหรียญเม็ดกระดุม ปี พ.ศ. 2500 มีเนื้อฝาบาตร และ เนื้อทองแดง 24.เหรียญหัวใจ ปี พ.ศ. 2500 มีเนื้ออัลปาก้า และ เนื้อทองแดง 25.เหรียญกลม หลังตัวนะ ปี พ.ศ. 2500 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อทองแดง 26.เหรียญสามเหลี่ยม หลวงพ่อจง ปี พ.ศ. 2500 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อฝาบาตร 27.เหรียญกลมหลังสิงห์ ปี พ.ศ. 2502 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อทองแดง 28.เหรียญกันภัย หลังสิงห์ ปี 2503 มีเนื้อฝาบาตร และเนื้ออัลปก้า 29.เหรียญมังคลายุ จง-นิล ปี พ.ศ. 2507 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อทองแดง 30.รูปหล่อ รุ่นแรก ปี พ.ศ. 2483 ตอกโค๊ตแถวเดียว เนื้อทองผสม 31.รูปหล่อใหญ่ ปี พ.ศ. 2485 เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อทองผสม 32.รูปหล่อ ปี พ.ศ. 2488 มีเนื้อตะกั่ว และเนื้อทองผสม 33.รูปหล่อ ปี พ.ศ. 2491 มีอุดกริ่ง และ ไม่อุดกริ่ง เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อทองผสม 34.รูปหล่อ ปี พ.ศ. 2499 ตอดโค๊ต 2 แถว เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อทองผสม 35.รูปหล่อ ปี 2500 ตอกโค๊ตด้านหน้า เท่าที่พบเจอมีเพียงเนื้อตะกั่ว 36.รูปเหมือนตะกั่วปั้ม ครึ่งซีก ปี 2502 ทาบรอนซ์ทอง และ ไม่ทาบรอนซ์ทอง 37. ล็อกเก็ต รุ่นแรก ปี พ.ศ. 2484 มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์รูปไข่ และ พิมพ์กลม 38.พระบูชา เนื้อโลหะ เนื้อผง รูปถ่าย บูชา ขนาดต่างๆ ปี พ.ศ. 2485-2505 39.รูปภาพ ขอบแสตมป์ ปี พ.ศ. 2490 ด้านหลังปั้มยันต์แดง และ ยันต์ม่วง 40.ตะกรุดโทน ตะกรุดหนังเสือ ตะกรุดมหาอำนาจ ปี พ.ศ. 2484-2485 41.ตะกรุดชุด 12 ดอก 14ดอก 16 ดอก ชนิดต่างๆ ปี พ.ศ. 2485 42.เสื้อยันต์ แดง และ ขาว ปี พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2506 43.ผ้ายันต์ ชนิดต่างๆ ปี พ.ศ. 2485 - 2507 44.ปลาตะเพียนคู่ มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก 45. สมเด็จรูปเหมือน ปี พ.ศ. 2484 เนื้อผง 46.สมเด็จเนื้อเมฆพัตร หลังยันต์ ปี พ.ศ. 2490 47.แหวน เนื้อเงิน เนื้อเงินลงยา เนื้อเงินลงถม เนื้อทองแดง เนื้ออัลปก้า 48.แหนบ เข็มกลัด ชนิดต่างๆ ปี พ.ศ. 2485 – 2500 49.เหรียญฌาปนกิจศพ ปี พ.ศ. 2509 จัดสร้างเนื้ออัลปก้าชุบนิคเกิลเพียงเนื้อเดียว 50.เหรียญเสมา และพระเนื้อผง ออกวัดประสาทฯ ปี พ.ศ. 2506 ++++การสร้างแต่ละรุ่นน้อย ควรค่าเเก่การบูชาอย่างยิ่งครับ+++++++++++++++++++
พระสวยสมบูรณ์ไม่มีอุดซ่อม
พระสมเด็จเนื้อผงสีเปลือกมังคุด พิมพ์กรรมการ 2 หน้า (หายากสุดๆ) พิธีพระพุทธบาทประชารักษ์ วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อกวย, หลวงพ่อหน่ายฯลฯ ปลุกเสก “สมเด็จพระพุทธบาทประชารักษ์” หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ฯลฯ ปลุกเสก “สมเด็จ พระพุทธบาทประชารักษ์” พระสมเด็จรุ่นนี้พระธรรมรัตนากร(หลวงพ่อใหญ่)เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาท เจ้าคณะจังหวัดสระบุรีในขณะนั้นได้เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างเนื่องจากท่าน เห็นว่าวัดพระพุทธบาทยังไม่เคยมีการจัดสร้าง พระพิมพ์สมเด็จมาก่อนเลยและท่านได้เห็นดอกไม้ที่ประชาชนนำมาใส่บาตรพระช่วง เทศกาลเข้าพรรษาเป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้ให้รวบรวมไว้นำมาเป็นมวลสารในการจัดสร้างและอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง เพื่อแจกแก่ผู้ที่เข้ามาแสดงมุตาจิตที่ท่าน ได้เลื่อนสมณศักดิ์ และส่วนหนึ่งนำมาจำหน่ายแก่ประชาชนที่มานมัสการรอยพระพุทธบาทในราคาองค์ละ สิบบาทเพื่อเป็นที่ระลึก การจัดสร้างมีการดำเนินการโดยทางวัดเอง เริ่มประมาณในปีพ.ศ.2512 โดยมี “พระมหาโกเมศ” จากวัดราชนัดดาซึ่งมีความสนิทกับท่านพระธรรมรัตนากรเป็นผู้ดำเนินการจัด สร้าง(ปัจจุบันทราบว่าท่านได้ลาสิกขาแล้ว )และการดำเนินการไม่ได้มีการจัดทำเอกสารในการจัดสร้างแต่อย่างใดแต่ได้มีการ ถ่ายรูปไว้จำนวนหนึ่งขณะนี้สอบถาม แล้วตั้งแต่เจ้าอาวาสคือท่านพระธรรมรัตนากรมรณภาพแล้วก็ไม่ได้มีผู้ใดสนใจ รูปที่ถ่ายไว้ได้สูญหายไปไม่ทราบว่าไปตกอยู่ที่ใครบ้างถ้าตามพบจะนำมาเสนอ ต่อไป การกดพิมพ์พระได้ดำเนินการกดพิมพ์กันในบริเวณวัดพระพุทธบาท บริเวณใต้ถุนศาลาทำบุญ ปัจจุบันศาลาหลังนี้เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ทำการรื้อไปแล้วซึ่งน่าเสียดาย ยิ่งนัก โดยพิมพ์พระเป็นพิมพ์ที่ท่านพระมหาโกเมศจัดหามาเท่าที่ทราบมีประมาณสิบกว่า พิมพ์ โดยเรียกชื่อพิมพ์คล้ายกันกับสมเด็จบางขุนพรหมแต่ได้แกะพิมพ์ให้แตกต่างกัน ออกไป และการพิมพ์องค์พระทำเป็นแบบสองหน้าก็มี ที่เรียกชื่อเท่าที่พบ ๑) พิมพ์ทรงเจดีย์ ๒) พิมพ์ฐานขาสิงห์ ๓) พิมพ์เกศบัวตูม ๔) พิมพ์ปกโพธิ์ ๕) พิมพ์อกครุฑ ๖) พิมพ์ฐานแซม ๗) พิมพ์วัดเกศ พิมพ์นอกจากนี้จะเป็นพิมพ์พิเศษที่ทำขึ้นมาเพื่อแจกแก่ผู้ที่มาช่วยงานเช่นทำเป็นพิมพ์สองหน้า ส่วนพิมพ์ทั่วไปลักษณะองค์พระด้านหน้าจะเป็นรูปแบบของแต่ละพิมพ์ทรงด้านหลังจะกดพิมพ์ ด้านหลังองค์พระด้วยตราจุลมงกุฎ ซึ่งจุลมงกุฎนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์นวมได้ทำการจัดสร้างไว้ เพื่อแจกแก่ผู้ที่ร่วมทำบูญเมื่อคราวบูรณะรอยพระพุทธบาทจะมีสองแบบคือแบบพิมพ์เล็กและพิมพ์ ใหญ่จะนำมากดด้านหลังองค์พระทั้งสองแบบ ส่วนเนื้อพระจะแบ่งออกเป็นสามสีคือ ๑)เนื้อสีน้ำตาลหรือเนื้อเกสร สร้างจำนวนไม่มาก ไม่ได้นำออกจำหน่าย ๒) เนื้อสีเปลือกมังคุด สร้างจำนวนน้อยสุด ไม่ได้นำออกจำหน่าย ๓) เนื้อสีขาวสร้างจำนวนมากและนำมาจำหน่ายองค์ละสิบบาท พระทั้งหมดจัดสร้างจำนวนเท่าใดไม่ทราบ เมื่อ ทำการกดพิมพ์พระเป็นจำนวนพอแก่ความต้องการแล้วได้จัดพิธีพุทธาภิเศกที่ศาลา หอเย็นใกล้รอยพระพุทธบาทในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ทราบว่าได้ทำพิธีใหญ่มากเกจิอาจารย์ที่มาร่วมในพิธีเท่าที่ทราบมีดังนี้ หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง และยังมีเกจิอาจารย์อื่นๆอีกสอบถามไม่มีผู้ให้คำตอบได้ และในปีพ.ศ. ๒๕๒๒ได้เข้าพิธีอีกครั้งหนึ่งสอบถามจากผู้ได้ไปนิมนต์ซึ่งได้เดินทางร่วมไปกับพระที่วัดที่จำได้มี หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อเชื้อวัดใหม่บำเพ็ญบุญ พระราชอุทัยกวี (หลวงพ่อพุธ)เจ้าคณะจังหวัดอุทัย (องค์นี้งูเห่าแผ่แม่เบี้ยท่านชี้มือสยบเลยจากคำบอกเล่าของผู้ที่ไปนิมนต์ท่าน) หลวงปู่นาค วัดหนองโปร่ง หลวงพ่อสุวรรณ วัดเขาบ่มกล้วย หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู และ ยังมีพระอีกส่วนหนึ่งที่พระมหาโกเมศได้นำมาร่วมในพิธีด้วยท่านจะสร้างในคราว เดียวกันหรือนำมาจากวัดราชนัชดาก็ไม่ทราบ สอบถามได้ใจความไม่ตรงกันบ้างว่ากดพิมพ์พร้อมกันเป็นพระพิมพ์คลายกันแต่มี เศษพลอยสีต่างๆผสมอยู่ในเนื้อพระส่วนเนื้อพระจะเป็นสีขาว และได้นำมาแจกในงานฉลองยศของท่านพระธรรมรัตนากรเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเท่า นั้นและหลวงพ่อกวยได้นำพระบางส่วนกลับไปด้วย
!!!! วัดใจ!!!!!เหรียญในหลวงนั่งบัลลังก์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เนื้อทองแดง พร้อมตลับค่ะ