พระสวยสมบูรณ์ ผงเดิมครับ ส่งออกบัตรรับรองให้เรียบร้อยแล้วครับท่าน เพื่อความสบายใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายครับผม รับประกันตามกฏครับ
วัดลาดปลาเค้าพบพระปิดตาหลวงปู่โต๊ะปลุก เสก วัดลาดปลาเค้าพบพระปิดตาหลวงปู่โต๊ะปลุกเสก พ.ศ.๒๕๒๑ ทางวัดทำการปฏิสังขรณ์วัดซึ่งมีสภาพทรุดโทรมเสื่อมลงตามกาลเวลา จึงได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น พระครูวิมลหารกิจ หรือหลวงพ่อหลอม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ในขณะนั้นยังเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่โต๊ะได้นิมนต์ท่านมาปลุกเสกวัตถุมงคลด้วย ในครั้งนั้นหลวงปู่โต๊ะได้ทราบถึงเจตนาของหลวงพ่อหลอม รวมทั้งมองเห็นคุณประโยชน์ต่อพุทธศาสนาในภายภาคหน้า ท่านจึงนำพระปิดตามหาเสน่ห์หลังยันต์พุทโธนำมาให้วัดลาดปลาเค้าถึง ๔ ลัง เพื่อร่วมทำบุญในการปฏิสังขรณ์วัดในครั้นนั้นด้วยใน คราวนั้นทางวัดได้จัดพิธีพุทธาภิเษกและนำพระปิดตามหาเสน่ห์หลังยันต์พุทโธ เข้าพิธีด้วย โดยมีหลวงปู่โต๊ะ เป็นประธานในพิธีปลุกเสก ร่วมกับพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมอีก ๘ รูป ร่วมพิธีดังนี้ ๑.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร ๒.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา ๓.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ๔.หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกระเฌอ จ.ชลบุรี ๕.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี ๖.หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง จ.นนทบุรี ๗.หลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่ จ.นนทบุรี และ ๘.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี หลังพิธีได้มีการนำพระแจกทำบุญแก่ผู้เข้าร่วมพิธี อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๕ ทางวัดได้ปรับปรุงเพดานตึกจันทร์ประสิทธิ์ ได้พบพระปิดตามหาเสน่ห์หลังยันต์พุทโธ จำนวน ๔ ลังใหญ่ โดยมีกำนันทวน กลิ่นรอด ร่วมเป็นพยานในครั้งนี้ด้วย ทางคณะกรรมการวัดและคณะสงฆ์วัดลาดปลาเค้า มีมติตรงกันว่าให้นำพระที่พบออกมาให้เช่าบูชา เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะวัดลาดปลาเค้าตามวัตถุประสงค์ของหลวงปู่ โต๊ะเมื่อ ๓๔ ปี ก่อน รับประกันแท้ตลอดชีวิต
เวปประมูลก็ต้องเคาะประมูล ชิมิๆ เคาะกันวันละนิดจิตแจ่มใส พี่ๆแต่ละท่านก็มี ((( สไตล์ ))) ที่แตกต่างกัน อย่าว่างั้นงี้เลย ปอดกับหัวใจนู๋ไม่ค่อยแข็งแรง " พี่ๆคงไม่ปล่อยให้นู๋เร้าใจอยู่คนเดียวนะคร๊าบบบ " จัดส่งพร้อม กล่องเดิม คร๊าบบบบ พี่ๆแวะชมดูแล้วล็อคอินกันรึยังจ๊ะ วันนี้เปิด พรุ่งนี้ปิด ??? ลับแป้นรอกันเร้ยยย..ไม่เก็บวันนี้วันหน้าจะไม่มีให้เก็บนะจ๊ะ ((( หลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส ))) ปลุกเสก ...มีข้อมูลบันทึกไว้ในเล่มหนังสืือหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส... พิธีพุทธาภิเษก ปี2517 พระสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดไก่จ้น จ.อยุธยา สูง 4.30 ซ.ม. ((( รุ่นหล่อพระประธานฯ ))) เก่าตามสภาพ ...คลาสสิคสุดๆ ควรค่าแก่การบูชา น่าสะสมจังเลย คร๊าบ... (เพื่อความอุ่นใจ..พี่ๆลองเช็คราคานอกเวปดูก่อนเข้าร่วมประมูลนะคร๊าบบบ ^_^) หมายเหตุ ทุกข้อสงสัยล้วนมีคำตอบ สงสัยเรื่องใดเมล์ถามข้อมูลได้เลยคร๊าบบบ พี่ๆ ชาวดี ดี..... *** จัดส่งพระตามรูป รับประกันตามกฎเวป *** ผู้ชนะการประมูลโอนเงินแล้วรบกวนฝากข้อความในกล่องข้อความหรือโทร.แจ้งก็ได้นะครับ เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่ง จัดส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน ปลอดภัย ไร้กังวล คร๊าบ... ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเยี่ยมชมหรือเข้าร่วมการประมูล ขอบพระคุณคร๊าบบบ ^_^
ปลอดภัย สวยเดิมๆ หลังมีจาร มีดีด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุตม์คงกระพัน กันเขี้ยวงา หนุนดวงให้สูงส่ง
วัตถุ มงคลของ วัดประสาทบุญญาวาสที่สร้างขึ้น ช่วงปีพ.ศ.2505-พ.ศ.2506 เป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่องอย่างสูงเนื่องด้วยสุด ยอดในเรื่องมวลสาร มีเจตนาการสร้างวัตถุมงคลที่บริสุทธิ์ และพิธีกรรมมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มากๆครับ มีพิธีมหาพุทธาภิเษกวันที่6-7-8-9 มีนาคม พ.ศ.2506 มีเกจิคณาจารย์ร่วมปลุกเสกถึง234รูป อาทิเช่น 1.หลวงปู่ทิมวัดช้างไห้ 2.หลวงพ่อคล้ายวัดสวนขัน 3.หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม 4.หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี 5.หลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ 6.หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก 7.หลวงพ่อเต๋วัดสามง่าม 8.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 9.หลวงพ่อทองสุขวัดสะพานสูง ฯลฯ องค์นี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่เนื้อขาว พระแท้ ดูง่ายครับ เนื้อขาว เนื้อนิยมครับ มีส่วนผสมของพระสมเด็จบางขุนพรหมตอนเปิดกรุปี2500ครับ มาพร้อมบัตรรับรองครับ รับประกันตามกฏครับ
พระสมเด็จรุ่นนี้ของหลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลาปีพ.ศ.2511มีส่วนผสมของผงพระสมเด็จบางขุนพรหมผสมอยู่ด้วยเพราะหลวงพ่อน้อยท่านได้ไปร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดประสาทฯและได้รับการถวายชิ้นส่วนพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักกลับมาด้วยส่วนหนึ่งจึงนำกลับมาสร้างพระผงรุ่นแรกของท่านพระพุทธคุณเด่นมากทางเมตตามหานิยมและค้าขายสุดยอดมากครับ ด้านหลังปั้มยันต์อุ(นิยม) ส่งออกบัตรรับรองให้พี่เรียบร้อยแล้วครับ รับประกันตามกฏครับ
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี ๏ อัตโนประวัติ “พระวรพรตปัญญาจารย์” หรือ “หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท” อดีตเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลุบรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองชล เป็นผู้ได้รับสืบทอดตำราการสร้างพระปิดตาทั้ง “เนื้อผง” และ “เนื้อผงคลุกรัก” จากพระเกจิอาจารย์ดังหลายรูปของเมืองชลบุรี หลวงปู่เฮี้ยง มีนามเดิมว่า กิมเฮี้ยง นาคไพบูลย์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น กรุณยวธนิชย์) เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2441 เวลา 17.45 น. ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ ในแผ่นดินรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ณ ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี โยมบิดาชื่อ เร่งเซ็ง เป็นคนเชื้อสายจีน โยมมารดาชื่อ ผัน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ๏ การศึกษาเบื้องต้น เมื่อเจริญวัยอายุได้ประมาณ 9-10 ขวบ โยมมารดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือกับพระวินัยธร (เส็ง) เจ้าอาวาสวัดหนองไม้แดง (วัดราษฎร์สโมสร) ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี ต่อมาเมื่อพระวินัยธร (เส็ง) ได้มรณภาพลง จึงเลิกเรียน และกลับไปอยู่บ้านช่วยเหลือโยมบิดา-โยมมารดาประกอบอาชีพตามวิสัยที่พึงกระทำได้ ครั้นอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่านจึงได้ไปสมัครเป็นตำรวจภูธร และมาปลดประจำการ โดยเป็นเพียงกองหนุนชั้นที่ 1 ขณะอายุได้ 22 ปี เมื่อครั้งยังเป็นพระหนุ่ม ๏ การอุปสมบท ในปี พ.ศ.2464 เมื่ออายุได้ 23 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามประเพณี ณ พัทธสีมาวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2464 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา เวลา 14.00 น. โดยมีท่านเจ้าคุณพระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ วัดเขาบางทราย ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระวินัยธร (เภา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดชื่น ธมฺมสาโร วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ปุณฺณจฺฉนฺโท” มีความหมายว่า “ผู้มีความพอใจอันเต็มเปี่ยม” ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้มาพำนักจำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) จ.ชลบุรี จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัด ๏ ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดง ท่านมีอุปนิสัยสนใจด้านวิทยาคม ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ พระครูธรรมสารอภินันท์ (หลวงพ่อแดง) วัดใหญ่อินทราราม (วัดหลวง) ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี ยอดพระเกจิอาจารย์ชาวเขมร เมืองพระตะบอง ที่มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่อินทราราม (วัดหลวง) เป็นเวลายาวนานถึง 53 ปี เป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคุณในทางสมถะ มีวาจาสิทธิ์เป็นที่เคารพยำเกรงของคณะศิษยานุศิษย์และเป็นที่เล่าขานตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ๏ การสร้างวัตถุมงคล หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท ได้พัฒนาทั้งด้านการศึกษาและถาวรวัตถุเสนาสนะให้เจริญรุ่งเรือง นับได้ว่า วัดป่าหรือวัดอรัญญิกาวาสแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองด้วยอำนาจบารมีแห่งวัตถุมงคลพระเครื่องต่างๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ ทุกรุ่นเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณเมตตามหานิยม เป็นที่ปรารถนาของเซียนพระเครื่องที่ต่างแสวงหาไว้ในครอบครอง ด้วยอำนาจความเข้มขลังที่เป็นอมตะแห่งผงเก่าของยอดพระเกจิอาจารย์ชาวบางปลาสร้อยในอดีต อาทิ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์, หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง มีส่วนเสริมให้วัตถุมงคลของหลวงปู่เฮี้ยง ทุกรุ่นทุกพิมพ์ ถูกเช่าบูชาไปจากตลาดพระเครื่องอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะหามาไว้ในครอบครอง สำหรับวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) มีการสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่สมัยพระปลัดธรรมสาร (ชื่น ธมฺมสาโร) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 โดยสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน เมื่อปี พ.ศ.2463 นับว่าเป็นเหรียญเก่าของชาวชลบุรีอีกเหรียญหนึ่ง การสร้างวัตถุมงคลของวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ที่นับว่าโด่งดัง หลวงปู่ได้ริเริ่มสร้างวัตถุมงคลครั้งแรก เมื่อปลายปี พ.ศ.2484-2486 โดยมีพระใบฎีกาแฟ้ม อภิรโต เป็นผู้ดำเนินการสร้างทั้งสิ้น โดยใช้ผงต่างๆ ของหลวงพ่อแก้วและหลวงพ่อเจียม เป็นส่วนผสมและทำการปลุกเสกอธิษฐานจิต หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท ๏ ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์ พ.ศ.2467 เป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) พ.ศ.2473 เป็นสังฆรักษ์ ฐานานุกรมของเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี พ.ศ.2479 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวรพรตศีลขันธ์ พ.ศ.2483 เป็นเจ้าคณะแขวงบางละมุง และเป็นพระอุปัชฌาย์ในคณะธรรมยุต พ.ศ.2486 เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรมชั้นตรี ในสนามหลวง พ.ศ.2496 เป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยอำเภอจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระวรพรตปัญญาจารย์” ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พ.ศ.2507 เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี-ฉะเชิงเทรา (พ้นหน้าที่นี้เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2508) พ.ศ.2509 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย พระอารามหลวง จ.ชลบุรี (พ้นหน้าที่นี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2509) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาและปสาทะใคร่จะบรรพชาอุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 รวมทั้ง มีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร คณะศรัทธาญาติโยม และชาวบ้านในชุมชน ด้วยการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล และโรงเรียนมัธยมต้นขึ้นภายในวัดอรัญญิกาวาส ๏ การมรณภาพ หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท ได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2511 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก เวลา 19.50 น. ณ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา จ.ชลุบรี สิริอายุรวมได้ 70 พรรษา 47 และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อปี พ.ศ.2512 แม้ละสังขารจากไปนานร่วม 40 ปี แต่เกียรติคุณของหลวงปู่ยังเลื่องลือเป็นที่จดจำของบรรดาลูกศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปอย่างไม่เสื่อมคลาย พระดีประสบการณ์เลื่องลือมานาน อีกทั้งมวรสารยังสุดยอด พร้อมบัตรรับรอง หายากเเล้วครับ