ซื้อจริงโอนไวครับET222850129TH
หน้าตัก5นิ้ว
ขอบคุณครับ
ข้อมูลเหรียญ 1 บาท สถาปนาเจ้าฟ้าชาย ปี 2515 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 1 บาท สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร ปี 2515 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร รายละเอียดเหรียญ ลักษณะด้านหน้าเหรียญ เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ ระดับพระอังสา ทรงเครื่องเต็มยศทหารมหาดเล็ก ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย ริมขอบมีข้อความว่า “มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร” ลักษณะด้านหลังเหรียญ เป็นพระนามาภิไธยย่อ “วก” ใต้พระจุลมงกุฎยอดเปล่งรัศมี ริมขอบบนมีข้อความว่า “รัฐบาลไทย ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๔” เบื้องล่างมีข้อความบอกราคา “๑ บาท” เส้นผ่าศูนย์กลาง 27 มิลลิเมตร น้ำหนัก 7.5 กรัม ลักษณะ เหรียญกลม ขอบเฟือง วันที่ประกาศใช้ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ชนิดราคา 1 บาท ส่วนผสม ทองแดง 75% นิเกิ้ล 25% จำนวนการผลิต : ปีที่ผลิต 2515 จำนวน 9,000,000
@พระมีบัตรรับรอง ##พระรูปเหมือนหลวงพ่อทาบ ปี2505 เนื้อดินผสมผง วัดกระบกขึ้นผึ้ง จ.ระยอง...หลวงปู่ทิมร่วมเสก...!!!@
เหรียญเสมา 3 รอบมหาราช ปี 06 เหรียญสวยเดิม เหรียญปลุกเสก พิธีใหญ่ ปี พ.ศ.ลึก ทรงคุณค่า น่าบูชาและสะสม...... สุดยอดพิธีที่มีเกจิอาจารย์ทั่วประเทศปลุกเสก!! ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งแห่งยุค...... ประวัติการสร้าง.... เหรียญอนุสรณ์มหาราช เหรียญเสมา 3 รอบ รัชกาลที่ 9 มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่รู้ว่า เหรียญนี้ไม่ใช่แค่เป็นเหรียญที่ระลึก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เท่านั้น แท้จริงเป็นเหรียญที่ได้ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ ถึง 2 วาระด้วยกัน โดยพระคณาจารย์ที่โด่งดังในปี 2506 ซึ่งพระเครื่องของท่านเหล่านั้น ปัจจุบันเราเล่นหากันเป็นแสนเป็นล้าน เช่น อาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ผู้สร้างหลวงพ่อทวดอันลือลั่น หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ฯลฯ ใครที่รู้แล้วก็ถือเป็นการทบทวนความจำนะครับ ส่วนใครที่ยังไม่รู้ ...เมื่ออ่านพิธีการปลุกเสกแล้วก็รีบหานะครับ ใช้คุ้มครองตนเองเหมือนพระเครื่อง..แถมเป็นมงคลที่ยิ่งใหญ่กับชีวิตอีกด้วย เหรียญอนุสรณ์มหาราช สร้างในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เหรียญเสมา (รูปอาร์มหรือโล่ห์) ขนาด 1.8 X 1.6 ซ.ม. เป็นเนื้ออัลปาก้า (เนื้อเงินและทองคำก็มี) ผ่านพิธีปลุกเสกใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ 2 วาระด้วยกัน ดังนี้ 1. ครั้งแรกวันที่ 29-30 พ.ย.2506 2. และระหว่างวันที่ 5-6-7 เมษายน 2507 รายนามพระคณาจารย์ที่ได้รับอาราธนามานั่งปรกบริกรรม วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2506 ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ (พิธีครั้งที่ 1) 1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา 2. หลวงพ่อพระครูโพธิสารประสาธน์ วัดโพธิสัมพันธ์ บางละมุง ชลบุรี 3. หลวงพ่อพระวรพจรน์ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี 4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง 5. หลวงพ่อพระราชหระสิทธิคุณ วัดราชธานี สุโขทัย 6. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์ )วัดดอนยายหอม นครปฐม 7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม 8. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขวัญ ฉวาง นครศรีธรรมราช 9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 5 เมษายน 2507 1. พระสุเมธมุนี เจ้าคณะวัดบางหลวง ปทุมธานี 2. พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง ธนบุรี 3. พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช 4. หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน เพชรบูรณ์ 5. พระครูนนทกิจวิมล ( หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี 6. หลวงพ่อบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี 7. พระครูพุทธมนต์วราจารย์ (พระปลัดสุพจน์) วัดสุทัศน์ พระนคร 8. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์เชียงราก ปทุมธานี 9. หลวงพ่อหอม วัดขากหมาก ระยอง รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 6 เมษายน 2507 1. พระครูพิทักษ์วิการกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร 2. พระครูสถาพรพุทธมนต์(หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม บางเลน นครปฐม 3. พระครูธรรมิตรนุรักษ์ วัดเขาหลัก ท่าศาลา นครศรีธรรมราช 4. พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถีร์) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี 5. พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม 6. หลวงพ่อสำเภา วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี 7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก 8. พระมุจรินทร์โมลี (หลวงปู่ดำ) วัดมุจรินทร์ หนองจิก ปัตตานี รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 7 เมษายน 2507 1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก บางไทร อยุธยา 2. พระครูโพธิสารประสาธน์ (อาจารย์บุญมี) วัดโพธิสัมพันธ์ ชลบุรี 3. พระวราพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงพ่อวัดป่า) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี 4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง 5. พระราชประสิทธิคุณ (หลวงพ่อทิม) วัดราชธานี สุโขทัย 6. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม 7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม 8. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพน พระนคร 9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ โคกโพธิ์ ปัตตานี การเริ่มพิธีนั้น พระเจริญคาถาภารวาณจะ ตั้งแต่เวลา 15.00 น.ของแต่ละวัน พระคณาจารย์ทุกรูปจะผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกบริกรรมกันตลอดเวลา จนตลอดรุ่งของทุกวัน จนถึงเช้าตรู่วันที่ 8 เมษายน 2507 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ที่นั่งปรกวันที่สามทั้งหมดทุกรูปประชุมพร้อมกันปลุกเสกเงียบเป็นเวลา 30 นาที พอครบเวลาตามที่กำหนด เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย พราหมณ์ เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ ปี่พาทย์ทำเพลง 3 ลา พระคณาจารย์ทุกรูปประพรมน้ำพุทธมนต์เหรียญเสมาทั้งหมดที่เข้าพิธีเสร็จแล้วเจิม พระพิธีธรรมเจริญคาถาดับเทียนชัย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ดับเทียนชัย พราหมณ์เริ่มพิธีเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชเป็นเสร็จการพิธี ##### พระดี พิธีใหญ่ ปี พ.ศ.ลึก นับเป็นเหรียญอันทรงคุณค่า แห่งแผ่นดินและของชาติ อันนำแบบพระพักตร์หันข้างของพ่อหลวงของเรา
เหรียญในหลวงพระราชสมภพครบ 4 รอบ ปี 2518 คณะสงฆ์จัดทำเหรียญนี้ขึ้นมาด้วยพิธีการที่ ยิ่งใหญ่สุด ๆ เหรียญนี้มีขนาดเล็กกระทัดรัด และออกแบบได้สวยงามยิ่งนัก เหรียญนี้มีหลายบล๊อค เพราะผลิตจำนวนมาก ดังนั้นจึงใช้บล๊อคหลายอัน เหรียญนี้เป็นบล๊อคนิยม เหล่านักสะสมเรียกว่า บล๊อคผม 3 เส้น เป็นเหรียญที่มีพิธีใหญ่ และพุทธคุณสูง สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ได้ขอพระบรมราชาณุญาต สร้างเหรียญพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อทูลเกล้าฯถวาย เพื่อที่จะพระราชทานแก่ทหารตำรวจและอาสาสมัครรักษาดินแดนและประชาชนทั่วไป ทางคณะสงฆ์ได้อาราธนาพระเถราจารย์ มาร่วมประกอบพิธีชัยมังคลาภิเษก ที่พระอุโบสถวัดรพระศรีรัตนศาสดาราม กำหนดพิธีมหาฤกษ์มหามงคลตรงกับวันที่ 1 เมษายน 2520 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน๕ โดยท่านสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานจุดเทียนชัย พระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ 9 รูป จากวัดหลวงประจำรัชกาลทั้ง9วัด เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์49รูป ร่วมเจริญคาถานั่งปรกบริกรมมปลุกเสก ประกอบด้วย 1.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ 2.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส 3.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (สงี่ยม) วัดสุทัศน์ 4.พระธรรมศิริชัย วัดพระปฐมเจดีย์ 5.พระเทพสาครมุนี (ลพ.แก้ว) วัดช่องลม 6.พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรฯ 7.พระเทพวราลังการ (ลป.ศรีจันทร์) วัดเลยหลง 8.พระเทพวุฒาจารย์ (ลพ.เปลื้อง) วัดสุวรรณภูมิ 9.พระราชอุทัยกวี 10.พระราชญาณดิลก (ลพ.ชิต) วัดเขาเต่า หัวหิน 11.พระราชภัทราจาร วัดราชบพิธฯ 12.พระญาณสิทธาจารย์ 13.พระชินวงศาจารย์ (ลพ.พุธ) วัดป่าสาลวัน 14.พระวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม 15.ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 16.ลพ.ชา วัดหนองปาพง 17.ลป.พรหมา วัดพระบาทตากผ้า 18.ลพ.สนิท วัดศีลขันธ์ 19.ลป.ดุลย์ วัดบูรพาราม 20.ลพ.ใหญ่ วัดสะแก อยุธยา 21.ลพ.บาง วัดหนองพลับ สระบุรี 22.ลพ.เชื่อม วัดเกศไชโย อ่างทอง 23.ลพ.เส็ง วัดน้อยนางหงษ์ 24.ลพ.เที่ยง วัดม่วงชุม 25.ลพ.ผิว วัดสง่างาม 26.ครูบาอินทจักร วัดบ่อหลวง เชียงใหม่ 27.ลป.บุญ วัดวังมะนาว 28.ลพ.เชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ 29.ลพ.แพ วัดพิกุลทอง 30.ลพ.เริ่ม วัดจุกกระเฌอ ชลบุรี 31.ลพ.ทอง วัดบ่อนอก ประจวบฯ 32.ลพ.อ่อน วัดเพียมาตร ศรีสะเกษ 33.ลพ.จ้วน วัดพระบาทเขาลูกช้าง 34.ลพ.อุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม 35.ลพ.เนื่อง วัดจุฬามนี 36.ลพ.จ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ 37.ลพ.กี๋ วัดหูช้าง 38.ลพ.สิน วัดกิ่งแก้ว 39.ลพ.ท่อน วัดศรีอภัยวัน จ.เลย 40.ลพ.เฟื่อง วัดธรรมสถิต ระยอง 41.พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสาลวัน หนองบัวลำภู 42.ลป.สาม วัดป่าไตรวิเวก 43.พระอจ.แว่น ธนปาโล วัดสุทธาวาส 44.พระอจ.บุญ วัดศรีสว่างแดนดิน 45.อจ.ผั่น วัดถ้ำเอราวัณ จ.เลย 46.พระอจ.วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม 47.พระอจ.หนู วัดดอยแม่ปั๋ง 48.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ร้อยเอ็ด 49.พระอจ.สมชาย วัดเขาสุกิม